สมพล เกยุราพันธุ์
สมพล เกยุราพันธุ์ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2480 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557) เป็นบิดาของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบสัดส่วน และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ
สมพล เกยุราพันธุ์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2480 อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา |
เสียชีวิต | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (77 ปี) ชิบะ ประเทศญี่ปุ่น |
พรรคการเมือง | ไม่สังกัดพรรค (2512) อิสระ (2512-2514) ประชาธรรม (2517-2519) พลังธรรม (2535-2541) ไทยรักไทย (2541-2550) พลังประชาชน (2550-2551) เพื่อไทย (2551-2557) |
คู่สมรส | เรณู เกยุราพันธุ์ |
บุตร | คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ |
ประวัติ
แก้สมพล เกยุราพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2480[1] เป็นบุตรชายของนายเกียชุน กับนางชิวหงษ์ แซ่ตั้ง เป็นบุตรคนที่ 4 จากจำนวนพี่น้องทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่ กิมกี่ สมบูรณ์ สังวาลย์ ละออ และศรีสมพร แซ่ตั้ง สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนศิริวิทยากร สมรสกับนางเรณู มีธิดา 1 คน คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นักการเมืองสตรีชาวไทยและรัฐมนตรีหลายสมัย
งานการเมือง
แก้สมพล ได้รับเลือกตั้งสมาชิกเป็นสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคอิสระ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2550 ได้กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งแทนที่คุณหญิงสุดารัตน์ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ในกลุ่มจังหวัดที่ 5 ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 39 สังกัดพรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ตามลำดับ
สมพล เคยเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธรรม[2]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้สมพล เกยุราพันธุ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดนครราชสีมา ไม่สังกัดพรรค → สังกัดพรรคอิสระ (พ.ศ. 2512)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 5 สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้สมพล เกยุราพันธุ์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยภาวะเส้นเลือดสมองแตก ขณะเดินทางไปพักผ่อนที่นครโอซะกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 สิริอายุรวม 77 ปี[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-26. สืบค้นเมื่อ 2017-08-06.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 193 ง พิเศษ หน้า 1 18 กันยายน พ.ศ. 2518
- ↑ "สมพล เกยุราพันธุ์"อดีต สส.เพื่อไทย บิดาคุณหญิงสุดารัตน์ เสียชีวิตในวัย 77 ปี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑