กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่
กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ (เกิด 30 ธันวาคม พ.ศ. 2490)[1] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 2 สมัย อดีตกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่ และอดีตประธานกรรมการจัดงานประชุมนานาชาติ 1990 JCI ASPAC Chiangmai Conference [2]
กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (1 ปี 138 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ | |
ก่อนหน้า | บุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์ ส่งสุข ภัคเกษม สุรพล เกียรติไชยากร |
ถัดไป | บุญทรง เตริยาภิรมย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2490 อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2538–2545) ไทยรักไทย (2545–2547) ประชาธิปัตย์ (2547-2550, 2555–2561) เพื่อแผ่นดิน (2550) พลังประชารัฐ (2561–2565) รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ |
บุตร | เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ แสงตะวัน ณ เชียงใหม่ |
ประวัติ
แก้กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ เกิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2490 เป็นธิดาของนายเฉลิม และนางคำแปง โกไศยกานนท์ มีพี่น้อง 5 คน สมรสกับ เจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ มีธิดา 2 คน คือ ร้อยเอกหญิง ดร.เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และ แสงตะวัน ณ เชียงใหม่ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ตะวันพันดารา จำกัด
การศึกษา
แก้- โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย เชียงใหม่
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์บัณฑิต จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานด้านการเมือง
แก้กิ่งกาญจน์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคความหวังใหม่ สองสมัย ได้แก่ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 [3] แต่ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ได้รับแต่งตั้งเป็นประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร [4] ต่อมาได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทย พร้อมกับสมาชิกส่วนใหญ่ของ พรรคความหวังใหม่ ในปี พ.ศ. 2545
ถึงแม้ เจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ จะมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน [5] แต่ก็มีความขัดแย้งในทางการเมืองระหว่าง กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ กับ เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ โดยรอยร้าวได้เริ่มก่อตัวขึ้นในปี พ.ศ. 2548 [6] ก่อนจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548 กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ และ ร้อยเอกหญิง ดร.เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ บุตรสาว ได้ตัดสินใจย้ายออกจากพรรคไทยรักไทย สมัครเข้าสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกับ เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ในการจัดวางตัวผู้สมัครในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ [7]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2550 กิ่งกาญจน์ ได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยได้รับมอบอำนาจให้วางตัวผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่เชียงใหม่ ซึ่ง พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ และอดีตนายกรัฐมนตรี มีผลต่อการตัดสินใจในการย้ายพรรคในครั้งนี้ ผลการเลือกตั้ง กิ่งกาญจน์ และกลุ่มผู้สมัครในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้พ่ายแพ้ให้กับผู้สมัครจาก พรรคพลังประชาชน เกือบทั้งหมด
กิ่งกาญจน์ ได้วางมือทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี ก่อนที่จะได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยการสนับสนุนของ เจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ และ พรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็พ่ายแพ้ให้กับผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุนจาก เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และ พรรคเพื่อไทย [8]
กิ่งกาญจน์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 3 เชียงใหม่ พ.ศ. 2556 ในนามพรรคประชาธิปัตย์[9] โดยแข่งขันกับ เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ จากพรรคเพื่อไทย แต่ก็พ่ายแพ้การเลือกตั้ง [10]
กิ่งกาญจน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[11] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[12] ต่อมาในปี 2566 ได้ย้ายเข้าร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ[13] และลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เชียงใหม่เขต 4 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
งานด้านสังคม
แก้กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ เคยเป็นประธานชมรมลูกเสือชาวบ้านจังหวัดเชียงใหม่[14] และเป็นประธานอนุกรรมการปรับปรุงสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ รวมทั้งเป็นประธานกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนสันทรายวิทยาคม และโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ และเคยได้รับมอบหมายให้เป็นประธานกรรมการจัดงานประชุมนานาชาติ 1990 JCI ASPAC Chiangmai Conference
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ รวบ 2 ตำรวจ หน้าบ้าน แม่แดง ส.ส.ปชป.เชียงใหม่ อ้างถูกส่งมาดูแล
- ↑ http://www.jcihk.org/images/download/JC_Library_1/JCI_ASPAC/1990_aspac_chiangmai_conference.pdf
- ↑ ผลการเลือกตั้ง เก็บถาวร 2004-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์กรมการปกครอง
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 48/2544 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 3 ราย คือ พลอากาศเอก จรูญ วุฒิกาญจน์ นายไพฑูรย์ บุญญวัฒน์ นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่)
- ↑ สายโลหิตของเจ้านายฝ่ายเหนือที่เหลืออยู่
- ↑ ชินวัตร - ณ เชียงใหม่ เลือดจางเมื่อการเมืองเข้ม
- ↑ "ทรท.เชียงใหม่แตกยับ "เจ้าหนุ่ย" ยกทีมซบ ปชป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-08-03.
- ↑ "แดง ชม.ไม่หยุด! ตามด่า "มาร์ค" กลางขบวนหาเสียงช่วย "กิ่งกาญจน์" สู้ศึกนายก อบจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-06-19.
- ↑ กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่จาก ไทยรัฐ
- ↑ "แม่แดง" ท้าชน "เจ๊แดง" ฐานการเงินแกร่ง 2 ตระกูลดังเชียงใหม่"
- ↑ พปชร.เปิดตัว“กิ่งกาญจน์-เดือนเต็มดวง” ผู้สมัคร สส.เชียงใหม่
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "รทสช."ประกาศแล้ว! แคนดิเดตนายกฯ "บิ๊กตู่"เบอร์ 1 "พีระพันธุ์"เบอร์ 2
- ↑ 10 ส.ค. 50 - นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ ประธานชมรมลูกเสือชาวบ้านจังหวัดเชียงใหม่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๕๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๘๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑