ฟาโรห์เซเคมอิบ-เพอร์เอนมาอัต
เซเคมอิบ-เพอร์เอนมา'อัต (หรือ เซเคมอิบ) เป็นพระนามฮอรัสของฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในสมัยราชวงศ์ตอนต้นที่ทรงปกครองในช่วงราชวงศ์ที่สอง พระองค์อาจจะเป็นผู้ปกครองก่อนหน้า ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อ หรือผู้สำเร็จราชการร่วมของฟาโรห์เซธ-เพอร์อิบเซน พระองค์ทรงปรากฏอยู่ในบันทึกทางโบราณคดีร่วมสมัยอย่างดี แต่พระองค์กลับไม่ปรากฏในเอกสารในช่วงหลังจากนั้นเลย ไม่ทราบระยะเวลาที่แน่นอนในรัชสมัยของพระองค์และยังไม่พบสถานที่ฝังพระบรมศพของพระองค์เช่นกัน[1]
เซเคมอิบ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เซเคมอิบ-เพอร์เอนมา'อัต | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เศษภาชนะหินอะลาบาสเตอร์ที่ปรากฏพระนามคู่ (เสียหาย) ของฟาโรห์เซเคมอิบ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | ราว 2720 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | ไม่แน่ชัด, เพอร์อิบเซน?, นิเนทเจอร์? | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ไม่แน่ชัด, เพอร์อิบเซน? คาเซคเอมวี? | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุสาน | ไม่ทราบ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สอง |
ที่มาของพระนาม
แก้พระนามของฟาโรห์เซเคมอิบเป็นที่ทราบจากรอยประทับตราและจากจารึกบนภาชนะที่ทำจากหินอลาบาสเตอร์และหินเบรกเซีย โดยพบที่ทางเข้าสุสานของฟาโรห์เพอร์อิบเซนที่อไบดอส ในห้องชุดใต้ดินใต้พีระมิดขั้นบันไดของฟาโรห์ดโจเซอร์ (ราชวงศ์ที่สาม) ที่ซักกอเราะฮ์ และที่พื้นที่ขุดค้นแห่งหนึ่งที่เอลิแฟนไทน์[1][2][3][4]
พระนามเซเรคของฟาโรห์เซเคมอิบนั้นมีความไม่ปกติทั่วไป เพราะเป็นพระนามแรกในประวัติศาสตร์อียิปต์ที่ขยายด้วยพระนามฉายา นอกจากพระนามจริง เซเคม-อิบ แล้ว ยังมีรอยประทับตราหลายดวงและจารึกภาชนะหิน ซึ่งแสดงพระนามฉายาว่า เพอร์เอนมา'อัต ภายในเซเรค ฟาโรหเซเคมอิบทรงใช้พระนามทั้งสองรูปแบบ พระนามฮอรัสเดี่ยวและพระนามคู่ในเวลาเดียวกัน นักอียิปต์วิทยา เช่น เฮอร์แมน เท เวลเดอ และ ว็อล์ฟกัง เฮ็ลท์ค คิดว่าพระนามคู่ของฟาโรห์เซเคมอิบได้ถูกนำมาใช้เมื่ออาราจักรอียิปต์ถูกแบ่งออกเป็นสองอาณาจักรอิสระ และดูเหมือนว่าพระองค์จะทรงพยายามเน้นย้ำถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่สงบสุขที่เกิดขึ้นในอียิปต์ในขณะนั้น รูปแบบที่เพิ่มขึ้นของพระนามคู่ดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นและใช้โดยผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์นามว่า ฟาโรห์คาเซคเอมวี ซึ่งฟาโรห์พระองค์นี้ยังใช้พระนามซ้ำและยังทรงตั้งเทพฮอรัสและเทพเซธไว้ด้วยกัน โดยเป็นเทพอุปถัมภ์บนเซเรคของพระองค์ ฟาโรห์คาเซคเอมวีทรงพยายามแสดงถือความสันติภาพและการสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์บนและอียิปต์ล่างด้วยเซเรคที่ไม่ธรรมดาของพระองค์เช่นกัน[5][6]
รัชสมัย
แก้ดูเหมือนจะปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่ว่า ฟาโรห์เซเคมอิบจะทรงปกครองเฉพาะในอียิปต์บนเท่านั้น อาณาจักรของพระองค์จะขยายลงมาจากออมบอสไปจนถึงเกาะเอลิแฟนไทน์ ซึ่งเป็นศูนย์การปกครองใหม่ที่เรียกว่า "บ้านขาวแห่งคลังสมบัติ" ซึ่งสถานปนาขึ้นในรัชสมัยของพระองค์[7] และยังคงเป็นประเด็นถกเถียงของนักไอยคุปต์วิทยาและนักประวัติศาสตร์ว่าเหตุใดจึงมีการตัดสินใจแยกอาณ่าจักรเมื่อใดและเหตุใด
สถานที่ฝังพระบรมศพ
แก้ไม่ทราบตำแหน่งของหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์เซเคมอิบ แต่ถ้าหากพระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เพอร์อิบเซน พระองค์จะถูกฝังในสุสาน พี ที่อไบดอส หรือมิฉะนั้น สถานที่ฝังพระบรมศพของพระองค์อาจจะอยู่ที่ซักกอเราะฮ์[2][8][9]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Toby A. H. Wilkinson: Early Dynastic Egypt. Routledge, London und New York 1999, ISBN 0-415-18633-1, page 90–91.
- ↑ 2.0 2.1 William Matthew Flinders Petrie & Francis Llewellyn Griffith: The royal tombs of the first dynasty. Volume II., Trübner & Co., London, 1900, page 7, 14, 19, 20 & 48.
- ↑ Pierre Lacau und Jan-Phillip Lauer: La Pyramide a Degrees IV. – Inscriptions Gravees sur les Vases: Fouilles à Saqqarah. Service des antiquités de l'Égypte, Cairo, 1936. page 18 und 91, Bildtafel 39.
- ↑ Jeoffrey A. Spencer: Early Dynastic Objects. British Museum Publications, London 1980, page 76–78; Obj. No. 278.
- ↑ Herman te Velde: Seth, God of Confusion: a study of his role in Egyptian mythology and religion. Brill, Leiden 1977, ISBN 90-04-05402-2, page 72, 73 & 110.
- ↑ Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thintenzeit. (Ägyptologische Abhandlungen, Volume 45), Otto Harrassowitz, Wiesbaden 1987, ISBN 3-447-02677-4, page 104–111 & 183.
- ↑ Jean-Pierre-Pätznik: Die Siegelabrollungen und Rollsiegel der Stadt Elephantine im 3. Jahrtausend vor Christus. Archaeopress, Oxford (UK) 2005, ISBN 1-84171-685-5, page 64–66.
- ↑ Walter Bryan Emery: Ägypten - Geschichte und Kultur der Frühzeit. Fourier, Munich 1964, page 106.
- ↑ Kathryn A. Bard: The Emergence of the Egyptian State. in: Ian Shaw: The Oxford History of Ancient Egypt. page 86.