ราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์ หรือที่เรียกว่า ราชวงศ์แรเมซีส[1] จัดเป็นราชวงศ์ลำดับที่สองในสมัยช่วงราชอาณาจักรใหม่ของอียิปต์โบราณ ซึ่งปกครองนับตั้งแต่ 1292 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 1189 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ ราชวงศ์ที่สิบเก้าและราชวงศ์ที่ยี่สิบยังรวมกันกลุ่มของราชวงศ์ที่อยู่ในยุคที่เรียกว่า ยุครามเสส ราชวงศ์ดังกล่าวสถาปนาขึ้นโดยราชมนตรีรามเสสที่ 1 ซึ่งฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบทรงเลือกให้เป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์

ราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์

1292 ปีก่อนคริสตกาล–1189 ปีก่อนคริสตกาล
อียิปต์และจักรวรรดิฮิตไทต์ในช่วงสมรภูมิคาเดช (1274 ปีก่อนคริสตกาล)
อียิปต์และจักรวรรดิฮิตไทต์ในช่วงสมรภูมิคาเดช (1274 ปีก่อนคริสตกาล)
เมืองหลวงธีบส์, ภายหลัง เมมฟิส และ ไฟ-รามเสส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ฟาโรห์ 
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์
• ก่อตั้ง
1292 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
1189 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์

ประวัติราชวงศ์

แก้

เบื้องหลังของราชวงศ์ที่สิบเก้า

แก้

ฟาโรห์นักรบในช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ทรงต้องเผชิญกับการต่อต้านเพียงเล็กน้อยจากอาณาจักรใกล้เคียง ทำให้สามารถขยายขอบเขตอิทธิพลได้อย่างง่ายดาย แต่สถานการณ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ ชาวฮิตไทต์ค่อยๆ ขยายอิทธิพลเข้าไปในซีเรียและคานาอันจนกลายเป็นอำนาจสำคัญในการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นอำนาจที่ทั้งฟาโรห์เซติที่ 1 และฟาโรห์รามเสสที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชโอรสจะเผชิญหน้ากันในอนาคต

ราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์

แก้

ฟาโรห์เซติที่ 1 และฟาโรห์รามเสสที่ 2

แก้

ราชอาณาจักรใหม่แห่งอียิปต์มาถึงจุดสูงสุดของอำนาจภายใต้การปกครองของฟาโรห์เซติที่ 1 และฟาโรห์รามเสสที่ 2 ("มหาราช") ซึ่งดำเนินการทางทหารต่อต้านชาวลิเบียและชาวฮิตไทต์อย่างจริงจัง โดยที่เมืองคาเดชถูกฟาโรห์เซติที่ 1 ยึดได้เป็นครั้งแรก ซึ่งตัดสินใจยอมจำนนต่อมูวาตัลลิที่ 2 แห่งฮิตไทต์ในสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างอียิปต์กับฮิตไทต์ ต่อมาฟาโรห์รามเสสที่ 2 พยายามแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวไม่สำเร็จในปีที่ 5 ของพระองค์โดยเริ่มโจมตีที่คาเดช ในการดำเนินการทางทหารซีเรียครั้งที่สองใน 1274 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ทรงถูกจับได้ในการซุ่มโจมตีทางทหารครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แต่ด้วยการมาถึงของเน'อะริน (ซึ่งเป็นกองกำลังพันธมิตรกับอียิปต์) ฟาโรห์รามเสสทรงสามารถรวบรวมกองกำลังของพระองค์และเปลี่ยนกระแสของการสู้รบกับชาวฮิตไทต์ ต่อมาฟาโรห์รามเสสที่ 2 ทรงได้รับผลประโยชน์จากความระหองระแหงภายในของชาวฮิตไทต์ ในช่วงปีที่ 8 และ 9 ของการครองราชย์ เมื่อพระองค์ทรงดำเนินการทางทหารต่อต้านการครอบครองในซีเรีย ทรงยึดเมืองคาเดชและบางส่วนของซีเรียตอนใต้ และบุกขึ้นไปทางเหนือถึงเมืองทูนิป ซึ่งไม่ทหารอียิปต์เข้าไปยังพื้นที่ดังกล่าวเลยเป็นเวลา 120 ปี ในที่สุดพระองค์ก็ยอมรับว่าการดำเนินการทางทหารต่อต้านชาวฮิตไทต์เป็นการระบายคลังและการทหารของอียิปต์ ในปีที่ 21 แห่งการครองราชย์ ฟาโรห์รามเสสทรงได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพฉบับแรกที่สุดกับกษัตริย์ฮัตตูซิลิที่ 3 ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของกษัตริย์อูร์ฮิ-เทชุบ และด้วยการกระทำดังกล่าวความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์กับฮิตไทต์ก็ดีขึ้นอย่างมาก ฟาโรห์รามเสสที่ 2 ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงชาวฮิตไทต์สองคน โดยทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงพระองค์แรกหลังจากเทศกาลเซดครั้งที่สองของพระองค์

ฟาโรห์เมอร์เนพทาห์และผู้ปกครองพระองค์อื่น ๆ

แก้

ราชวงศ์ที่สิบเก้าเสื่อมอำนาจลง เนื่องจากการแย่งชิงพระราชบัลลังก์ระหว่างรัชทายาทของฟาโรห์เมอร์เนพทาห์เพิ่มมากขึ้น เห็นได้ชัดว่าฟาโรห์อเมนเมสเซทรงแย่งชิงพระราชบัลลังก์จากพระราชโอรสและผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์เมอร์เนพทาห์พระนามว่า ฟาโรห์เซติที่ 2 แต่พระองค์ทรงปกครองอียิปต์เพียงสี่ปี หลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคต ฟาโรห์เซติที่ 2 ก็ทรงฟื้นคืนอำนาจและทำลายอนุสรณ์สถานส่วนใหญ่ของฟาโรห์อเมนเมสเซ ฟาโรห์เซติที่ 2 ทรงได้รับการรับใช้ในราชสำนักโดยอัครมหาเสนาบดีไบย์ ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียง 'อาลักษณ์หลวง' แต่ได้กลายมาเป็นหนึ่งในบุรุษที่มีอำนาจมากที่สุดในอียิปต์อย่างรวดเร็ว โดยได้รับสิทธิพิเศษอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในการสร้างสุสานของเขาเองในหุบเขาแห่งกษัตริย์ (เควี 13) ทั้งอัครมหาเสนาบดีไบย์และพระอัครมเหสีของฟาโรห์เซติที่ 2 นามว่า ทวอสเรต ต่างก็มีชื่อเสียงในทางลบในตำนานพื้นบ้านของอียิปต์โบราณ[2] หลังจากการสวรรคตของฟาโรห์ซิพทาห์ พระนางทวอสเรตก็ทรงปกครองอียิปต์ต่อไปอีกสองปี แต่พระองค์พิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถรักษาอำนาจของพระองค์ไว้ได้ท่ามกลางการสมรู้ร่วมคิดและการแสดงอำนาจที่ฟักตัวในราชสำนัก พระองค์น่าจะทรงถูกขับไล่ในการก่อกบฏที่นำโดยฟาโรห์เซตนัคห์เต ซึ่งเป็นผู้สถานปนาราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์

รายพระนามฟาโรห์

แก้

ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบเก้าทรงปกครองเป็นเวลาประมาณ 110 ปี นับตั้งแต่ราว 1292 ถึง 1187 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์หลายพระองค์ทรงถูกฝังพระบรมศพอยู่ในหุบเขากษัตริย์ในธีบส์ (เควี) สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Theban Mapping Project[3]

ฟาโรห์ รูปภาพ พระนามครองราชย์/พระนามประสูติ รัชสมัย สถานที่ฝังพระบรมศพ พระมเหสี/พระสวามี
รามเสสที่ 1   เมนเพติเร 1292–1290 ปีก่อนคริสตกาล เควี 16 ซิตเร
เซติที่ 1   เมนมาอัตเร 1290–1279 ปีก่อนคริสตกาล[4] เควี 17 (มัต-)ทูยา
รามเสสที่ 2   ยูเซอร์มาอัตเร เซเทปเอนเร 1279–1213 ปีก่อนคริสตกาล เควี 7 เนเฟอร์ทาริ

ไอเซตโนเฟรต มาอัตฮอร์เนเฟรูเร เมริตอาเมน บินทานาธ เนเบตทาวี เฮนุตมิเร

เมอร์เนพทาห์   บาเอนเร เมริเนทเจรู 1213–1203 ปีก่อนคริสตกาล เควี 8 ไอเซตโนเฟรตที่ 2

ทาคัต?

เซติที่ 2   ยูเซอร์เคเปอร์เร เซเทปเอนเร 1203–1197 ปีก่อนคริสตกาล เควี 15 ทาคัต?

ทวอสเรต? เทียอา

อเมนเมสเซ   เมนมิเร เซเทปเอนเร 1201–1198 ปีก่อนคริสตกาล เควี 10 ไม่ทราบ
ซิพทาห์   เซคอาอิเอนเร เมริอามุน, ภายหลัง อัคเอนเร เซเทปเอนเร 1197–1191 ปีก่อนคริสตกาล เควี 47 ไม่ทราบ
ทวอสเรต   ซิตเร เมริอามุน 1191–1189 ปีก่อนคริสตกาล เควี 14 เซติที่ 2?

เส้นเวลาของราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์

แก้
TwosretSiptahSeti IIAmenmesseMerneptahRamesses IISeti IRamesses I

ระเบียงภาพ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "The Rise of the Ramessides: How a Military Family from the Nile Delta Founded One of Egypt's Most Celebrated Dynasties". www.arce.org. สืบค้นเมื่อ 2021-09-20.
  2. Grimal, p. 270
  3. "Sites in the Valley of the Kings". Thebanmappingproject.com. สืบค้นเมื่อ 2012-09-22.
  4. J. von Beckerath (1997) (in German). Chronologie des Äegyptischen Pharaonischen. Phillip von Zabern. p. 190