ราชวงศ์ที่สามสิบแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่สามสิบแห่งอียิปต์ โดยปกติแล้วจะจัดเป็นราชวงศ์ลำดับที่ห้าในช่วงยุคปลายของอียิปต์โบราณ ได้สถาปนาขึ้นหลังจากการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 2 เมื่อช่วง 380 ปีก่อนคริสตกาลโดยฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 และล่มสลายลงจากการรุกรานราชอาณาจักรอียิปต์โดยจักรวรรดิอะคีเมนิด ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 เมื่อช่วง 343 ปีก่อนคริสตกาล ราชวงศ์ที่สามสิบเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ ภายหลังจากการเนรเทศฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ราชอาณาจักรอียิปต์ก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ต่างชาติ

ราชวงศ์ที่สามสิบแห่งอียิปต์

380 ปีก่อนคริสตกาล–343 ปีก่อนคริสตกาล
แผ่นจารึกแห่งเนคทาเนโบที่ 1
แผ่นจารึกแห่งเนคทาเนโบที่ 1
เมืองหลวงเซเบนนิโตส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคคลาสสิค
• การปลดฟาโรห์เนเฟริเตสออกจากพระราชบัลลังก์
380 ปีก่อนคริสตกาล
• การหนีลี้ภัยของฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2
343 ปีก่อนคริสตกาล
สกุลเงินเหรียญทองคำอียิปต์
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้าแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์

ประวัติ แก้

 
หน้ากากพิธีศพจากช่วงราชวงศ์ที่สามสิบแห่งอียิปต์

ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 ได้ขึ้นมามีอำนาจและเข้าควบคุมราชอาณาจักรอียิปต์ทั้งหมดราวเดือนพฤศจิกายน เมื่อ 380 ปีก่อนคริสตกาล แต่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในรัชสมัยของพระองค์ในการปกป้องราชอาณาจักรของพระองค์จากการพิชิตของชาวเปอร์เซียอีกครั้งด้วยความช่วยเหลือเป็นครั้งคราวจากสปาร์ตาหรือเอเธนส์ในช่วง 365 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 ได้ทรงแต่งตั้งเจ้าชายทีออสให้รั้งตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมและเป็นองค์รัชทายาทสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ และจนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคตในช่วง 363 ปีก่อนคริสตกาล โดยพระราชบิดาและพระราชโอรสได้ทรงขึ้นครองราชย์ด้วยกัน ภายหลังจากที่พระราชบิดาสวรรคตลง ฟาโรห์ทีออสก็ทรงได้เข้ารุกรานดินแดนของจักรวรรดิเปอร์เซียดินแดนบริเวณซีเรียและอิสราเอลสมัยใหม่ และเมื่อเริ่มพบกับความสำเร็จในการรุกรานดินแดนบางอย่างเมื่อพระองค์ก็ทรงได้สูญเสียพระราชบัลลังก์ไป อันเนื่องมาจากอุบายของพระอนุชาของพระองค์เองที่มีนามว่า ทจาฮาปิมู[1]: 377   โดยเจ้าชายทจาฮาปิมูทรงได้ใช้ประโยชน์จากความไม่เป็นที่ชอบใจมากนักของฟาโรห์ทีออสภายในราชอาณาจักรอียิปต์ และทรงได้ประกาศพระโอรสของพระองค์—และเป็นพระราชนัดดาของฟาโรห์ทีออส นามว่า ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2—ขึ้นเป็นฟาโรห์ โดยกองทัพอียิปต์ที่เข้าข้างฝ่ายฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 จึงส่งผลให้ฟาโรห์ทีออสทรงหนีลี้ภัยไปที่ราชสำนักของกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย[1]: 379 

ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 เป็นช่วงที่ผู้ปกครองชาวเปอร์เซียมีความพยายามที่จะเข้ามาพิชิตดินแดนอียิปต์อีกครั้ง ซึ่งพวกเขามองว่าเป็นการก่อกบฏ ในช่วงสิบปีแรกแห่งการครองราชย์ของพระองค์ ราชอาณาจักรอียิปต์ได้รอดพ้นจากการพิชิตโดยชาวเปอร์เซียอีกครั้ง เนื่องจากกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 จำเป็นต้องควบคุมความไม่สงบภายในจักรวรรดิ โดยที่พระองค์พยายามบุกเข้าอียิปต์แต่ไม่สำเร็จในช่วง 351 หรือ 350 ปีก่อนคริสตกาล ความพ่ายแพ้ของพระองค์ส่งผลให้จากทำให้เกิดการจลาจลในไซปรัส ฟีนิเซีย และซิลิเซีย[1]: 379–380   ถึงแม้ว่าฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 จะทรงให้การสนับสนุนการก่อจลาจลเหล่านี้ แต่ในที่สุดแล้วกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 ก็สามารถเข้าปราบปรามกลุ่มกบฏเหล่านี้และสามารถบุกเข้าอียิปต์ได้อีกครั้งในช่วง 343 ปีก่อนคริสตกาล การบุกรุกครั้งที่สองนี้ประสบความสำเร็จ และฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ทรงถูกบังคับให้หนีลี้ภัยออกจากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ไปยังเมืองเมมฟิส ที่ซึ่งพระองค์ทรงเห็นว่าสามารถรอดพ้นไปได้ จากนั้นพระองค์ก็หนีไปทางใต้สู่ดินแดนนิวเบีย ซึ่งถือว่าพระองค์ได้พบที่ลี้ภัยที่ราชสำนักของกษัตริย์นาสตาเซนแห่งนาปาตา อย่างไรก็ตามฟาโรห์เนคทาเนโบก็อาจจะทรงสามารถรักษาพระราชอำนาจที่เป็นอิสระทางตอนใต้ของอียิปต์ได้อีก 2 ปี เนื่องจากเอกสารจากเมืองเอ็ดฟูมีอายุย้อนไปถึงปีที่สิบแปดแห่งการครองราชย์ของพระองค์[1]: 380–381 

ถึงแม้ว่าจะมีบุคคลปริศนาที่มีนามว่า คาบาบาช จะประกาศและตั้งตนขึ้นเป็นฟาโรห์ และเป็นผู้นำการกบฏต่อชาวเปอร์เซียตั้งแต่ 338 ถึง 335 ปีก่อนคริสตกาล แต่ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ก็ถือว่าเป็นฟาโรห์ชาวพื้นเมืองพระองค์สุดท้ายของอียิปต์ การหนีลี้ภัยของพระองค์ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของอียิปต์ในฐานะรัฐอิสระ[1]: 381 

ฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สามสิบแห่งอียิปต์ แก้

พระนาม รูปภาพ ช่วงรัชสมัย พระนามครองราชบัลลังก์ อธิบาย
เนคทาเนโบที่ 1(นัคต์เนเบฟที่ 1)   380-362 ปีก่อนคริสตกาล เคเปอร์คาเร เดิมแล้วพระองค์เป็นบุตรชายของนายทหารนามว่า ทีออส (เพื่อไม่ให้สับสนกับพระราชโอรสของพระองค์ ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์) และพระองค์เองก็ทรงเป็นแม่ทัพที่โดดเด่น พระองค์ได้ทรงปลดและน่าจะสำเร็จโทษฟาโรห์เนฟาอารุดที่ 2 เพื่อยุติการปกครองของราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้าแห่งอียิปต์ ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 ทรงได้ย้ายราชธานีของอียิปต์จากเมืองเมนเดสไปยังเมืองเซเบนนิโตส[2] นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงดำเนินการในแผนก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหลายแห่งทั่วราชอาณาจักรอียิปต์ ซึ่งบางทีอาจทำได้ดีกว่าผู้ปกครองพระองค์ก่อนๆ ในหลายแผนการก่อสร้าง โดยพระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างวิหารแห่งไอซิสที่ฟิเล เหนือสิ่งอื่นใด[2] เขาทรงศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้าและพยายามทำให้ราชอาณาจักรอียิปต์ใกล้ชิดกับเทพเจ้ามากขึ้นโดยการฟื้นฟูอนุสาวรีย์และถวายเครื่องบูชาแด่เหล่าเทพเจ้า และยังทรงปกป้องราชอาณาจักรอียิปต์จากการรุกรานของจักรวรรดิอะคีเมนิดที่โหดเหี้ยม[2]
ทีออส(ดเจดฮอร์)   362-360 ปีก่อนคริสตกาล อิร์มาอัตเอนเร พระองค์ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ ตั้งแต่ระหว่างประมาณ 365 ปีก่อนคริสตกาล แต่ฟาโรห์ทีออสกลายเป็นที่ไม่เป็นที่ชอบใจของชาวอียิปต์ เนื่องจากพระองค์ทรงขึ้นภาษีเพื่อเป็นทุนในการดำเนินการทางทหารเพื่อพิชิตจักรวรรดิอะคีเมนิดในดินอดนบริเวณซีเรียและปาเลสไตน์รวมถึงเขตปกครองเอเบอร์-นาริ และฟีนิเซีย[2] เจ้าชายทจาฮาปิมู ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์จึงทรงใช้ประโยชน์จากความไม่พึงพอใจดังกล่าวนี้เพื่อแต่งตั้งเจ้าชายนัคต์ฮอร์เฮบ ซึ่งเป็นพระโอรสของพระองค์ให้ขึ้นมาครองราชย์บัลลังก์แทนในพระนามของฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2
เนคทาเนโบที่ 2(นัคต์เนเบฟที่ 2)   360-343 ปีก่อนคริสตกาล เซเนดจ์เอมอิบรา

เซเตนเพนอินฮูร

พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองชาวอียิปต์พื้นเมืองพระองค์สุดท้ายในสมัยอียิปต์โบราณ การที่พระองค์ทรงถูกเนรเทศออกไปนั้นถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดพระราชอาณาจักรอียิปต์จนถึงปี ค.ศ. 1952 แต่อย่างไรก็ตาม ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ถือเป็นฟาโรห์ที่มีความสามารถมาก บางทีอาจจะเป็นราชวงศ์ที่มีอำนาจมากที่สุด ในขณะที่พระองค์ทรงมีส่วนร่วมในการสร้างและซ่อมแซมอนุสาวรีย์ในระดับที่เกินกว่าการก่อสร้างในรัชสมัยของพระอัยกาของพระองค์ พระองค์ยังสถาปนาความสัมพันธ์อันน่าจอมปลอมกับเหล่านครรัฐกรีก และยังพัฒนาทางเศรษฐกิจอีกด้วย[3] พระองค์ทรงถูกโค่นล้มพระราชบัลลังก์โดยกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 ในราว 343 ปีก่อนคริสตกาล และทรงหนีไปยังดินแดนนิวเบีย พระชะตากรรมที่ตามมาของพระองค์ได้สูญหายไปในหน้าประวัติศาสตร์ ถึงแม้ว่าบางคนเชื่อว่าพระองค์น่าจะเสด็จสวรรคตหลังจากนั้นไม่นาน[4]

ลำดับเวลาของราชวงศ์ที่สามสิบแห่งอียิปต์ แก้

Nectanebo IITeos of EgyptNectanebo I

พระราชพงศาวลี แก้

ดเจดฮอร์ เอ[...]มู (♀)
 เนคทาเนโบที่ 2เมอร์เยตฮาปิ (♀)เนซิบาเนบดเจดเอต เอ
 ทีออสทจาฮาปิมูอูดจาชู (♀)ติคาเบส (♀)เปดิอามุน
เคเดบนิธอิร์บิเนตที่ 2 (?) (♀) เนคทาเนโบที่ 2นัคต์เนเบฟ เอ
พระราชโอรสไม่ทราบพระนาม

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt, Blackwell Books: 1992.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Mark, Joshua J. (2016-10-12). "Late Period of Ancient Egypt - World History Encyclopedia". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 2017-12-21.
  3. Ancient History Encyclopedia
  4. Emmanuel K. Akyeampong and Henry Louis Gates, Jr (2012). Dictionary of African Biographies - Gooogle Books. Oxford University Press. ISBN 9780195382075. สืบค้นเมื่อ 2017-12-17.