ยานาสซิ (หรือ ยานซาส-อะเดน อาจจะสะท้อนถึงกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก *Jinaśśi’-Ad) เป็นเจ้าชายชาวฮิกซอส และอาจจะทรงเป็นฟาโรห์ของราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์โตของฟาโรห์คยาน และอาจจะเป็นมกุฎราชกุมาร ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์คยาน พระองค์อาจจะทรงสืบพระราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาของพระองค์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการกล่าวถึงฟาโรห์พระนามว่า "อิอานนาส" ในแอกิปเทียกาของแมนิโธ ซึ่งกล่าวกันว่าไม่น่าจะทรงปกครองหลังจากรัชสมัยของฟาโรห์อโพฟิส

จารึกแห่งยานาสซิ จากเทลล์ อัล-ดับ'อะฮ์

อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง คิม ไรฮอล์ท นักไอยคุปต์วิทยาได้เสนอว่า ฟาโรห์อโพฟิสทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์คยาน และเนื่องจากพระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์โตของฟาโรห์คยาน ไรฮอล์ทจึงได้เสนอว่า ฟาโรห์อโพฟิสทรงเป็นผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์[1] แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวกลับถูกปฏิเสธว่าเป็นเพียงการคาดเดาโดยนักวิชาการรวมถึง เดวิด แอสตัน[2] การค้นพบทางโบราณคดีในช่วงปี ค.ศ. 2010 ได้แสดงให้เห็นว่าการปกครองของฟาโรห์คยาน อาจจะต้องย้อนเวลากลับไปอีก ทำให้เกิดความต้องการและเวลาสำหรับฟาโรห์อีกหนึ่งพระองค์หรือมากกว่าที่จะทรงขึ้นครองราชย์ระหว่างรัชสมัยฟาโรห์คยานและฟาโรห์อโพฟิส นอกจากนี้ บันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามทั้งหมดที่ถูกเขียนขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ซึ่งสามารถตีความได้ว่า ในบันทุกพระนามได้บันทึกว่า ฟาโรห์ที่ทรงขึ้นปกครองก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์อโพฟิสแและหลังรัชสมัยของฟาโรห์คยานอยู่ที่ระยะเวลานานกว่า 10 ปี และอาจจะเป็นไปได้ว่าคือฟาโรห์ยานาสซิ ถ้าหากพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าของฟาโรห์อโพฟิสจริง[2]

หลักฐานยืนยัน แก้

ถึงแม้ว่าพระราชสถานะของพระองค์จะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์คยานที่ทรงครองราชย์มายาวนาน แต่ฟาโรห์ยานาสซิก็ทรงได้รับการยืนยันจากจารึกที่เสียหายเท่านั้น (ไคโร ทีดี-8422 [176]) ซึ่งพบที่เทลล์ อัล-ดับ'อะฮ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของฮิกซอสโบราณนามว่า อวาริส[3][4] บนจารึก ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่เทพเจ้าเซธ เจ้าแห่งอวาริส พระองค์ทรงถูกเรียกว่า พระราชโอรสพระองค์โตของกษัตริย์ในฟาโรห์คยาน[1]

ถ้าหากเจ้าชายยานาสซิทรงขึ้นเป็นฟาโรห์จริง ๆ พระองค์อาจจะปกครองระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์คยานและรัชสมัยของฟาโรห์อโพฟิส ในบันทึกพระนามแห่งตูริน ข้อความก่อนหน้าที่เกี่ยวข้องกับฟาโรห์อโพฟิสในคอลัมน์ที่ 10 บรรทัดที่ 26 ได้รับความเสียหาย จนทำให้พระนามของฟาโรห์สูญหายไป และระยะเวลาการครองราชย์ของพระองค์หลงเหลือเพียงบางส่วน อาจจะอ่านได้ว่า 10, 20 หรือ 30 บวกกับจำนวนปีที่แน่นอน[2]

นอกจากนี้ หลักฐานยืนยันของพระองค์ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่หลักฐานร่วมสมัยแต่ก็อาจจะพบได้ใน Contra Apionem ของโจเซฟุส ซึ่งโจเซฟุสได้บันทึกว่าอ้างข้อมูลโดยตรงจาก แอกิปเทียกา (Αἰγυπτιακά) ของนักบวชชาวอียิปต์นามว่าแมนิโธ ซึ่งจะเขียนขึ้นในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์ปโตเลมีที่ 2 (ทรงครองราชย์ระหว่าง 283 – 246 ปีก่อนคริสตกาล) โดยไม่หลงเหลือสำเนาของแอกิปเทียกามาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว และในปัจจุบันเป็นที่ทราบผ่านการอ้างอิงในภายหลังโดยเซ็กตุส จูลิอุส แอฟริกานุส, โจเซฟุส และยูเซบิอุสเท่านั้น ตามงานเขียนของโจเซฟุส ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ในราชวงศ์ที่สิบห้าของแมนิโธคือ ซาลิทิส, บนอน, อะปัชนัน, อิอานนาส, อาร์คลีส/อัซซิส และอโพฟิส ซึ่งโดยทั่วไปเข้าใจว่า อะปัชนัน เป็นพระนามในภาษากรีกของฟาโรห์คยาน ในขณะที่พระนามอิอานนาส (กรีกโบราณ: Iαννας) จะเข้าใจได้ดีที่สุดว่าเป็นการเขียนพระนามที่ผิดพลาดของฟาโรห์ยานาสซิ โดยยืนยันว่าพระองค์ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์แห่งฮิกซอส และโจเซฟุสก็บันทึกเพิ่มเติมอีกว่า แมนิโธได้ระบุว่าฟาโรห์อิอานนาสทรงครองราชย์ที่ยาวนานอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้ถึง 50 ปีกับอีก 1 เดือน[5][6][7] ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม ประเด็นดังกล่าวหมายความว่า แมนิโธต้องถือว่ายานาสซิเป็นฟาโรห์ จนถึงปี ค.ศ. 2010 ความเห็นดังกล่าวได้ถูกปฏิเสธโดยความเห็นพ้องทางวิชาการในไอยคุปต์วิทยา ซึ่งถือว่าฟาโรห์อโพฟิสทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์โดยตรงของฟาโรห์คยาน ตามที่เสนอโดยไรฮอล์ท ซึ่งในความเข้าใจดังกล่าว ดูเหมือนว่าในบันทึกของแมนิโธที่กล่าวถึงทั้งฟาโรห์อิอานนาส/ยานาสซิ และฟาโรห์คยานนั้น โจเซฟุสได้เลือกอย่างผิดๆ แทนที่จะเลือกเป็นพระองค์อย่างหลัง[6] ซึ่งความเห็นดังกล่าวได้ถูกคัดค้านโดยการค้นพบทางโบราณคดีซึ่งบอกเป็นนัยว่า ฟาโรห์คยานอาจจะทรงขึ้นครองราชย์เร็วกว่าที่เคยคิดไว้ถึง 80 ปี ทำให้ต้องมีฟาโรห์หนึ่งหรือหลายพระองค์ที่จะต้องขึ้นครองราชย์ระหว่างพระองค์กับฟาโรห์อโพฟิส[8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Ryholt 1997, p. 256.
  2. 2.0 2.1 2.2 Aston 2018, p. 16.
  3. Bietak 1981, pp. 63–73.
  4. Ryholt 1997, p. 57 n.159.
  5. Gardiner 1961, p. 156.
  6. 6.0 6.1 Ryholt 1997, pp. 120–121.
  7. Aston 2018, p. 18.
  8. Aston 2018, p. 17.

บรรณานุกรม แก้

Aston, David A. (2018). "How Early (and How Late) Can Khyan Really Be. An Essay Based on "Conventional Archaeological Methods"". ใน Moeller, Nadine; Forstner-Müller, Irene (บ.ก.). The Hyksos ruler Khyan and the Early Second Intermediate Period in Egypt: Problems and Priorities of Current Research. Proceedings of the Workshop of the Austrian Archaeological Institute and the Oriental Institute of the University of Chicago, Vienna, July 4 – 5, 2014. Leberstraße 122 A-1110 Wien: Verlag Holzhausen GmbH. pp. 15–56. ISBN 978-3-902976-83-3.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
Bietak, Manfred (1981). "Eine Stele des ältesten Königssohnes des Hyksos Chajan". Mitteilungen des Deutschen Archäologischen Instituts, Abteilung Kairo (MDAIK). 37: 63–73.
Gardiner, Alan (1961). Egypt of the Pharaohs: an introduction. Oxford University Press. p. 156. ISBN 978-0-19-500267-6.
Ryholt, Kim (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800–1550 B.C. CNI publications, 20. Carsten Niebuhr Institute of Near Eastern Studies, University of Copenhagen : Museum Tusculanum Press. ISBN 978-87-7289-421-8.