เทศบาลเมืองน่าน
เทศบาลเมืองน่าน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน มีพื้นที่ครอบคลุม 2 ตำบล คือ ตำบลในเวียง ทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลผาสิงห์ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการ สถานศึกษา สถาบันการเงินต่างๆ ทำให้มีฐานะเป็นศูนย์กลางความเจริญของจังหวัด
เทศบาลเมืองน่าน | |
---|---|
จากบนซ้ายไปล่างขวา: วัดภูมินทร์, เสาพระหลักเมืองน่านในวัดมิ่งเมือง, วัดพระธาตุช้างค้ำ, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน, และแม่น้ำน่าน | |
คำขวัญ: เทศบาลเมืองน่าน เมืองแห่งคนอายุยืน คืนถิ่น เอกลักษณ์เมืองเก่า เรามุ่งเป็น ชุมชนแห่งปัญญา ปรารถนา สู่สังคมคุณภาพ | |
พิกัด: 18°47′N 100°47′E / 18.783°N 100.783°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | น่าน |
อำเภอ | เมืองน่าน |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | สุรพล เธียรสูตร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 7.6 ตร.กม. (2.9 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 18,494 คน |
• ความหนาแน่น | 2,433.43 คน/ตร.กม. (6,302.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04550102 |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เลขที่ 214/10 ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000 |
โทรศัพท์ | 0 5471 0234 |
โทรสาร | 0 5477 1646 |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้เทศบาลเมืองน่านเดิมเป็นบริเวณตำบลในเวียง ได้รับการยกฐานะเป็น “เทศบาลเมืองน่าน” ตามพระราชกฤษฎีการจัดตั้งเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน พ.ศ. 2479 ตราไว้ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 กระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งแต่งตั้งหลวงวรวิทย์ วรรณการเป็นนายกเทศมนตรี โดยมีหลวงธนานุสรณ์ และนายกลิ่น ดวงพิกุล เป็นเทศมนตรีชุดแรก มีสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่ “ศาลาบาตร” หน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ในปัจจุบัน) ต่อมาได้โดยขอที่ดินราชพัสดุบริเวณข้างที่ว่าการอำเภอเมืองน่าน (ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน) สร้างเป็นสำนักงานเทศบาล จนกระทั่ง พ.ศ. 2510 จังหวัดน่านได้ดำเนินการก่อสร้างศาลากลางหลังใหม่ขึ้นและต้องการที่ดินคืน เทศบาลเมืองน่านโดยคณะเทศมนตรีชุด ร.ต.ต.ชาญ เวชเจริญ นายกเทศมนตรี จึงได้พิจารณาใช้สถานีอนามัยชั้นหนึ่งของเทศบาลเป็นที่ทำการเทศบาลแทน ต่อมาได้ทำการก่อสร้างอาคารสำนักงานเทศบาลขึ้นใหม่ในสมัยนายกเทศมนตรี พ.ต.ท.อุ่น วุฒิการณ์ เมื่อ พ.ศ. 2515
ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ขอความร่วมมือมายังเทศบาลเมืองน่านเพื่อหาสถานที่ใช้เป็นที่ตั้งศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจังหวัดน่าน คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองน่านมีนางสิรินทร รามสูต เป็นนายกเทศมนตรี ได้เห็นชอบให้ใช้พื้นที่บริเวณด้านหลังอาคารสำนักงานเทศบาลเมืองน่านเป็นที่ก่อสร้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจังหวัดน่าน และได้เริ่มก่อสร้างสำนักงานหลังปัจจุบันบนบริเวณที่ดินของเทศบาล เนื้อที่ 14 ไร่ ถนนมหายศ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2548 โดยพื้นที่สำนักงานเทศบาลเมืองน่านหลังเดิมได้รับการปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะและจุดพักผ่อนสำหรับนักท่องเที่ยวจนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2552 ราษฎรจำนวน 3 หมู่บ้าน ของตำบลผาสิงห์ ได้แก่ บ้านสวนหอม บ้านดอนสวรรค์ และบ้านฟ้าใหม่ ได้แสดงเจตจำนงค์ขอรวมพื้นที่เข้ากับเทศบาลเมืองน่าน หลังจากทำการสำรวจเจตนารมณ์แล้วจึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554[2] ให้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองน่าน โดยนับรวมพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสามเข้ากับเทศบาลเมืองน่าน นับเป็นการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการจัดตั้ง
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้ง
แก้- ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน และองค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง
- ทิศใต้ ติดต่อกับเทศบาลตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว และองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง โดยมีแม่น้ำน่านเป็นแนวแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ และองค์การบริหารส่วนตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน
ภูมิอากาศ
แก้ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลเมืองน่าน | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 35.2 (95.4) |
38.3 (100.9) |
40.8 (105.4) |
43.0 (109.4) |
42.0 (107.6) |
38.7 (101.7) |
37.4 (99.3) |
38.4 (101.1) |
36.3 (97.3) |
35.7 (96.3) |
34.9 (94.8) |
33.8 (92.8) |
43.0 (109.4) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 29.8 (85.6) |
32.7 (90.9) |
35.3 (95.5) |
36.5 (97.7) |
34.6 (94.3) |
32.9 (91.2) |
31.9 (89.4) |
31.7 (89.1) |
32.2 (90) |
32.0 (89.6) |
30.6 (87.1) |
29.0 (84.2) |
32.43 (90.38) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 20.8 (69.4) |
23.3 (73.9) |
26.4 (79.5) |
28.9 (84) |
28.6 (83.5) |
28.1 (82.6) |
27.5 (81.5) |
27.1 (80.8) |
27.0 (80.6) |
26.2 (79.2) |
23.8 (74.8) |
20.7 (69.3) |
25.7 (78.26) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 13.4 (56.1) |
15.1 (59.2) |
18.3 (64.9) |
22.0 (71.6) |
23.6 (74.5) |
24.1 (75.4) |
23.8 (74.8) |
23.7 (74.7) |
23.3 (73.9) |
21.8 (71.2) |
18.6 (65.5) |
14.3 (57.7) |
20.17 (68.3) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 3.5 (38.3) |
7.0 (44.6) |
9.1 (48.4) |
16.2 (61.2) |
18.5 (65.3) |
20.1 (68.2) |
19.6 (67.3) |
19.4 (66.9) |
18.8 (65.8) |
12.1 (53.8) |
6.2 (43.2) |
4.9 (40.8) |
3.5 (38.3) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 8 (0.31) |
14 (0.55) |
27 (1.06) |
103 (4.06) |
175 (6.89) |
156 (6.14) |
207 (8.15) |
248 (9.76) |
205 (8.07) |
95 (3.74) |
19 (0.75) |
6 (0.24) |
1,263 (49.72) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 1 | 1 | 2 | 7 | 14 | 13 | 16 | 18 | 14 | 8 | 2 | 1 | 97 |
แหล่งที่มา 1: Hong Kong Observatory[3] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: NOAA [4] |
เขตการปกครอง
แก้เทศบาลเมืองน่านมีพื้นที่ 7.6 ตารางกิโลเมตร[5] หรือ 4,750 ไร่ ประกอบด้วย 2 ตำบล คือ ตำบลในเวียงทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลผาสิงห์ ซึ่งภายในเขตเทศบาลมีการจัดตั้งชุมชนย่อยซึ่งแบ่งตามความศรัทธาในวัดที่ชาวบ้านได้ถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลานาน จำนวน 31 ชุมชน ดังนี้
- ชุมชนบ้านช้างค้ำ
- ชุมชนบ้านมิ่งเมือง
- ชุมชนบ้านศรีพันต้น
- ชุมชนบ้านอภัย
- ชุมชนบ้านพวงพยอม
- ชุมชนบ้านมณเฑียร
- ชุมชนบ้านไผ่เหลือง
- ชุมชนบ้านหัวข่วง
- ชุมชนบ้านมงคล
- ชุมชนบ้านภูมินทร์–ท่าลี่
- ชุมชนบ้านพญาภู
- ชุมชนบ้านดอนศรีเสริม
- ชุมชนบ้านสวนหอม
- ชุมชนบ้านหัวเวียงใต้
- ชุมชนบ้านสวนตาล
- ชุมชนบ้านดอนแก้ว
- ชุมชนวัดอรัญญาวาส
- ชุมชนบ้านเมืองเล็น
- ชุมชนบ้านท่าช้าง
- ชุมชนบ้านพระเกิด
- ชุมชนบ้านพระเนตร
- ชุมชนบ้านช้างเผือก
- ชุมชนบ้านสถารส
- ชุมชนบ้านมหาโพธิ์
- ชุมชนบ้านเชียงแข็ง
- ชุมชนบ้านน้ำล้อม
- ชุมชนบ้านประตูปล่อง
- ชุมชนค่ายสุริยพงษ์
- ชุมชนบ้านสวนหอม ม.3 ตำบลผาสิงห์
- ชุมชนบ้านดอนสวรรค์ ม.8 ตำบลผาสิงห์
- ชุมชนบ้านฟ้าใหม่ ม.9 ตำบลผาสิงห์
ประชากร
แก้จำนวนประชากรในเขตเทศบาลเมืองน่าน ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 มีจำนวน 18,788 คน แยกเป็นชาย 9,282 คน หญิง 9,506 คน ความหนาแน่นของประชากรประมาณ 2,472.10 คนต่อตารางกิโลเมตร จำนวนบ้าน 10,978 หลังคาเรือน[1]
การขนส่ง
แก้การคมนาคมทางบกมีถนนสายสำคัญต่างๆ ดังนี้
1. | ถนนสุริยพงษ์ | ยาว 1,300 เมตร | |
2. | ถนนผากอง | ยาว 2,000 เมตร | |
3. | ถนนสุมนเทวราช | ยาว 3,000 เมตร | |
4. | ถนนอนันตวรฤทธิเดช | ยาว 1,100 เมตร | |
5. | ถนนมหายศ | ยาว 3,700 เมตร | |
6. | ถนนมหาวงศ์ | ยาว 1,200 เมตร | |
7. | ถนนมหาพรหม | ยาว 1,100 เมตร | |
8. | ถนนเจ้าฟ้า | ยาว 500 เมตร | |
9. | ถนนข้าหลวง | ยาว 1,200 เมตร | |
10. | ถนนหน่อคำ | ยาว 550 เมตร | |
11. | ถนนคำยอด | ยาว 650 เมตร | |
12. | ถนนวรวิชัย | ยาว 1,000 เมตร | |
13. | ถนนเทศบาลดำริห์ | ยาว 1,100 เมตร | |
14. | ถนนรอบเมืองทิศเหนือ | ยาว 350 เมตร | |
15. | ถนนรอบเมืองทิศใต้ | ยาว 700 เมตร | |
16. | ถนนรอบเมืองทิศตะวันตก | ยาว 1,100 เมตร | |
17. | ถนนมะโน | ยาว 3,000 เมตร | |
18. | ถนนราษฎร์ประสงค์ | ยาว 650 เมตร | |
19. | ถนนราชอำนวย | ยาว 1,400 เมตร | |
20. | ถนนสวนตาล | ยาว 400 เมตร | |
21. | ถนนสายท่าลี่ | ยาว 950 เมตร | |
22. | ถนนเปรมประชาราษฎร์ | ยาว 650 เมตร | |
23. | ถนนวรนคร | ยาว 400 เมตร | |
24. | ถนนอริยวงศ์ | ยาว 1,000 เมตร |
โครงสร้างพื้นฐาน
แก้การศึกษา
สถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองน่าน มีดังนี้
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
- สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สังกัดเทศบาลเมืองน่าน
- โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์)
- โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร เทศบาลเมืองน่าน (บ้านพระเนตร)
- โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล)
- สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน
การสาธารณสุข
สถานพยาบาลในเขตเทศบาลเมืองน่าน มีดังนี้
- สถานพยาบาลของรัฐ จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลน่าน
- ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองน่าน
- คลินิกเอกชน จำนวน 14 แห่ง
สถานประกอบการ
แก้ในเขตเทศบาลเมืองน่านมีสถานประกอบการในด้านต่างๆ ดังนี้
- ธนาคาร 10 แห่ง
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
- ตลาดสด 5 แห่ง
- ตลาดตั้งจิตนุสรณ์
- ตลาดสดชุมชนบ้านพระเนตร
- ตลาดตั้งจิตนุสรณ์ 2
- กาดศรีคำ
- ตลาดสดบ้านเชียงแข็ง
- ศูนย์การค้า 4 แห่ง
- ห้างนราไฮเปอร์มาร์ท
- โลตัส สาขาน่าน
- บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาน่าน
- สยามแม็คโคร สาขาน่าน
- สถานีบริการน้ำมัน 5 แห่ง
- สถานีขนส่ง 1 แห่ง
- สถานธนานุบาล 1 แห่ง
ศาสนสถาน
แก้วัดในเขตเทศบาลเมืองน่าน
- วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร พระอารามหลวง (หรือวัดหลวงกลางเวียงที่มีหอไตรปิฎกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย)
- วัดพญาภู พระอารามหลวง (วัดพระคู่งามปางลีลาค่าควรเมือง)
- วัดภูมินทร์ (วัดทรงจัตุรมุขแห่งเดียวในประเทศไทยและภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเลื่องชื่อ)
- วัดมิ่งเมือง (ประดิษฐานเสาหลักเมืองน่าน มิ่งมงคลแห่งชีวิต พระวิหารปูนปั้นสถาปัตยกรรมล้านนาศิลปะเชียงแสน)
- วัดกู่คำ (พระเกศาธาตุและผ้าอาบน้ำทองคำของพระพุทธเจ้าและพระพุทธรูปนั่งศิลปะสุโขทัยซึ่งได้รับพระราชทานมาจากพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5)
- วัดไผ่เหลือง (พระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า วัดเก่าแก่อายุกว่า 430 ปี))
- วัดสวนตาล (พระเจ้าทองทิพย์ ทิพย์แห่งทอง)
- วัดหัวข่วง (สถาปัตยกรรมแบบล้านนารูปแบบเอกลักษณ์ช่างสกุลน่าน เช่น หอไตร ประกาศเป็นโบราณสถานแห่งชาติของกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2523)
- วัดศรีพันต้น (ภาพวาดในวิหารตำนานเมืองน่าน หน้าบันพระวิหารเป็นปูนปั้นลวดลายนักษัตร 12 ราศี)
- วัดพวงพยอม (สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1220 โดยท่านมหาเถรเป็นผู้สร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 1840 ได้ทำการบูรณะขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อมาได้เป็นวัดร้างอีกครั้ง และได้กลับมาบรณะอีกครั้งเป็นครั้งที่ สองเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2010 โดยไม่ได้บันทึกว่าผู้ใดมาบูรณะ และได้เป็นวัดร้างอีกครั้ง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2498 ไดบูรณะให้เป็นวัดอีกครั้ง ตราบจนถึงปัจจุบัน)
- วัดมณเฑียร (วัดเก่าแก่อายุกว่า 250 ปี)
- วัดมงคล (สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ผู้สร้างคือ เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน เพื่ออุทิศถวายเป็นกุศลให้แก่เจ้าพญามงคลวรยศ จึงได้ประทานนามว่า วัดมงคล อายุกว่า 230 ปี)
- วัดอภัย (สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2400 วัดเก่าแก่อายุกว่า 160 ปี)
- วัดพระเกิด (สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2370 ได้รับประราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2381 ที่ มาของชื่อวัด จากตำนานคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ ระบุว่าตอนที่ปรับสถานที่สร้างวัดนี้ได้พบพระแก้วแกะสีขาวใสอยู่ในกล่องไม้ สานวางอยู่บนตอไม้ จึงตั้งชื่อวัดว่า “วัดพระเกิด” ตั้งแต่นั้นมา)
- วัดพระเนตร (สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2376 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2379 เขตวิสุคามสีมา กว้าง 9.7 เมตร ยาว 17.5 เมตร
- วัดน้อย ศาสนสถานที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ใต้ต้นไทรกลางเมืองน่าน
- วัดเชียงแข็ง
- วัดน้ำล้อม
- วัดหัวเวียงใต้
- วัดช้างเผือก
- วัดท่าช้าง
- วัดมหาโพธิ
- วัดอรัญญาวาส
- วัดสวนหอม
- วัดดอนแก้ว
- วัดเมืองเล็น
- วัดสถารศ
สวนสาธารณะ
แก้สวนสาธารณะ/ลานกีฬา/สถานที่ออกกำลังกาย ในเขตเทศบาลเมืองน่าน มีดังนี้
- สวนสาธารณะ บ้านช้างเผือก
- สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ กำแพงเมืองเก่า
- สวนสาธารณะข่วงเมืองน่าน
- สวนสาธารณะศรีเมือง
- สวนสาธารณะ บ้านสถารศ
- สวนสาธารณะ บ้านท่าช้าง
- สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ชุมชนบ้านมหาโพธิ
- สวนสาธารณะ บ้านดอนแก้ว
- สวนสาธารณะเทศบาล (เดิม)
- สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาราชินี
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2566 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองน่าน ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
- ↑ "Climatological Information for Nan, Thailand". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ November 20, 2012.
- ↑ "NAN/MUANG NAN Climate Normals 1961-1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ November 20, 2012.
- ↑ "ระบบข้อมูลกลางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-08. สืบค้นเมื่อ 2012-05-21.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว เมืองน่าน จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เทศบาลเมืองน่าน
- กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เก็บถาวร 2005-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน