ฟาโรห์คาเซเคมวี
คาเซเคมวี (ประมาณ 2690 ปีก่อนคริสตกาล; Ḫꜥj-sḫm.wj หรือถอดออกเป็น Kha-sekhemui) เป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์ ปรากฏที่เกี่ยวข้องกับพระองค์น้อยมาก นอกจากว่าพระทรงเป็นผู้นำการดำเนินการทางทหารที่สำคัญหลายครั้ง และสร้างป้อมอิฐโคลนที่รู้จักกันในนาม ชูเน็ท อัล เซบิบ
คาเซเคมวี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คาเซเคมอูอิ, เคเนเรส | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปสลักฟาโรห์คาเซเคมวีที่พิพิธภัณฑ์แอชโมลีน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 18 ปี ราว 2690 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เซเคมอิบ-เพอร์เอนมาอัต หรือ เซธ-เพอร์อิบเซน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ดโจเซอร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่เสกสมรส | นิมาอัตฮัป, เมนคา (?) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | ดโจเซอร์ เฮเทปเฮอร์เนบติ เซเคมเคต ? ซานัคต์ ? เชฟเซต-อิเพต ? | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สวรรคต | 2686 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุสาน | สุสาน วี ที่อุมมุลกะอับ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อนุสรณ์สถาน | ชูเน็ท อัล เซบิบ, ป้อมปราการแห่งเนเคน,[2] กิสร์ อัมมุดิร์ ? | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สอง |
พระนามฮอรัสของพระองค์ คือ Ḫꜥj-sḫm.wj ซึ่งสามารถแปลได้ว่า "ผู้ทรงพลังทั้งสองปรากฏกาย"[3] แต่พระนามดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในหลายรูปแบบ เช่น Ḥr-Ḫꜥj-sḫm (เทพฮอรัส พระองค์ผู้ทรงพลังปรากฏกาย), ḫꜥj sḫm .wj ḫtp nṯrwj jm=f (พลังทั้งสองปรากฏในที่บรรพชนสถิตอยู่ในพระวรกายของพระองค์) เป็นต้น[4][a]
ช่วงเวลาแห่งรัชสมัย
แก้ฟาโรห์คาเซเคมวีทรงปกครองเป็นระยะเวลาเกือบ 18 ปี โดยรัชสมัยของพระองค์รุ่งเรืองในช่วงต้นศตวรรษที่ 27 ก่อนคริสตกาล ช่วงเวลาที่แน่นอนในการครองราชย์ของพระองค์ในลำดับประวัติศาสตร์อียิปต์ยังคลุมเครือ แต่น่าจะอยู่ในช่วงระหว่าง 2690–2670 ปีก่อนคริสตกาล
จากการศึกษาของโทบี วิลกินสัน เกี่ยวกับศิลาแห่งปาแลร์โมในพระราชพงศาวดารแห่งอียิปต์โบราณ ซึ่งเป็นเอกสารจากสมัยราชวงศ์ที่ 5 ที่เขียนขึ้นเกือบจะร่วมสมัยเดียวกับพระองค์ได้บันทึกว่าพระองค์ทรงครองราชย์เป็นรยะเวลา 17 ปีครึ่ง หรือเกือบ 18 ปีเต็ม[5] วิลกินสันได้เสนอว่าปีที่ 18 นั้นอาจะเป็น "ปีเต็มหรือไม่ถึงปี" เนื่องจาก ศิลาแห่งปาแลร์โมและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องได้บันทึกถึงปีที่ 3-6 และปีที่ 12-18 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ และบันทึกในปีสุดท้ายแห่งการครองราชย์ของพระองค์ยังหลงเหลือในสภาพที่สมบูรณ์[6] การนับจำนวนปศุสัตว์นั้นเกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆ สองปีในช่วงราชวงศ์ที่สองจากในศิลาแห่งปาแลร์โม (ปีของการนับปศุสัตว์ คือ ปีที่ 6, 7 และ 8 ซึ่งยังคงหลงเหลือไว้ในเอกสารรวมถึงปีเต็มหลังจากการนับปศุสัตว์ตามลำดับ) ซึ่งสามารถประมาณได้ว่าพระองค์ทรงครองราชย์อย่างถูกต้องประมาณ 18 ปี (หรือประมาณ 18 ปี 2 เดือน 23 วันจากศิลาแห่งปาแลร์โม)
พระราชประวัติ
แก้ฟาโรห์คาเซเคมวีทรงถูกจัดให้เป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์เซธ-เพอร์อิบเซน ถึงแม้ว่านักไอยคุปต์วิทยาบางคนเชื่อว่า คาเซเคม คือฟาโรห์อีกพระองค์ทรงปกครองระหว่างฟาโรห์สองทั้งสอง อย่างไรก็ตาม นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ฟาโรห์คาเซเคม และฟาโรห์คาเซเคมวี เป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันจริงๆ[7] ซึ่งฟาโรห์คาเซเคมอาจจะทรงเปลี่ยนพระนามเป็น คาเซเคมวี หลังจากที่พระองค์ทรงรวบรวมอียิปต์บนและอียิปต์ล่างได้อีกครั้ง หลังจากสงครามกลางเมืองระหว่างสาวกของเทพเจ้าฮอรัสและเซธ ซึ่งนักวิชาการคนอื่นๆ เชื่อว่าพระองค์ทรงเอาชนะฟาโรห์เซธ-เพอร์อิบเซน หลังจากกลับมาอียิปต์จากการก่อกบฏในนิวเบีย และพระองค์ทรงสามารถยุติการแย่งชิงภายในราชวงศ์ที่สองและรวมอาณาจักรอียิปต์อีกครั้ง
ฟาโรห์คาเซเคมวีทรงมีเอกลักษณ์เฉพาะในประวัติศาสตร์อียิปต์ที่มีทั้งสัญลักษณ์ของเทพฮอรัสและเทพเซธบนพระนามเซเรคของพระองค์ นักไอยคุปต์วิทยาบางคนเชื่อว่าสัญลักษณ์ดังกล่าวสื่อถึงความพยายามที่จะรวมอียิปต์สองดินแดนเข้าด้วยกัน แต่หลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคต สัญลักษณ์ของเทพเซธก็สูญหายจากพระนามเซเรคอย่างถาวร และพระองค์ทรงเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์พระองค์แรกที่ริเริ่มสร้างรูปสลักของพระองค์เอง
เห็นได้ชัดว่า ฟาโรห์คาเซเคมวีทรงดำเนินโครงการก่อสร้างจำนวนมาก เมื่ออียิปต์รวมเข้าเป็นอาณาจักรอีกครั้ง พระองค์ทรงโปรดให้สร้างในก้อนหินที่อัลกับ เฮียราคอนโพลิส และอไบดอส ซึ่งเห็นได้ชัดว่าพระองค์ได้ทรงสร้างสุสานที่มีเอกลักษณ์และใหญ่โตที่อไบดอส ซึ่งเป็นสุสานหลวงแห่งสุดท้ายที่สร้างขึ้นในหมุู่สุสานแห่งนั้น (สุสาน วี) ซึ่งเป็นสุสานที่มีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมคางหมูมีความยาวประมาณ 70 เมตร (230 ฟุต) และกว้าง 17 เมตร (56 ฟุต) ทางด้านเหนือและกว้าง 10 เมตร (33 ฟุต) ทางด้านใต้ สุสานดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็น 58 ห้อง ก่อนที่จะมีการค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้จากราชวงศ์ที่หนึ่ง ห้องฝังพระบรมศพตรงกลางถือเป็นโครงสร้างก่ออิฐที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยสร้างขึ้นจากหินปูนที่ถูกขุดขึ้นมา และมีการขุดค้นพบคทาทองคำและหินคาร์เนเลียนของฟาโรห์ ตลอดจนหม้อหินใบเล็กๆ ที่ทำขึ้นอย่างสวยงามหลายใบพร้อมฝาทองคำเปลว ซึ่งเห็นได้ชัดว่าโจรปล้นสุสานก่อนหน้านี้ได้พลาดไป ในความเป็นจริง เพตรีได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งของจำนวนหนึ่งที่ถูกนำออกไปในระหว่างการขุดค้นของเอมีล อาเมลีโน ส่วนสิ่งของอื่นๆ ได้แก่ เครื่องมือหินเหล็กไฟ เครื่องมือและภาชนะทองแดงต่างๆ ภาชนะหิน และภาชนะดินเผาที่บรรจุเมล็ดพืชและผลไม้ นอกจากนี้ยังมีวัตถุเคลือบขนาดเล็ก ลูกปัดคาร์เนเลียน เครื่องมือจำลอง งานจักสาน และตราประทับจำนวนมาก
ฟาโรห์คาเซเคมวีทรงสร้างกำแพงล้อมที่เนเคนและที่อไบดอส (ปัจจุบันรู้จักกันในนาม ชูเน็ท อัล เซบิบ) และพระองค์ทรงถูกฝังไว้ที่นั่นในสุสานที่อุมมุลกะอับ พระองค์อาจจะสร้างกิสร์ อัมมุดิร์ ที่ซักกอเราะฮ์
คำจารึกบนแจกันหินบันทึกว่าพระองค์ "ทรงต่อสู้กับศัตรูทางเหนือที่เนเคบ" ซึ่งหมายความว่าอียิปต์ล่างอาจจะรุกรานและเกือบยึดเมืองหลวงของเนเคนไปได้[7]
พระราชวงศ์
แก้พระมเหสีของฟาโรห์คาเซเคมวี คือ พระราชินีนิมาอัตฮัป ซึ่งเป็นพระราชมารดาของพระราชโอรส-ธิดาของกษัตริย์ ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นพระราชบิดาและพระราชมารดาของฟาโรห์ดโจเซอร์ และพระมเหสีของพระองค์พระนามว่า เฮเทปเฮอร์เนบติ[8] นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าพระราชโอรสของฟาโรห์คาเซเคมวี คือ ฟาโรห์เซเคมเคต และฟาโรห์ซานัคเต ซึ่งฟาโรห์ทั้งสองพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์ดโจเซอร์[9][10]
พระนางนิมาอัตฮัปทรงเป็นเจ้าหญิงจากทางเหนือที่มีบรรดาศักดิ์เป็น "พระราชมารดาแห่งกษัตริย์"[7]
บรรณานุกรม
แก้- Toby Wilkinson, Royal Annals of Ancient Egypt: The Palermo Stone and Its Associated Fragments, (Kegan Paul International), 2000.
- Egypt: Khasekhem/Khasekhemwy of Egypt's 2nd dynasty
เชิงอรรถ
แก้- ↑ เครื่องหมาย "=" ใช้เพื่อระบุคำต่อท้าย หรือ "." สามารถใช้สัญลักษณ์
อ้างอิง
แก้- ↑ Alan H. Gardiner: The royal canon of Turin.
- ↑ Khasekhemwy's fortเก็บถาวร 2012-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Peter Clayton, Chronicle of the Pharaohs, Thames and Hudson Ltd, 2006 paperback, p. 26
- ↑ Jürgen von Beckerath, Handbuch der ägyptischen Königsnamen (1999).
- ↑ Toby Wilkinson, Royal Annals of Ancient Egypt, (Columbia University Press:2000 - ISBN 0-7103-0667-9), p. 258
- ↑ Toby Wilkinson, Royal Annals of Ancient Egypt, (Columbia University Press:2000 - ISBN 0-7103-0667-9), pp. 78–79 & 258
- ↑ 7.0 7.1 "Khasekhemwy | Ancient Egypt Online" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-10-07.
- ↑ Dodson, Aidan และ Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., p. 48
- ↑ Silke Roth: Die Königsmütter des Alten Ägypten von der Frühzeit bis zum Ende der 12. Dynastie (= Ägypten und Altes Testament, vol. 46). Harrassowitz, Wiesbaden 2001, ISBN 3-447-04368-7, p. 59-61 & 65–67.
- ↑ Toby A. H. Wilkinson: Early Dynastic Egypt. Routledge, London 2001, ISBN 0415260116, p. 80 - 82, 94 - 97.