ราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์ (ประมาณ 2890 – ประมาณ 2686 ปีก่อนคริสตกาล[1]) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของสองราชวงศ์ในสมัยช่วงต้นยุคราชวงศ์ โดยมีศูนย์กลางของราชวงศ์ที่เมืองไทนิส และมีฟาโรห์พระองค์สุดท้ายนามว่าคาเซคเอมวี ช่วงเวลาของราชวงศ์ที่สองนับเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่คลุมเครือมากที่สุดในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ ราชวงศ์ที่สองปกครองอียิปต์เป็นเวลาประมาณ 204 ปี

ราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์

ราว 2890 ปีก่อนคริสตกาล–ราว 2686 ปีก่อนคริสตกาล
รูปสลักของฟาโรห์คาเซคเอมวี, พิพิธภัณฑ์แอชโมลีน
เมืองหลวงไทนิส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์
• ก่อตั้ง
ราว 2890 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
ราว 2686 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์

แม้ว่าหลักฐานทางโบราณคดีของราชวงศ์ที่สองมีน้อยมากและยังคลุมเครือมากตัดกันกับข้อมูลจากราชวงศ์ที่หนึ่งและราชวงศ์ที่สามแสดงให้เห็นการพัฒนาสถาบันและเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์[2][3]

รายนามฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สอง

แก้

ฟาโรห์สามพระองค์แรกนั้น แหล่งข้อมูลค่อนข้างความเห็นพ้องต้องกัน และลำดับตามเวลาดังกล่าวได้รับการยืนยันโดยคำจารึกบนรูปสลักของเฮเทปดิเอฟ ซึ่งทำหน้าที่ในการบูชาพระบรมศพของฟาโรห์ทั้งสามพระองค์นี้[4]

พระนาม จำนวนปีที่ทรงครองราชย์ สถานที่ฝังพระบรมศพ
โฮเทปเซคเอมวี   25–29 สุสานช่อง เอ, ซักกอเราะฮ์?
เนบรา   10–14 สุสานช่อง เอ, ซักกอเราะฮ์?
นิเนทเจอร์   40 สุสานช่อง บี, ซักกอเราะฮ์?

แต่ตัวตนของผู้ปกครองตามรายพระนามถัดไปนั้นยังคลุมเครือ แหล่งข้อมูลที่หลงเหลืออยู่อาจจะปรากฏเป็นพระนามฮอรัส หรือพระนามเนบติ และพระนามประสูติของผู้ปกครองเหล่านี้ ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง หรืออาจจะเป็นพระนามในตำนานก็ได้ ซึ่งอย่างไม่สามารถสรุปได้

มีการตั้งข้อสันนิษฐานว่าหลังจากรัชสมัยของฟาโรห์นิเนทเจอร์ไปแล้ว อียิปต์ถูกแยกออกและปกครองโดยผู้สืบทอดสองพระองค์ เนื่องจากการบริหารรัฐที่ซับซ้อนเกินไปของอียิปต์ทั้งหมด[5]

รายพระนามต่อไปนี้ประกอบด้วยพระนามฟาโรห์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้

พระนาม คำอธิบาย สถานที่ฝังพระบรมศพ
เวเนก/ วาดเจเนส   ปรากฏรายพระนามเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สี่ของราชวงศ์ในบันทึกรายพระนามแห่งตูริน ซักกอเราะฮ์ และอไบดอส

ปรากฏหลักฐานยืนยันเพียงในอียิปต์ล่างเท่านั้น[6] มีการยืนยันว่าพระนาม เวเนก เป็นพระนามเนบติ (หรือพระนามครองพระราชบัลลังก์) และไม่ทราบว่าพระนามฮอรัสของพระองค์คืออะไร[7]

สันนิษฐานว่าเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ราเนบ,[8] ฟาโรห์เซคเอมอิบ-เพอร์เอนมาอัต[9] หรือจะเป็นฟาโรห์พระองค์อื่นในราชวงศ์ที่สองโดยสิ้นเชิง

เซเนดจ์   ปรากฏรายพระนามเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ห้าของราชวงศ์ในบันทึกรายพระนามแห่งตูริน ซักกอเราะฮ์ และอไบดอส

ไม่ทราบพระนามฮอรัส สันนิษฐานว่าเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ฮอรัส ซา[10]

เนเฟอร์คาราที่ 1 ได้รับการยืนยันในเอกสารในช่วงหลัง ซึ่งลงช่วงเวลาหลังจากช่วงเวลาของราชวงศ์ที่สองไปนานแล้ว

ปรากฏรายพระนามเป็นฟาโรห์พระองค์ที่หกของราชวงศ์ในบันทึกรายพระนามแห่งตูริน ซักกอเราะฮ์ แต่ไม่ปรากฏในบันทึกรายพระนามแห่งอไบดอส อาจจะปกครองเพียงส่วนของอียิปต์ล่าง

เนเฟอร์คาโซคาร์   ได้รับการยืนยันในเอกสารในช่วงหลัง ซึ่งลงช่วงเวลาหลังจากช่วงเวลาของราชวงศ์ที่สองไปนานแล้ว

ปรากฏรายพระนามเป็นฟาโรห์พระองค์ที่เจ็ดของราชวงศ์ในบันทึกรายพระนามแห่งตูริน ซักกอเราะฮ์ แต่ไม่ปรากฏในบันทึกรายพระนามแห่งอไบดอส อาจจะปกครองเพียงส่วนของอียิปต์ล่าง

ฮูดเจฟาที่ 1 พระนามดังกล่าวมีความหมายตามตัวอักษรว่า "ถูกลบ" หรือ "หายไป" แสดงว่าในช่วงราชวงศ์ที่สิบเก้า ซึ่งมีการเขียนบันทึกรายพระนาม ไม่ทราบหรือพระนามฟาโรห์พระองค์นี้สูญหาย

ปรากฏรายพระนามเป็นฟาโรห์พระองค์ที่แปดของราชวงศ์ในบันทึกรายพระนามแห่งซักกอเราะฮ์ แต่ไม่ปรากฏในบันทึกรายพระนามแห่งอไบดอส อาจจะปกครองเพียงส่วนของอียิปต์ล่าง สันนิษฐานว่าเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เพอร์อิบเซน และอาจจะถูกลบทิ้งโดยเจตนา[11]

เซท-เพอร์อิบเซน   พระนามของพระองค์เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าเซทมากกว่าที่เป็นเทพเจ้าฮอรัสตามประเพณี

ปรากฏหลักฐานยืนยัน คือ จารึกร่วมสมัย แต่ไม่ปรากฏพระนามอยู่ในบันทึกพระนามใดในภายหลัง ปรากฏหลักฐานยืนยันเพียงในอียิปต์บนเท่านั้น[12]

สุสาน พี, อุมม์ อัล กา'อับ
เซคเอมอิบ-เพอร์เอนมาอัต   ปรากฏหลักฐานยืนยัน คือ จารึกร่วมสมัย แต่ไม่ปรากฏพระนามอยู่ในบันทึกพระนามใดในภายหลัง

สันนิษฐานว่าเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เซท-เพอร์อิบเซน[13] หรือทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์โดยตรงของพระองค์[14][15]

สุสาน พี, อุมม์ อัล กา'อับ (?)
นุบเนเฟอร์   ปรากฏพระนามประสูติ แต่ไม่ทราบตำแหน่งตามลำดับเวลา

ไม่ปรากฏพระนามในบันทึกพระนามใดเลย อาจจะเป็นพระนามประสูติของฟาโรห์ราเนบ[16] หรือฟาโรห์ที่ทรงครองราชย์เป็นเวลาสั้น ๆ ซึ่งปกครองในช่วงหนึ่งหลังจากรัชสมัยของฟาโรห์นิเนทเจอร์[17]

และผู้ปกครองพระองค์สุดท้าย ซึ่งปรากฏแหล่งข้อมูลที่เห็นพ้องต้องกัน

พระนาม จำนวนปีที่ทรงครองราชย์ สถานที่ฝังพระบรมศพ พระมเหสี
คาเซคเอมวี   17–18 สุสาน วี, อุมม์ อัล กา'อับ นิมาอัตฮัป

มาเนโธได้บันทึกว่า ไทนิส เป็นเมืองหลวงเช่นเดียวกับในราชวงศ์ที่หนึ่ง แต่ฟาโรห์สามพระองค์แรกถูกฝังพระบรมศพไว้ที่ซักกอเราะฮ์ ซึ่งบ่งชี้ว่าศูนย์กลางอำนาจได้ย้ายไปที่เมืองเมมฟิส นอกเหนือจากนี้ ไม่ค่อยทราบถึงเหตุการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากบันทึกประจำปีบนศิลาแห่งปาแลร์โมจะคงหลงเหลือจนถึงสิ้นสุดรัชสมัยของฟาโรห์เนบราและบางส่วนของฟาโรห์นิเนทเจอร์เท่านั้น เหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การผนวกอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าด้วยกัน อาจจะเกิดขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์เคเซคเอมวี เนื่องจากนักไอยคุปต์วิทยาหลายคนถอดความพระนามของพระองค์ว่า "สองอำนาจบังเกิดขึ้น"

อ้างอิง

แก้
  1. Shaw, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. p. 480. ISBN 0-19-815034-2.
  2. Romer, John (2013) [2012]. "Chapter 18 – The Lost Dynasty". A History of Ancient Egypt. Vol. 1. London, ENG: Penguin Books. pp. 221–222. ISBN 978-1-8-4614377-9. Whatever else was taking place at the court of the Second Dynasty of kings, it is clear that the fundamental institutions of pharaonic government, its systems of supply, not only survived throughout that century and a half, but flourished to the extent that, when the kings emerge into the light of history again with the pyramid builders of the Third Dynasty, the state on the lower Nile was more efficient than it had ever been: that there was, therefore, strong institutional continuity.
  3. Bard, Kathryn A. (2002) [2000]. "Chapter 4 – The Emergence of the Egyptian State". ใน Shaw, Ian (บ.ก.). The Oxford History of Ancient Egypt (paperback) (1st ed.). Oxford: Oxford University Press. p. 85. ISBN 978-0-19-280293-4. There is much less evidence for the kings of the 2nd Dynasty than those of the 1st Dynasty until the last two reigns (Peribsen and Khasekhemwy). Given what is known about the early Old Kingdom in the 3rd Dynasty, the 2nd Dynasty must have been a time when the economic and political foundations were put in place for the strongly centralized state, which developed with truly vast resources. Such a major transition, however, cannot be demonstrated from the archaeological evidence for the 2nd Dynasty.
  4. Wilkinson, Toby A. H. (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. p. 83. ISBN 0-415-26011-6.
  5. Nicolas Grimal: A History of Ancient Egypt. Wiley-Blackwell, Weinheim 1994, ISBN 978-0-631-19396-8, p. 55.
  6. Wilkinson, Toby A. H. (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. p. 88. ISBN 0-415-26011-6.
  7. Wilkinson, Toby A. H. (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. p. 87. ISBN 0-415-26011-6.
  8. Kahl, Jochem (2007), "Ra is my Lord", Searching for the Rise of the Sun God at the Dawn of Egyptian History, Wiesbaden
  9. Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thinitenzeit. Otto Harrassowitz, Wiesbaden 1987, ISBN 978-3-447-02677-2, pp. 103–107.
  10. Von der Way, Thomas (1997), "Zur Datierung des "Labyrinth-Gebäudes" auf dem Tell el-Fara'in (Buto)", Göttinger Miszellen, 157: 107–111
  11. Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thinitenzeit: Ägyptologische Abhandlungen., Volume 45. Otto Harrassowitz Verlag, Wiesbaden 1987, ISBN 3-447-02677-4, p. 125.
  12. Wilkinson, Toby A. H. (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. p. 89. ISBN 0-415-26011-6.
  13. Walter Bryan Emery: Ägypten - Geschichte und Kultur der Frühzeit. Fourier, Munich 1964, p. 106.
  14. Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thintenzeit. (Ägyptologische Abhandlungen, Volume 45), Otto Harrassowitz, Wiesbaden 1987, ISBN 3-447-02677-4, pp. 104–111, 183.
  15. Hermann A. Schlögl: Das Alte Ägypten. Geschichte und Kultur von der Frühzeit bis zu Kleopatra. Verlag C. H. Beck, München 2006, ISBN 3-406-54988-8, p. 78.
  16. I. E. S. Edwards: The early dynastic period in Egypt; Cambridge University Press, Cambridge 1964; p. 25.
  17. Wilkinson, Toby (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. p. 89. ISBN 0-415-26011-6.

บรรณานุกรม

แก้
  • Clayton, Peter A. Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson Ltd., 2006. ISBN 0500286280.
ก่อนหน้า ราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์ ถัดไป
ราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์   ราชวงศ์แห่งอียิปต์
(ประมาณ 2890 - 2686 ปีก่อนคริสตกาล)
  ราชวงศ์ที่สาม