แมนิโธ

(เปลี่ยนทางจาก มาเนโธ)

แมนิโธ (/ˈmænɪθ/; กรีกคอยนี: Μανέθων Manéthōn, gen.: Μανέθωνος) เชื่อกันว่าเป็นนักบวชชาวอียิปต์จากเซเบนนีทอส (คอปติก: Ϫⲉⲙⲛⲟⲩϯ, อักษรโรมัน: Čemnouti[1]) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยราชอาณาจักรทอเลมีในช่วงต้นศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยเฮเลนิสติก

พลูทาร์คได้เชื่อมโยงแมนิโธกับลัทธิปโตเลมีแห่งเซราพิส รูปสลักดังกล่าวเป็นหัวหน้านักบวชนิรนามแห่งเซราพิส ซึ่งจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์อัลเตส กรุงเบอร์ลิน

มาเนโธได้เขียนหนังสือ แอกิปเทียกา (ประวัติศาสตร์แห่งอียิปต์) ในภาษากรีก ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับลำดับเหตุการณ์สำคัญของรัชสมัยของฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณ ไม่แน่ชัดว่ามาเนโธจะเขียนประวัติและรายพระนามฟาโรห์ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์ปโตเลมีที่ 1 โซเตอร์ หรือฟาโรห์ปโตเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟอส แต่น่าจะเขียนเสร็จไม่เกินรัชสมัยของฟาโรห์ปโตเลมีที่ 3 ยูเออร์เกเตส

นาม

แก้

ไม่ปรากฏชื่อของแมนิโธในภาษาอียิปต์โบราณเดิม แต่บางคนสันนิษฐานว่าหมายถึง "ความจริงของเทพธอธ", "ของขวัญของเทพธอธ", "ผู้เป็นที่รักของเทพธอธ", "ผู้เป็นที่รักของเทพีนิธ" หรือ "ผู้เป็นที่รักของเทพีนิธ"[2] แต่มีข้อเสนอที่ได้รับการยอมรับน้อยกว่า ได้แก่ Myinyu-heter (แปลว่า "ผู้เลี้ยงม้า" หรือ "เจ้าบ่าว") และ Ma'ani-Djehuti (แปลว่า "ข้าได้เห็นเทพธอธ")

ในภาษากรีก ชิ้นส่วนบันทึกที่เก่าแก่ที่สุด (เป็นจารึกที่ไม่ได้ระบุช่วงเวลาบนฐานของรูปสลักครึ่งตัวหินอ่อนจากวิหารของเซราพิสที่คาร์เทจ[3] และฟลาวิอุส โจเซฟุส ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ชาวยิวในฃ่วงคริสต์ศตวรรษที่หนึ่ง) ไดเขียนชื่อของแมนิโธว่า Μανέθων Manethōn ดังนั้น การแปลงชื่อของแมนิโธในภาษาละตินจึงเรียกว่า Manetho[4] มีการเขียนในภาษากรีกแบบอื่นๆ ได้แก่ Manethōs, Manethō, Manethos, Manēthōs, Manēthōn, and Manethōth และ Manethōth ในภาษาละตินเขียนว่า Manethon, Manethos, Manethonus, และ Manetos[ต้องการอ้างอิง]

แอกิปเทียกา

แก้

แอกิปเทียกา (Αἰγυπτιακά, Aigyptiaka), "ประวัติศาสตร์แห่งอียิปต์" อาจจะเป็นผลงานชิ้นใหญ่ที่สุดของแมนิโธ และแน่นอนว่าเป็นงานที่สำคัญที่สุดเช่นกัน ซึ่งถูกแบ่งลำดับเวลาและแบ่งออกเป็นสามเล่ม การแบ่งผู้ปกครองออกเป็นราชวงศ์นั้นเป็นวิธีการจัดกลุ่มใหม่ อย่างไรก็ตาม แต่ไม่ได้ใช้คำนี้ในความหมายสมัยใหม่ แต่โดยสายเลือด แต่มักจะเสนอราชวงศ์ใหม่เมื่อใดก็ตามที่ตรวจพบความไม่ต่อเนื่องบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทางภูมิศาสตร์ (ราชวงศ์ที่สี่จากเมมฟิส ราชวงศ์ที่ห้าจากเอเลแฟนไทน์) หรือลำดับของราชวงศ์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในราชวงศ์ที่หนึ่ง โดยที่แมนิโธได้จะสื่อว่าฟาโรห์ที่สืบต่อกันมาแต่ละพระองค์ถือว่าเป็น "พระราชโอรส" ของฟาโรห์พระองค์ก่อน เพื่อนิยามความหมายของคำว่า "ความต่อเนื่อง") ในส่วนบนของตารางลำดับราชวงศ์ แมนิโธเติมช่องว่างด้วยเรื่องเล่ามากมายของฟาโรห์

บางคนเสนอ[ต้องการอ้างอิง]ว่า แอกิปเทียกา ถูกเขียนขึ้นเพื่อแข่งขันกับหนังสือ Histories ของเฮโรโดตัส เพื่อบันทึกหลักฐานประวัติศาสตร์ของชาติอียิปต์ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน จากมุมมองนี้ Against Herodotus อาจจะเป็นเอกสารฉบับย่อหรือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ แอกิปเทียกา ที่เผยแพร่อย่างอิสระ แต่่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันทั้งเอกสารสองไม่หลงเหลือในรูปแบบดั้งเดิม

เอกสารทั้งสองฉบับของชิ้นส่วนของ แอกิปเทียกา ของแมนิโธได้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์โดยวิลเลียม กิลแลน วัดเดลล์ ในปี ค.ศ. 1940 และโดย เจอรัลด์ พี. เวอร์บรูกก์ และจอห์น มัวร์ วิกเกอร์สแฮมในปี ค.ศ. 2001[5]

อ้างอิง

แก้
  1. "أسماء بعض البلاد المصرية بالقبطية - كتاب لغتنا القبطية المصرية | St-Takla.org". st-takla.org.
  2. Waddell (1940), p. ix, n. 1.
  3. Corpus Inscriptionum Latinarum viii. 1007: "ΜΑΝΕΘΩΝ"
  4. The same way that Platōn is rendered "Plato"; see Greek and Latin third declension.
  5. Verbrugghe, Gerald P.; Wickersham, John Moore (2001). Berossos and Manetho, Introduced and Translated: Native Traditions in Ancient Mesopotamia and Egypt. University of Michigan Press. pp. 207–. ISBN 0-472-08687-1. Waddell's Manetho is the only other English translation of Manetho. It was originally published in the Loeb Classical Library in 1940, together with the Tetrabiblos (Treatise in Four Books) of the astronomer Ptolemy.