ฟาโรห์โจเซอร์ (บางครั้งอ่านเป็น เจเซอร์ และ โซเซอร์) เป็นฟาโรห์ราชวงศ์ที่ 3 แห่งอียิปต์โบราณสมัยราชอาณาจักรเก่า พระนามของพระองค์เป็นที่รู้จักในพระนามที่แผลงเป็นกรีกว่า โทโซทรอส (จากแมนิโธ) และ เซโซทรอส (จากยูซิเบียส) พระองค์เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์คาเซคเคมวีกับสมเด็จพระราชินีนิมาอัตเทป โจเซอร์เป็นที่รู้จักจากพีระมิดขั้นบันไดของพระองค์ ซึ่งเป็นอาคารหินขนาดมหึมาที่เก่าแก่ที่สุดในอียิปต์โบราณ[7]

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ แก้

การสร้างพีระมิดขั้นบันได แก้

ฟาโรห์โจเซอร์เป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่มีดำริให้สร้างพีระมิดขั้นบันไดของพระองค์เองเป็นต้นแบบของพีระมิดทรงสามเหลี่ยม โดยมีอัครเสนาบดีและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างคืออิมโฮเทป อิมโฮเทปนับว่าเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ จึงกล้าคิดออกแบบพีระมิดขนาดใหญ่อย่างที่ไม่มีใครเคยสร้างมาก่อน โดยพีระมิดแห่งแรกนี้มีขนาดกว้างประมาณ 115 เมตร ยาวเกือบ 140 เมตร สูง 60 เมตร เป็นพีระมิดลักษณะขั้นบันได 6 ขั้น ถูกสร้างขึ้นที่เมืองซัคคารา ถือเป็นอนุสรณ์สถานที่ใหญ่ที่สุดแห่งแรกด้วยและยังคงสภาพสมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน พีระมิดที่เป็นขั้นบันไดนั้นเป็นสัญลักษณ์ว่า เป็นบันไดสำหรับย่างพระบาทสู่สวรรค์ของฟาโรห์ ภายในพีระมิดแห่งแรกนี้ มีรูปสลักหินของฟาโรห์โจเซอร์ในท่าประทับนั่งบนบัลลังก์ ถือเป็นประติมากรรมชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด บริเวณข้างพีระมิดเป็นลานกว้าง ซึ่งอดีตนั้นใช้ประกอบพระราชพิธีของฟาโรห์ (หนึ่งในนั้นคือพิธีศพ)

 
ภาพภายนอกพีระมิดแห่งซัคคารา][8]

การแก้ไขปัญหาแม่น้ำไนล์ แก้

ในสมัยของฟาโรห์โจเซอร์ แม่น้ำไนล์ที่เคยอุดมสมบูรณ์ไหลบ่าท่วมสองฟากฝั่ง นำความสมบูรณ์มาให้ชาวไอยคุปต์ เกิดลดแห้งขึ้นมาในปีที่ 10 แห่งการครองราชย์ ความเดือดร้อนนั้นยาวนานถึง 7 ปี ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้ขอร้องให้พระองค์ช่วยเหลือ โดยขอให้พระองค์บันดาลให้แม่น้ำไนล์ไหลท่วมสองฝั่งอย่างที่เคยเป็น เพราะประชาชนคิดว่าพระองค์เป็นโอรสของเทพเจ้าที่บันดาลสิ่งสรรพได้ ฟาโรห์โจเซอร์ตระหนักดีว่าเกินความสามารถของพระองค์ เพราะทรงเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่ง อิมโฮเทปจึงได้ถวายคำแนะนำว่า ควรจะขอคำแนะนำจากเทพเจ้าธอธ เทพแห่งสติปัญญาผู้ชาญฉลาด ด้วยความช่วยเหลือของเทพเจ้าธอธที่ทรงแจ้งถึงภูมิปัญญาอันเร้นลับของบรรพชนแก่อิมโฮเทป เกี่ยวกับบันทึกโบราณที่บอกเล่าถึงการไหลหลากแห่งไนล์ว่า ในยุคที่เทพเจ้าราสร้างโลก ผืนดินแห่งแรกที่ผุดขึ้นมาจากผืนน้ำเรียกว่า เกาะเอเลเฟนติเน ใต้เกาะแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์ เทพคเนมู สถิตอยู่ที่นั่นและบันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ไนล์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ชาวไอยคุปต์ก็หลงลืมเทพคเนมู เมื่อฟาโรห์โจเซอร์ทราบเรื่องนี้ ก็ทรงบวงสรวงขอพรจากเทพเจ้าคเนมูทันที เทพคเนมูตอบรับคำร้องของของฟาโรห์ โดยบันดาลให้แม่น้ำไนล์กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ฟาโรห์โจเซอร์ทรงสร้างมหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดถวายแด่เทพเจ้าคเนมู หลังจากนั้นไอยคุปต์ก็กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ในที่สุด

หมายเหตุ แก้

  1. สัญลักษณ์แรกถูกจงใจลบออกโดยไม่ทราบสาเหตุ

อ้างอิง แก้

  1. Mieroop 2010, p. 55.
  2. El-Shahawy & Al-Masri 2005, p. 39.
  3. Atiya 2006, pp. 30 & 103.
  4. Fletcher 2015, p. 7.
  5. Rice 1999, p. 50.
  6. Bunson 2014, p. 103.
  7. Hawkes, Jacquetta (1974). Atlas of Ancient Archaeology. McGraw-Hill Book Company. p. 149. ISBN 0-07-027293-X.
  8. http://board.postjung.com/653741.html

บรรณานุกรม แก้

อ่านเพิ่ม แก้

  • Rosanna Pirelli, "Statue of Djoser" in Francesco Tiradritti (editor): The Treasures of the Egyptian Museum. American University in Cairo Press, Cairo 1999, p. 47.
  • Iorwerth Eiddon Stephen Edwards: The Pyramids of Egypt. West Drayton 1947; Rev. ed. Harmondsworth 1961; Rev. ed. Harmondsworth 1985 (deutsche Ausgabe: Die ägyptischen Pyramiden, 1967)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้