ราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์

ในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณราชอาณาจักรเก่าเป็นช่วงเวลาที่ครอบคลุมตั้งแต่ราว 2700–2200 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "ยุคแห่งพีระมิด" หรือ "ยุคแห่งผู้สร้างพีระมิด" เนื่องจากตลอดรัชสมัยของผู้สร้างพีระมิดผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์ที่สี่ เช่น ฟาโรห์สเนเฟรู ผู้ทรงทำให้เกิดศิลปะแห่งพีระมิดมีความสมบูรณ์แบบและสถาปัตยกรรมอาคาร และฟาโรห์คูฟู, ฟาโรห์คาฟเร และฟาโรห์เมนคาอูเร ซึ่งเป็นฟาโรห์ผู้ทรงโปรดให้สร้างพีระมิดที่กิซ่า[3] อียิปต์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอารยธรรมที่ยั่งยืนเป็นครั้งแรกในช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่า ซึ่งเป็นช่วงแรกในสามยุคที่เรียกว่า "ราชอาณาจักร" (ตามด้วยราชอาณาจักรกลางและราชอาณาจักรใหม่) ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของอารยธรรมในลุ่มแม่น้ำไนล์ตอนล่าง[4]

ราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์

ป. 2686 ปีก่อนคริสต์ศักราชป. 2181 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ในช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์ (ประมาณ 2700 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ประมาณ 2200 ปีก่อนคริสต์ศักราช), อียิปต์ประกอบด้วยส่วนของแม่น้ำไนล์ อาณาเขตจรดทางใต้ถึงอาบู (หรือที่เรียกว่าเกาะเอลิแฟนไทนี) เช่นเดียวกับคาบสมุทรคาบสมุทรไซนายและโอเอซิสในทะเลทรายตะวันตก ซึ่งอยู่ในการควบคุม/การปกครองของอียิปต์ รวมถึงนิวเบียถึงพื้นที่ทางตอนใต้ของแก่งน้ำตกที่สามแห่งแม่น้ำไนล์[1]
ในช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์ (ประมาณ 2700 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ประมาณ 2200 ปีก่อนคริสต์ศักราช), อียิปต์ประกอบด้วยส่วนของแม่น้ำไนล์ อาณาเขตจรดทางใต้ถึงอาบู (หรือที่เรียกว่าเกาะเอลิแฟนไทนี) เช่นเดียวกับคาบสมุทรคาบสมุทรไซนายและโอเอซิสในทะเลทรายตะวันตก ซึ่งอยู่ในการควบคุม/การปกครองของอียิปต์ รวมถึงนิวเบียถึงพื้นที่ทางตอนใต้ของแก่งน้ำตกที่สามแห่งแม่น้ำไนล์[1]
เมืองหลวงเมมฟิส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมมุติเทพ, สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ฟาโรห์ 
• ป. 2686 –  2649 ปีก่อนคริสต์ศักราช
โจเซอร์ (พระองค์แรก)
• ป. 2184 –  2181 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ฟาโรห์พระองค์สุดท้ายขึ้นอยู่กับนักวิชาการ, นิตอิเกอร์ติ ซิพทาห์ (ราชวงศ์ที่หก) หรือ เนเฟอร์อิร์คาเร (ราชวงศ์ที่เจ็ดหรือแปด)
ประวัติศาสตร์ 
• เริ่มต้น
ป. 2686 ปีก่อนคริสต์ศักราช
• สิ้นสุด
ป. 2181 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ประชากร
• 2500 ปีก่อนคริสต์ศักราช
1.6 ล้านคน[2]
ก่อนหน้า
ถัดไป
สมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์
สมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่งแห่งอียิปต์

แนวคิดเรื่อง "ราชอาณาจักรเก่า" ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของ "ยุคทอง" ซึ่งได้คิดค้นแนวคิดนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1845 โดยบารอน ฟ็อน บุนเซิน นักไอยคุปต์วิทยาชาวเยอรมัน และคำจำกัดความของคำว่า "ราชอาณาจักรเก่า" จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20[5] ไม่เพียงแต่ฟาโรห์พระองค์สุดท้ายในสมัยต้นยุคราชวงศ์ที่เกี่ยวข้องกับฟาโรห์สองพระองค์แรกของสมัยราชอาณาจักรเก่าเท่านั้น แต่ "เมืองหลวง" ซึ่งเป็นที่ประทับของพระราชวงศ์ยังคงอยู่ที่อิเนบ-เฮดจ์ (Ineb-Hedj) ซึ่งเป็นชื่อภาษาอียิปต์โบราณของเมืองเมมฟิส เหตุผลพื้นฐานสำหรับการแยกระหว่างสองช่วงเวลาคือการเปลี่ยนแปลงการปฏิวัติทางสถาปัตยกรรมพร้อมกับผลกระทบต่อสังคมอียิปต์และเศรษฐกิจของการสร้างโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่[4]

สมัยราชอาณาจักรเก่ามักจะถูกมองว่าเป็นช่วงเวลานับตั้งแต่ราชวงศ์ที่สามถึงราชวงศ์ที่หก (ระหว่าง 2686–2181 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องราชวงศ์ที่สี่ถึงราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์นั้นปรากฏไม่มากนัก และนักประวัติศาสตร์ถือว่าประวัติศาสตร์ของช่วงเวลานั้น คือ ตัวอักษรที่ "เขียนด้วยหิน" และเป็นสถาปัตยกรรมโดยส่วนใหญ่ผ่านอนุสาวรีย์และจารึกที่นักวิชาการสามารถประติดประต่อประวัติศาสตร์ได้[3] นักไอยคุปต์วิทยายังรวมถึงราชวงศ์ที่เจ็ดและราชวงศ์ที่แปดในช่วงราชอาณาจักรเก่าในฐานะความต่อเนื่องของการบริหารรัฐโดยรวมศูนย์ไว้ที่เมืองเมมฟิส ในขณะที่สมัยราชอาณาจักรเก่าเป็นช่วงเวลาแห่งความมั่นคงภายในและความเจริญรุ่งเรือง ตามมาด้วยช่วงเวลาแห่งความแตกแยกและความเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรมโดยสัมพัทธ์ที่นักไอยคุปต์วิทยาเรียกว่า สมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง[6] ในช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่า ฟาโรห์แห่งอียิปต์ (ซึ่งในขณะนั้นจะยังไม่เรียกตำแหน่งประมุขของอาณาจักรว่า "ฟาโรห์" จนถึงช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่) ได้ทรงกลายเป็นเทพเจ้าที่มีพระชนม์ชีพ ซึ่งทรงปกครองอย่างเด็ดขาดและทรงสามารถเรียกร้องการรับใช้และความมั่งคั่งจากราษฎรได้[7]

ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์ดโจเซอร์ ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สามแห่งสมัยราชอาณาจักรเก่า โดยเมืองหลวงของอียิปต์ในขณะนั้นได้ย้ายไปที่เมืองเมมฟิส ซึ่งฟาโรห์ดโจเซอร์ได้ทรงสถาปนาพระราชสำนักของพระองค์ไว้ที่นั่น การสร้างสรรค์ยุคสมัยใหม่จึงได้เริ่มต้นที่ซักกอเราะฮ์ ซึ่งภายใต้รัชสมัยของพระองค์ อิมโฮเทป ขุนนางสถาปนิกของฟาโรห์ดโจเซอร์ ซึ่งมีชื่อเสียงมาจากการพัฒนาการสร้างอาคารด้วยหินและแนวคิดของรูปแบบสถาปัตยกรรมใหม่ เช่น พีระมิดขั้นบันได[7] สมัยราชอาณาจักรเก่าอาจจะเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดเกี่ยวกับพีระมิดจำนวนมากที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อเป็นสถานที่ฝังพระบรมศพของฟาโรห์แห่งอียิปต์

อ้างอิง แก้

  1. Grimal, Nicolas (1994). A History of Ancient Egypt. Wiley-Blackwell (July 19, 1994). p. 85.
  2. Steven Snape (16 March 2019). "Estimating Population in Ancient Egypt". สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  3. 3.0 3.1 "Old Kingdom of Egypt". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 2017-12-04.
  4. 4.0 4.1 Malek, Jaromir. 2003. "The Old Kingdom (c. 2686–2160 BC)". In The Oxford History of Ancient Egypt, edited by Ian Shaw. Oxford and New York: Oxford University Press. ISBN 978-0192804587, p.83
  5. Schneider, Thomas (27 August 2008). "Periodizing Egyptian History: Manetho, Convention, and Beyond". ใน Klaus-Peter Adam (บ.ก.). Historiographie in der Antike. Walter de Gruyter. pp. 181–197. ISBN 978-3-11-020672-2.
  6. Carl Roebuck, The World of Ancient Times, pp. 55 & 60.
  7. 7.0 7.1 Carl Roebuck, The World of Ancient Times, p. 56.