จรูญพงศ์ พันธุ์ศรีนคร

นายจรูญพงศ์ พันธุ์ศรีนคร (เกิด 4 กันยายน พ.ศ. 2497) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต 8 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย

จรูญพงศ์ พันธุ์ศรีนคร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 กันยายน พ.ศ. 2497 (69 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย

ประวัติ แก้

จรูญพงศ์ พันธุ์ศรีนคร เดิมชื่อยอดยิ่ง เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายใหญ่ และนางทองหย่วน พันธุ์ศรีนคร มีพี่น้อง 3 คน สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสและหย่า มีบุตร 3 คน หนึ่งในนั้นคือนายพงษ์พันธุ์ ส.อบจ.นครราชสีมา

งานการเมือง แก้

อดีตเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เคยลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก โดยเอาชนะนายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ อดีต ส.ส. จากพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[1]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

จรูญพงศ์ พันธุ์ศรีนคร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๔, ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้