ฟาโรห์เชชิ
มาอาอิบเร เชชิ เป็นผู้ปกครองบริเวณของอียิปต์ในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์ ราชวงศ์ ลำดับเหตุการณ์ ระยะเวลาและขอบเขตพื้นที่ของการครองราชย์ของพระองค์ยังคงคลุมเครืออยู่ และอาจจะมีการถกเถียงโต้แย้งในประเด็นดังกล่าวกันอย่างต่อเนื่อง ความยากในการระบุตัวตนได้สะท้อนจากปัญหาในการระบุเหตุการณ์ตั้งแต่การล่มสลายของราชอาณาจักรกลางไปจนถึงการมาถึงของชาวฮิกซอสในอียิปต์ อย่างไรก็ตาม ในแง่ของจำนวนของโบราณวัตถุที่ค้นพบ ฟาโรห์เชชิถือว่าทรงเป็นฟาโรห์ที่ปรากฏหลักฐานยืนยันที่ดีที่สุดในช่วงเวลาที่อยู่ระหว่างช่วงสิ้นสุดของสมัยราชอาณาจักรกลางและสมัยระหว่างกลางที่สอง ระหว่างประมาณ 1800 ปีก่อนคริสตกาล จนถึง 1550 ปีก่อนคริสตกาล ตราประทับสครารับจำนวนหลายร้อยตัวที่ปรากฏพระนามของพระองค์ถูกค้นพบทั่วเมืองคานาอัน อียิปต์ นิวเบีย และไกลออกไปถึงเมืองคาร์เธจ ซึ่งบางตัวยังคงใช้งานอยู่หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคตไปแล้ว 1,500 ปี
มาอาอิบเร เชชิ | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เชชิ, เชชา, มายเอบเร | ||||||||||||||||||||||||||||
ตราประทับสคารับสลักว่า "โอรสแห่งเทพรา, เชชิ, พระองค์ผู้ทรงให้ชีวิต"[1] | ||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | ระยะเวลาในการครองราชย์ยังคลุมเครืออย่างมาก คือ 3 ปี,[note 1] 19 ปี,[note 2] ประมาณ 40 ปี.[note 3] | |||||||||||||||||||||||||||
ผู้ครองราชสมบัติร่วม | คาดว่าทรงปกครองร่วมกับเนเฮซิ (ไรฮอล์ท) | |||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | ไม่แน่ชัด, อัมมู อาอาโฮเทปเร[5] | |||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ไม่แน่ชัก, เนเฮซิ อาอาเซเร,[5] ยาคุบ-ฮาร์[6] | |||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||
คู่เสกสมรส | ไมม่แน่ชัก, ตาติ (ไรฮอล์ท) | |||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | ไม่แน่ชัด, เนเฮซิ ♂, อิปกู ♂ (ไรฮอล์ท) | |||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบสี่ หรือ ราชวงศ์ที่สิบห้า |
มีการตั้งข้อสมมติฐานที่แข่งขันกันสามข้อสำหรับราชวงศ์ที่ฟาโรห์เชชิจะทรงอยู่ ข้อสมมติฐานแรกที่ได้รับการสนับสนุนจากนักไอยคุปต์วิทยา เช่น นิโคลัส กรีมัล, วิลเลียม ซี. ฮายส์ และ โดนอลด์ บี. เรดฟอร์ด เชื่อว่า พระองค์ควรถูกระบุตัวตนว่าเป็นพระองค์เดียวกันกับ ซาลิทิส ผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์ที่สิบห้า ตามแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์และกษัตริย์แห่งฮิกซอสระหว่างที่เข้ารุกรานดินแดนอียิปต์นั้น ซาทิลิสทรงถูกระบุว่าพระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 19 ปีและจะทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงระหว่างประมาณ 1720 ปีก่อนคริสตกาล และ 1650 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาข้อสมมติฐานที่สองสนับสนุนโดยนักไอยคุปต์วิทยา วิลเลียม แอรส์ วอร์ด และนักโบราณคดี แดฟนา เบ็น-ทอร์ ได้เสนอว่า ฟาโรห์เชชิทรงเป็นฟาโรห์ชาวฮิกซอสและทรงอยู่ในช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์ที่สิบห้า ซึ่งทรงครองราชย์ระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์คยานและฟาโรห์อาโพฟิส และอีกข้อเสนอหนึ่งโดย มันเฟรด เบียตัค ซึ่งได้เสนอว่า เชชิ เป็นข้าราชบริพารของผู้ปกครองชาวฮิกซอส ซึ่งปกครองบางส่วนของอียิปต์หรือคานาอัน ซึ่งการมีอยู่ของข้าราชบริพารดังกล่าวเป็นยังที่ถกเถียงกัน และข้อสมมติฐานสุดท้ายกล่าวว่า เชชิ อาจจะืรงเป็นผู้ปกครองในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ ซึ่งเป็นเชื้อสายของกษัตริย์ที่มีเชื้อสายคานาอันที่ปกครองบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออกก่อนที่ชาวฮิกซอสจะบุกรุกเข้ามาถึง โดยผู้เสนอข้อสันนิษฐานดังกล่าว เช่น คิม ไรฮอล์ท และดาร์เรล เบเกอร์ ได้กำหนดให้ฟาโรห์เชชิทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 40 ปี โดยทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงประมาณ 1745 ปีก่อนคริสตกาล
ไรฮอล์ทได้เสนอความเห็นว่า ฟาโรห์เชชิทรงเป็นพันธมิตรระหว่างราชอาณาจักรของพระองค์กับราชอาณาจักรคุชในนิวเบียผ่านการอภิเษกสมรสระหว่างราชวงศ์กับเจ้าหญิงชาวนิวเบียพระนามว่า ตาติ และไรฮอล์ทยังวางตัวต่อต่อไปว่าพระราชโอรสของฟาโรห์เชชิกับพระนางตาติคือ เนเฮซิ ซึ่งพระนามดังกล่าวแปลว่า "ชาวนิวเบีย" ซึ่งเชื่อว่าทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์จากฟาโรห์เชชิสู่พระราชบัลลังก์ในฐานะฟาโรห์เนเฮซิ อาอาเซเร
เชิงอรรถ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Walters Art Museum 2015, Online catalog Seal 29621.
- ↑ Hayes 1978, p. xiv.
- ↑ Redford 1992, p. 110.
- ↑ Redford 1992, p. 107.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Ryholt 1997, p. 409.
- ↑ Hayes 1978, p. 6.
- ↑ Leprohon 2013, p. 75.
บรรณานุกรม
แก้- Hayes, William (1978). The Scepter of Egypt: A Background for the Study of the Egyptian Antiquities in The Metropolitan Museum of Art. Vol. 2, The Hyksos Period and the New Kingdom (1675–1080 B.C.). The Metropolitan Museum of Art. ISBN 978-0-87099-191-2.
- Leprohon, Ronald J. (2013). The Great Name: Ancient Egyptian Royal Titulary. Writings from the ancient world, no. 33. Atlanta: Society of Biblical Literature. ISBN 978-1-58983-736-2.
- Redford, Donald (1992). Egypt, Canaan, and Israel in Ancient Times. Princeton: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-03606-9.
- Ryholt, Kim (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800–1550 B.C. CNI publications, 20. Carsten Niebuhr Institute of Near Eastern Studies, University of Copenhagen : Museum Tusculanum Press. ISBN 978-87-7289-421-8.