รายพระนามฟาโรห์
ตำแหน่ง "ฟาโรห์" ได้ถูกใช้สำหรับผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่ทรงปกครองหลังจากการรวมดินแดนอียิปต์บนและอียิปต์ล่างโดยฟาโรห์นาร์เมอร์ในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์เมื่อประมาณ 3100 ปีก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้เพื่อกล่าวถึงผู้ปกครองแห่งอียิปต์ในในช่วงเวลาดังกล่าวจนกระทั่งถึงสมัยของราชวงศ์ที่สิบแปดของสมัยราชอาณาจักรใหม่เมื่อประมาณ 1400 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากตำแหน่งฟาโรห์ที่ถูกใช้เรียกผู้ปกครองคนในช่วงเวลาต่อมาแล้ว ยังปรากฏตำแหน่งราชวงศ์อียิปต์โบราณที่ผู้ปกครองแห่งอียิปต์ทรงใช้ ซึ่งยังคงใช้อย่างคงที่ตลอดเส้นเวลาประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ เมื่อเริ่มแรกประกอบด้วยพระนามฮอรัส, พระนามต้นกกและผึ้ง (nswt-bjtj) และพระนามสองสตรี (nbtj) โดยมีการเพิ่มการใช้พระนามฮอรัสทองคำ, พระนามประสูติ และพระนามครองราชย์กันอย่างต่อเนื่องกันในช่วงราชวงศ์ที่เข้ามาปกครองหลังจากนั้น
ฟาโรห์แห่งอียิปต์ | |
---|---|
ภาพฟาโรห์แบบทั่วไป | |
รายละเอียด | |
พระราชอิสริยยศ | ตำแหน่งห้าพระนาม |
กษัตริย์องค์แรก | นาร์เมอร์ (เมเนส) |
กษัตริย์องค์สุดท้าย |
|
สถาปนาเมื่อ | ป. 3100 ปีก่อนคริสตกาล |
การล้มล้าง | |
ที่ประทับ | แตกต่างกันไปตามยุคสมัย |
ผู้แต่งตั้ง | เทวสิทธิ์ |
อียิปต์ถูกปกครองอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยในบางส่วนโดยฟาโรห์ชาวพื้นเมืองเป็นระยะเวลาประมาณ 2,500 ปี จนกระทั่งถูกยึดครองโดยราชอาณาจักรแห่งคูชในปลายศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล ซึ่งผู้ปกครองได้นำตำแหน่งฟาโรห์แบบดั้งเดิมมาใช้สำหรับพระองค์เอง หลังจากการพิชิตโดยชาวคูช อียิปต์เข้าสู่ช่วงเวลาของการปกครองโดยชาวพื้นเมืองที่เป็นอิสระอีกช่วงหนึ่งก่อนที่จะถูกยึดครองอีกครั้งโดยจักรวรรดิอะคีเมนิด ซึ่งผู้ปกครองเกล่านั้นทรงได้รับฉายาว่า "ฟาโรห์" ด้วย ฟาโรห์ชาวพื้นเมืองพระองค์สุดท้ายของอียิปต์คือ เนคทาเนโบที่ 2 ซึ่งทรงเป็นฟาโรห์ก่อนที่จักรวรรดิอะคีเมนิดจะพิชิตอียิปต์เป็นครั้งที่สอง
การปกครองของจักรวรรดิอะคีเมนิดเหนือดินแดนอียิปต์สิ้นสุดลงโดยการพิชิตของอเล็กซานเดอร์มหาราชเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นก็ถูกปกครองโดยฟาโรห์ชาวกรีกจากราชวงศ์ปโตเลมี ส่วนการปกครองของราชวงศ์ปโตเลมีและเอกราชของอียิปต์สิ้นสุดลงเมื่ออียิปต์กลายเป็นมณฑลหนึ่งของจักรวรรดิโรมันเมื่อ 30 ปีก่อนคริสตกาล จักรพรรดิออกุสตุสและจักรพรรดิโรมันพระองค์ต่อมาได้รับการขนานพระนามว่าทรงเป็นฟาโรห์ในอียิปต์จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดิมักซีมินัส ดาซาในปี ค.ศ. 314
ช่วงเวลาที่ระบุในรายพระนามฟาโรห์เป็นช่วงเวลาโดยประมาณ โดยอ้างอิงจากลำดับเหตุการณ์ของอียิปต์โบราณเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่อ้างอิงตามฐานข้อมูลของอียิปต์ดิจิทัลสำหรับมหาวิทยาลัย (Digital Egypt for Universities)[3] ที่พัฒนาโดยพิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์เพตรี ส่วนช่วงเวลาอื่นๆ ที่นำมาจากหน่วยงานอื่นอาจจะระบุแยกไว้ต่างหาก
บันทึกพระนามแห่งอียิปต์โบราณ
แก้รายพระนามฟาโรห์ในปัจจุบันได้อ้างอิงจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ รวมถึงบันทึกพระนามกษัตริย์อียิปต์โบราณและประวัติศาสตร์ในช่วงหลัง เช่น แอกิปเทียกาของแมนิโธ ตลอดจนหลักฐานทางโบราณคดี เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลโบราณ นักไอยคุปต์วิทยาและนักประวัติศาสตร์ได้เตือนให้ระมัดระวังในเรื่องความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของแหล่งข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งข้อมูลหลายแหล่งได้ถูกเขียนขึ้นหลังจากรัชสมัยที่ผู้เขียนได้บันทึกข้อมูลเป็นระยะเวลานาน[4] ส่วนปัญหาเพิ่มเติม คือ รายพระนามกษัตริย์ในสมัยโบราณมักจะปรากฏส่วนที่เสียหาย ไม่สอดคล้องกัน และ/หรือมีการเลือกที่จะบันทึกพระนามของฟาโรห์พระองค์นั้นๆ
บันทึกพระนามกษัตริย์โบราณที่ถูกค้นพบและเป็นที่รู้จักดังต่อไปนี้ (พร้อมกับช่วงสมัยราชวงศ์ที่บันทึกพระนามได้ถูกเชียนขึ้น)[5]
- ตราประทับของฟาโรห์เดน (ราชวงศ์ที่หนึ่ง) ค้นพบรายพระนามบนตราประทับทรงกระบอกในสุสานของฟาโรห์เดน ซึ่งปรากฏรายพระนามที่เป็นพระนามฮอรัสของผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่หนึ่งทั้งหมดตั้งแต่ฟาโรห์นาร์เมอร์จนถึงฟาโรห์เดน[6]
- ศิลาปาแลร์โม (ราชวงศ์ที่ห้า) แกะสลักบนแผ่นหินบะซอลต์โอลิวีนที่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จึงส่งผลให้จารึกดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์
- กระดานเขียนกิซา (ราชวงศ์ที่หก) เขียนด้วยหมึกสีแดง เขียว และดำ บนยิปซัมและไม้ซีดาร์ เป็นบันทึกพระนามที่มีการเลือกที่จะบันทึกพระนามของฟาโรห์มาก
- หินสลักแห่งซัคคาราใต้ (ราชวงศ์ที่หก) แกะสลักบนแผ่นหินบะซอลต์สีดำ เป็นบันทึกพระนามที่มีการเลือกที่จะบันทึกพระนามของฟาโรห์มาก
- บันทึกพระนามแห่งคาร์นัก (ราชวงศ์ที่สิบแปด) แกะสลักบนหินปูน เป็นบันทึกพระนามที่มีการเลือกที่จะบันทึกพระนามของฟาโรห์มาก
- บันทึกพระนามแห่งอไบดอสของฟาโรห์เซติที่ 1 (ราชวงศ์ที่สิบเก้า) แกะสลักบนหินปูน เป็นบันทึกพระนามที่มีความละเอียดมาก แต่ไม่บันทึกพระนามของผู้ปกครองบางส่วนในช่วงสมัยระหว่างกลางที่หนึ่งและผู้ปกครองทั้งหมดในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์
- บันทึกพระนามแห่งอไบดอสของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 2 (ราชวงศ์ที่สิบเก้า) แกะสลักบนหินปูน เป็นบันทึกพระนามที่มีการเลือกที่จะบันทึกพระนามของฟาโรห์มาก
- บันทึกพระนามแห่งแรเมสเซียม (ราชวงศ์ที่สิบเก้า) แกะสลักบนหินปูน ซึ่งบันทึกพระนามของฟาโรห์ส่วนใหญ่จากสมัยราชอาณาจักรใหม่จนถึงฟาโรห์ราเมสเซสที่ 2
- บันทึกพระนามแห่งซัคคารา (ราชวงศ์ที่สิบเก้า) แกะสลักบนหินปูน เป็นบันทึกพระนามที่มีความละเอียดมาก แต่ไม่บันทึกพระนามของผู้ปกครองส่วนใหญ่จากราชวงศ์ที่หนึ่งไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
- บันทึกพระนามแห่งตูริน (ราชวงศ์ที่สิบเก้า) เขียนด้วยหมึกสีแดงและสีดำบนกระดาษปาปิรุส น่าจะเป็นบันทึกพระนามกษัตริย์ที่สมบูรณ์ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความเสียหายอย่างมากในปัจจุบัน
- บันทึกพระนามแห่งเมดิเนต ฮาบู (ราชวงศ์ที่ยี่สิบ) แกะสลักบนหินปูน และลักษณะคล้ายกับบันทึกพระนามแห่งแรเมสเซียม
- แอกิปเกียกาของแมนิโธ (สมัยกรีก) อาจจะเขียนบนกระดาษปาปิรุส งานเขียนดั้งเดิมได้สูญหายไปแล้วในปัจจุบัน และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจำนวนมากที่เขียนเกี่ยวกับกับผู้ปกครองบางพระองค์ดูเหมือนเป็นเรื่องที่โกหกขึ้น
ช่วงก่อนยุคราชวงศ์แห่งอียิปต์
แก้ดูบทความหลักที่ อียิปต์โบราณก่อนยุคราชวงศ์
ช่วงก่อนยุคราชวงศ์แห่งอียิปต์ สิ้นสุดลงประมาณ 3100 ปีก่อนคริสตกาล เมื่ออียิปต์รวมเป็นราชอาณาจักรเดียวกันเป็นครั้งแรก
อียิปต์บน
แก้ดูบทความหลักที่ อียิปต์บน และ ราชวงศ์ที่ศูนย์ศูนย์
อียิปต์บน หรือเป็นที่รู้จักกันใน "ดินแดนสีแดง" ประกอบด้วยอาณาเขตพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำไนล์ทางตอนใต้ของอียิปต์ล่าง รวมไปถึงทะเลทรายรอบข้าง
การจัดกลุ่มผู้ปกครองใหม่ตามที่ปรากฏข้างล่าง คือ กลุ่มผู้ปกครองในช่วงก่อนยุคราชวงศ์แห่งอียิปต์บน ซึ่งอยู่ในช่วงปลายของสมัยนะกอดะฮ์ที่ 3 โดยบางครั้งจะเรียกช่วงเวลาดังกล่าวอย่างไม่เป็นทางการว่า ราชวงศ์ที่ศูนย์ศูนย์ (Dynasty 00)
รูปภาพ | พระนาม | รัชสมัย | คำอธิบาย |
---|---|---|---|
อา(?) | เป็นที่ทราบมาจากเฉพาะภาพสลักที่ค้นพบในทะเลทรายทางตะวันตกในปี ค.ศ. 2004[7] ยังไม่ปรากฏหลักฐานอื่นในการยืนยันเกี่ยวการมีอยู่ของพระองค์ | ||
— | [ฟิงเกอร์ สเนล] | การมีอยู่ของผู้ปกครองพระองค์ดังกล่าวยังคงคลุมเครืออยู่มาก[8] | |
— | [ฟิช[9]] | เป็นที่ทราบมาจากโบราณวัตถุที่ปรากฎพระนามของพระองค์เท่านั้น และพระองค์น่าจะทรงไม่เคยมีตัวตนอยู่จริง[8] | |
[เอลเลเฟนต์[10]] | อาจจะทรงไม่มีตัวตนอยู่จริง | ||
— | [สตอร์ก[11][12]] | อาจจะทรงไม่มีตัวตนอยู่จริง[8] | |
— | [บูล] | อาจจะทรงไม่มีตัวตนอยู่จริง[8] | |
— | [สกอร์เปียนที่ 1] | ผู้ปกครองพระองค์แรกของอียิปต์บน |
อียิปต์ล่าง
แก้ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์ที่ศูนย์แห่งอียิปต์
อียิปต์ล่าง หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม "ดินแดนสีดำ" ประกอบด้วยอาณาเขตทางตอนเหนือของแม่น้ำไนล์ รวมไปถึงพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ และต่อไปนี้เป็นรายพระนามผู้ปกครองที่ยังไม่สมบูรณ์ ดังนี้
รูปภาพ | พระนาม | รัชสมัย | คำอธิบาย |
---|---|---|---|
(หมายเลข 1) |
[...]ปุ | ไม่ทราบ
|
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม |
(หมายเลข 2) |
ฮเซคิอู (เซคา) | ไม่ทราบ
|
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม |
(หมายเลข 3) |
คายู | ไม่ทราบ
|
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม |
(หมายเลข 4) |
ตีอู (ตียิว) | ไม่ทราบ
|
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม |
(หมายเลข 5) |
เธช (ทเจช) | ไม่ทราบ
|
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม |
(หมายเลข 6) |
เนเฮบ | ไม่ทราบ
|
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม |
(หมายเลข 7) |
วาสเนอร์ | ทรงปกครองประมาณหรือก่อนหน้า 3200 ปีก่อนคริสตกาล
|
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม |
(หมายเลข 8) |
เมค | ไม่ทราบ
|
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม |
(หมายเลข 9) |
[...]อา[13] | ไม่ทราบ
|
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม |
เฮดจู ฮอร์ | หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม | ||
นิ-ฮอร์ | ปรากฏหลักฐานเฉพาะจากภาชนะดินและหินที่พบในสุสานใกล้ทาร์ชัน, ทูรา, ทาร์จัน และนากาดา นักวิชาการบางคนเชื่อว่า เซเรค ดังกล่าวเป็นเพียงความพยายามอย่างไม่ละเอียดในการเขียนพระนาม "นาร์เมอร์"[14] | ||
นิ-นิธ | ปรากฏหลักฐานจากจารึกในเฮลวานเท่านั้น การอ่านพระนามยังไม่แน่นอน[15] | ||
ฮัต-ฮอร์ | ประมาณ 3180 ปีก่อนคริสตกาล
|
นักวิชาการบางคนเชื่อว่า เซเรค ดังกล่าวเป็นเพียงความพยายามอย่างไม่ละเอียดในการเขียนพระนาม "นาร์เมอร์"[16] | |
[ดับเบิล ฟอลคอน] | นะกอดะฮ์ที่ 3?? (ศตวรรษที่ 32 ก่อนคริสตกาล)
|
อาจจะทรงปกครองบริเวณอียิปต์บนด้วย | |
วาช | ปรากฏหลักฐานจากแผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์[17] ประมาณ 3150 ปีก่อนคริสตกาล |
ผู้ปกครองช่วงก่อนยุคราชวงศ์: ราชวงศ์ที่ศูนย์
แก้ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์ที่ศูนย์แห่งอียิปต์
เนื่องจากผู้ปกครองเหล่านี้ทรงปกครองก่อนหน้าช่วงสมัยราชวงศ์ที่หนึ่ง ซึ่งได้รับการจัดกลุ่มผู้ปกครองอย่างไม่เป็นทางการให้อยู่ใน "ราชวงศ์ที่ศูนย์"
รายพระนามต่อไปนี้ของผู้ปกครองในช่วงก่อนยุคราชวงศ์ ซึ่งอาจจะยังไม่สมบูรณ์ ดังนี้
รูปภาพ | พระนาม | รัชสมัย | คำอธิบาย |
---|---|---|---|
[คร็อกโคไดล์] | ประมาณ 3170 ปีก่อนคริสตกาล
|
อาจจะอ่านพระนามได้ว่า เชนดจู และตัวตนและการมีพระชนม์ชีพอยู่นั้นยังคงเป็นที่ถกเถียง[18] | |
อิริ-ฮอร์ | ประมาณ 3170 ปีก่อนคริสตกาล
|
ตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้องนั้นยังไม่แน่ชัด[19] | |
คา | ประมาณ 3170 ปีก่อนคริสตกาล
|
พระนามอาจจะอ่าน เซเคนมากกว่า คา ตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้องนั้นยังไม่แน่ชัด[20] | |
สกอร์เปียนที่ 2 | ประมาณ 3170 ปีก่อนคริสตกาล
|
อาจจะอ่านพระนามได้ว่า เซอร์เกต อาจจะเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์นาร์เมอร์[21] |
ช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์
แก้สมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์ เริ่มตั้งแต่ประมาณ 3150 - 2686 ปีก่อนคริสตกาล[22]
ราชวงศ์ที่หนึ่ง
แก้ราชวงศ์ที่หนึ่งเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์ระหว่าง 3150 - 2890 ปีก่อนคริสตกาล[23]
รูปภาพ | พระนาม | พระนามประสูติ | รัชสมัย | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|
นาร์เมอร์ |
เมเนส? | ประมาณ 3150 ปีก่อนคริสตกาล[23] | นักวิชาการหลายคนเชื่อว่าเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เมเนส เนื่องจากปรากฏหลักฐานมากมายที่บ่งชี้เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว[24] พระนามของพระองค์ปรากฏทั่วอียิปต์ และยังพบที่นาฮาล ติลลาห์ในอิสราเอล ซึ่งอยู่ไกลกว่าบริเวณการปกครองของผู้ปกกครองก่อนหน้าพระองค์มาก[25] | |
อฮา (เตติ) |
เตติ | ประมาณ 3125 ปีก่อนคริสตกาล | พระนามในภาษากรีก คือ อโธทิส (Athotis)[26] พระองค์อาจจะเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เมเนส ถึงแม้ว่าฟาโรห์เมเนสจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์นาร์เมอร์มากกว่า[24] การค้าส่วนใหญ่ถูกแทนที่ด้วยการแสวงหาผลประโยชน์โดยตรงจากทรัพยากรผ่านทางด่านหน้าในรัชสมัยของพระองค์[27] พระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์นาร์เมอร์ | |
ดเจอร์[28] | อิเตติ | 54 ปี[29] | พระนามในภาษากรีก คือ เคนเคเนส (Kénkenes) สุสานของพระองค์ถูกเชื่อว่าเป็นสุสานในตำนานของเทพโอซิริส ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรก ซึ่งทรงมีพระนามฮอรัสทองคำ ความสนใจและการค้ากับพรมแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของอียิปต์ดูเหมือนจะกลับมาอีกครั้งในรัชสมัยของพระองค์[27] | |
ดเจต[30] | อิตา | 10 ปี[31] | พระนามในภาษากรีก คือ อูเอเนเฟส Ouenephes ซึ่งปรากฏหลักฐานที่ชี้ว่าพระองค์ทรงไม่ได้ครองราชย์อันยาวนาน[32] | |
เมอร์นิธ | — | ประมาณ 2950 ปีก่อนคริสตกาล | อาจจะทรงเป็นฟาโรห์สตรีพระองค์แรกของอียิปต์ พระองค์อาจจะทรงปกครองในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของฟาโรห์เดน ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ สุสานของพระองค์ก็มีความโดดเด่นในระดับเดียวกับสุสานของฟาโรห์พระองค์อื่นๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว | |
คาสติ | เดน[33] | 42 ปี[31] | พระนามในภาษากรีก: อูซาฟาอิดอส Ousaphaidos ฟาโรห์เดน ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่ปรากฏพระนาม เซนุต-บิติ (พระนามครองราชย์) และทรงเป็นฟาโรห์พระองค์องค์แรกที่ปรากฏทรงสวมมงกุฏคู่ (pschent) ของอียิปต์บนและล่าง[34] ในเทศกาลเซดครั้งที่สองได้รับการยืนยันจากรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งบ่งชี้ว่าพระองค์ทรงอยู่ในพระราชอำนาจมาเป็นระยะเวลานาน[34] ฟาโรห์เดนทรงมุ่งความสนใจไปที่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของอียิปต์ในรัชสมัยของพระองค์ และยังทรงนำการรบเล็กๆ ในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ปรากฏในศิลาแห่งปาแลร์โม[35] | |
เมอร์บิอัป | อัดจ์อิบ | 10 ปี | พระนามในภาษากรีก คือ มิเอบิดอส Miebidós[36]
เป็นที่ทราบจากพระนามเนบติที่คลุมเครือของพระองค์[37] | |
เซเมอร์เคต | อิรี | 8 ปีครึ่ง[31] | พระนามในภาษากรีก คือ เซเมมเซส Semempsés[38]
ทรงเป็นผู้ปกครองอียิปต์พระองค์แรกที่ทรงมีพระนามเนบติ ตลอดรัชสมัยที่สมบูรณ์ของพระองค์ได้ถูบันทึกไว้ในศิลาแห่งไคโร พบภาชนะหินจำนวนมากของผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์ถูกจารึกด้วยพระนามของฟาโรห์เซเมอร์เคต ดังนั้น พระองค์อาจจะทรงเป็นผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์[39] | |
กา'อา | เกเบห์ | 34 ปี | พระนามในภาษากรีก คือ บิเอนเนเคส Bienékhes[40]
ทรงปกครองเป็นระยะเวลายาวนาน สุสานของพระองค์เป็นสุสานที่สุดท้ายที่จะมีห้องสุสานย่อย | |
สเนเฟอร์คา | — | ประมาณ 2900 ปีก่อนคริสตกาล | รัชสมัยอันสั้น และไม่ทราบตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้อง | |
[ฮอรัส เบิร์ด] | — | ประมาณ 2900 ปีก่อนคริสตกาล | รัชสมัยอันสั้น และไม่ทราบตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้อง |
ราชวงศ์ที่สอง
แก้ราชวงศ์ที่สองเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์ระหว่าง 2890 - 2686 ปีก่อนคริสตกาล[23]
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | รัชสมัย | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|
โฮเทปเซเคมวี[41] | เนบติโฮเทป | 15 ปี | แมนิโธได้เรียกพระองค์ว่า โบอีธอส Boëthos และบันทึกไว้ว่าในรัชสมัยผู้ปกครองพระองค์ดังกล่าวได้เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก พระองค์ทรงยุติประเพณีการฝังพระบรมศพที่สุสานหลวงในอไบดอสที่อุมมุลกะอับ ซึ่งเป็นที่ฝังพระบรมศพของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่หนึ่งส่วนใหญ่ โดยเลือกที่จะฝังที่ซักกอเราะฮ์แทนเพื่อให้ใกล้กับเมืองหลวงมากขึ้น[42] | |
เนบรา[43] | 14 ปี | พระนามในภาษากรีก คือ คาอิเอคอส Kaíechós (ในช่วงหลังที่คาร์ทูชสมัยรามเสสได้เรียกว่า คาคาว)
ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกที่ใช้สัญลักษณ์ดวงอาทิตย์ในพระนาม อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกับฟาโรห์เวเนก | ||
นิเนทเจอร์[44] | บาเนทเจอร์ | 43–45 ปี | พระนามในภาษากรีก คือ บิโนธริส Binóthris
อาจจะทรงแบ่งดินแดนอียิปต์ระหว่างผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองงค์ ซึ่งพระองค์ถูกกล่าวหาว่าอนุญาตให้สตรีปกครองอย่างฟาโรห์ | |
บา | — | ไม่ทราบ | อาจจะทรงเป็นผู้ปกครองอิสระที่ขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์นิเนทเจอร์ หรืออาจจะทรงเคยปกครองในราชวงศ์ที่หนึ่งหรือสาม หรือทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกับฟาโรห์ฮอรัส เบิร์ดก็ได้ | |
เวเนก-เนบติ[45] | — | ประมาณ 2740 ปีก่อนคริสตกาล | พระนามในภาษากรีก คือ อูโกทลาส/ทลาส Ougotlas / Tlás
อาจจะทรงเป็นผู้ปกครองอิสระที่ขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์นิเนทเจอร์ หรืออาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เพอร์อิบเซน, เซเคมอิบ-เพอร์เอนมาอัต หรือราเนบ | |
วัดจ์เนส | วัดจ์-เซน | ประมาณ 2740 ปีก่อนคริสตกาล | พระนามในภาษากรีก: Tlas (ทลาส)
อาจจะเป็นการตีความสัญลักษณ์อักษรอียิปต์โบราณรูปดอกไม้ที่เรียกว่า เวเนก ผิดไป อาจจะเป็นมกุฎราชกุมารหรือทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกับฟาโรห์เวเนก-เนบติ | |
นุบเนเฟอร์ | — | ไม่ทราบ | อาจจะเป็นพระนามประสูติของฟาโรห์เนบรา และอาจจะทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์วัดจ์เอนเอสหรือฟาโรห์นิเนทเจอร์ | |
เซเนดจ์[46] | — | 47 ปี (สันนิษฐาน) | พระนามในภาษากรีก คือ เซเธเนส Sethenes
อาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เพอร์อิบเซน แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสันนิษฐานดังกล่าวก็ยังมีข้อโต้แย้งอยู่มาก[47] | |
เพอร์อิบเซน | เซธ-เพอร์อิบเซน | ไม่ทราบ | ทรงใช้สัญลักษณ์ของเทพเซธวางไว้เหนือเซเรคของพระองค์แทนสัญลักษณ์นกฟอลคอลของเทพฮอรัส พระองค์ทรงส่งเสริมลัทธิบูชาดวงอาทิตย์ในอียิปต์และลดอำนาจของขุนนาง เจ้านาย และเจ้าครองที่ดิน นักวิชาการบางคนเชื่อว่าพระองค์ปกครองอียิปต์ในช่วงที่แตกแยก[48] | |
เซเคมอิบ | เซเคมอิบ-เพอร์เอนมาอัต | ประมาณ 2720 ปีก่อนคริสตกาล | อาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เซธ-เพอร์อิบเซน[49] | |
เนเฟอร์คาเรที่ 1 | 25 ปี (ตามแมนิโธ) | พระนามในภาษากรีก คือ เนเฟอร์เคเรส Néphercherés
พระนามของพระองค์ปรากฏเฉพาะในบันทึกพระนามจากสมัยรามเสสเท่านั้น และไม่ปรากฏทางหลักฐานที่ยืนยันทางโบราณคดี | ||
เนเฟอร์คาเซเคอร์ | 8 ปี | พระนามในภาษากรีก คือ เซโซคริส Sesóchris
พระนามของพระองค์ปรากฏเฉพาะในบันทึกพระนามจากสมัยรามเสสเท่านั้น และไม่ปรากฏทางหลักฐานที่ยืนยันทางโบราณคดี ตามตำนานจากสมัยราชอาณาจักรเก่าได้กล่าวว่า ผู้ปกครองพระองค์ดังกล่าวช่วยอียิปต์จากภัยแล้งอันยาวนาน[50] | ||
ฮอรัส ซา | — | ไม่ทราบ | อาจจะเป็นรูปแบบหนึ่งของพระนามฮอรัสว่า ซานัคต์ ซึ่งอาจจะเป็นพระนามฮอรัสของฟาโรห์เวเนกหรือฟาโรห์เซเนดจ์ ตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้องยังคลุมเครือ | |
—("ฮู'ดเจฟา") | 11 ปี (ตามบันทึกพระนามแห่งตูริน) | พระนามของพระองค์ปรากฏเฉพาะในบันทึกพระนามจากสมัยรามเสสเท่านั้น "พระนาม" ของพระองค์เป็นคำถอดความที่ชี้ให้เห็นว่าพระนามเดิมของฟาโรห์พระองค์ดังกล่าวได้สูญหายไปแล้วในสมัยรามเสส | ||
คาเซเคม/คาเซเคมวี[51] | เบ(เ)บติ | 18 ปี | พระนามในภาษากรีก คือ เคเนเรส Chenerés
เป็นไปได้ว่าเมื่อฟาโรห์คาเซเคมทรงขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองแห่งอียิปต์บน และพระองค์ทรงเป็นผู้นำดำเนินการทางทหารกับอียิปต์ล่าง ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของพระองค์ เพื่อรำลึกถึงความสำเร็จในการรวมอียิปต์อีกครั้ง พระองค์จึงเปลี่ยนพระนามเป็น คาเซเคมวี[52] และพระนามเซเรคของพระองค์ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ปรากฏสัญลักษณ์ของเทพฮอรัสและเทพเซธ พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในผู้ที่ทรงโปรดให้สร้างสิ่งปลูกสร้างพระองค์แรกของอียิปต์ สถานที่ฝังพระบรมศพของพระองค์ที่รู้จักกันในนาม ชูเน็ท-เอซ-เซบิบ ซึ่งเป็นโครงสร้างอิฐโคลนขนาดมหึมา[53] |
ช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์
แก้สมัยราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานของความมั่นคงและการพัฒนาที่เกิดหลังจากช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นและก่อนหน้าช่วงสมัยระหว่างกลางที่หนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดความวุ่นวายในดินแดนอียิปต์ สมัยราชอาณาจักรเก่าครอบคลุมตั้งแต่ 2686 ถึง 2181 ปีก่อนคริสตกาล
ราชวงศ์ที่สาม
แก้ราชวงศ์ที่สามเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์ระหว่าง 2686 ถึง 2613 ปีก่อนคริสตกาล[23]
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | รัชสมัย | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|
ดโจเซอร์[54][55] | เนทเจอร์อิเคต | 19 หรือ 28 ปี อาจจะประมาณ 2650 ปีก่อนคริสตกาล[56] | พระนามในภาษากรีก คือ เซซอร์ธอส Sesorthos และ โทซอร์ธรอส Tosorthros
ทรงโปรดให้สร้างพีระมิดแห่งแรกในอียิปต์ ซึ่งสร้างขึ้นโดยหัวหน้าสถาปนิกและอาลักษณ์นามว่า อิมโฮเทป | |
เซเคมเคต[57] | (ดโจเซอร์-) เตติ | 2649–2643 ปีก่อนคริสตกาล | พระนามในภาษากรีก คือ ไทเรอิส Tyréis (ในช่วงหลังที่คาร์ทูชสมัยรามเสสได้เรียกฟาโรห์เซเคมเคตว่า เตติ)
ภายในของพีระมิดขั้นบันไดที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ค้นพบมัมมี่ของทารกอายุ 2 ขวบ[58] | |
เนบคา? | ซานัคต์ | ประมาณ 2650 ปีก่อนคริสตกาล | มีความเป็นไปได้ที่จะระบุพระนามครองราชย์ "เนบคา" เป็นพระนามของพระองค์ พระนามในภาษากรีก คือ เนเคอร์โอคิส Necherôchis และ เนเคอร์โอเฟส Necherôphes พระองค์อาจจะทรงครองราชย์เป็นเวลา 6 ปี หากพระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ในบันทึกพระนามแห่งตูริน | |
กาเฮดเจต | — | ไม่ทราบ | อาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ฮูนิ หรืออาจจะภาพแทนฟาโรห์ในรูปแบบโบราณของฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 ไม่ทราบตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้อง | |
คาบา | — | 2643–2637 ปีก่อนคริสตกาล | อาจจะทรงโปรดให้สร้างพีระมิดขั้นบันไดที่ยังไม่แล้วเสร็จ อาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ฮูนิ | |
ฮูนิ[59] | 2637–2613 ปีก่อนคริสตกาล | พระนามในภาษากรีก คือ อาเคส Áches
อาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์กาเฮดเจตและฟาโรห์คาบา อาจจะทรงโปรดให้สร้างพีระมิดขั้นบันไดที่ยังไม่แล้วเสร็จและพีระมิดลัทธิอีกหลายแห่งทั่วอียิปต์ มีการสันนิษฐนว่าฟาโรห์ทรงโปรดให้การสร้างพีระมิดแห่งไมดุมมาเป็นระยะเวลานาน แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสันนิษฐานดังกล่วได้ถูกหักล้างโดยภาพสลักจากสมัยราชอาณาจักรใหม่ที่ยกย่องฟาโรห์สเนเฟอร์อูแทนที่จะเป็นฟาโรห์ฮูนิ |
ราชวงศ์ที่สี่
แก้ราชวงศ์ที่สี่เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์ระหว่าง 2613 - 2496 ปีก่อนคริสตกาล[23]
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | รัชสมัย | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|
สเนเฟอร์อู | เนบมาอัต | 2613–2589 ปีก่อนคริสตกาล[23] | พระนามในภาษากรีก คือ โซริส Sóris
พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 48 ปี ทำให้พระองค์ทรงมีเวลามากพอที่จะทรงโปรดให้สร้างพีระมิดไมดุม พีระมิดโค้งงอ และพีระมิดแดง นักวิชาการบางคนเชื่อว่าพระองค์ทรงถูกฝังพระบรมศพอยู่ในพีระมิดแดง และตามที่เชื่อกันมานานแล้วว่าพีระมิดไมดุมไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างของฟาโรห์สเนเฟอร์อู แต่เป็นของฟาโรห์ฮูนิแทน เอกสารอียิปต์โบราณได้บันทึกไว้ว่าฟาโรห์สเนเฟอร์อูทรงเป็นผู้ปกครองที่เคร่งศาสนา พระทัยกว้าง และทรงน่ายกย่อง[60] | |
(คนุม-) คูฟู | เม'ดเจดอู | 2589–2566 ปีก่อนคริสตกาล | พระนามในภาษากรีก คือ เคออปส์ Cheops และ ซูฟิส Suphis
พระองค์ทรงโปรดให้สร้างมหาพีระมิดที่กิซา ฟาโรห์คูฟูทรงถูกมองว่าเป็นกษัตริย์เผด็จการที่โหดร้ายโดยนักเขียนชาวกรีกโบราณ แหล่งข้อมูลจากอียิปต์โบราณได้อธิบายว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองที่ใจดีและเคร่งศาสนา พระองค์ทรงปรากฏอยู่ในบันทึกปาปิรุสเวสต์คาร์ที่บันทึกครั้งแรกในรัชสมัยของฟาโรห์คูฟู ซึ่งอาจจะทำให้นักเขียนชาวกรีกโบราณเชื่อว่าฟาโรห์คูฟูทรงจัดทำบันทึกปาปิรุสเพื่อทรงพยายามสรรเสริญเทพเจ้า | |
ดเจดเอฟเร | เคเปอร์ | 2566–2558 ปีก่อนคริสตกาล | พระนามในภาษากรีก คือ ราโทอิเซส Rátoises
นักวิชาการบางคนเชื่อว่าพระองค์ทรงโปรดห้สร้างมหาสฟิงซ์ของกิซ่า เพื่อถวายเป็นอนุสาวรีย์แด่ฟาโรห์คูฟู ผู้เป็นพระราชบิดาที่เสด็จสวรรคตไป นอกจากนี้พระองค์ยังทรงโปรดให้ยังสร้างพีระมิดที่อาบู ราวาช อย่างไรก็ตาม พีระมิดดังกล่าวก็ไม่ได้หลงเหลือตัวพีระมิดแล้ว เนื่องจากสันนิษฐานว่าชาวโรมันขโมยวัสดุจากโครงสร้างพีระมิดไป | |
คาฟเร | อูเซอร์อิบ | 2558–2532 ปีก่อนคริสตกาล | พระนามในภาษากรีก คือ เคเฟรน Chéphren และ ซูฟิสที่ 2 Suphis II
พีระมิดของพระองค์มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในกิซา นักวิชาการบางคนเชื่อว่าพระองค์ทรงโปรดให้สร้างมหาสฟิงซ์ขึ้นก่อนหน้าฟาโรห์ดเจดเอฟเร หมู่โครงสร้างสุสานของพระองค์มีขนาดใหญ่ที่สุดในที่ราบสูงกิซา | |
— | บาคา | ประมาณ 2570 ปีก่อนคริสตกาล | พระนามในภาษากรีก คือ บิเคอริส Bikheris
อาจจะทรงเป็นเจ้าของพีระมิดแห่งซาวเยต อัล'อัรยันเหนือที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ และพระองค์อาจจะทรงไม่มีตัวตนอยู่จริง | |
เมนคาอูเร | คาเคต | 2532–2503 ปีก่อนคริสตกาล | พระนามในภาษากรีก คือ เมนเคเรส Menchéres
พีระมิดของพระองค์มีขนาดเป็นอันดับสามและเล็กที่สุดในกิซา มีตำนานเล่าว่าพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวของพระองค์สิ้นพระชนม์เนื่องจากพระประชวร และพระองค์ทรงได้ฝังพระราชธิดาไว้ในโลงพระศพทองคำรูปโค | |
เชปเซสคาฟ | เชปเอสเคต | 2503–2498 ปีก่อนคริสตกาล | พระนามในภาษากรีก คือ เซเบอร์เคเรส Seberchéres
ทรงเป็นเจ้าของสุสานมาสตาบัต อัล-ฟารา'อูน | |
— | (ทัมฟ์ธิส) | ประมาณ 2500 ปีก่อนคริสตกาล | ตามบันทึกของแมนิโธ พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สี่ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันทางโบราณคดีของพระองค์เลย และพระองค์อาจจะทรงไม่มีตัวตนอยู่จริง |
ราชวงศ์ที่ห้า
แก้ราชวงศ์ที่ห้าเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์ระหว่าง 2498 - 2345 ปีก่อนคริสตกาล[23]
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | รัชสมัย | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|
ยูเซอร์คาฟ | 2498–2491 ปีก่อนคริสตกาล | ทรงถูกฝังพระบรมศพอยู่ในพีระมิดในซักกอเราะฮ์ และพระองค์โปรดให้สร้างวิหารสุริยะแห่งแรกที่อาบูเซอร์ | ||
ซาห์อูเร | 2490–2477 ปีก่อนคริสตกาล | ทรงย้ายสุสานหลวงไปที่อาบูเซอร์ ที่ซึ่งพระองค์ทรงโปรดสร้างพีระมิดของพระองค์ไว้ | ||
เนเฟอร์อิร์คาเร | คาคาอิ | 2477–2467 ปีก่อนคริสตกาล | พระราชโอรสในฟาโรห์ซาอูเร พระนามตอนประสูติ คือ ราเนเฟอร์ | |
เนเฟอร์เอฟเร | อิซิ | 2460–2458 ปีก่อนคริสตกาล | พระราชโอรสของฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเร | |
เชปเซสคาเร | เนทเจอร์อูเซอร์ | เพียงไม่กี่เดือน | น่าจะทรงขึ้นครองราชย์หลังจากรัชสมัยฟาโรห์เนเฟอร์เอฟเรและทรงครองราชย์เพียงไม่กี่เดือน พระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ซาห์อูเร[61] | |
นิอูเซอร์เร | อินิ | 2445–2422 ปีก่อนคริสตกาล | เป็นพระภราดรของฟาโรห์เนเฟอร์เอฟเร ทรงโปรดให้สร้างสุสานของพระองค์ขึ้นอย่างใหญ่โตในสุสานหลวงแห่งอาบูเซอร์ | |
เมนคาอูฮอร์ | คาอิอู | 2422–2414 ปีก่อนคริสตกาล | ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายที่ทรงโปรดให้สร้างวิหารสุริยะ | |
ดเจดคาเร | อิเซซิ | 2414–2375 ปีก่อนคริสตกาล | ทรงทำการปฏิรูปการบริหารราชอาณาจักรอียิปต์อย่างครอบคลุม ทรงเสวยราชสมบัติยาวนานที่สุดในราชวงศ์ของพระองค์ โดยน่าจะทรงครองราชสมบัติมากกว่า 35 ปี | |
อูนัส | 2375–2345 ปีก่อนคริสตกาล | พีระมิดแห่งอูนัสถูกจารึกไว้ด้วยตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดของข้อความพีระมิด นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงโปรดให้สร้างทางเดินแห่งอูนัสขนาดยาว 500 เมตรจากริมฝั่งแม่น้ำไนล์ไปยังสถานที่ฝังพระบรมศพของพระองค์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่จะพิธีฝังพระบรมศพของพระองค์ขึ้นที่นั้น |
ราชวงศ์ที่หก
แก้ราชวงศ์ที่หกเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์ระหว่าง 2345 - 2181 ปีก่อนคริสตกาล
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | รัชสมัย | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|
— | เตติ | 2345–2333 ปีก่อนคริสตกาล | ตามบันทึกของแมนิโธ พระองค์ทรงถูกปลงพระชนม์ | |
อูเซอร์คาเร | 2333–2332 ปีก่อนคริสตกาล | ทรงครองราชย์ตั้งแต่ 1 ถึง 5 ปี พระองค์อาจจะแย่งชิงพระราชบัลลังก์จากฟาโรห์เตติ | ||
เมริเร | เปปิที่ 1 | 2332–2283 ปีก่อนคริสตกาล | ทรงเผชิญกับการสมรู้ร่วมคิดและปัญหาทางการเมือง แต่พระองค์กลับทรงกลายเป็นผู้ทรงโปรดให้สร้างสิ่งปลูกสร้างมากที่สุดในราชวงศ์ของพระองค์ | |
เมอร์เอนเร | เนมติเอมซาฟที่ 1 | 2283–2278 ปีก่อนคริสตกาล | ทรงปฏิรูปการปกครองของอียิปต์บนโดยการกระจายอำนาจ และทรงรับการยอมจำนนของนิวเบียล่าง | |
เนเฟอร์คาเร | เปปิที่ 2 | 2278–2183 ปีก่อนคริสตกาล | อาจจะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ด้วยพระชนมพรรษา 94 พรรษา หรืออาจจะทรงครองราชย์ได้เพียง 64 ปี | |
— | เนเฟอร์คา | 2200–2199 ปีก่อนคริสตกาล | ทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เปปิที่ 2 พระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสหรือทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วม พระนามของพระองค์อาจจะเป็นการเขียนผิดของพระนาม "เนเฟอร์คาเร" | |
เมอร์เอนเร | เนมติเอมซาฟที่ 2[62] | 1 ปี กับอีก 1 เดือน ประมาณ 2183 ปีก่อนคริสตกาล | ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาอันสั้น พระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสที่ทรงมีพระชนมายุมากของฟาโรห์เปปิที่ 2 | |
นิธอิเกอร์ติ (นิโตคริส) |
ซิพทาห์ที่ 1 | ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2182–2179 ปีก่อนคริสตกาล | เป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เนทเจอร์คาเร ฟาโรห์บุรุษพระองค์นี้ทรงเป็นที่มาของสมเด็จพระราชินีนิโตคริส ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชินีในตำนานของเฮโรโดตุสและแมนิโธ[63] บ้างก็จัดให้พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่เจ็ดและแปดรวมกัน |
ช่วงสมัยระหว่างกลางที่หนึ่งแห่งอียิปต์
แก้สมัยระหว่างกลางครั้งที่หนึ่ง (ระหว่าง 2183–2060 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นช่วงเวลาแห่งความระส่ำระสายและความวุ่นวายระหว่างการล่มสลายของราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์และการสถาปนาของราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์
ราชอาณาจักรเก่าได้ล่มสลายอย่างรวดเร็วหลังจากการเสด็จสวรรคตของฟาโรห์เปปิที่ 2 ที่ทรงครองราชย์ยาวนานกว่า 64 ปี และอาจจะยาวนานถึง 94 ปี ซึ่งยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์ ช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์เต็มไปด้วยความไร้ประสิทธิภาพ เนื่องจากทรงมีพระชนมพรรษามาก ทำให้ดินแดนทั้งสองของอียิปต์ก็แยกออกจากกันและผู้ปกครองท้องถิ่นก็ต้องรับมือกับทุพภิกขภัยที่เกิดขึ้น
ฟาโรห์จากราชวงศ์ที่เจ็ดและแปดแห่งอียิปต์ ซึ่งเป็นกลุ่มฟาโรห์ที่สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากราชวงศ์ที่หก ทรงพยายามรักษาอำนาจบางส่วนในเมมฟิส แต่ก็ต้องพึ่งพาผู้ปกครองท้องถิ่นที่มีอำนาจมากเป็นอันมาก หลังจากผ่านไป 20 ถึง 45 ปี กลุ่มฟาโรห์ที่เมมฟิสก็ทรงถูกโค่นล้มโดยฟาโรห์กลุ่มใหม่ที่ศูนย์กลางอำนาจอยู่ในเฮราคลีโอโพลิส มักนา และไม่นานหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้ปกครองจากเมืองธีบส์ได้ลุกฮือต่อต้านผู้ปกครองท้องถิ่นทางตอนเหนือและรวมดินแดนอียิปต์บนเข้าด้วยกันอีกครั้ง เมื่อประมาณ 2055 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ผู้เป็นพระราชโอรสและผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์อินเทฟที่ 3 ได้ทรงเอาชนะฟาโรห์จากเฮราคลีโอโพลิส มักนา และทรงรวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกัน จึงเป็นการเริ่มต้นของสมัยราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่เจ็ดและแปด
แก้ราชวงศ์ที่เจ็ดและแปดแห่งอียิปต์ได้ปกครองอียิปต์เป็นระยะเวลาประมาณ 20 - 45 ปี ซึ่งประกอบด้วยฟาโรห์ที่ทรงขึ้นครองราชย์เป็นระยะเวลาอันสั้นจำนวนหลายพระองค์ ซึ่งทั้งหมดทรงปกครองอียิปต์จากเมมฟิสครอบคลุมดินแดนอียิปต์ที่อาจจะถูกแบ่งแยก และไม่ว่าในกรณีใด ฟาโรห์ก็ทรงมีพระราชอำนาจจำกัดเพียงเพราะระบบศักดินาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งได้พัฒนาขึ้นจากการบริหารของรัฐ รายพระนามด้านล่างนี้ได้อ้างอิงจากบันทึกพระนามแห่งอไบดอสที่บันทึกขึ้นนช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เซติที่ 1 และอ้างอิงมาจาก Handbuch der ägyptischen Königsnamen[64] ของเยือร์เกิน ฟ็อน เบ็คเคอราธ และจากการตีความบันทึกพระนามแห่งตูรินล่าสุดโดยคิม ไรฮอล์ท ซึ่งเป็นอีกบันทึกพระนามหนึ่งที่บันทึกขึ้นในสมัยรามเสส[65]
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เมนคาเร | — | ปรากฏหลักฐานที่ยืนยันเกี่ยวกับพระองค์จากชิ้นส่วนภาพสลักจากหลุมฝังพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนิอิธ[66][67][68] | น่าจะเป็นช่วงเวลาอันสั้นประมาณ 2181 ปีก่อนคริสตกาล | |
เนเฟอร์คาเรที่ 2 | — | — | ไม่ทราบ | |
เนเฟอร์คาเรที่ 3 | เนบิ | ทรงได้รับการยืนยันโดยคำจารึกในหลุมฝังพระบรมศพของพระนางอังค์เอสเอนเปปิ ผู้เป็นพระราชมารดา ทรงโปรดให้เริ่มสร้างพีระมิดในซักกอเราะฮ์ | ไม่ทราบ | |
ดเจตคาเร | เชมาอิ | — | ไม่ทราบ | |
เนเฟอร์คาเรที่ 4 | เคนดู | — | ไม่ทราบ | |
เมอร์เอนฮอร์ | — | — | ไม่ทราบ | |
สเนเฟอร์คา? | เนเฟอร์คามิน | — | ไม่ทราบ | |
ไนคาเร | — | อาจจะทรงได้รับการยืนยันจากตราประทับทรงกระบอก | ไม่ทราบ | |
เนเฟอร์คาเรที่ 5 | เทเรรู | — | ไม่ทราบ | |
เนเฟอร์คาฮอร์ | — | ทรงได้รับการยืนยันจากตราประทับทรงกระบอก | ไม่ทราบ | |
เนเฟอร์คาเรที่ 6 | เปปิเซเนบ | — | ไม่ทราบ - 2171 ปีก่อนคริสตกาล | |
เนเฟอร์คามิน | อานู | — | ประมาณ 2170 ปีก่อนคริสตกาล | |
กาคาเร | อิบิ | ทรงโปรดให้สร้างพีระมิดอย่างไม่ได้สมบูรณ์มากนักที่ซักกอเราะฮ์ ซึ่งปรากฏตัวอย่างสุดท้ายของการจารึกข้อความพีระมิด | 2175–2171 ปีก่อนคริสตกาล | |
เนเฟอร์คาอูเร | — | ทรงได้รับการยืนยันจากบันทึกคำสั่งจำนวนหนึ่งถึงสามฉบับจากวิหารแห่งมินที่คอปตอส | 2167–2163 ปีก่อนคริสตกาล | |
เนเฟอร์คาอูเร | คูวิฮัปอิ | ทรงได้รับการยืนยันจากบันทึกคำสั่งจำนวนแปดฉบับจากวิหารแห่งมิน และคำจารึกในหลุมฝังศพของราชมนตรีนามว่า เชมาย | 2163–2161 ปีก่อนคริสตกาล | |
เนเฟอร์อิร์คาเร | เปปิ | พระองค์อาจจะทรงเป็นเจ้าของพระนามฮอรัส "เดเมดจ์อิบทาวี" ซึ่งในกรณีดังกล่าว พระองค์ทรงได้รับการยืนยันโดยบันทึกคำสั่งจากวิหารแห่งมิน | 2161–2160 ปีก่อนคริสตกาล |
ราชวงศ์ที่เก้า
แก้ราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์[69] ปกครองระหว่าง 2160 - 2130 ปีก่อนคริสตกาล
บันทึกพระนามแห่งตูรินปรากฏการบันทึกพระนามของฟาโรห์รวมทั้งราชวงศ์ที่เก้าและสิบปกครองจำนวน 18 พระองค์ และพบว่าพระนามจำนวน 12 พระนามได้สูญหาย และพระนามอีกจำนวน 4 พระนามที่หลงเหลืออยู่บางส่วน[70]
รูปภาพ | พระนาม | คำอธิบาย | รัชสมัย | |
---|---|---|---|---|
เมริอิบเร | เคติที่ 1
(อัคธอเอสที่ 1) |
แมนิโธกล่าวว่า ฟาโรห์อัคธอเอสทรงสถาปนาราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์ | 2160 ปีก่อนคริสตกาล – ไม่ทราบ[23] | |
— | — | พระนามสูญหาย | — | ไม่ทราบ |
— | เนเฟอร์คาเรที่ 7 | — | — | ไม่ทราบ |
เนบคาอูเร | เคติที่ 2
(อัคธอเอสที่ 2) |
— | ไม่ทราบ | |
— | เซเนนห์— หรือ เซทุต | — | — | ไม่ทราบ |
— | — | พระนามสูญหาย | — | ไม่ทราบ |
— | เมริ— | — | — | ไม่ทราบ |
— | เชด— | — | — | ไม่ทราบ |
— | ฮ— | — | — | ไม่ทราบ |
— | — | พระนามสูญหาย | — | ไม่ทราบ |
— | — | พระนามสูญหาย | — | ไม่ทราบ |
— | — | พระนามสูญหาย | — | ไม่ทราบ |
อูเซอร์(?)[...] | — | — | ไม่ทราบ | |
อิมโฮเทป | — | ทรงเป็นผู้ปกครองในช่วงเวลาสั้น ๆ ของราชวงศ์ที่เก้า พบหลักฐานยืนยันจากเฉพาะศิลาจารึกในวาดิ ฮัมมามาต[71][72][73][74][75] ไม่ทราบตำแหน่งตามลำดับเวลาที่แน่ชัด | ไม่ทราบ |
ราชวงศ์ที่สิบ
แก้ราชวงศ์ที่สิบเป็นกลุ่มผู้ปกครองท้องถิ่นที่ทรงมีอิทธิพลเหนืออียิปต์ล่างและปกครองตั้งแต่ 2130 ถึง 2040 ปีก่อนคริสตกาล[23]
รูปภาพ | พระนาม | คำอธิบาย | รัชสมัย | |
---|---|---|---|---|
เมริฮัตฮอร์ | — | — | 2130 ปีก่อนคริสตกาล – ไม่ทราบ | |
— | เนเฟอร์คาเรที่ 8 | — | — | ระหว่าง 2130 และ 2040 ปีก่อนคริสตกาล |
วาห์คาเร | เคติที่ 3
(อัคธอเอสที่ 3) |
— | ไม่ทราบ | |
เมริคาเร | — | — | ไม่ทราบ – 2040 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | — | พระนามสูญหาย | — | ไม่กี่เดือน |
ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด
แก้ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดได้รับการสถาปนาขึ้นจากกลุ่มผู้ปกครองท้องถิ่นแห่งธีบส์ที่รับใช้ราชสำนักของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่แปด, เก้า, หรือสิบแห่งอียิปต์ โดยมีต้นเชื้อสายมาจากอียิปต์บน ซึ่งปกครองตั้งแต่ 2134 - 1991 ปีก่อนคริสตกาล
รูปภาพ | พระนาม | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|
อินโยเทฟ ผู้อาวุโส | เป็นผู้ปกครองท้องถิ่นแห่งธีบส์ (อิริ-พัต) ที่รับใช้ราชสำนักของฟาโรห์ไม่ทราบพระนาม ซึ่งต่อมาถือว่าเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบเอ็ด | ไม่ทราบ |
ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของอินโยเทฟ ผู้อาวุโส เริ่มต้นด้วยฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 1 กลายทรงเป็นอิสระจากเจ้าผู้ครองทางเหนือและในที่สุดก็สามารถพิชิตอียิปต์ได้ในรัชสมัยของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เทปิอา | เมนทูโฮเทปที่ 1 | เป็นผู้ปกครองท้องถิ่นแห่งธีบส์ (เทปิ-อา) แต่อาจจะทรงปกครองอย่างอิสระ | ไม่ทราบ – 2133 ปีก่อนคริสตกาล | |
เซเฮอร์ทาวี | อินเทฟที่ 1 | ทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์พระองค์แรกที่ใช้พระนามฮอรัส | 2133 – 2117 ปีก่อนคริสตกาล[23] | |
วาห์อังค์ | อินเตฟที่ 2 | ทรงพิชิตเมืองอไบดอสและเขตปกครองท้องถิ่นแห่งอไบดอส | 2117 - 2068 ปีก่อนคริสตกาล[23] | |
นัคต์เนบเทปเนเฟอร์ | อินเตฟที่ 3 | ทรงพิชิตอัสยูฏและอาจจะทรงย้ายขึ้นไปทางเหนือจนถึงเขตปกครองท้องถิ่นลำดับที่สิบเจ็ด[76] | 2068 - 2060 ปีก่อนคริสตกาล[23] |
ช่วงสมัยราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์
แก้สมัยราชอาณาจักรกลาง (ระหว่าง 2040 – 1802 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นช่วงเวลาที่นับตั้งแต่สิ้นสุดช่วงสมัยระหว่างกลางที่หนึ่งจนถึงช่วงเริ่มต้นของสมัยระหว่างกลางที่สอง นอกจากราชวงศ์ที่สิบสองแล้ว นักวิชาการบางคนยังรวมให้ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด สิบสาม และสิบสี่อยู่ในสมัยราชอาณาจักรกลางอีกด้วย
สมัยอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์สามารถสังเกตเห็นได้จากการขยายตัวของการค้านอกราชอาณาจักรที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้
ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด (ช่วงที่สอง)
แก้ช่วงที่สองของราชวงศ์ที่สิบเอ็ดจะถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เนบเฮเทปเร | เมนทูโฮเทปที่ 2[77] | ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ทรงพิชิตอียิปต์ได้ทั้งหมดในช่วงประมาณ 2015 ปีก่อนคริสตกาล จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์ และพระองค์ทรงกลายเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของสมัยราชอาณาจักรกลาง | ||
สอังค์คาเร | เมนทูโฮเทปที่ 3[78] | ทรงส่งคณะเดินทางครั้งแรกไปยังดินแดนแห่งพุนต์ของสมัยราชอาณาจักรกลาง | 2010-1998 ปีก่อนคริสตกาล | |
เนบทาวีเร | เมนทูโฮเทปที่ 4[79] | ทรงเป็นฟาโรห์ที่คลุมเครือ ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามในเวลาช่วงหลัง ไม่ทราบสถานที่ฝังพระบรมศพของพระองค์ พระองค์อาจจะทรงโดนแย่งชิงพระราชบัลลังก์โดยราชมนตรีและผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์พระนามว่า อเมนเอมฮัตที่ 1 | 1997-1991 ปีก่อนคริสตกาล |
ฟาโรห์ปริศนาที่ปรากฏหลักฐานการมีอยู่เฉพาะบริเวณนิวเบียล่างเท่านั้น
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เมนค์คาเร | เซเกอเซนิ[80] | ทรงเป็นฟาโรห์ที่คลุมเครือ ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามในเวลาช่วงหลัง ปรากฏหลักฐานยืนยันเฉพาะในบริเวณนิวเบียล่างเท่านั้น ซึ่งน่าจะทรงเป็นผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์ในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบเอ็ดหรือช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสอง | ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ก่อนคริสตกาล | |
กาคาเร | อินิ[80] | ทรงเป็นฟาโรห์ที่คลุมเครือ ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามในเวลาช่วงหลัง ปรากฏหลักฐานยืนยันเฉพาะในบริเวณนิวเบียล่างเท่านั้น ซึ่งน่าจะทรงเป็นผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์ในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบเอ็ดหรือช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสอง | ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ก่อนคริสตกาล | |
ไอย์อิบเคนต์เร[80] | เกเรกทาว(อี)เอฟ | ทรงเป็นฟาโรห์ที่คลุมเครือ ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามในเวลาช่วงหลัง ปรากฏหลักฐานยืนยันเฉพาะในบริเวณนิวเบียล่างเท่านั้น ซึ่งน่าจะทรงเป็นผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์ในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบเอ็ดหรือช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสอง | ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ก่อนคริสตกาล |
ราชวงศ์ที่สิบสอง
แก้ราชวงศ์ที่สองเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์ระหว่าง 1991 - 1802 ปีก่อนคริสตกาล
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เซเฮเทปอิบเร | อเมนเอมฮัตที่ 1[81][82] (อัมมาเนเมสที่ 1)[83] |
ทรงมิได้เป็นเชื้อพระวงศ์จากราชวงศ์ที่สิบเอ็ด และพระองค์ทรงโปรดได้สร้างพีระมิดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รัชสมัยฟาโรห์ฟาโรห์เปปิที่ 1ที่อัลลิชต์[84] พระองค์ทรงฟื้นฟูระบบระเบียบในอียิปต์ และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่นามว่า อิทจ์-ทาวี พระองค์อาจจะทรงถูกลอบปลงพระชนม์[85] | 1991 – 1962 ปีก่อนคริสตกาล | |
เคเปอร์คาเร | เซนุสเรตที่หนึ่ง[86] (เซซอนคอซิส)[87] |
ทรงโปรดให้สร้างสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากทั่วอียิปต์บน รวมทั้งวิหารแห่งอามุนที่คาร์นัก[84] มีการบันทึกว่าพระองค์ทรงได้ส่งคน 17,000 คนไปที่วาดีอัลฮัมมามาต เพื่อนำก้อนหินกลับมาเพื่อสร้างรูปสลักจำนวน 150 รูปและสฟิงซ์จำนวนอีก 60 ตัว[88] นอกจากนี้พระองค์ทรงโปรดให้ยังสร้างพีระมิดที่อัลลิชต์ใกล้กับพีระมิดของผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ | 1971 - 1926 ปีก่อนคริสตกาล | |
[89] | นุบคาอูเร | อเมนเอมฮัตที่ 2[90] (อัมเมเนเมสที่ 2)[91] |
บันทึกรัชสมัยของพระองค์ได้ถูกบันทึกไว้ในพงศาวดารที่อยู่ในสภาพชำรุด[84] กองทัพเรืออียิปต์อาจจะเข้าโจมตีไซปรัสระหว่างการดำเนินการทางทหารของพระองค์[92] พระองค์ยังทรงโปรดให้สร้างพีระมิดที่ดาห์ชูร์ และทรงปกครองอย่างน้อย 35 ปี | 1929-1895 ปีก่อนคริสตกาล |
คาเคเปอร์เร | เซนุสเรตที่ 2[93] (แมนิโธไม่ได้บันทึกพระนามของพระองค์)[94] |
พระองค์ทรงได้พัฒนาพื้นที่ฟัยยูมให้เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์[95] พระองค์ยังทรงโปรดให้สร้างพีระมิดที่ลาฮูน | 1897-1878 ปีก่อนคริสตกาล | |
คาคาอูเร | เซนุสเรตที่ 3[96] (เซซอสทริส)[97] |
ทรงได้กำจัดกลุ่มผู้ปกครองท้องถิ่นและทรงสร้างเขตปกครองท้องถิ่นขึ้นอีก 3 แห่ง[98] นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นผู้นำการดำเนินการทางทหารเข้าสู่นิวเบียล่างในปีที่ 8, 10, 16 และ 18 แห่งการครองราชย์[92] พระองค์ยังทรงโปรดให้สร้างพีระมิดของพระองค์เองที่ดาห์ชูร์ และทรงเป็นฟาโรห์ที่มีพระราชอำนาจและมีอิทธิพลมากที่สุดในราชวงศ์ที่สิบสอง | 1878-1860 ปีก่อนคริสตกาล | |
นิมาอัตเร | อเมนเอมฮัตที่ 3[99] (ลามาเรส)[100] |
พระองค์ยังทรงได้พัฒนาพื้นที่ฟัยยูมให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมต่อไป[84] นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดให้สร้างอาคารเก็บพระบรมศพขนาดใหญ่ที่ฮาวารา รวมทั้งพีระมิดของพระองค์ อาคารเก็บพระบรมศพดังกล่าวน่าจะเป็นเขาวงกตที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักประพันธ์ชาวกรีกโบราณ[101] | 1860-1815 ปีก่อนคริสตกาล | |
มาอาเคอร์อูเร | อเมนเอมฮัตที่ 4[102] (อัมเมเนเมส)[103] |
ทรงมีผู้สำเร็จราชการร่วมเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ตามบันทึกที่โกนอสโซ | 1815-1807 ปีก่อนคริสตกาล | |
โซเบคคาเร | โซเบคเนเฟอร์อู[104] (สเคมิโอฟริส)[105] |
ทรงเป็นฟาโรห์สตรีที่ได้รับการยืนยันจากหลักฐานทางโบราณคดีเป็นครั้งแรก | 1807-1802 ปีก่อนคริสตกาล |
ตำแหน่งผู้ปกครองที่มีความเป็นไปได้เพิ่มเติมพระนามว่า เซอังค์อิบทาวี เซอังค์อิบรา ซึ่งยังไม่มีความแน่นอนอยู่ พระองค์อาจจะเป็นฟาโรห์ที่ขึ้นครองราชย์เป็นระยะเวลาอันหรือเป็นพระนามของฟาโรห์จากช่วงราชวงศ์ที่สิบสองหรือสิบสามแห่งอียิปต์
ช่วงสมัยระหว่างที่สองแห่งอียิปต์
แก้สมัยระหว่างกลางที่สอง (ตั้งแต่ 1802–1550 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นช่วงเวลาที่เกิดความระส่ำระส่ายขึ้นระหว่างการสิ้นสุดของช่วงราชอาณาจักรกลางและจุดเริ่มต้นของช่วงราชอาณาจักรใหม่ เป็นผลกระทบเนื่องจากการบุกรุกเข้ามาของชาวฮิกซอส ซึ่งชาวฮิกซอสได้เข้ามายึดอำนาจของฟาโรห์แล้วขึ้นครองราชย์แทน และสถาปนาขึ้นเป็นราชวงศ์ที่สิบห้า
ราชวงศ์ที่สิบสามอ่อนแอกว่าสมัยราชวงศ์ที่สิบสองและไม่สามารถยึดคืนดินแดนอียิปต์ไว้ได้ ในช่วงเริ่มต้นของราชวงศ์ที่สิบสามใน 1805 ปีก่อนคริสตกาลหรือช่วงกลางของราชวงศ์ที่สิบสามใน 1710 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีการสถาปนาราชวงศ์ที่สิบสี่ขึ้นด้วยชาวฮิกซอสในอียิปต์ล่าง
การบุกรุกของชาวฮิกซอสได้เริ่มขึ้นในช่วงรัชกาลของฟาโรห์เซเบคโฮเทปที่ 4 ใน 1720 ปีก่อนคริสตกาล และได้เข้าควบคุมเมืองอวาริส (ปัจจุบันคือ เทล เอล-ดับ'อา / คาตา'นา) และได้ก่อตั้งราชวงศ์ที่สิบสี่ จากนั้นประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล ชาวฮิกซอสนำโดยซาลิทิส ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่สิบห้าพิชิตเมมฟิส แล้วจึงล้มล้างราชวงศ์ที่สิบสาม ทำให้อียิปต์บนเสื่อมอำนาจลงซึ่งเป็นผลมาจากการล่มสลายของราชวงศ์ที่สิบสาม ต่อมาราชวงศ์ที่สิบหกได้ปกครองอียิปต์บน แต่ก็ถูกล้มล้างราชวงศ์โดยราชวงศ์ที่สิบห้าหลังจากนั้นไม่นาน
ต่อจากนั้นเมื่อชาวฮิกซอสได้ถอยออกจากอียิปต์บน ทำให้ชาวอียิปต์บนได้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบเจ็ดขึ้นมา และในที่สุดราชวงศ์ที่สิบเจ็ดก็สามารถขับไล่ชาวฮิกซอสออกไปจากอียิปต์ นำโดยฟาโรห์ทาโอที่สอง ฟาโรห์คาโมส และฟาโรห์อาโมส ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบแปด
ราชวงศ์ที่สิบสาม
แก้ราชวงศ์ที่สิบสาม (ตามบันทึกรายพระนามแห่งตูริน) ปกครองจาก 1802 ไปถึงประมาณ 1649 ปีก่อนคริสตกาล และรวมทั้งหมดเป็นเวลา 153 หรือ 154 ปี
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เซเคมเร คูทาวี | โซเบคโฮเทปที่ 1 | ทรงสถาปนาราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ ปรากฏหลักฐานยืยันจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับรัชสมัยของพระองค์ ในข้อการสันนิษฐานหลักนั้นใ้เรียกพระองค์ โซเบคโฮเทปที่ 1 ส่วนในการศึกษาเก่าให้เรียกพระองค์ว่า โซเบคโฮเทปที่ 2 แทน | 1802 – 1800 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
เมอิบทาวี เซเคมคาเร | อเมนเอมฮัต โซนเบฟ | อาจจะเป็นพระอนุชาของฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป และเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4[106] | 1800 – 1796 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
เนริคาเร | โซเบค[...] | ทรงได้รับการยืนยันจากบันทึกระดับแม่น้ำไนล์จากเซมนา[107] | 1796 ปีก่อนคริสตกาล | |
เซเคมคาเร | อเมนเอมฮัตที่ 5 | ทรงปกครองเป็นระยะเวลา 3 ถึง 4 ปี[106] | 1796 – 1793 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
— | อเมนอิ เกมาอู | ทรงถูกฝังพระบรมศพไว้ที่พีระมิดของพระองค์ในดาห์ชูร์ | 1795 – 1792 ปีก่อนคริสตกาล | |
โฮเทปอิบเร | เกมาอู ซิฮาร์เนดจ์เฮอร์อิเทฟ | อาจจะเรียกพระองค์ได้อีกว่า เซโฮเทปอิบเร | 1792 – 1790 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | — | อิอูฟนิ | ทรงปรากฏแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น | รัชสมัยที่สั้นมาก, อาจจะราวประมาณ 1790 – 1788 ปีก่อนคริสตกาล[106] |
เซอังค์อิบเร | อเมนเอมฮัตที่ 6 | ทรงปรากฏแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น[108] | 1788 – 1785 ปีก่อนคริสตกาล | |
เซเมนคาเร | เนบนูนิ | ทรงปรากฏแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น[109] | 1785 – 1783 ปีก่อนคริสตกาล[106] หรือ 1739 ปีก่อนคริสตกาล[110] | |
เซเฮเทปอิบเร | เซเวเซคทาวี | ทรงปรากฏในบันทึกพระนามแห่งตูริน[111] | 1783 – 1781 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
— | เซวัดจ์คาเรที่ 1 | — | ทรงเป็นที่ทราบแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น | 1781 ปีก่อนคริสตกาล |
— | เนดจ์เอมอิบเร | — | ทรงเป็นที่ทราบแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น | 7 เดือน, 1780 ปีก่อนคริสตกาล[106] หรือ 1736 ปีก่อนคริสตกาล[110] |
คาอังค์เร | โซเบคโฮเทป | ในข้อการสมมติฐานหลักเรียกพระองค์ว่า โซเบคโฮเทปที่ 2 ส่วนในการศึกษาที่เก่ากว่าเรียกพระองค์ว่า โซเบคโฮเทปที่ 1 แทน | ทรงครองราชย์ประมาณ 3 ปี, 1780 – 1777 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
— | เรนเซเนบ | — | 4 เดือน | 1777 ปีก่อนคริสตกาล[106] |
อาวอิบเร | ฮอร์ | ทรงเป็นที่โด่งดังมาจากสุสานที่ไม่ได้ความเสียหายและรูปสลักดวงพระวิญญานของพระองค์ | ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 1 ปี และอีก 6 เดือน, 1777 – 1775 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
เซเคมเรคูทาวี คาบาว | — | อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ฮอร์ อาวอิบเร | ทรงครองราชย์ประมาณ 3 ปี, 1775 – 1772 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
ดเจดเคเปอร์เอว | — | อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ฮอร์ อาวอิบเร และเป็นพระอนุชาของฟาโรห์คาบาว ซึ่งก่อนหน้าพระองค์ถูกระบุว่าเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เคนด์เจอร์ | ทรงครองราชย์ประมาณ 2 ปี, 1772 – 1770 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
— | เซบคาย | อาจจะเป็นฟาโรห์สองพระองค์ พระนามว่า เซบ และพระราชโอรสของพระองค์นามว่า คาย[106] | ||
เซดเจฟาคาเร | คาย อเมนเอมฮัต | ทรงเป็นที่ทราบมาจากหลักฐานยืนยันจำนวนมากจากจารึกและเอกสารอื่น ๆ | 5 ถึง 7 ปี หรือ 3 ปี, 1769 – 1766 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
คูทาวีเร | เวกาฟ | ในการศึกษาที่เก่ากว่าได้ระบุว่าพระองค์ทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ | ประมาณ 1767 ปีก่อนคริสตกาล | |
อูเซอร์คาเร | เคนด์เจอร์ | อาจจะทรงเป็นฟาโรห์ชาวเซมิติกพระองค์แรก และทรงโปรดให้สร้างพีระมิดที่ซักกอเราะฮ์ | ทรงครองราชย์อย่างน้อย 4 ปี กับอีก 3 เดือน ประมาณ 1765 ปีก่อนคริสตกาล | |
สเมนค์คาเร | อิมิเรเมชาว | ทรงได้รับการยืนยันมาจากรูปสลักขนาดมหึมาของพระองค์จำนวนสองรูป | ทรงครองราชย์น้อยกว่า 10 ปี, ตั้งแต่ 1759 ปีก่อนคริสตกาล[106] หรือ 1711 ปีก่อนคริสตกาล[112] | |
เซเฮเทปคาเร | อินเทฟที่ 4 | — | ทรงครองราชย์น้อยกว่า 10 ปี | |
เมอร์อิบเร | เซธ | — | สิ้นสุดรัชสมัยเมื่อ 1749 ทรงครองราชย์น้อยกว่า 10 ปี | |
เซเคมเรเซวัดจ์ทาวี | โซเบคโฮเทปที่ 3 | 4 ปี กับอีก 2 เดือน | 1755 – 1751 ปีก่อนคริสตกาล | |
คาเซเคมเร | เนเฟอร์โฮเทปที่ 1 | 11 ปี | 1751 – 1740 ปีก่อนคริสตกาล | |
เมนวัดจ์เร | ซิฮัตฮอร์ | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับพระบรมเชษฐาธิราชพระนามว่า เนเฟอร์โฮเทปที่ 1 เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และพระองค์อาจจะไม่ได้ทรงครองราชย์อย่างอิสระ | 1739 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
คาเนเฟอร์เร | โซเบคโฮเทปที่ 4 | 10 หรือ 11 ปี | 1740 – 1730 ปีก่อนคริสตกาล | |
เมอร์โฮเทปเร | โซเบคโฮเทปที่ 5 | — | 1730 ปีก่อนคริสตกาล
| |
คาโฮเทปเร | โซเบคโฮเทปที่ 6 | 4 ปี 8 เดือน กับอีก 29 วัน | ประมาณ 1725 ปีก่อนคริสตกาล | |
วาอิบเร | อิบอิอาอู | 10 ปี กับอีก 8 เดือน | 1725 – 1714 ปีก่อนคริสตกาล หรือ 1712 – 1701 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
เมอร์เนเฟอร์เร | ไอย์ที่ 1 | ทรงเป็นฟาโรห์ที่ทรงครองราชย์นานที่สุดของราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ | 23 ปี, 8 เดือน กับอีก 18 วัน, 1701 – 1677 ปีก่อนคริสตกาล[106] หรือ 1714 – 1691 ปีก่อนคริสตกาล | |
เมอร์โฮเทปเร | อินิ | อาจจะเป็นพระราชโอรสของผู้ปกครองพระองค์ก่อนหน้า | 2 ปี, 3 หรือ 4 เดือน กับอีก 9 วัน, 1677 – 1675 ปีก่อนคริสตกาล[106] หรือ 1691 – 1689 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | สอังค์เอนเร | เซวัดจ์ตู | ทรงปรากฏแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น | 3 ปี กับอีก 2 ถึง 4 เดือน, 1675 – 1672 ปีก่อนคริสตกาล[106] |
เมอร์เซเคมเร | อิเนด | อาจจะทรงเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 2 | 3 ปี, 1672 – 1669 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
— | เซวัดจ์คาเรที่ 2 | ฮอร์อิ | ทรงครองราชเป็นระยะเวลา 5 ปี | 5 ปี |
เมอร์คาวเร | โซเบคโฮเทปที่ 7 | ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 2 ปี กับอีก 6 เดือน[106] | 1664 – 1663 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
— | พระนามสูญหาย | ฟาโรห์จำนวน 7 พระองค์ | พระนามสูญหายจากส่วนที่เสียหายของบันทึกพระนามแห่งตูริน[106] | 1663 ปีก่อนคริสตกาล –?[106] |
— | พระนามสูญหาย | |||
— | พระนามสูญหาย | |||
— | พระนามสูญหาย | |||
— | พระนามสูญหาย | |||
— | พระนามสูญหาย | |||
— | พระนามสูญหาย | |||
— | เมอร์[...]เร | — | — | ไม่ทราบ |
เมอร์เคเปอร์เร | — | — | บางช่วงเวลในระหว่าง 1663 ถึง 1649 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
— | เมอร์คาเร | — | ทรงปรากฏแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น | บางช่วงเวลาในระหว่าง 1663 ถึง 1649 ปีก่อนคริสตกาล[106] |
— | พระนามสูญหาย | — | ไม่ทราบ | |
เซวัดจ์คาเร | เมนทูโฮเทปที่ 5 | — | ประมาณ 1655 บางช่วงเวลในระหว่าง 1663 ถึง 1649 ปีก่อนคริสตกาล[106] | |
— | [...]มอสเร | — | — | ไม่ทราบ |
— | อิบิ [...]มาอัตเร | — | — | ไม่ทราบ |
— | ฮอร์[...] [...]เวบเอนเร | — | — | ไม่ทราบ |
— | เซ...คาเร | — | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ |
เซเฮกเอนเร | สอังค์พทาห์อิ | อาจจะเป็นพระราชโอรสของผู้ปกครองพระองค์ก่อนหน้า | ระหว่าง 1663 ถึง 1649 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | ...เร | — | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ |
— | เซ...เอนเร | — | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ – 1649 ปีก่อนคริสตกาล[106] |
ตำแหน่งตามลำดับเวลาของฟาโรห์ดังต่อไปนี้ยังคงคลุมเครืออยู่
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
ดเจดโฮเทปเร | เดดูโมสที่ 1 | อาจจะทรงเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ | ประมาณ 1654 ปีก่อนคริสตกาล | |
ดเจดเนเฟอร์เร | เดดูโมสที่ 2 | อาจจะทรงเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ | ไม่ทราบ | |
เซวาเอนเร | เซเนบมิอู | ช่วงปลายของสมัยราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ | หลักจาก 1660 ปีก่อนคริสตกาล[113] | |
เมอร์เชปเซสเร | อินิที่ 2 | ช่วงปลายของสมัยราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ | ไม่ทราบ | |
เมนคาอูเร | สนาอาอิบ | อาจจะทรงเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์อไบดอสแห่งอียิปต์ | ไม่ทราบ |
ราชวงศ์ที่สิบสี่
แก้ราชวงศ์ที่สิบสี่เป็นราชวงศ์ท้องถิ่นจากบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฝั่งตะวันออก ซึ่งมีฐานอำนาจอยู่ที่เมืองอวาริส[114] และปกครองตั้งแต่ 1805 ปีก่อนคริสตกาลหรือราว 1710 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล
ราชวงศ์ดังกล่าวประกอบด้วยผู้ปกครองหลายพระองค์ที่ทรงมีพระนามในกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก และด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเชื่อกันว่าเป็นแหล่งกำเนิดของชาวคานาอันตามที่คิม ไรฮอล์ทข้อความเห็น อย่างไรก็ตาม การจัดผังของราชวงศ์ที่สิบสี่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับตำแหน่งตามลำดับเวลาของฟาโรห์จำนวน 5 พระองค์ก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์เนเฮซิที่ยังมีข้อโต้แย้งอยู่มาก
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เซคาเอนเร | ยากบิม | ตำแหน่งตามลำดับเวลายังคลุมเครือ ซึ่งอ้างอิงจากไรฮอล์ท[114] | 1805 – 1780 ปีก่อนคริสตกาล | |
นุบวอเซอร์เร | ยา'อัมมู | ตำแหน่งตามลำดับเวลายังคลุมเครือ ซึ่งอ้างอิงจากไรฮอล์ท[114] | 1780 – 1770 ปีก่อนคริสตกาล | |
คาวอเซอร์เร[114] | กาเรห์ | ตำแหน่งตามลำดับเวลายังคลุมเครือ ซึ่งอ้างอิงจากไรฮอล์ท[114] | 1770 – 1760 ปีก่อนคริสตกาล | |
อาอาโฮเทปเร[114] | 'อัมมู | ตำแหน่งตามลำดับเวลายังคลุมเครือ ซึ่งอ้างอิงจากไรฮอล์ท[114] | 1760 – 1745 ปีก่อนคริสตกาล | |
มาอาอิบเร | เชชิ[115] | ตำแหน่งตามลำดับเวลา ระยะเวลาแห่งการครองราชย์ และการขยายขอบเขตของการปกครองยังคงคลุมเครืออยู่ ซึ่งอ้างอิงมาจากไรฮอล์ท[114] หรืออีกช้อสันนิษฐานหนึ่งคือ พระองค์อาจจะทรงเป็นฟาโรห์ฮิกซอสในช่วงแรก, ฟาโรห์ฮิกซอสในช่วงที่สองของราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ หรือเป็นข้าหลวงของฟาโรห์ฮิกซอส | 1745 – 1705 ปีก่อนคริสตกาล | |
อาอาเซเร | เนเฮซิ | รัชสมัยอันสั้น, อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เชชิ[114] | ประมาณ 1705 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | คาเคเรวเร | — | — | ไม่ทราบ |
— | เนบเอฟอาวเร | — | — | ประมาณ 1704 ปีก่อนคริสตกาล |
— | เซเอบเร | — | อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์วาซาดหรือฟาโรห์เซเนฮ์[113] | ประมาณ 1704 ถึง 1699 ปีก่อนคริสตกาล |
เมอร์ดเจฟาเร | — | อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์วาซาดหรือฟาโรห์เซเนฮ์[113] | ประมาณ 1699 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | เซวัดจ์คาเรที่ 3 | — | — | ไม่ทราบ |
— | เนบดเจฟาเร | — | — | 1694 ปีก่อนคริสตกาล |
— | เวบเอนเร | — | — | ไม่ทราบ |
— | พระนามสูญหาย | — | ไม่ทราบ | |
— | [...]ดเจฟาเร | — | — | ไม่ทราบ |
— | [...]เวบเอนเร | — | — | ประมาณ 1690 ปีก่อนคริสตกาล |
— | อาวอิบเรที่ 2 | — | — | ไม่ทราบ |
— | เฮอร์อิบเร | — | — | ไม่ทราบ |
— | เนบเซนเร[114] | ทรงได้รับการยืนยันจากโถที่ปรากฏพระนามของพระองค์ | ทรงครองราชย์อย่างน้อย 5 เดือน, ในช่วงเวลาระหว่าง 1690 ถึง 1649 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | พระนามสูญหาย | — | ไม่ทราบ | |
— | [...]เร | — | — | ไม่ทราบ |
เซเคเปอร์เอนเร[114] | — | ทรงได้รับการยืนยันจากตราประทับสคารับเพียงชิ้นเดียว | 2 เดือน, ในช่วงเวลาระหว่าง 1690 ถึง 1649 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | ดเจดเคเรวเร | — | — | ไม่ทราบ |
— | สอังค์อิบเรที่ 2 | — | — | ไม่ทราบ |
— | เนเฟอร์ตุม[...]เร | — | — | ไม่ทราบ |
— | เซเคม[...]เร | — | — | ไม่ทราบ |
— | คาเคมูเร | — | — | ไม่ทราบ |
— | เนเฟอร์อิบเร | — | — | ไม่ทราบ |
— | — | อิ[...]เร | — | ไม่ทราบ |
— | คาคาเร | — | — | ไม่ทราบ |
— | อาคาเร[116] | — | ไม่ทราบ | |
— | เซเมนเอนเร | ฮาปุ | — | ไม่ทราบ |
— | ดเจดคาเร[114] | อนาติ | ทรงเป็นที่ทราบแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น | ไม่ทราบ |
— | — | เบบนุม[114] | ทรงเป็นที่ทราบแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น | ในช่วงเวลาระหว่าง 1690 ถึง 1649 ปีก่อนคริสตกาล |
— | พระนามสูญหาย | พระนามจำนวนแปดพระนามสูญหายในบันทึกพระนามแห่งตูริน | ไม่ทราบ | |
— | พระนามสูญหาย | ไม่ทราบ | ||
— | พระนามสูญหาย | ไม่ทราบ | ||
— | พระนามสูญหาย | ไม่ทราบ | ||
— | พระนามสูญหาย | ไม่ทราบ | ||
— | พระนามสูญหาย | ไม่ทราบ | ||
— | พระนามสูญหาย | ไม่ทราบ | ||
— | พระนามสูญหาย | ไม่ทราบ | ||
— | เซเนเฟอร์[...]เร | — | — | ไม่ทราบ |
— | เมน[...]เร | — | — | ไม่ทราบ |
— | ดเจด[...]เร | — | — | ไม่ทราบ |
— | พระนามสูญหาย | พระนามจำนวนสามพระนามสูญหายในบันทึกพระนามแห่งตูริน | ไม่ทราบ | |
— | พระนามสูญหาย | ไม่ทราบ | ||
— | พระนามสูญหาย | ไม่ทราบ | ||
— | อินค[...] | — | — | ไม่ทราบ |
— | 'อา[...][117] | — | ทรงเป็นที่ทราบแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น พระนามของพระองค์อาจจะอ่านได้ว่า "อิเนบ" ตามที่อลัน การ์ดิเนอร์เสนอความเห็น[117] | ไม่ทราบ |
— | — | 'อเปปิ[114] | อาจจะทรงได้รับการยืนยันจากตราประทับสคารับองพระราชโอรสแห่งกษัตริย์จำนวน 5 ชิ้น | ประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล |
— | พระนามสูญหาย | พระนามจำนวนห้าพระนามสูญหายในบันทึกพระนามแห่งตูริน | ไม่ทราบ | |
— | พระนามสูญหาย | ไม่ทราบ | ||
— | พระนามสูญหาย | ไม่ทราบ | ||
— | พระนามสูญหาย | ไม่ทราบ | ||
— | พระนามสูญหาย | ไม่ทราบ |
ตำแหน่งและตัวตนของฟาโรห์ดังต่อไปนี้ยังคงคลุมเครืออยู่
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
— | คามูเร[113] | — | ไม่ทราบ | |
— | นูยา[113] | ทรงได้รับการยืนยันจากตราประทับสคารับ | ไม่ทราบ | |
— | เชเนฮ์[113] | อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เซเอบเรหรือฟาโรห์เมอร์ดเจฟาเร | ไม่ทราบ | |
— | เชนเชค[113] | ทรงได้รับการยืนยันจากตราประทับสคารับ | ไม่ทราบ | |
— | วาซาด[113] | อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เซเอบเรหรือฟาโรห์เมอร์ดเจฟาเร | ประมาณ 1700 ปีก่อนคริสตกาล ? | |
— | ยาคาเรบ[113] | — | ไม่ทราบ | |
เมอร์อูเซอร์เร | ยาคุบ-ฮาร์[115] | อาจจะทรงอยู่ในราชวงศ์ที่สิบสี่, ราชวงศ์ที่สิบห้า หรือเป็นข้าหลวงของฟาโรห์ฮิกซอส | ศตวรรษที่ 17 - 16 ก่อนคริสตกาล |
ทั้งนี้ บันทึกพระนามแห่งตูรินได้ระบุพระนามของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสี่เพิ่มเติม แต่รายพระนามดังกล่าวไม่ปรากฏในหลักฐานใดอื่นอีกนอกจากบันทึกพระนามดังกล่าว
ราชวงศ์ที่สิบห้า
แก้ราชวงศ์ที่สิบห้าถูกสถาปนาขึ้นโดยชาวฮิกซอสที่ซึ่งมีถิ่นกำเนิดมาจากดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ โดยที่ได้ปกครองบริเวณในพื้นที่ส่วนใหญ่ของแม่น้ำไนล์เป็นระยะเวลาสั้น ๆ และปกครองตั้งแต่ 1674 ถึง 1535 ปีก่อนคริสตกาล
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
— | (ซาลิทิส) | ทรงปกครองพื้นที่บริเวณอียิปต์ล่าง และทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ | ประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | เซมเกน | ตำแหน่งตามลำดับเวลายังคลุมเครือ | 1649 ปีก่อนคริสตกาล – ไม่ทราบ | |
— | 'อะเปอร์-'อะนัต | ตำแหน่งตามลำดับเวลายังคลุมเครือ | ไม่ทราบ | |
— | — | ซาคิร์-ฮาร์ | — | ไม่ทราบ |
เซอูเซอร์เอนเร | คยาน | เป็นจุดรุ่งโรจน์ในอำนาจของชาวฮิกซอส ซึ่งได้พิชิตเมืองธีบส์ในช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์ | ประมาณ 30 – 35 ปี | |
เนบเคเปชเร / อะเกนเอนเร / อาอูเซฮร์เร | อะเปปิ | — | 1590 ปีก่อนคริสตกาล? | |
นัคต์อิเร / โฮเทปอิบเร | คามูดิ | — | 1555 – 1544 ปีก่อนคริสตกาล |
ราชวงศ์อไบดอส
แก้ช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง อาจจะรวมถึงราชวงศ์อิสระที่ปกครองอไบดอสตั้งแต่ประมาณ 1650 จนถึง 1600 ปีก่อนคริสตกาลเข้าไปด้วย[118][119][120]
ฟาโรห์ที่ได้รับการรับรองแล้วจำนวน 4 พระองค์ อาจจะเกี่ยวข้องกับราชวงศ์อไบดอสอย่างไม่เป็นทางการ และรายพระนามด้านหลังไม่ได้จัดตามลำดับรัชสมัยที่ถูกต้อง (ไม่ทราบ) ของพระองค์
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
วอเซอร์อิบเร | เซเนบคาย | ค้นพบสุสานของพระองค์เมื่อ ค.ศ. 2014 อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ วอเซอร์[...]เร ในบันทึกพระนามแห่งตูริน | ประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล | |
เมนคาอูเร | สนาอาอิบ | อาจจะทรงอยู่ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[121][122][123] | ไม่แน่ชัด | |
เซเคมเรคูทาวี | พันทเจนิ | อาจจะทรงอยู่ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์[124] | ไม่แน่ชัด | |
เซเคมราเนเฟอร์คาอู | เวปวาเวตเอมซาฟ | อาจจะทรงอยู่ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์[124] | ไม่แน่ชัด | |
— | [...]ฮเอบเร | — | ทรงเป็นที่ทราบแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น คิม ไรฮอล์ทเชื่อว่าทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์อไบดอส[125] | ไม่แน่ชัด |
ราชวงศ์ที่สิบหก
แก้ราชวงศ์ที่สิบหกเป็นราชวงศ์ท้องถิ่นธีบส์ที่สถาปนาขึ้นจากการล่มสลายของราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ที่มีฐานอำนาจอยู่ที่เมืองเมมฟิสราวประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล ในที่สุดราชวงศ์ที่สิบหกก็ถูกพิชิตโดยราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งฮิกซอสเมื่อประมาณ 1580 ปีก่อนคริสตกาล
ราชวงศ์ที่สิบหกมีอิทธิพลเหนืออียิปต์บนเท่านั้น
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
— | — | พระนามฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์สูญหายไปจากบันทึกพระนามแห่งตูริน และไม่สามารถกู้คืนพระนามได้ | ไม่ทราบ | |
เซเคมเรเซเมนทาวี | ดเจฮูติ | – | 3 ปี | |
เซเคมเรเซอูเซอร์ทาวี | โซเบคโฮเทปที่ 8 | – | 16 ปี | |
เซเคมเรสอังค์ทาวี | เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 | – | 1 ปี | |
เซอังค์เอนเร | เมนทูโฮเทปอิ | อาจจะทรงเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์[126] | น้อยกว่า 1 ปี | |
เซวัดจ์เอนเร | เนบิริราวที่ 1 | – | 26 ปี | |
เนเฟอร์คาเร (?) | เนบิริราวที่ 2 | – | ประมาณ 1600 ปีก่อนคริสตกาล | |
เซเมนเร | – | – | ประมาณ 1600 ปีก่อนคริสตกาล | |
เซอูเซอร์เอนเร | เบบิอังค์ | – | 12 ปี | |
ดเจดโฮเทปเร | เดดูโมสที่ 1 | อาจจะทรงเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[126] | ประมาณ 1588 – 1582 ปีก่อนคริสตกาล | |
ดเจดเนเฟอร์เร | เดดูโมสที่ 2 | – | ประมาณ 1588 – 1582 ปีก่อนคริสตกาล | |
ดเจดอังค์เร | มอนต์เอมซาฟ | – | ประมาณ 1590 ปีก่อนคริสตกาล | |
เมอร์อังค์เร | เมนทูโฮเทปที่ 6 | – | รัชสมัยอันสั้น, ประมาณ 1585 ปีก่อนคริสตกาล | |
เซเนเฟอร์อิบเร | เซนุสเรตที่ 4 | – | ไม่ทราบ | |
— | เซเคมเร | เชดวาสต์ | อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เซเคมเร เชดทาวี โซเบคเอมซาฟที่ 2 | ไม่ทราบ |
ราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ อาจประกอบด้วยรัชกาลของฟาโรห์เซเนเฟอร์อังค์เร เปปิที่ 3[127] และฟาโรห์เนบมาอัตเร[128][126] ซึ่งไม่ทราบอย่างแน่ชัดถึงลำดับตำแหน่งตามเวลาแห่งการครองราชย์
ราชวงศ์ที่สิบเจ็ด
แก้ราชวงศ์ที่สิบเจ็ดปกครองอยู่ในอียิปต์บนและปกครองตั้งแต่ 1650 ถึง 1550 ปีก่อนคริสตกาล |-
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เซเคมเรวาคาว | ราโฮเทป | — | ประมาณ 1620 ปีก่อนคริสตกาล | |
เซเคมเรวัดจ์คาว | โซเบคเอมซาฟที่ 1 | — | อย่างน้อย 7 ปี | |
เซเคมเร เชดทาวี | โซเบคเอมซาฟที่ 2 | สุสานของพระองค์ถูกปล้นและโดนเผาในรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 9 | ไม่ทราบ - ประมาณ 1573 ปีก่อนคริสตกาล | |
เซเคมเร-เวปมาอัต | อินเตฟที่ 5 | — | อาจจะประมาณ 1573 - 1571 ปีก่อนคริสตกาล | |
นุบเคเปอร์เร | อินเตฟที่ 6 | ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลามากกว่า 3 ปี | ประมาณ 1571 - ทศวรรษที่ 1560 ก่อนคริสตกาล | |
เซเคมเร-เฮรูอิร์มาอัต | อินเตฟที่ 7 | — | ปลายทศวรรษที่ 1560 ก่อนคริสตกาล | |
เซนัคต์เอนเร | อาโมส | — | ประมาณ 1558 ปีก่อนคริสตกาล | |
เซเกนเอนเร | ทาโอ | ทรงเสด็จสวรรคตในสงครามต่อต้านชาวฮิกซอส | 1558 – 1554 ปีก่อนคริสตกาล | |
วัดจ์เคเปอร์เร | คาโมส | — | 1554 – 1549 ปีก่อนคริสตกาล |
ในช่วงต้นของสมัยราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์อาจจะเพิ่มรัชสมัยของฟาโรห์เนบมาอัตเร ซึ่งยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดเกี่ยวกับตำแหน่งตามลำดับเวลา[129]
ช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่แห่งอียิปต์ (จักรวรรดิอียิปต์)
แก้สมัยราชอาณาจักรใหม่ (ระหว่าง 1550–1077 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นช่วงเวลาที่ครอบคลุมราชวงศ์ที่สิบแปด สิบเก้า และยี่สิบแห่งอียิปต์ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งอยู่ระหว่างช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองและช่วงสมัยระหว่างกลางที่สาม
ด้วยอำนาจทางทหารในต่างแดน ราชอาณาจักรใหม่จึงมีอาณาเขตที่กว้างใหญ่ที่สุดของอียิปต์ ซึ่งขยายไปไกลถึงนิวเบียในทางตอนใต้ และยึดครองดินแดนอันกว้างขวางในตะวันออกใกล้ กองทัพอียิปต์ได้ต่อสู้กับกองทัพฮิตไทต์เพื่อควบคุมบริเวณซีเรียในปัจจุบัน
ฟาโรห์จำนวนสามพระองค์ที่รู้จักกันดีที่สุดของสมัยราชอาณาจักรใหม่คือ ฟาโรห์อาเคนอาเตน หรือเรียกอีกพระนามว่า อเมนโฮเทปที่ 4 ซึ่งทรงนิยมการบูชาเทพอาเตนเป็นพิเศษ ซึ่งถูกชี้ว่าเป็นตัวอย่างแรกของลัทธิเอกเทวนิยม ต่อมาคือ ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการค้นพบสุสานที่เกือบเสร็จสมบูรณ์ของพระองค์ และฟาโรห์ราเมสเซสที่ 2 ผู้ซึ่งทรงพยายามที่จะกอบกู้ดินแดนในอิสราเอลในปัจจุบัน/ปาเลสไตน์ เลบานอน และซีเรียที่เคยถูกยึดครองในสมัยราชวงศ์ที่สิบแปด และการพิชิตครั้งใหม่ของพระองค์ได้นำไปสู่สมรภูมิคาเดช ซึ่งพระองค์ทรงนำกองทัพอียิปต์เข้าต่อสู้กับกองทัพของกษัตริย์มูวาทัลลิที่ 2 แห่งฮิตไทต์
ราชวงศ์ที่สิบแปด
แก้ราชวงศ์ที่สิบแปดปกครองระหว่างประมาณ 1550 ถึง 1292 ปีก่อนคริสตกาล
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เนบเพติเร | อาโมสที่ 1 (อาโมซิสที่ 1) | เป็นพระอนุชาและทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์คาโมส พระองค์ทรงพิชิตดินแดนทางเหนือของอียิปต์จากชาวฮิกซอส | ประมาณระหว่าง 1550–1525 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนช่วงเวลาตามเรดิโอคาร์บอนในช่วงเวลาการเริ่มต้นการครองราชย์ของพระองค์ คือ ระหว่าง 1570–1544 ปีก่อนคริสตกาล ค่าเฉลี่ยคือ 1557 ปีก่อนคริสตกาล[130]
| |
ดเจเซอร์คาเร | อเมนโฮเทปที่ 1 | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อาโมสที่ 1 ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 ทรงเป็นผู้นำการดำเนินการทางทหารในนิวเบียจนถึงแก่งน้ำตกแม่น้ำไนล์ที่ 3[131] นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเริ่มในการสร้างวิหารบูชาพระบรมศพและสุสานแยกจากกันแทนที่จะอยู่ในสถานที่เดียวกัน[132] เป็นไปได้ว่าฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 และพระนางอาโมส-เนเฟอร์ทาริ ซึ่งเป็นพระราชมารดาของพระองค์ ทรงได้ก่อตั้งหมู่บ้านคนงานสุสานในเดียร์ อัล-เมดินา ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าโดยผู้อยู่อาศัยในภายหลัง[133] | 1541–1520 ปีก่อนคริสตกาล
| |
อาอาเคเปอร์คาเร | ทุตโมสที่ 1 | ไม่ทราบถึงพระราชบิดาของพระองค์ แต่อาจจะเป็นฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 ส่วนพระราชมารดาของพระองค์คือพระนางเซนเซเนบ ฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 ทรงได้สถาปนาพระราชวงศ์ขึ้นควบคุมพระราชบัลลังก์อียิปต์ต่อไปอีก 175 ปีข้างหน้า[131] ฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 ทรงเอาชนะราชอาณาจักรคูชและทรงทำลายเมืองเคอร์มาในนิวเบียได้ พระองค์ทรงดำเนินการทางทหารในบริเวณซีเรียจนถึงแม่น้ำยูเฟรติส[131] พระองค์ยังเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์ทุตโมสที่ 2 และพระนางฮัตเชปซุตอีกด้วย[131] | 1520–1492 ปีก่อนคริสตกาล
| |
อาอาเคเปอร์เอนเร | ทุตโมสที่ 2 | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 และเป็นพระราชนัดดาของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 ผ่านพระนางมุตโนเฟรต ซึ่งเป็นพระราชมารดาของพระองค์ | 1492–1479 ปีก่อนคริสตกาล
| |
มาอัตคาเร | ฮัตเชปซุต | ทรงเป็นผู้ปกครองสตรีพระองค์ที่สองของอียิปต์ อาจจะทรงได้ปกครองร่วมกับพระภาติยะของพระองค์พระนามว่า ทุตโมสที่ 3 ในช่วงต้นแห่งการครองราชย์ ทรงมีชื่อเสียงจากการเดินทางไปยังดินแดนแห่งพุนต์ที่บันทึกไว้ในวิหารบูชาพระบรมศพที่มีชื่อเสียงของพระองค์ที่เดียร์ อัล-บาฮะริ ทรงสร้างวิหารและอนุสรณ์สถานจำนวนมาก ทรงปกครองในช่วงที่อียิปต์มีอำนาจสูงสุด พระองค์เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 กับพระอัครมเหสีของฟาโรห์ทุตโมสที่ 2 ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ | 1479–1458 ปีก่อนคริสตกาล
| |
เมนเคเปอร์เร | ทุตโมสที่ 3 | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทุตโมสที่ 2 อาจจะทรงได้ปกครองร่วมกับพระนางฮัตเชปซุต ซึ่งเป็นพระปิตุจฉาและพระราชมารดาบุญธรรมของพระองค์ในช่วงต้นแห่งการครองราชย์ ทรงมีชื่อเสียงในด้านการขยายดินแดนไปยังเลวานไทน์และนิวเบีย ในรัชสมัยของพระองค์ ราชอาณาจักรอียิปต์โบราณมีขอบเขตที่กว้างใหญ่ที่สุด ทรงปกครองในช่วงที่อียิปต์มีอำนาจสูงสุด ก่อนสิ้นรัชสมัย พระองค์ทรงลบพระนามและรูปของพระนางฮัตเชปซุตออกจากวิหารและอนุสาวรีย์ | 1458–1425 ปีก่อนคริสตกาล
| |
อาอาเคเปอร์อูเร | อเมนโฮเทปที่ 2 | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 ทรงปกครองในช่วงที่อียิปต์มีอำนาจสูงสุด | 1425–1400 ปีก่อนคริสตกาล
| |
เมนเคเปอร์อูเร | ทุตโมสที่ 4 | ทรงมีชื่อเสียงจากศิลาแห่งพระสุบิน เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 2 ทรงปกครองในช่วงที่อียิปต์มีอำนาจสูงสุด | 1400–1390 ปีก่อนคริสตกาล
| |
เนบมาอัตเร | อเมนโฮเทปที่ 3 ผู้ยิ่งใหญ่ | เป็นพระราชบิดาของฟาโรห์อาเคนอาเตน และพระอัยกาของฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ทรงปกครองอียิปต์ด้วยอำนาจสูงสุด ทรงโปรดให้สร้างวิหารและอนุสรณ์สถานจำนวนมาก รวมทั้งวิหารบูชาพระบรมศพขนาดมหึมาของพระองค์ด้วย พระองค์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทุตโมสที่ 4 | 1390–1352 ปีก่อนคริสตกาล
| |
เนเฟอร์เคเปอร์อูเร วาเอนเร | อเมนโฮเทปที่ 4 / อาเคนอาเตน (อาเคนเคเรส) | ทรงเป็นผู้สถาปนาสมัยอามาร์นา ซึ่งพระองค์ทรงได้เปลี่ยนศาสนาประจำพระราชอาณาจักรจากศาสนาอียิปต์โบราณที่นับถือพระเจ้าหลายพระองค์เป็นลัทธิอาเตนนิยม ซึ่งเป็นศาสนาแบบเอกเทวนิยม โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่การบูชาเทพอาเตน ซึ่งทรงเป็นภาพของสุริยจักร พระองค์ทรงย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองอาเคตอาเตน พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 พระองค์ทรงเปลี่ยนพระนามจาก อเมนโฮเทป (เทพอามุนทรงพึงพอพระทัย) มาเป็น อาเคนอาเตน (ทรงมีผลกับเทพอาเตน) เพื่อสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงศาสนาของพระองค์ | 1352–1336 ปีก่อนคริสตกาล
| |
อังค์เคเปอร์อูเร | สเมนค์คาเร | ทรงปกครองร่วมกับฟาโรห์อาเคนอาเตน ในช่วงหลายปีต่อมาในการครองราชย์ของพระองค์ ไม่ทราบว่าฟาโรห์สเมนค์คาเรทรงเคยปกครองเพียงพระองค์เดียวหรือไม่
ยังคงมีความคลุมเครือเกี่ยวกับตัวตนและแม้แต่เพศของพระองค์ บางคนสันนิษฐานว่าพระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อาเคนอาเตน ซึ่งอาจจะเป็นพระองค์เดียวกับกับฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ส่วนคนอื่นสันนิษฐานว่าฟาโรห์สเมนค์คาเรอาจะทรงเป็นพระนางเนเฟอร์ติติหรือพระนางเมริตอาเตน อาจจะทรงสืบราชสันตติวงศ์หรืออาจจะเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์สตรีพระนามว่า เนเฟอร์เนเฟอร์อูอาเตน |
1335–1334 ปีก่อนคริสตกาล
| |
อังค์เคเปอร์อูเร เมริ เนเฟอร์เคเปอร์อูเร | เนเฟอร์เนเฟอร์อูอาเตน | ทรงเป็นฟาโรห์สตรี ซึ่งอาจจะเป็นผู้ปกครองพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์สเมนค์คาเร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวข้องกับสตรีผู้ซึ่งทรงขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์ในช่วงปลายสมัยอามาร์นา และเป็นไปได้ว่าพระองค์คือพระนางเนเฟอร์ติติ | 1334-1332 ปีก่อนคริสตกาล
| |
เนบเคเปอร์อูเร | ทุตอังค์อาเตน / ทุตอังค์อามุน | โดยทั่วไปเชื่อกันว่าเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อาเคนอาเตน ซึ่งมีแนวโน้มมากที่สุดที่จะทรงคืนสถานะศศาสนาอียิปต์โบราณที่นับถือพระเจ้าหลายพระองค์ การเปลี่ยนพระนามจาก ทุตอังค์อาเตน มาเป็น ทุตอังค์อามุน สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในศาสนาจากลัทธิอาเตนนิยม ซึ่งเป็นศาสนาแบบเอกเทวนิยมไปสู่ศาสนาดั้งเดิม ซึ่งเทพอามุนเป็นเทพเจ้าพระองค์สำคัญ เชื่อกันว่าพระองค์ทรงขึ้นครองบัลลังก์เมื่อพระชนมพรรษาประมาณแปดหรือเก้าพรรษา และเสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมพรรษาประมาณสิบแปดหรือสิบเก้าพรรษา ทำให้พระองค์ได้รับสมญานามว่า "ยุวกษัตริย์" ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนทรงเป็นผู้ปกครองที่อ่อนแอและมีปัญหาพระพลานามัยหลายอย่าง อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงมีชื่อเสียงจากการถูกฝังในสุสานที่มีไว้ฝังพระศพเชื้อพระวงศ์พระองค์อื่นที่เรียกว่า เควี 62 | 1332–1324 ปีก่อนคริสตกาล
| |
เคเปอร์เคเปอร์อูเร | ไอย์ที่ 2 | ทรงเคยเป็นมหาราชมนตรีของฟาโรห์ทุตอังค์อามุนและทรงเป็นขุนนางคนสำคัญในรัชสมัยของฟาโรห์อาเคนอาเตนและฟาโรห์สเมนค์คาเร อาจจะเป็นพระอนุชาของพระนางติเย ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 และอาจจะเป็นพระบิดาของพระนางเนเฟอร์ติติ ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีของฟาโรห์อาเคนอาเตน เชื่อว่าทรงมีพระชาติกำเนิดมาในตระกูลสูงศักดิ์แต่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ ทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์ทุตอังค์อามุน เนื่องจากทรงไม่มีรัชทายาท | 1324–1320 ปีก่อนคริสตกาล
| |
ดเจเซอร์เคเปอร์อูเร เซเทปเอนเร | ฮอร์เอมเฮบ | ทรงมีพระชาติกำเนิดเป็นสามัญชน ทรงเคยเป็นนายพลในสมัยอามาร์นา ทรงลบภาพของฟาโรห์แห่งอามาร์นา และทรงโปรดให้ทำลายและล้างผลาญโครงสร้างอาคารและอนุสาวรีย์ ทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์ไอย์ ถึงแม้ว่าเจ้าชายนัคต์มินทรงจะเป็นรัชทายาทที่ตั้งใจไว้ แต่ทรงสิ้นพระชนม์ไปเสียก่อน | 1320–1292 ปีก่อนคริสตกาล
|
ราชวงศ์ที่สิบเก้า
แก้ราชวงศ์ที่สิบเก้าปกครองมาตั้งแต่ 1292 ถึง 1186 ปีก่อนคริสตกาล รวมถึงมีฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ แรเมซีสที่ 2 มหาราช
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เมนเพติเร | ราเมสเซสที่ 1[134] | ทรงมิได้เป็นเชื้อพระวงศ์ แต่พระองค์ทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบเนื่องจากพระองค์ทรงไม่มีรัชทายาท | 1292–1290 ปีก่อนคริสตกาล
| |
เมนมาอัตเร | เซติที่ 1 | ทรงรวบรวมดินแดนที่สูญเสียในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์อาเคนอาเทน | 1290–1279 ปีก่อนคริสตกาล
| |
อูเซอร์มาอัตเร เซเทปเอนเร (โอไซมันดิอัส) | ราเมสเซสที่ 2 มหาราช | ทรงขยายอาณาเขตของอียิปต์ต่อไปจนกระทั่งจนยุติที่บริเวณจักรวรรดิฮิตไทต์ในสมรภูมิคาเดชเมื่อ 1275 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นสนธิสัญญาสันติภาพอียิปต์-ฮิตไทต์อันโด่งดังได้รับการลงนามเมื่อ 1258 ปีก่อนคริสตกาล ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดของอียิปต์ ทรงเป็นที่รู้จักจากแผนการก่อสร้างขนาดใหญ่ รวมถึงอนุสรณ์สถานที่มีชื่อเสียงมากมายในปัจจุบัน | 1279–1213 ปีก่อนคริสตกาล
| |
บาเอนเร | เมอร์เนพทาห์[135] | เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 13 ของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 2 | 1213–1203 ปีก่อนคริสตกาล
| |
เมนมิเร เซเทปเอนเร | อเมนเมสเซ | น่าจะทรงเป็นผู้อ้างสิทธิ์ในพระราชบัลลังก์ อาจจะทรงปกครองฝ่ายตรงข้ามกับฟาโรห์เซติที่ 2 สันนิษฐานว่าเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เมอร์เนพทาห์ | 1203–1200 ปีก่อนคริสตกาล
| |
อูเซอร์เคเปอร์อูเร | เซติที่ 2[136] | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เมอร์เนพทาห์ พระองค์อาจจะทรงต้องเอาชนะฟาโรห์อเมนเมสเซก่อนที่พระองค์จะสามารถทรงอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ได้ | 1203–1197 ปีก่อนคริสตกาล
| |
เซคาเอนเร / อาเคนเร | (เมอร์เอนพทาห์) ซิพทาห์[137] | อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เซติที่ 2 หรือฟาโรห์อเมนเมสเซ ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์ตั้งแต่เยาว์วัย | 1197–1191 ปีก่อนคริสตกาล
| |
ซัตเร เมอร์เอนอามุน | ทาอุสเรต | น่าจะเป็นพระมเหสีของฟาโรห์เซติที่ 2 สามารถเรียกพระนามของพระองค์ได้อีกว่า ทวอสเรต หรือ ทาวอสเรต | 1191–1190 ปีก่อนคริสตกาล
|
ราชวงศ์ที่ยี่สิบ
แก้ราชวงศ์ที่ยี่สิบปกครองระหว่าง 1190 ถึง 1077 ปีก่อนคริสตกาล
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
อูเซอร์คาอูเร | เซตนัคต์เอ | ทรงไม่มีเกี่ยวข้องกับฟาโรห์เซติที่ 2, ฟาโรห์ซิพทาห์ หรือพระนางทาอุสเรตเลย พระองค์อาจจะทรงแย่งชิงพระราชบัลลังก์จากพระนางทาอุสเรต ละทรงไม่ยอมรับว่าฟาโรห์ซิพทาห์หรือพระนางทาอุสเรตทรงเป็นผู้ปกครองที่ถูกต้องชอบด้วยกฎมณเฑียรบาล พระองค์อาจจะทรงเป็นเชื้อพระวงศ์สายรองของราชวงศ์รามเสส สามารถเรียกพระนามได้อีกว่า เซตนัคต์ | 1190–1186 ปีก่อนคริสตกาล
| |
อูเซอร์มาอัตเร เมริอามุน | ราเมสเซสที่ 3 | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เซตนัคต์เอ พระองค์ทรงต่อสู้กับชาวทะเลเมื่อ 1175 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์อาจจะทรงถูกลอบสังหาร (แผนการณ์ฝ่ายใน) | 1186–1155 ปีก่อนคริสตกาล
| |
อูเซอร์มาอัตเร / เฮกามาอัตเร เซเทปเอนอามุน | ราเมสเซสที่ 4 | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 3 ในรัชสมัยของพระองค์ อำนาจของราชอาณาจักรอียิปต์เริ่มเสื่อมลง | 1155–1149 ปีก่อนคริสตกาล
| |
อูเซอร์มาอัตเร เซเคเปอร์เอนเร | ราเมสเซสที่ 5 | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 4 | 1149–1145 ปีก่อนคริสตกาล
| |
เนบมาอัตเร เมริอามุน | ราเมสเซสที่ 6 | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 3, เป็นพระอนุชาของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 4 และเป็นพระปิตุลาของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 5 | 1145–1137 ปีก่อนคริสตกาล
| |
อูเซอร์มาอัตเร เซเทปเอนเร เมริอามุน | ราเมสเซสที่ 7 | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 6 | 1137–1130 ปีก่อนคริสตกาล
| |
อูเซอร์มาอัตเร อาเคนอามุน |
ราเมสเซสที่ 8 | ทรงเป็นฟาโรห์ที่คลุมเครือผู้ทรงครองราชย์เพียงปีเดียว สามารถระบุตัวตนเป็นพระองค์เดียวกับเจ้าชายเซธอิเฮอร์เคเปชเอฟที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 3, เป็นพระอนุชาของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 4 และฟาโรห์ราเมสเซสที่ 6 และเป็นพระปิตุลาของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 5 และฟาโรห์ราเมสเซสที่ 7 พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวแห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบ ซึ่งยังไม่มีการค้นพบสุสานของพระองค์ | 1130–1129 ปีก่อนคริสตกาล
| |
เนเฟอร์คาเร เซเทปเอนเร | ราเมสเซสที่ 9 | อาจจะเป็นพระราชนัดดาของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 3 ผ่านทางพระบิดาของพระองค์พระนามว่า มอนตูเฮอร์โคเปชเอฟ ซึ่งเป็นพระญาติของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 5 และฟาโรห์ราเมสเซสที่ 7 | 1129–1111 ปีก่อนคริสตกาล
| |
เคเปอร์มาอัตเร เซเทปเอนพทาห์ | ราเมสเซสที่ 10[138] | ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพระองค์เล็กน้อย ช่วงรัชสมัยของพระองค์อยู่ระหว่าง 3 ถึง 10 ปี พระชาติกำเนิดของพระองค์ยังคลุมเครือ | 1111–1107 ปีก่อนคริสตกาล
| |
เมนมาอัตเร เซเทปเอนพทาห์ | ราเมสเซสที่ 11[139] | อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 10 ในช่วงครึ่งหลังแห่งการครองราชย์ของพระองค์ มหาปุโรหิตแห่งอามุนนามว่า เฮอร์อิฮอร์ ซึ่งปกครองอยู่ทางใต้ในเมืองธีบส์ และจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์ไว้เพียงบริเวณอียิปต์ล่าง (ทางเหนือ) ฟาโรห์สเมนเดสทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์แห่งอียิปต์ล่างของพระองค์ | 1107–1077 ปีก่อนคริสตกาล
|
ช่วงสมัยระหว่างกลางที่สามแห่งอียิปต์
แก้สมัยระหว่างกลางที่สาม (ระหว่าง 1077 – 664 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นจุดสิ้นสุดของสมัยราชอาณาจักรใหม่หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิอียิปต์เมื่อสิ้นสุดสมัยสัมฤทธิ์ ราชวงศ์ที่มาจากลิเบียหลายราชวงศ์ได้เข้ามาปกครองอียิปต์ ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเรียกได้อีกอย่างว่าสมัยลิเบีย
ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ด
แก้ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่เมืองทานิสและเป็นราชวงศ์ที่ค่อนข้างอ่อนแอ ตามทฤษฎีแล้ว ฟาโรห์จากราชวงศ์ดังกล่าวทรงเป็นผู้ปกครองราชอาณาจักรอียิปต์ทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัติแล้วอิทธิพลของพระองค์ได้จำกัดอยู่เพียงแค่อียิปต์ล่างเท่านั้น ซึ่งทรงปกครองตั้งแต่ 1077 ถึง 943 ปีก่อนคริสตกาล
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เฮดจ์เคเปอร์เร-เซตป์เอนเร | เนสบาเนบดเจดที่ 1[140] (สเมนเดสที่ 1) | ทรงอภิเษกสมรสกับเทนต์อามุน ซึ่งเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์รามเสสที่ 11 | 1077–1051 ปีก่อนคริสตกาล | |
เนเฟอร์คาเร | อเมนเอมนิซู | การครองราชย์จำนวนสี่ปีที่คลุมเครือ | 1051–1047 ปีก่อนคริสตกาล | |
อาอาเคเปอร์เร | พาเซบาคาเอนนูอิตที่ 1 (ซูเซนเนสที่ 1) | เป็นพระโอรสของพิเนดจ์เอมที่ 1 ซึ่งทรงเป็นมหาปุโรหิตแห่งอามุน ทรงปกครองเป็นระยะเวลา 40 ถึง 51 ปี ทรงมีชื่อเสียงจากสุสานของพระองค์ที่ทานิส รู้จักกันในนาม "ฟาโรห์เงิน" เนื่องจากโลงพระบรมศพเงินอันงดงามที่พระองค์ทรงถูกฝังไว้ ทรงเป็นหนึ่งในผู้ปกครองที่มีอำนาจมากที่สุดของราชวงศ์ | 1047–1001 ปีก่อนคริสตกาล | |
อูเซอร์มาอัตเร | อเมนเอมโอเพ | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 1 | 1001–992 ปีก่อนคริสตกาล | |
อาอาเคเปอร์เร เซเทปเอนเร | โอซอร์คอน ผู้อาวุโส | ทรงเป็นบุตรชายของโชเชงค์ เอ ซึ่งเป็นประมุขผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมชเวส (ลิเบีย) หรือเรียกพระองค์ว่า โอซอร์คอร์ | 992–986 ปีก่อนคริสตกาล | |
เนทเจอร์อิเคเปอร์เร-เซปต์เอนอามุน | ซิอามุน | ไม่ทราบพระชาติกำเนิดของพระองค์ ทรงเป็นฟาโรห์ที่มรงโปรดให้สร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นอย่างกว้างขวางในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สาม พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจมากที่สุดคนหนึ่งของราชวงศ์ | 986–967 ปีก่อนคริสตกาล | |
มิตเคเปอร์อูเร | พาเซบาคาเอนนูอิตที่ 2 (ซูเซนเนสที่ 2) | เป็นพระโอรสของพิเนดจ์เอมที่ 2 ซึ่งทรงเป็นมหาปุโรหิตแห่งอามุน | 967–943 ปีก่อนคริสตกาล |
มหาปุโรหิตแห่งอามุนที่ธีบส์
แก้ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ฟาโรห์อย่างเป็นทางการ แต่มหาปุโรหิตแห่งอามุนที่ธีบส์ก็ทรงเป็นผู้ปกครองอียิปต์บนโดยพฤตินัยในช่วงสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ ซึ่งปรากฏการบันทึกพระนามลงในคาร์ทูชและฝังพระบรมศพไว้ในสุสานหลวง
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เฮมเนทเจอร์เทปเอนอามุน | เฮอร์อิฮอร์ ซิอามุน | ทรงปกครองทางใต้ในเมืองธีบส์ ส่วนฟาโรห์รามเสสที่ 11 ทรงปกครองจากทางเหนือในเมืองไพ-รามเสส ข้อมูลบางแหล่งได้ระบุว่าพระองค์อาจจะทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพิอังค์ | 1080–1074 ปีก่อนคริสตกาล | |
พิอังค์ | ข้อมูลบางแหล่งได้ระบุว่าพระองค์อาจจะทรงขึ้นครองราชย์ก่อนหน้าจากเฮอร์อิฮอร์ | 1074–1070 ปีก่อนคริสตกาล | ||
เคเปอร์คาวรา เซเทปเอนอามุน | พิเนดจ์เอมที่ 1 เมริอามุน | เป็นพระราชโอรสของพิอังค์ และเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 1 | 1070–1032 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | มาซาฮาร์ตา | เป็นพระราชโอรสของพิเนดจ์เอมที่ 1 | 1054–1045 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | ดเจดคอนซูเอฟอังค์ | เป็นพระราชโอรสของพิเนดจ์เอมที่ 1 | 1046–1045 ปีก่อนคริสตกาล | |
เฮมเนทเจอร์เทปอิเอนอามุน | เมนเคเปอร์เร | เป็นพระราชโอรสของพิเนดจ์เอมที่ 1 | 1045–992 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | เนสบาเนบดเจดที่ 2 (สเมนเดสที่ 2) | เป็นพระราชโอรสของเมนเคเปอร์เร | 992–990 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | พิเนดจ์เอมที่ 2 | เป็นพระราชโอรสของเมนเคเปอร์เร และเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 2 | 990–976 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | ทิตเคเปอร์อูเร | เฮมเนทเจอร์เทปอิเอนอามุน พาเซบาคาเอนนูอิต (ซูเซนเนสที่ 3) | อาจจะทรงเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 2 โดยทั่วไปแล้วพระองค์หรือพิเนดจ์เอมที่ 2 ถือว่าทรงเป็นมหาปุโรหิตแห่งอามุนพระองค์สุดท้ายที่เชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นเหมือนฟาโรห์ | 976–943 ปีก่อนคริสตกาล |
ราชวงศ์ที่ยี่สิบสอง
แก้ฟาโรห์ของราชวงศ์ที่ยี่สิบสองเป็นชาวลิเบีย ปกครองระหว่าง 943 ถึง 728 ปีก่อนคริสตกาล
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เฮดจ์เคเปอร์เร เซตป์เอนเร | โชเชงค์ที่ 1 เมริอามุน | ทรงเป็นบุตรชายของนิมลอต เอ เป็นพระภราดรของโอซอร์คอน ผู้อาวุโส และทรงเป็นประมุขผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมชเวส (ชาวลิเบีย) อาจจะทรงเป็นชิแชกตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิล | 943–922 ปีก่อนคริสตกาล | |
เซเคมเคเปอร์เร เซเทปเอนเร | โอซอร์คอนที่ 1 เมริอามุน | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์โชเชงค์ที่ 1 | 922–887 ปีก่อนคริสตกาล | |
เฮกาเคเปอร์เร เซเทปเอนเร | โชเชงค์ที่ 2 เมริอามุน | ทรงเป็นฟาโรห์ผู้คลุมเครือ อาจจะทรงเป็นผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์ | 887–885 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | ทุตเคเปอร์เร | โชเชงค์ที่ 2 บี | ทรงเป็นฟาโรห์ผู้คลุมเครือ ตำแหน่งจามลำดับเวลายังไม่แน่ชัด | ทศวรรษที่ 880 ก่อนคริสตกาล |
เฮดจ์เคเปอร์เร เซเทปเอนอามุน | ฮาร์ซิเอเซ เมริอามุน เอ | ทรงเป็นกบฏผู้คลุมเครือที่ธีบส์ | 880–860 ปีก่อนคริสตกาล | |
เฮดจ์เคเปอร์เร เซเทปเอนเร | ทาเคลอตที่ 1 เมริอามุน | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 1 | 885–872 ปีก่อนคริสตกาล | |
อูเซอร์มาอัตเร เซเทปเอนอามุน | โอซอร์คอนที่ 2 เมริอามุน | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทาเคลอตที่ 1 | 872–837 ปีก่อนคริสตกาล | |
อูเซอร์มาอัตเร เซตป์เอนเร | โชเชงค์ที่ 3 เมริอามุน | — | 837–798 ปีก่อนคริสตกาล | |
เฮดจ์เคเปอร์เร เซเทปเอนเร | โชเชงค์ที่ 4 เมริอามุน ซาบาสต์ เนทเจอร์เฮกาอิอูนู | — | 798–785 ปีก่อนคริสตกาล | |
อูเซอร์มาอัตเร เซตป์เอนเร | ปามิ เมริอามุน | — | 785–778 ปีก่อนคริสตกาล | |
อาอาเคเปอร์เร | โชเชงค์ที่ 5 | — | 778–740 ปีก่อนคริสตกาล | |
อูเซอร์มาอัตเร | โอซอร์คอนที่ 4 | — | 740–720 ปีก่อนคริสตกาล |
ราชวงศ์ที่ยี่สิบสาม
แก้ราชวงศ์ที่ยี่สิบสามมีผู้ปกครองเป็นชาวลิเบีย ซึ่งศูนย์กลางอำนาจตั้งอยู่ที่เมืองเฮราคลีโอโพลิส และเมืองธีบส์ ซึ่งปกครองตั้งแต่ 837 ถึง 735 ปีก่อนคริสตกาล
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รสมัย |
---|---|---|---|---|
เฮดจ์เคเปอร์เร เซตป์เอนเร | ทาเคลอตที่ 2 ซิเอเซเมริอามุน | ก่อนหน้านี้คิดว่าทรงเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่ยี่สิบสอง ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ทราบในฐานะผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์ที่ยี่สิบสามแห่งอียิปต์ | 837–813 ปีก่อนคริสตกาล | |
อูเซอร์มาอัตเร เซตป์เอนอามุน | เมริอามุน เปดูบาสต์ที่ 1 | ทรงก่อกบฏโดยที่ยึดเมืองธีบส์จากฟาโรห์ทาเคลอตที่ 2 | 826–801 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | — | ยูพุดที่ 1 เมริอามุน | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับฟาโรห์เปดูบาสต์ | 812–811 ปีก่อนคริสตกาล |
— | อูเซอร์มาอัตเร เมริอามุน | โชเชงค์ที่ 6 เมริอามุน | ทรงเป็นผู้สืบพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์เปดูบาสต์ | 801–795 ปีก่อนคริสตกาล |
อูเซอร์มาอัตเร เซตป์เอนอามุน | โอซอร์คอนที่ 3 ซาอิเซตเมริอามุน | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทาเคลอตที่ 2 ทรงได้ยึดเมืองธีบส์คืนแล้วทรงประกาศพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์ | 795–767 ปีก่อนคริสตกาล | |
อูเซอร์มาอัตเร-เซตป์เอนอามุน | ทาเคลอตที่ 3 เมริอามุน ซาอิเซตเมริอามุน | ทรงขึ้นครองราชย์ร่วมกับฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 3 ผู้เป็นพระราชบิดาในช่วง 5 ปีแรกแห่งการครองราชย์ | 773–765 ปีก่อนคริสตกาล | |
อูเซอร์มาอัตเร-เซตป์เอนอามุน | เมริอามุน รุดอามุน | เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กของฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 3 และเป็นพระภราดรของฟาโรห์ทาเคลอตที่ 3 | 765–762 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | อูอัสเนทเจอร์เร/เฮดจ์เคเปอร์เร เซเทปเอนเร | โชเชงค์ที่ 7 ซาอิเซตเมริอามุน | ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพระองค์น้อยมาก | — |
ฟาโรห์รุดอามุนทรงถูกสืบทอดพระราชอำนาจต่อที่เมืองธีบส์ โดยผู้ปกครองท้องถิ่น
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เมนเคเปอร์เร | อินิ | ทรงครองราชย์เฉพาะบริเวณเมืองธีบส์เท่านั้น | 762 ปีก่อนคริสตกาล – ไม่ทราบ |
ราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่
แก้ราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่เป็นราชวงศ์ที่ปกครองเป็นระยะเวลาสั้นๆ เมืองหลวงของราชวงศ์ตั้งอยู่ในเขตตะวันตกของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ (เมืองซาอิส) มีเพียงฟาโรห์จำนวนสองพระองค์ ซึ่งปกครองตั้งแต่ 732 ถึง 720 ปีก่อนคริสตกาล
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เชปเซสเร | เทฟนัคต์ | — | 732–725 ปีก่อนคริสตกาล | |
วาคาเร | บาเคนเรเนฟ (บ็อกคอริส) | — | 725–720 ปีก่อนคริสตกาล |
ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า
แก้ชาวนิวเบียได้บุกรุกอียิปต์ล่างและได้ครองพระราชบัลลังก์แห่งอียิปต์ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์ปิเย ถึงแม้ว่าพระองค์จะควบคุมเมืองธีบส์และอียิปต์บนในช่วงปีแรก ๆ แห่งการครองราชสมบัติของพระองค์ แต่การพิชิตอียิปต์ของฟาโรห์ปิเยในบริเวณอียิปต์ล่างนั้นได้ทำให้เกิดการสถาปยนาราชวงศ์ยี่สิบห้าขึ้น ซึ่งปกครองจนถึง 656 ปีก่อนคริสตกาล
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
อูเซอร์มาอัตเร | ปิเย | ทรงเป็นกษัตริย์แห่งนิวเบีย ซึ่งทรงพิชิตอียิปต์ในปีที่ 20 แห่งการครองราชย์ พระองค์ทรงครองราชย์อย่างน้อย 24 ปี หรืออาจจะมากกว่า 30 ปี | 744–714 ปีก่อนคริสตกาล ตามเฟรเดริก ปายโรโด[141] | |
ดเจดคาอูเร | เชบิตคู | เชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์ชาบากาจนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 2010 | 714–705 ปีก่อนคริสตกาล ตามเฟรเดริก ปายโรโด[141] | |
เนเฟอร์คาเร | ชาบาคา | เชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าของฟาโรห์เชบิตคูจนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 2010 | 705–690 ปีก่อนคริสตกาล ตามเฟรเดริก ปายโรโด[141] | |
คูอิเนเฟอร์เทมเร | ทาฮาร์กา | เสด็จสวรรตเมื่อ 664 ปีก่อนคริสตกาล | 690–664 ปีก่อนคริสตกาล[142] | |
บาคาเร | ทันต์อมานิ | ทรงสูญเสียการควบคุมในอียิปต์บนเมื่อ 656 ปัก่อนคริสตกาล เมื่อฟาโรห์พซัมติกที่ 1 ได้ทรงขยายพระราชอำนาจไปยังธีบส์ในปีเดียวกันนั้น | 664–653 ปีก่อนคริสตกาล |
ในที่สุดผู้ปกครองก็ถูกขับไล่กลับไปยังนิวเบีย ซึ่งทรงได้สถาปนาพระราชอาณาจักรที่นาปาตา (656–590 ปีก่อนคริสตกาล) และต่อมาที่เมโรวี (590 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 500)
สมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ
แก้สมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณเริ่มตั้งแต่ประมาณ 664 ถึง 332 ปีก่อนคริสตกาล และรวมถึงเป็นระยะเวลาแห่งการปกครองโดยชาวอียิปต์พื้นเมืองและชาวเปอร์เซีย
ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก
แก้ราชวงศ์ที่ยี่สิบหกปกครองระหว่าง 664 ถึง 525 ปีก่อนคริสตกาล[143]
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เมนอิบเร? อิร์อิบเร? | เทฟนัคต์ที่ 2 (สเตฟินาเตส) | ทรงพระนาม สเตฟินาเตส ตามบันทึกของแมนิโธ พระองค์อาจจะเป็นเชื้อพระวงศ์จากราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่แห่งอียิปต์ และเป็พระราชบิดาของฟาโรห์เนโคที่ 1 | 685–678 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | — | เนคาอูบา (เนเคปซอส) | ทรงพระนาม เนเคปซอส ตามบันทึกของแมนิโธ มีการสงสัยเกี่ยวกับการมีอยู่ของพระองค์ | 678–672 ปีก่อนคริสตกาล |
เมนเคเปอร์เร | เนคาอูที่ 1 (เนโคที่ 1) | ทรงถูกสังหารโดยกองกำลังชาวคูชที่รุกรานเมื่อ 664 ปีก่อนคริสตกาลในรัชสมัยของฟาโรห์ทันต์อมานิ และพระองค์เป็นพระราชบิดาของฟาโรห์พซัมติกที่ 1 | 672–664 ปีก่อนคริสตกาล |
ฟาโรห์พซัมติกที่ 1 ซึ่งเป็นพระราชโอรสและทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์เนคาอูที่ 1 ทรงสามารถรวมราชอาณาจักรอียิปต์ได้อีกครั้งและได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
วาอิบเร | พซัมติกที่ 1 (ซัมเมติคัสที่ 1) | ทรงรวมราชอาณาจักรอียิปต์อีกครั้ง พระองค์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เนโคที่ 1 และเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์เนโคที่ 2 | 664–610 ปีก่อนคริสตกาล[144] | |
เวเฮมอิบเร | เนคาอูที่ 2 (เนโคที่ 2) | เป็นไปได้มากว่าจะทรงเป็นฟาโรห์ที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือหลายเล่มของพระคัมภีร์และมรณกรรมของโยสิยาห์ พระองค์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์พซัมติกที่ 1 และเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์พซัมติกที่ 2 | 610–595 ปีก่อนคริสตกาล[144] | |
เนเฟอร์อิบเร | พซัมติกที่ 2 (ซัมเมติคัสที่ 2) | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เนโคที่ 2 และเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์อพริส | 595–589 ปีก่อนคริสตกาล[144] | |
ฮาอาอิบเร | วาอิบเร (อพริส) | ทรงหนีออกจากอียิปต์หลังจากที่ฟาโรห์อามาซิสที่ 2 (ซึ่งเป็นนายพลในขณะนั้น) ทรงประกาศพระองค์เป็นฟาโรห์หลังจากสงครามกลางเมือง พระองค์เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์พซัมติกที่ 2 | 589–570 ปีก่อนคริสตกาล[144] | |
คเนมอิบเร | อาโมสที่ 2 (อามาซิสที่ 2) | พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่พระองค์สุดท้ายของอียิปต์ก่อนการพิชิตของเปอร์เซีย ตามที่นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เฮโรโดตัส ได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงมีพระชาติกำเนิดเป็นสามัญชน พระองค์เป็นพระราชบิดาของฟาโรห์พซัมติกที่ 3 | 570–526 ปีก่อนคริสตกาล[144] | |
อังค์คาเอนเร | พซัมติกที่ 3 (ซัมเมติคัสที่ 3) | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อามาซิสที่ 2 ทรงปกครองประมาณหกเดือนก่อนที่จะทรงพ่ายแพ้ต่อเปอร์เซียในยุทธการที่เปลูเซียม และทรงต่อมาถูกสำเร็จในข้อหาพยายามก่อการกบฏ | 526–525 ปีก่อนคริสตกาล[144] |
ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ด
แก้อียิปต์ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิเปอร์เซียเมื่อ 525 ปีก่อนคริสตกาล และสถาปนาตั้งขึ้นเป็นมณฑลให้เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิจนถึงเมื่อ 404 ปีก่อนคริสตกาล จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิดทรงได้รับการยอมรับว่าทรงเป็นฟาโรห์ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งได้สถาปนาเป็นราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนาม | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เมซุตเร | แคมไบดเจต (แคมไบซีสที่ 2) | หลังจากการพ่ายแพ้ของฟาโรห์พซัมติกที่ 3 ในยุทธการที่เปลูเซียม ทำให้จักรวรรดิเปอร์เซียเข้ามายึดครองอียิปต์เมื่อ 525 ปีก่อนคริสตกาล | 525 – 1 กรกฎาคม 522 ปีก่อนคริสตกาล[145] | |
— | — | บาร์ดิยา (สเมอร์ดิส) / เกามาตา | เป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิไซรัสมหาราช | 522 ปีก่อนคริสตกาล[145] |
เซเทตอูเร | เดริอุช (ดาริอุสที่ 1) | ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์โดยทรงโค่นพระราชบัลลังก์ของเกามาตา | 522 – พฤศจิกายน 486 ปีก่อนคริสตกาล[145] | |
— | เคชายารุชา (เซิร์กซีสที่ 1) | ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยอาร์ตาบาร์นุสแห่งเปอร์เซีย | พฤศจิกายน 486 – ธันวาคม 465 ปีก่อนคริสตกาล[145] | |
— | — | อาร์ตาบาร์นุสแห่งเฮอร์เคเนีย | — | 465-464 ปีก่อนคริสตกาล |
— | อารุตาคชาชาส (อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 1) | เสด็จสวรรคตเมื่อ 424 ปีก่อนคริสตกาล | 464–424 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | — | เซิร์กซีสที่ 2 | ผู้อ้างสิทธิ์ครองพระราชบัลลังก์ | 424–423 ปีก่อนคริสตกาล[145] |
— | — | ซ็อกเดียนุส | ผู้อ้างสิทธิ์ครองพระราชบัลลังก์ | 423 – กรกฎาคม 423 ปีก่อนคริสตกาล[145] |
— | ดาริอุสที่ 2 | เสด็จสวรรคตเมื่อ 404 ปีก่อนคริสตกาล | กรกฎาคม 423 – มีนาคม 404 ปีก่อนคริสตกาล[145] |
การก่อกบฏโดยชาวพื้นเมืองหลายครั้งที่เกิดขึ้นในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เซเฮอร์อูอิบเร | เปทูบาสทิสที่ 3[146] | กบฏชาวอียิปต์พื้นเมืองในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ | 522/21–520 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | อาโมส? เนบคาเอนเร? | ซัมเมติคัสที่ 4[146] | สันนิษฐานว่าเป็นผู้นำการก่อกบฏชาวอียิปต์พื้นเมือง ซึ่งช่วงเวลากบฏยังคงคลุมเครืออยู่ | อาจจะคริสต์ทศวรรษที่ 480 ปีก่อนคริสตกาล |
ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปด
แก้ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปดปกครองเพียง 6 ปี ตั้งแต่ 404 ถึง 398 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีเพียงฟาโรห์พระองค์เดียว
รูปภาพ | พระนาม | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|
อามุนดิอิร์ซู (อไมร์เตอุส) | ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งซาอิส ทรงได้ขับไล่ชาวเปอร์เชียออกไปจากอียิปต์ | 404–398 ปีก่อนคริสตกาล |
ราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้า
แก้ราชวงศ์ยี่สิบเก้าปกครองระหว่าง 398 ถึง 380 ปีก่อนคริสตกาล
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
บาเอนเร เมริเนทเจอร์อู | เนฟาอารุดที่ 1 (เนเฟริเตสที่ 1) | หรือที่เรียกพระนามได้อีกว่า เนเฟริเตส พระองค์ทรงเอาชนะฟาโรห์อไมร์เตอุสในการสู้รบและทรงสำเร็จโทษพระองค์ | 398–393 ปีก่อนคริสตกาล | |
คเนมมาอัตเร เซเทปเอนคเนมู | ฮาคอร์ (อะคอริส) | เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เนฟาอารุดที่ 1 | ประมาณ 392 – ประมาณ 391 ปีก่อนคริสตกาล | |
อูเซอร์เร เซเทปเอนพทาห์ | พาเชอร์อิเอนมุต (พซัมมูธิส) | อาจจะทรงปลดฟาโรห์ฮาคอร์ลงจากพระราชบัลลังก์เป็นระยะเวลาหนึ่งปี | ประมาณ 391 ปีก่อนคริสตกาล | |
คเนมมาอัตเร เซเทปเอนคเนมู | ฮาคอร์ (อะคอริส) | ทรงยึดพระราชบัลลังก์จากฟาโรห์พซัมมูธิส | ประมาณ 390 – ประมาณ 379 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | — | เนฟาอารุดที่ 2 (เนเฟริเตสที่ 2) | ทรงถูกปลดออกจากพระราชบัลลังก์และน่าจะทรงถูกสังหารโดยฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 หลังจากทรงปกครองได้เพียง 4 เดือน พระองค์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ฮาคอร์ | ประมาณ 379 ปีก่อนคริสตกาล |
ราชวงศ์ที่สามสิบ
แก้ราชวงศ์ที่สามสิบปกครองตั้งแต่ 380 ปีก่อนคริสตกาล จนกระทั่งอียิปต์กลับเข้าอยู่มาภายใต้การปกครองของเปอร์เซียอีกครั้งเมื่อประมาณ 343 ปีก่อนคริสตกาล
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เคเปอร์คาเร | เนคต์เนเบฟ (เนคทาเนโบที่ 1) | ยังทราบในอีกพระนามว่า เนคต์เนเบฟ พระองค์เป็นผู้เนรเทศและน่าจะปลงพระชนม์ฟาโรห์เนเฟอริเตสที่สอง และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์อียิปต์ที่ปกครองโดยชาวอียิปต์เป็นราชวงศ์สุดท้าย พระองค์เป็นพระราชบิดาของฟาโรห์เจดฮอร์ | 379/8–361/0 ปีก่อนคริสตกาล | |
อิริมาอัตเอนเร | ดเจดเฮอร์ (ทีออส) | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับฟาโรห์เนคทาโบที่ 1 ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ ตั้งแต่ประมาณ 365 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ถูกโค่นพระราชบัลลังก์โดยฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ด้วยความช่วยเหลือของอาเกซิลาอุสที่ 2แห่งสปาร์ตา | 361/0–359/8 ปีก่อนคริสตกาล | |
สเนดจ์เอมอิบเร เซเทปเอนอันฮูร์ | นัคต์ฮอร์เฮบิต เมริฮัตฮอร์ (เนคทาเนโบที่ 2) | ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ[147]ตามที่แมนิโธบันทึกไว้ | 359/8–341/0 ปีก่อนคริสตกาล |
ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด
แก้อียิปต์ได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเปอร์เซียอีกครั้ง ผู้ปกครองชาวเปอร์เซียปกครองระหว่าง 343 ถึง 332 ปีก่อนคริสตกาล ได้รับการแต่งตั้งเป็นครั้งคราวเป็นราชวงศ์สามสิบเอ็ด
รูปภาพ | พระนาม | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|
อาตาเซอร์ซีสที่สาม | อียิปต์ตกอยู่ในการปกครองของชาวเปอร์เซียอีกครั้ง | 343-338 ปีก่อนคริสตกาล | |
อาตาเซอร์ซีสที่สี่ | ปกครองเฉพาะในอียิปต์ล่าง | 338-336 ปีก่อนคริสตกาล | |
ดาริอุสที่สาม | อียิปต์บนกลับสู่การควบคุมของเปอร์เซียเมื่อ 335 ปีก่อนคริสตกาล จักรวรรดิเปอร์เซียถูกพิชิตโดยอเล็กซานเดอร์มหาราชในเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตกาล | 336-332 ปีก่อนคริสตกาล |
การก่อกบฏโดยชาวพื้นเมืองเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงราชวงศ์ที่สิบเอ็ด
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เซเนนเซเทปอูนิพทาห์ | คาบาบาช | ฟาโรห์กบฏที่ทรงนำการรุกรานในนิวเบีย | 338–335 ปีก่อนคริสตกาล[148] |
ช่วงสมัยเฮลเลนิสติก
แก้ราชวงศ์อาร์กีด
แก้ชาวกรีกมาซิโดเนียภายใต้การนำของอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้าสู่ยุคแห่งเฮลเลนิสติกด้วยการพิชิตเปอร์เซียและอียิปต์ ราชวงศ์อาร์กีดปกครองตั้งแต่ 332 ถึง 309 ปีก่อนคริสตกาล
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เซปต์เอนเร เมริอามุน | อะลุกซิเดรส (อเล็กซานเดอร์มหาราช) | พระนามทางการ คือ อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซิโดเนีย ทรงพิชิตเปอร์เซียและอียิปต์ | 332–13 มิถุนายน 323 ปีก่อนคริสตกาล[149] | |
เซปต์เอนเร เมริอามุน | เพลูพูอิซา (ฟิลิป อาร์ริดีอุส) | พระนามทางการ คือ ฟิลิปที่ 3 แห่งมาซิโดเนีย พระองค์เป็นพระอนุชาต่างพระราชมารดาของอเล็กซานเดอร์มหาราชที่ทรงพิการทางสมอง | 323–317 ปีก่อนคริสตกาล | |
คาอิบเร เซเทปเอนอามุน | อะลุกซินเดรส (อเล็กซานเดอร์ที่ 4) | พระนามทางการ คือ อเล็กซานเดอร์ที่ 4 แห่งมาซิโดเนีย พระองค์เป็นพระราชโอรสของอเล็กซานเดอร์มหาราชและพระนางร็อกซานา | 317–309 ปีก่อนคริสตกาล |
ราชวงศ์ทอเลมี
แก้ราชวงศ์ทอเลมีเป็นราชวงศ์เฮลเลนิสติกลำดับที่สอง ซึ่งปกครองอียิปต์ตั้งแต่ 305 ปีก่อนคริสตกาล จนกระทั่งอียิปต์กลายเป็นมณฑลหนึ่งของกรุงโรมเมื่อ 30 ปีก่อนคริสตกาล (เมื่อใดก็ตามที่เวลาสองช่วงเวลาทับซ้อนกัน นั่นหมายถึงมีการปกครองร่วมกัน) สมาชิกราชวงศ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของราชวงศ์นี้คือพระนางคลีโอพัตราที่ 7 ซึ่งในยุคปัจจุบันรู้จักกันโดยทั่วกันในพระนาม คลีโอพัตรา ซึ่งเป็นมเหสีของจูเลียส ซีซาร์ และหลังจากการตายของซีซาร์ พระองค์ทรงความสัมพันธ์กับมาร์ค แอนโทนี ซึ่งทั้งสองพระองค์ก็ทรงมีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกัน
พระนางคลีโอพัตราทรงพยายามสร้างความปรองดองทั้งทางด้านราชวงศ์และทางด้านการเมืองระหว่างอียิปต์และโรม แต่การลอบสังหารซีซาร์และความพ่ายแพ้ของมาร์ค แอนโทนี ทำให้แผนการของพระองค์ต้องล้มเหลว[ต้องการอ้างอิง]
ซีซาเรียน (ทอเลมีที่ 15 ฟิโลปาตอร์ ฟิโลมาตอร์ ซีซาร์) ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีแห่งอียิปต์ และพระองค์ทรงครองราชย์ร่วมกับพระมารดาคือพระนางคลีโอพัตราที่ 7 แห่งอียิปต์ ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 47 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์โตของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 และอาจจะเป็นโอรสพระเดียวของจูเลียส ซีซาร์ ซึ่งตั้งพระนามตามซีซาร์ ระหว่างช่วงเวลาการเสด็จสวรรคตของพระนางคลีโอพัตราในวันที่ 12 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงการเสด็จสวรรคตของพระองค์เองในวันที่ 23 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ทรงกลายว่าเป็นฟาโรห์ที่ครองราชย์แต่เพียงพระองค์เดียว ตามประวัติศาสตร์แล้วพระองค์ทรงถูกตามล่าและถูกสำเร็จโทษตามคำสั่งของออคตาเวียน ผู้ซึ่งจะกลายเป็นจักรพรรดิออกุสตุสของโรมัน แต่กลับไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์[ต้องการอ้างอิง]
รูปภาพ | พระนามครองราชย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
เซตป์เอนเร เมริอามุน | ทอเลมีที่ 1 โซเตอร์ | ทรงสละราชสมบัติเมื่อ 285 ปีก่อนคริสตกาล[ต้องการอ้างอิง] | 7 พฤศจิกายน 305 – มกราคม 282 ปีก่อนคริสตกาล[148] | |
เวเซอร์คาเร เมริอามุน | ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟอส | — | 28 มีนาคม 284 – 28 มกราคม 246 ปีก่อนคริสตกาล | |
เคนเอม(เอต)อิเบนมาอัต เมอร์(เอต)เนทเจอร์อู | อาร์ซิโนเอที่ 2 | เป็นพระมเหสีของทอเลมีที่ 2 | ประมาาณ 277 – กรกฎาคม 270 ปีก่อนคริสตกาล[148] | |
อิวาเอนเซนวิเนทเจอร์วี เซตป์เอนเร เซเคมอังค์เอนอามุน | ทอเลมีที่ 3 ยูเออร์เกเทส | — | 28 มกราคม 246 – พฤศจิกายน/ธันวาคม 222 ปีก่อนคริสตกาล | |
เบเรนิเคต เมริตเนทเจอร์อู | เบเรนิซที่ 2 | เป็นพระมเหสีของทอเลมีที่ 3 และทรงถูกปลงพระชนม์ | 244/243 – 222 ปีก่อนคริสตกาล | |
อิวาเอนเนทเจอร์วีเมเนควี เซเทปเอนพทาห์ อูเซอร์คาเร เซเคมอังค์อามุน | ทอเลมีที่ 4 ฟิโลพาตอร์ | เสด็จสวรรคตโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเป็นเพราะเหตุเพลิงไหม้ในพระราชบรมวังหรือทรงถูกฆาตกรรม | พฤศจิกายน/ธันวาคม 222 – กรกฎาคม/สิงหาคม 204 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | อาร์ซิโนเอที่ 3 | เป็นพระมเหสีของทอเลมีที่ 4 และทรงถูกปลงพระชนม์ | 220–204 ปีก่อนคริสตกาล | |
อิวาเอนเนทเจอร์วีเมอร์(วี)อิต เซเทปเอนพทาห์ อูเซอร์คาเร เซเคมอังค์อามุน | ทอเลมีที่ 5 เอพิฟาเนส | อียิปต์บนก่อการกบฏระหว่าง 207–186 ปีก่อนคริสตกาล | กรกฎาคม/สิงหาคม 204 – กันยายน 180 ปีก่อนคริสตกาล | |
ฮูนู ซัตเฮกา อิเรตเอนเฮกา เมอร์เอนเนทเจอร์อูบาเกต เคเกอร์เอนเชเนมู ทาเทตซัต ฮูติ เวอร์เพติ เซเออร์ทาวิ เรดิเนสเนเบตอิเรคิตเอนเนเฟอร์อู เกนิซิเนตเนบซาอู เทนิซิอาฮอร์เอมเมรุตส์ | คลีโอพัตราที่ 1 ไซรา | เป็นพระมเหสีของทอเลมีที่ 5 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับทอเลมีที่ 6 ในช่วงที่ยังทรงเยาว์วัย | ประมาณ กุมภาพันธ์ 193 – 176 ปีก่อนคริสตกาล[148] | |
อิวาเอนเนทเจอร์วีเพอร์อู เซเทปเอนพทาห์เคเปอร์อิ อิริมาอัตอามุนเร | ทอเลมีที่ 6 ฟิโลเมตอร์ | ทรงอยู่ภายใต้การปกครองของทอเลมีที่ 8 164 ปีก่อนคริสตกาล–163 ปีก่อนคริสตกาล และทรงขึ้นครองราชย์อีกครั้งเมื่อ 163 ปีก่อนคริสตกาล เสด็จสวรรคตเมื่อ 145 ปีก่อนคริสตกาล | ประมาณ พฤษภาคม 180 – ตุลาคม 164 ปีก่อนนคริสตกาล[148] และ
163 – ประมาณ กรกฎาคม 145 ปีก่อนคริสตกาล[148] | |
— | คลีโอพัตราที่ 2 | เป็นพระมเหสีของทอเลมีที่ 6 ทรงอภิเษกสมรสกับทอเลมีที่ 8 เมื่อประมาณ 145 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติต่อต้านพระองค์เมื่อ 131 ปีก่อนคริสตกาลและทรงกลายเป็นผู้ปกครองอียิปต์แต่เพียงพระองค์เดียว ต่อมาทรงคืนดีกับทอเลมีที่ 8 ซึ่งทรงปกครองร่วมกับคลีโอพัตราที่ 3 และทอเลมีที่ 8 จนถึง 116 ปีก่อนคริสตกาล | 175 – ตุลาคม 164 ปีก่อนคริสตกาล
และ 163–127 ปีก่อนคริสตกาล และ 124–116 ปีก่อนคริสตกาล | |
อิวาเอนเนทเจอร์วีเพอร์วี เซเทปเอนพทาห์ อิริมาอัตเร เซเคมอังค์เอนอามุน | ทอเลมีที่ 8 ฟิสคอน | ทรงประกาศพระองค์เป็นกษัตริย์โดยชาวอเล็กซานเดรียเมื่อ 170 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งทรงปกครองร่วมกับทอเลมีที่ 6 ฟิโลเมตอร์ และคลีโอพัตราที่ 2 ตั้งแต่ 169 ถึง 164 ปีก่อนคริสตกาล และทรงครองราชย์อีกครั้งเมื่อ 145–131 ปีก่อนคริสตกาล และอีกครั้งใน 127 ปีก่อนคริสตกาล เสด็จสวรรคตเมื่อ 116 ปีก่อนคริสตกาล | 171–163 ปีก่อนคริสตกาล
และ 144–131 ปีก่อนคริสตกาล และ 127–116 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | ทอเลมีที่ 7 นีออส ฟิโลพาตอร์ | ทรงประกาศพระองค์เป็นผู้ปกครองร่วมกับพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งต่อมาทรงได้ปกครองภายใต้ผู้สำเร็จราชการของพระนางคลีโอพัตราที่ 2 | 145–144 ปีก่อนคริสตกาล | |
เนบทาวี คาเนเคต | คลีโอพัตราที่ 3 | เป็นพระมเหสีพระองค์ที่สองของทอเลมีที่ 8 ทรงปกครองอีกครั้งร่วมกับทอเลมีที่ 8 เมื่อ 127 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งต่อมาทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับทอเลมีที่ 9 และ 10 ทรงถูกสังหารโดยทอเลมีที่ 10 ซึ่งเป็นพระราชโอรสลของพระองค์เอง | 142–131 ปีก่อนคริสตกาล
และ 127–107 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | — | ทอเลมี เมมฟิเตส | ทรงประกาศพระองค์เป็นกษัตริย์โดยโดยคลีโอพัตราที่ 2 ซึ่งไม่นานก็ทรงถูกทอเลมีที่ 8 สังหาร | 131 ปีก่อนคริสตกาล |
อิวา(เอน)เนทเจอร์เมเนคเนทเจอร์เอตมุตเอสเนดเจต(เอต) เซเทปเอนทพาห์ อิริมาอัตเร เซเคมอังค์อามุน | ทอเลมีที่ 9 โซเตอร์ | เสด็จสวรรคตเมื่อ 80 ปีก่อนคริสตกาล | 28 มิถุนายน 116 – ตุลาคม 110 ปีก่อนคริสตกาล[148] | |
— | คลีโอพัตราที่ 4 | ทรงอภิเษกสมรสกับทอเลมีที่ 9 เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ทรงถูกขับออกจากตำแหน่งโดยคลีโอพัตราที่ 3 ซึ่งทรงถูกฆาตกรรมในเวลาต่อมา | 28 มิถุนายน 116–115 ปีก่อนคริสตกาล[148] | |
อิวา(เอน)เนทเจอร์เมเนคเอนเนทเจอร์เอตเมนเคตเร เซเทปเอนพทาห์ อิริมาอัตเร เซเนนอังค์เอนอามุน | ทอเลมีที่ 10 อเล็กซานเดอร์ | เสด็จสวรรคตเมื่อ 88 ปีก่อนคริสตกาล | ตุลาคม 110 – กุมภาพันธ์ 109 ปีก่อนคริสตกาล[148] | |
คลิอาพัดรัต เบเรนิเคต | เบเรนิซที่ 3 | ทรงถูกบังคับให้อภิเษกสมรสกับทอเลมีที่ 11 ซึ่งพระองค์ทรงถูกสังหารตามคำสั่งของพระองค์ในอีก 19 วันต่อมา | 81–80 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | — | ทอเลมีที่ 11 อเล็กซานเดอร์ | เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กของทอเลมีที่ 10 อเล็กซานเดอร์ ซึ่งได้รับรองกับแต่งตั้งเป็นกษัตริย์โดยซูลลา พระองค์ทรงปกครองเป็นระยะเวลา 80 วันก่อนที่จะทรงถูกประชาทัณฑ์จากการทรงสังหารพระนางเบเรนิซที่ 3 | 80 ปีก่อนคริสตกาล[148] |
อิวาเอนพาเนทเจอร์เนเฮม เซเทปเอนพทาห์ อิริมาอัตเอนเร เซเคมอังค์อามุน | ทอเลมีที่ 12 อูเลเทส | เป็นพระราชโอรสของทอเลมีที่ 9 ทรงถูกปลดจากพระราชบัลลังก์เมื่อ 58 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาสั้น ๆ กับพระราชธิดา คือ พระนางคลีโอพัตราที่ 7 ก่อนที่จะเสด็จสวรรคตเมื่อ 51 ปีก่อนคริสตกาล | 80–58 ปีก่อนคริสตกาล[148]
และ 55–51 ปีก่อนคริสตกาล[148] | |
— | คลีโอพัตราที่ 5 ไทรฟีนา | เป็นพระมเหสีของทอเลมีที่ 12 และทรงเป็นพระราชมารดาของพระนางเบเรนิซที่ 4 | 79–68 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | — | คลีโอพัตราที่ 6 | เป็นพระราชธิดาของทอเลมีที่ 12 แต่นักไอยคุปต์บางคนตั้งข้อสันนิษฐานว่าทรงเป็นบุคคลพระองค์เดียวกับพระนางคลีโอพัตราที่ 5[150] | 58–57 ปีก่อนคริสตกาล |
— | — | เบเรนิซที่ 4 | เป็นพระราชธิดาของทอเลมีที่ 12 ทรงถูกบังคับให้อภิเษกสมรสกับกษัตริย์เซลิวคัส ไคบิโอซัคเตส แต่ทรงถูกพระองค์บีบพระศอจนสวรรคต ทรงปกครองร่วมกับพระนางคลีโอพัตราที่ 6 จนถึง 57 ปีก่อนคริสตกาล | 58–55 ปีก่อนคริสตกาล[148] |
เวเรตเนเบตเนเฟอร์อู อาเคตเซ | คลีโอพัตราที่ 7 | ทรงปกครองร่วมกับทอเลมีที่ 12 ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์, ทอเลมีที่ 13 ซึ่งพระภารดรของพระองค์, ทอเลมีที่ 14 ซึ่งพระภารดรและพระสวามีของพระองค์ และทอเลมีที่ 15 ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ ในการเรียพระนามของพระองค์ในปัจจุบัน ได้เรียกพระนามว่า "คลีโอพัตรา" โดยไม่มีเลขลำดับ ซึ่งมักจะหมายถึงพระนางคลีโอพัตราที่ 7 และพระองค์ทรงทำอัตวินิบาตกรรม | 31 พฤษภาคม 52[151] – 12 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสตกาล[148] | |
— | ทอเลมีที่ 13 ธีออส ฟิโลพาตอร์ | เป็นพระภารดรของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 | 51–13 มกราคม 47 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | อาร์ซิโนเอที่ 4 | ทรงต่อต้านพระนางคลีโอพัตราที่ 7 | ธันวาคม 48 – มกราคม 47 ปีก่อนคริสตกาล | |
— | ทอเลมีที่ 14 ฟิโลพาตอร์ | เป็นพระอนุชาของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 และทอเลมีที่ 13 | 13 มกราคม 47–26 กรกฎาคม 44 ปีก่อนคริสตกาล | |
อิวาพาเนทเจอร์เนตินเนเฮม เซเทปเอนพทาห์ อิริมาอัตเร เซเคม(อังค์)เอนอามุน | ทอเลมีที่ 15 ซีซาร์ | เป็นพระราชโอรสในพระนางคลีโอพัตราที่ 7 เมื่อทรงมีพระชนมพรรษา 3 พรรษา ทรงประกาศให้เป็นผู้ปกครองร่วมกับพระนางคลีโอพัตรา และผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ เมื่อโรมเข้ายึดครอง | 2 กันยายน 44 – สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสตกาล |
การก่อกบฏโดยชาวพื้นเมืองก็ยังคงเกิดขึ้นภายใต้การปกครองของกรีก ดังนี้
รูปภาพ | พระนามครงราขย์ | พระนามประสูติ | คำอธิบาย | รัชสมัย |
---|---|---|---|---|
— | — | ฮูโกรนาฟอร์ | ทรงเป็นฟาโรห์กบฏในทางใต้ | 205–199 ปีก่อนคริสตกาล |
— | — | อังค์มาคิส | ทรงเป็นฟาโรห์กบฏในทางใต้ | 199–185 ปีก่อนคริสตกาล |
— | — | ฮาร์ซิเอซิ | ทรงเป็นฟาโรห์กบฏในทางใต้ | 131–130 ปีก่อนคริสตกาล |
ช่วงสมัยโรมัน
แก้คลีโอพัตราที่ 7 ทรงมีความสัมพันธ์กับจอมเผด็จการโรมันนามว่า จูเลียส ซีซาร์ และแม่ทัพโรมันนามว่า มาร์ค แอนโทนี แต่หลังจากนั้นไม่นานหลังจากที่พระองค์ทรงทำอัตวินิบาตกรรม (หลังจากมาร์ค แอนโทนีได้พ่ายแพ้ต่ออ็อคตาเวียน ซึ่งต่อมาคือจักรพรรดิออกุสตุส ซีซาร์) อียิปต์จึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐโรมันเมื่อ 30 ปีก่อนคริสตกาล จักรพรรดิโรมันพระองค์ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นฟาโรห์ แม้ว่าจะอยู่ในอียิปต์เท่านั้น
จักรพรรดิโรมันองค์สุดท้ายที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นฟาโรห์คือจักรพรรดิมักซีมินัส ดาซา (ทรงครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 311–313)[2][152]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Clayton 1995, p. 217. "Although paying lip-service to the old ideas and religion, in varying degrees, pharaonic Egypt had in effect died with the last native pharaoh, Nectanebo II in 343 BC"
- ↑ 2.0 2.1 2.2 von Beckerath, Jürgen (1999). Handbuch der ägyptischen Königsnamen. Verlag Philipp von Zabern. pp. 266–267. ISBN 978-3422008328.
- ↑ "Digital Egypt for Universities". www.ucl.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 2019-02-12.
- ↑ Toby A. H. Wilkinson: Royal Annals Of Ancient Egypt. Routledge, London 2012, ISBN 1-136-60247-X, p. 50.
- ↑ Toby A. H. Wilkinson: Royal Annals Of Ancient Egypt. Routledge, London 2012, ISBN 1-136-60247-X, p. 61.
- ↑ Cervello-Autuori, Josep (2003). "Narmer, Menes and the Seals from Abydos". ใน Hawass, Zahi (บ.ก.). Egyptology at the Dawn of the Twenty-first Century: Proceedings of the Eighth International Congress of Egyptologists, 2000. Vol. 2. Cairo: American University in Cairo Press. pp. 168–75. ISBN 9789774247149.
- ↑ Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 5. ISBN 978-977-416-221-3.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Barry Kemp (a1), Andrew Boyce and James Harrell, The Colossi from the Early Shrine at Coptos in Egypt, in: Cambridge Archaeological Journal Volume 10, Issue 2April 2000, 233
- ↑ zur Altägyptischen Kultur, Band 37
- ↑ Ludwig David Morenz: Bild-Buchstaben und symbolische Zeichen. Die Herausbildung der Schrift der hohen Kultur Altägyptens (= Orbis Biblicus et Orientalis 205). Fribourg 2004, ISBN 3-7278-1486-1, p. 91.
- ↑ "Aufstand gegen den Tod". Der Spiegel. 24 December 1995.
- ↑ http://www.nefershapiland.de/pharaonenliste%201.htm [URL เปล่า]
- ↑ Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 3. ISBN 978-977-416-221-3.
- ↑ Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 288. ISBN 978-977-416-221-3.
- ↑ Wilke, Matthias (2015-04-22), "Emanuel Hirsch (1888 –1972) – "Jene zwei Göttinger Stiftsinspektorenjahre haben die Liebe zu Göttingen für immer in mir erweckt […] Aber […]", Stiftsgeschichte(n), Göttingen: Vandenhoeck & Ruprecht, pp. 187–196, doi:10.13109/9783666570377.187, ISBN 978-3-525-57037-1, สืบค้นเมื่อ 2022-10-26
- ↑ Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 104. ISBN 978-977-416-221-3.
- ↑ Felde, Rolf: Gottheiten, Pharaonen und Beamte im alten Ägypten, Norderstedt 2017, S. 125.
- ↑ Günter Dreyer: Horus Krokodil, ein Gegenkönig der Dynastie 0. In: Renee Friedman and Barbara Adams (Hrsg.): The Followers of Horus, Studies dedicated to Michael Allen Hoffman, 1949–1990 (= Egyptian Studies Association Publication, vol. 2). Oxbow Publications, Bloomington (IN) 1992, ISBN 0-946897-44-1, p. 259–263.
- ↑ P. Tallet, D. Laisnay: Iry-Hor et Narmer au Sud-Sinaï (Ouadi 'Ameyra), un complément à la chronologie des expéditios minière égyptiene. In: Bulletin de L'Institute Français D'Archéologie Orientale (BIFAO) 112. Ausgabe 2012, S. 381–395.
- ↑ Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen (= Münchner ägyptologische Studien, vol. 49. von Zabern, Mainz 1999, ISBN 3-8053-2591-6, p. 36–37.
- ↑ Toby Wilkinson: Early Dynastic Egypt: Strategy, Society and Security. Routeledge, London 1999, ISBN