เชนเชก เป็นผู้ปกครองเพียงบางส่วนของอียิปต์โบราณในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ในช่วงศตวรรษที่ 17 ก่อนคริสตกาล และน่าจะอยู่ในราชวงศ์ที่สิบสี่[2][3] เช่นนี้พระองค์จะทรงปกครองจากเมืองอวาริส เหนือดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก และอาจจะครอบคลุมเหนือดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฝั่งตะวันตกด้วย ส่วนตำแหน่งและตัวตนตามลำดับเวลาของพระองค์นั้นยังไม่ชัดเจน

หลักฐานยืนยัน แก้

ปรากฏหลักฐานเพียงชิ้นเดียวที่มีความเกี่ยวข้องของพระองค์ คือ ตราประทับสคารับจำนวนหนึ่งชิ้นที่ค้นพบในเมืองอวาริส หรือเทลล์ อัด-ดับ'อาในปัจจุบัน โดยนักไอยคุปต์วิทยา มันเฟรด เบียตัค ตราประทับขณะนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ แค็ตตาล็อกหมายเลข TD-6160[50][4][5]

การพิสูจน์ตัวตน แก้

แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์หลักในการระบุตัวตนและตำแหน่งตามลำดับเวลาของผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบสี่ คือ บันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามของฟาโรห์ที่รวบรวมขึ้นในสมัยราชวงศ์ที่สิบเก้า การระบุตัวตนของพระองค์ด้วยพระนามใดพระนามหนึ่งในบันทึกพระนามฯ นั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากบันทึกพระนามแห่งตูรินจะบันทึกเฉพาะพระนามนำหน้าของฟาโรห์เท่านั้น ในขณะที่พระนาม เชนเชก เป็นเพียงพระนามประสูติเท่านั้น ถึงแม้ว่านักไอยคุปต์วิทยา ดาร์เรล เบเกอร์ และคิม ไรโฮลท์ เห็นว่ามีแนวโน้มว่าพระองค์จะถูกบันทึกไว้ในบันทึกรพระนามฯ จริงๆ แต่การระบุตัวตนของพระองค์จะยังคงเป็นเพียงการคาดเดาจนกว่าจะพบหลักฐานที่ปรากฏทั้งพระนามประสูติและพระนามนำหน้าของพระองค์

หลังจากค้นพบตราประทับ เบียตัคเสนอว่า พระนาม เชนเชก เป็นอีกหนึ่งพระนามของฟาโรห์มาอาอิบเร เชชิ ซึ่งมีตำแหน่งตามลำดับเวลาค่อนข้างไม่ชัดเจน แต่อาจจะอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่สิบสี่เช่นกัน[3] สมมติฐานนี้ถูกปฏิเสธโดย เบเกอร์ และไรโฮลท์[3] จากลำดับของตราประทับในสมัยระหว่างกลางที่สอง ไรโฮลท์เสนอว่า พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์หลังจากรัชสมัยของฟาโรห์เนเฮซิและก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์ยาคุบ-ฮาร์[2]

อ้างอิง แก้

  1. Thomas Schneider: Ausländer in Ägypten während des Mittleren Reiches und der Hyksoszeit, Vol. 1: Die ausländischen Konige, ÄAT 42, Wiesbaden: Harrassowitz Verlag, 1998, ISBN 978-3447040495, see p. 140–141
  2. 2.0 2.1 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  3. 3.0 3.1 3.2 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 424
  4. Manfred Bietak: Egypt and Canaan during the Middle Bronze Age, BASOR 281 (1991), p.52 & fig 18, available online
  5. I. Hein (editor): Pharaonen und fremde Dynastien im Dunkel, Museen der Stadt Wien, 1994, p. 145