พระนามนำหน้า หรือเรียกอีกชื่อได้ว่า พระนามคาร์ทูช หรือพระนามครองราชย์[1] แห่งอียิปต์โบราณ (อียิปต์โบราณ: 𓆥 nswt-bjtj "แห่งต้นกกและผึ้ง") เป็นหนึ่งในตำแหน่งราชวงศ์ของฟาโรห์ โดยฟาโรห์พระองค์แรกที่ทรงใช้พระนามต้นกกและผึ้ง คือ ฟาโรห์เดน ในช่วงราชวงศ์ที่หนึ่ง[1]

"ทวิกษัตริย์" ในไฮเออโรกลีฟ
M23
X1
L2
X1

nswt-bjtj
"[พระองค์] แห่งต้นกกและผึ้ง"
ตัวอย่างของพระนามในช่วงแรก nswt-bjtj: ฟาโรห์นุบเนเฟอร์, ราชวงศ์ที่สอง

นักไอยคุปต์วิทยาส่วนใหญ่เชื่อว่า พระนามนำหน้า เป็นพระนามรัชกาล

ส่วนแรกของพระนาม ni-su ดูเหมือนว่าจะกล่าวถึงสถาบันกษัตริย์อันเป็นนิรันดร์ แต่อันที่จริงแล้ว มันคือคำว่า "กษัตริย์" ในสำนวน ในทางกลับกัน คำว่า bjt นั้นหมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งชั่วคราว อย่างเหมาะสมมากกว่า ด้วยการนี้ ทั้งเทพเจ้าและมนุษย์ถูกอ้างถึงในวลีดังกล่าว พร้อมกับการแบ่งสองส่วนที่ชัดเจนของดินแดนทางเหนือและทางใต้ด้วยเหตุนี้ ในปัจจุบันก็จึงควรจะแปลสิ่งนั้นว่า "ทวิกษัตริย์"[1]

ส่วนนักวิชาการคนอื่นเชื่อว่าเดิมทีแล้วพระนามที่แสดงถึงพระนามเมื่อครั้งประสูติของผู้ปกครอง[2]

คำว่า "แห่งต้นกกและผึ้ง"[2] เขียนด้วยอักษรอียิปต์โบราณซึ่งเป็นสัญลักษณ์รูปต้นกก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนของอียิปต์บน (𓇓 การ์ดิเนอร์ รหัส M23) และสัญลักษณ์รูปผึ้ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนของอียิปต์ล่าง (𓆤 การ์ดิเนอร์ รหัส L2) แต่ละตัวที่ลงท้ายด้วยตัวกำหนดเพศหญิง t (𓏏 X1) จึงอ่านว่า nsw.t และ bj.t ตามลำดับ ส่วนคำคุณศัพท์นิสบาที่ลงท้ายด้วย -j ไม่ได้แสดงเป็นตัวเขียนออกมา[3][4]

ในช่วงสามราชวงศ์แรก พระนามนำหน้า จะปรากฏอยู่เดี่ยว ๆ หรือคู่กับพระนามเนบติ โดยฟาโรห์เซเคมเคตทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่ทรงอุทิศพระองค์ให้กับสองเทพสตรีทั้งสอง และตั้งแต่ฟาโรห์ฮูนิ ซึ่งทรงเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สามเป็นต้นไป พระนามนำหน้าก็ถูกเขียนโดยล้อมรอบด้วยคาร์ทูช (ลักษณะวงรียาวชองวงแหวนเชน)[3]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Leprohon, Ronald J. (2013). The Great Name: Ancient Egyptian Royal Titulary. SBL Press. p. 17. ISBN 978-1-58983-736-2.
  2. Rainer Hannig, Großes Handwörterbuch Ägyptisch-Deutsch: (2800 - 950 v. Chr.) (2006), p. 261.
  3. 3.0 3.1 Wilkinson, Toby (2002). Early Dynastic Egypt. Routledge. pp. 63, 163, 171, 176–7. ISBN 978-1-134-66420-7.
  4. Jochem Kahl: Nsw und Bit - Die Anfänge. In: Eva-Maria Engel, Vera Müller and others: Zeichen aus dem Sand: Streiflichter aus Ägyptens Geschichte zu Ehren von Günter Dreyer (= Menes Series, vol. 5). Harrassowitz, Wiesbaden 2008, ISBN 3-447-05816-1, p. 315–340