ราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ เป็นราชวงศ์ต่างแดนจากเอเชียตะวันตกในสมัยอียิปต์โบราณ ซึ่งสถาปนาราชวงศ์ขึ้นโดยฟาโรห์ซาทิลิส ซึ่งได้เข้ารุกรานดินแดนและสามารถพิชิตอียิปต์ล่างในเวลาต่อมา[1] ราชวงศ์ที่สิบห้า ราชวงศ์ที่สิบหก และราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ จะถูกรวมกันอยู่ในช่วงเวลาที่เรียกว่า สมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สอง ราชวงศ์ที่สิบห้ามีระยะเวลาปกครองอยู่ช่วงประมาณระหว่าง 1650 ถึง 1550 ปีก่อนคริสตกาล[2][3]
ราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1650 ปีก่อนคริสตกาล–ราว 1550 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||
อียิปต์ในช่วงการปกครองของราชวงศ์ที่สิบห้า | |||||||||||
เมืองหลวง | อวาริส | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอียิปต์ | ||||||||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ | ||||||||||
การปกครอง | ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคสำริด | ||||||||||
• ก่อตั้ง | 1650 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
• สิ้นสุด | ราว 1550 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
|
ประวัติราชวงศ์
แก้กล่าวกันว่าฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบห้าเป็นชาวคานาอัน[4] เป็นที่ทราบกันดีว่าฟาโรห์คาโมสจากราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ทรงเรียกฟาโรห์อะโพฟิส ซึ่งเป็นหนึ่งในฟาโรห์ของราชวงศ์ว่า "ประมุขแห่งเรทเจนู (ซึ่งก็คือ คานาอัน)"[5][6] ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบห้าทรงได้ก่อตั้ง "ราชอาณาจักรของชาวเอชียแห่งที่สองในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ" ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ซึ่งอาจรวมถึงคานาอันด้วย ถึงแม้ว่าจะขาดหลักฐานทางโบราณคดีก็ตาม[7][8] ราชวงศ์นี้ปกครองอยู่ได้ประมาณ 108 ปี[9][10]
ฟาโรห์พระองค์แรกซึ่งเรียกอีกอย่างว่า ฮิกซอส (ḥḳꜣw-ḫꜣswt, "คนเลี้ยงแกะ" ตามคำกล่าวของแอฟริกานัส) นำได้พสกนิกรของพระองค์เข้ายึดครองพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์และตั้งรกรากในเมืองหลวงของพระองค์ที่เมืองอวาริส ซึ่งเป็นเหตุให้ราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ล่มสลายลง[4] อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏหลักฐานของความขัดแย้งในเวลาช่วงนั้น และการตั้งถิ่นฐานของชาวคานาอันในพื้นที่ดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นอย่างค่อนข้างสงบ เนื่องจากสภาวะสุญญากาศทางอำนาจที่เหลือจากการล่มสลายของราชวงศ์ที่สิบสี่[6] อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ภายหลังกับผู้ปกครองชาวอียิตป์ในช่วงเวลานั้นเป็นไปอย่างด้วยความขัดแย้งที่รุนแรง[11]
ฮิกซอส
แก้ชาวอวาริสในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ถูกชาวอียิปต์เรียกว่า "อามู" ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกชาวซีเรียและเลแวนต์ หรือศัตรูของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ในสมรภูมิคาเดช ซึ่งได้รับการแปลโดยทั่วไปว่าเป็น "ชาวเอเชียตะวันตก" โดยนักไอยคุปต์วิทยา[12]
คำว่า ฮิกซอส เป็นคำที่ใช้เพื่อระบุตัวเหล่าหัวหน้าเผ่าจากต่างแดน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ผู้ปกครองของชาวเอเชีย" ซึ่งมีมาก่อนราชวงศ์ที่สิบห้าและหลังจากนั้นด้วย[12][13] โดยไม่ใช่ตำแหน่งอย่างเป็นทางการของผู้ปกครองราชวงศ์ที่สิบห้า และไม่เคยพบร่วมกับตำแหน่งยศราชวงศ์ ยกเว้นกรณีหายากกรณีหนึ่งในคำจารึกจากเทล อัด-ดับ'อา ที่กล่าวถึงฟาโรห์นิรนามและอธิบายว่าพระองค์ทรงเป็น ฮิกซอส[13] "ฮิกซอส" ค่อนข้างเป็นคำทั่วไป ซึ่งพบแยกจากตำแหน่งยศราชวงศ์และรายการรัชสมัยในช่วงหลังสิ้นสุดราชวงศ์ที่สิบห้า[13][14] ในอีกกรณีหนึ่ง ฟาโรห์คิอานดำริว่าจะใช้พระอิสริยยศ "ฮิกซอส" ในช่วงต้นรัชสมัยของพระองค์ หลังจากนั้นก็ทรงเลิกใช้ตำแหน่งดังกล่าวแล้วมาใช้ตำแหน่งยศราชวงศ์ตามแบบอียิปต์เมื่อพระองค์สามารถรุกรานอียิปต์ทั้งหมด[13] มีเพียงฟาโรห์จำนวนสี่พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบห้าเท่านั้นที่ใช้ทรงใช้พระอิสริยยศ "ฮิกซอส" และหลังจากนั้นตำแหน่งยศราชวงศ์ก็กลายเป็นตำแหน่งแบบอียิปต์ล้วน[14]
พระราชอาณาจักร
แก้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำกับราชวงศ์ของผู้ปกครองพื้นเมืองอียิปต์ที่อยู่ทางใต้ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งประกอบไปด้วย ราชวงศ์ที่สิบหก ราชวงศ์ท้องถิ่นอไบดอส และราชวงศ์ที่สิบเจ็ด โดยมีช่วงสั้นๆ ของช่วงความสงบในระหว่างที่มีความสัมพันธ์กับดินแดนนิวเบีย[4] ไม่นานหลังจากการยึดครองดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ซึ่งเข้ามามีอำนาจแทนที่ราชวงศ์ที่สิบสี่ ราชวงศ์ที่สิบห้าก็ขยายตัวเข้ายึดครองเมมฟิส ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์ที่สิบสามที่เมืองเมมฟิส เมื่ออำนาจทางการเมืองของอียิปต์ได้ล่มสลายลงที่เมืองเมมฟิส ราชวงศ์ใหม่ก็สถาปนาขึ้นทางด้านทิศใต้ ซึ่งก็คือราชวงศ์ท้องถิ่นอไบดอส และราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ที่เมืองธีบส์[15]
หลังจากสถาปนาราชวงศ์ขึ้นประมาณ 20 ปี ราชวงศ์ที่สิบห้าก็ได้ขยายอำนาจการปกครองไปทางใต้จนถึงเมืองธีบส์ ซึ่งนำสู่ความขัดแย้งกับฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3[4][15] ดินแดนอียิปต์ทั้งหมดถูกพิชิตในรัชสมัยของฟาโรห์คิอาน[13] และราชวงศ์ท้องถิ่นอไบดอสก็ได้หายสาบสูญไปในช่วงเวลาการพิชิตทางใต้ครั้งนี้ด้วย[15] อนุสรณ์สถานจำนวนมากจากพื้นที่ที่ถูกพิชิตได้ถูกนำขึ้นไปทางเหนือสู่เมืองอวาริส และอีกหลายแห่งมีจารึกเพิ่มเติม โดยเฉพาะโดยช่วงรัชสมยฟาโรห์อเปปิ[16] อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ก็มีการโต้แย้งจากอเล็กซานเดอร์ อิลิน-โทมิช ที่ว่า ดินแดนที่ปกครองโดยตรงโดยฟาโรห์ฮิกซอสแห่งอวาริสนั้นน่าจะจำกัดอยู่ที่บริเวณดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฝั่งตะวันออก และอาณาเขตการควบคุมเหนืออียิปต์กลางยังไม่แน่ชัด[17]
ในท้ายที่สุด ราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ก็ล่มสลายลงด้วยการพิชิตเมืองอวาริสโดยฟาโรห์อาโมสที่ 1[4]
การค้า
แก้ราชวงศ์ที่สิบห้ามีความสัมพันธ์ทางการค้ากับดินแดนคานาอันและไซปรัสเป็นส่วนใหญ่[4][18][19] มีการกล่าวกันว่าการค้ากับคานาอันนั้นเป็นไปอย่าง "เข้มข้น" โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการนำเข้าสินค้าดินแดนคานาอันจำนวนมาก และอาจจะสะท้อนถึงต้นกำเนิดของราชวงศ์นั้นมาจากคานาอันได้[19] ตามข้อความบนจารึกศิลาของฟาโรห์คาโมส ชาวฮิกซอสนำเข้า "รถศึกและม้า เรือ ไม้ซุง ทองคำ ลาพิชลาซูลี เงิน เทอร์ควอยซ์ ทองแดง ขวานจำนวนมาก น้ำมัน ธูป ไขมัน และน้ำผึ้ง"[18] ราชวงศ์ที่สิบห้ายังส่งออกสิ่งของจำนวนมากที่ปล้นมาจากทางตอนใต้ของอียิปต์ โดยเฉพาะรูปสลักอียิปต์ไปยังพื้นที่ของคานาอันและซีเรีย การถ่ายโอนโบราณวัตถุของอียิปต์ไปยังตะวันออกใกล้เหล่านี้อาจจะเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับฟาโรห์อะโพฟิส[19] ความสัมพันธ์ทางการค้ากับไซปรัสก็มีความสำคัญเช่นกัน[20]
ศาสนา
แก้ความสัมพันธ์ของราชวงศ์ที่สิบห้ากับประเพณีทางศาสนาของอียิปต์นั้นยังคลุมเครือ และในช่วงราชวงศ์ที่สิบแปดมีการกล่าวกันว่า "พวกเขาขึ้นมาปกครองโดยไม่ยอมรับเทพรา"[14] มีการบันทึกไว้ว่า ราชวงศ์นี้ได้ทำลายอนุสรณ์สถานและยึดขโมยเอารูปสลักของอียิปต์ เช่นเดียวกับการปล้นสุสานหลวง ฟาโรห์อาโมสที่ 1 ยังกล่าวอีกว่า "พีระมิดหลายแห่งนั้นถูกรื้อทิ้งลง"[21]
ผู้ปกครอง
แก้ผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบห้าที่เป็นที่ทราบมีดังนี้:[22]
พระนาม | รูปภาพ | รัชสมัยและคำอธิบาย |
---|---|---|
ซาลิทิส | มาเนโธได้กล่าวถึงพระองค์ในฐานะปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ ปัจจุบันไม่ปรากฏพระนามกับบุคคลใดที่ทราบจากหลักฐานทางโบราณคดี พระองค์ทรงปกครองเป็นระยะเวลา 19 ปี ตามคำกล่าวของมาเนโธ ซึ่งอ้างโดยโจเซฟัส | |
เซมเกน | มีการกล่าวถึงในบันทึกพระนามแห่งตูริน จากข้อมูลของรีฮอล์ต พระองค์เป็นผู้ปกครองฮิกซอสในช่วงต้นราชวงศ์[22] ซึ่งอาจจะเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ ส่วนฟอน เบ็คเคอราธได้ระบุว่าพระองค์มาจากราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์[23] | |
อเปอร์อนัต | มีการกล่าวถึงในบันทึกพระนามแห่งตูริน จากข้อมูลของรีฮอล์ต พระองค์เป็นผู้ปกครองฮิกซอสในช่วงต้นราชวงศ์[22] ซึ่งอาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ ส่วนฟอน เบ็คเคอราธได้ระบุว่าพระองค์มาจากราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์[23] | |
คิอาน | ทรงครองราชย์มากกว่า 10 ปี[24] | |
ยานาสซิ | เป็นพระราชโอรสพระองค์โตของฟาโรห์คิอาน พระองค์อาจจะเป็นกษัตริย์อิอันนาสที่ถูกกล่าวไว้ในแอจิปเทียกาของมาเนโธ | |
ซาคิร์-ฮาร์ | ปรากฏว่าเป็นกษัตริย์ฮิกซอสบนวงกบประตูที่พบในเมืองอวาริส ลำดับตำแหน่งรัชสมัยยังไม่แน่นอน | |
อะโพฟิส | ราวประมาณ 1590? – 1550 ปีก่อนคริสตกาล ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลามากกว่า 40 ปี[24] | |
คามูดิ | ราวประมาณ 1550 – 1540 ปีก่อนคริสตกาล |
ราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ เป็นราชวงศ์ชาวฮิกซอสราชวงศ์แรกที่ไม่สามารถปกครองดินแดนอียิปต์ได้ทั้งหมด ซึ่งมีศูนย์กลางปกครองที่เมืองอวาริส โดยชาวฮิกซอสจะปกครองอยู่ในบริเวณทางตอนเหนือของอียิปต์ เนื่องจากพวกเขาได้แทรกซึมเข้ามาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของอียิปต์ พระนามและลำดับของฟาโรห์นั้นยังไม่แน่นอน บันทึกพระนามแห่งตูรินได้ระบุว่ามีฟาโรห์ชาวฮิกซอสจำนวนหกพระองค์ โดยมีฟาโรห์ที่มีความหลุมเครือพระนามว่า คามูดิ ซึ่งระบุว่าเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบห้า
จำนวนฟาโรห์ที่ทรงพระนามว่า อเปปิ
แก้นักวิชาการบางคนเสนอความเห็นว่ามีฟาโรห์อะโพฟิสจำนวนสองพระองค์ที่ทรงพระนาม "อเปปิ" แต่เนื่องด้วยสาเหตุหลักเป็นเพราะปรากฏพระนามครองพระราชบัลลังก์จำนวนสองพระนามที่เกี่ยวข้องฟาโรห์พระองค์นี้คือ อาวอเซอร์เร และ อาเกนเอนเร อย่างไรก็ตาม คิม รีฮอล์ต นักไอยคุปต์วิทยาชาวเดนมาร์ก ได้ยืนยันไว้ในการศึกษาของเขาเกี่ยวกับสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สองว่า พระนามครองพระราชบัลลังก์ทั้งสองพระนามนี้ล้วนหมายถึงบุคคลคนเดียวกันก็คือ ฟาโรห์อเปปิที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ปกครองอียิปต์เป็นระยะเวลา 40 + X ปี[24] สิ่งนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากพระนามครองพระราชบัลลังก์พระนามที่สามในรัชสมัยของพระองค์ก็คือ เนบเคเปชเร[25] โดยฟาโรห์อะโพฟิสน่าจะทรงใช้พระนามครองราชบัลลังก์ที่แตกต่างกันในช่วงรัชสมัยอันยาวนานของพระองค์ สถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยปราศจากแบบอย่างหรือแบบคู่ขนาน เนื่องจากฟาโรห์หลายพระองค์ รวมทั้งฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ฟาโรห์รามเสสที่ 2 ที่มีชื่อเสียง รวมไปถึงฟาโรห์เซติที่ 2 ที่ทรากันว่าพระองค์ทรงใช้พระนามครองพระราชบัลลังก์สองพระนามในรัชสมัยของพระองค์
อ้างอิง
แก้- ↑ Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. pp. 303–304. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ Shaw, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. p. 481. ISBN 0-19-815034-2.
- ↑ Bunson, Margaret (2014). Encyclopedia of Ancient Egypt (ภาษาอังกฤษ). Infobase Publishing. p. 110. ISBN 978-1-4381-0997-8.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. p. 5. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. p. 126. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ 6.0 6.1 Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. pp. 131–132. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. p. 118. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. p. 130. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. p. 119. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ Shaw, Ian (2003). The Oxford History of Ancient Egypt (ภาษาอังกฤษ). OUP Oxford. p. 180. ISBN 978-0-19-280458-7.
- ↑ Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ 12.0 12.1 Shaw, Ian (2003). The Oxford History of Ancient Egypt (ภาษาอังกฤษ). OUP Oxford. pp. 274 ff. ISBN 978-0-19-280458-7.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. pp. 123–124. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. p. 125. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. pp. 132–133. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. p. 133. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ Ilin-Tomich, Alexander (2016). "Second Intermediate Period". UCLA Encyclopedia of Egyptology: 1–21.
- ↑ 18.0 18.1 Shaw, Ian (2003). The Oxford History of Ancient Egypt (ภาษาอังกฤษ). OUP Oxford. pp. 182–183. ISBN 978-0-19-280458-7.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. pp. 138–139. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. p. 141. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. pp. 145–148. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
- ↑ 23.0 23.1 Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, available online เก็บถาวร 2015-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน see p. 120–121.
- ↑ 24.0 24.1 Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. p. 119. ISBN 978-87-7289-421-8.
- ↑ Kings of the Second Intermediate Period University College London; scroll down to the 15th dynasty
บรรณานุกรม
แก้- Kim Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period c.1800-1550 B.C." by Museum Tuscalanum Press (ISBN 87-7289-421-0)