ราชวงศ์อไบดอส ถูกสันนิษฐานว่าเป็นราชวงศ์ท้องถิ่นแห่งอียิปต์โบราณที่ปกครองเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น ซึ่งปกครองในบริเวณพื้นที่ส่วนต่างๆ ของอียิปต์กลางและอียิปต์บนในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สอง ราชวงศ์อไบดอสน่าจะอยู่ในช่วงเวลาร่วมสมัยกับราชวงศ์ที่สิบห้าและสิบหกแห่งอียิปต์ ตั้งแต่ราวประมาณ 1650 ถึง 1600 ปีก่อนคริสตกาล[1] โดยมีศูนย์การปกครองอยู่บริเวณในหรือรอบๆ เมืองอไบดอส และสุสานหลวงประจำราชวงศ์อาจจะตั้งอยู่ที่เชิงเขาแห่งอานูบิส ซึ่งเป็นเนินเขาที่มีลักษณะคล้ายพีระมิดในทะเลทรายบริเวณอไบดอส ใกล้กับสุสานหินตัดที่สร้างขึ้นสำหรับฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3

ราชวงศ์อไบดอส

ราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล–ราว 1600 ปีก่อนคริสตกาล
แผนที่อียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่สิบห้า อไบดอส และราชวงศ์ที่สิบหก
แผนที่อียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่สิบห้า อไบดอส และราชวงศ์ที่สิบหก
เมืองหลวงอไบดอส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์
• ก่อตั้ง
ราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
ราว 1600 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

การถกเถียงกันในเรื่องการมีอยู่ของราชวงศ์ แก้

หลักฐานสนับสนุนการมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอส แก้

 
The cartouche of pharaoh Woseribre Senebkay, inside the king's burial tomb.

การมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอสได้รับการเสนอความคิดครั้งแรกโดยเด็ตเลฟ แฟรงค์[2] และต่อมาได้อธิบายเพิ่มเติมโดยคิม รีฮอล์ต ในปี ค.ศ. 1997 โดยรีฮอล์ตได้ตั้งสังเกตว่า ปรากฏฟาโรห์ที่สามารถยืนยันได้แล้วจำนวนสองพระองค์ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ ฟาโรห์เวปวาเวตเอมซาฟ (การคุ้มครองของพระองค์คือเทพเวปวาเวต) และฟาโรห์พันทเจนิ (พระองค์แห่งไทนิส) ซึ่งปรากฏพระนามที่มีเกี่ยวข้องกับเมืองอไบดอส กล่าวคือ เทพเวปวาเวตเป็นเทพเจ้าที่สำคัญของเมืองอไบดอส และไทนิสเป็นเมืองที่สำคัญ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองอไบดอสไปทางเหนือไม่กี่ไมล์ นอกจากนี้ ฟาโรห์เวปวาเวตเอมซาฟ, ฟาโรห์พันทเจนิ และฟาโรห์สนาอิบ ซึ่งเป็นฟาโรห์อีกพระองค์หนึ่งในช่วงเวลาดังต่างเป็นที่ทราบมาจากจารึกเพียงชิ้นที่ค้นพบในเมืองอไบดอส ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่สื่อได้ว่าที่นี้คือศูนย์กลางแห่งอำนาจของเหล่าฟาโรห์ดังกล่าว[3] และสุดท้าย รีฮอล์ตก็ได้ให้เหตุผลว่าการมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอสจากการอธิบายในสิบหกรายพระนามของบันทึกพระนามแห่งตูรินในช่วงสิ้นสุดราชวงศ์ที่สิบหก ราชวงศ์อไบดอสอาจจะถูกสถาปนาขึ้นในช่วงเวลาหลังจากนั้นระหว่างการล่มสลายของราชวงศ์ที่สิบสามพร้อมกับการพิชิตเมืองเมมฟิสโดยชาวฮิกซอสและการรุกคืบทางใต้ของพวกฮิกซอสไปยังเมืองธีบส์[3]

การมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอสอาจจะได้รับการพิสูจน์ยืนยันในช่วงเดือนมกราคม ค.ค. 2014 เมื่อมีการค้นพบหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์พระนามว่า เซเนบคาย ซึ่งยังไม่ทราบตัวตนจากหลักฐานใดอื่น ทางตอนใต้ของเมืองอไบดอส พื้นที่ที่เรียกว่า "เนินเขาแห่งอานูบิส" ในสมัยโบราณ ถ้าฟาโรห์เซเนบคายมาจากราชวงศ์อไบดอสจริงๆ หลุมฝังพระบรมศพของพระองค์อาจจะสื่อถึงว่าที่นี้เป็นสุสานหลวงของราชวงศ์นี้ ซึ่งอยู่ติดกับสุสานหลวงของผู้ปกครองในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง[1] ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การขุดค้นได้เผยให้เห็นสุสานราชวงศ์ที่ไม่ปรากฏพระนามไม่น้อยกว่าแปดแห่งที่สร้างขึ้นในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สองซึ่งมีรูปแบบและขนาดใกล้เคียงกับที่ฝังพระบรมศพของฟาโรห์เซเนบคาย เช่นเดียวกันกับสุสานอีกสองแห่ง ซึ่งอาจจะเป็นพีระมิดที่สร้างขึ้นในช่วงกลางสมัยราชวงศ์ที่สิบสาม คือ สุสานหมายเลข เอส 9 และเอส 10 ซึ่งอาจจะเป็นสุสานของฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 1 และฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์[4]

หลักฐานโต้แย้งการมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอส แก้

นักวิชาการทุกคนไม่เห็นด้วยกับการมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอส อาทิ มาร์เซล มารี ได้สังเกตว่าสถานที่ผลิตที่ดำเนินการในอไบดอสและผลิตจารึกศิลาของฟาโรห์จำนวนสองพระองค์ที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์อไบดอส ซึ่งก็คือ ฟาโรห์พันทเจนิ และฟาโรห์เวปวาเวตเอมซาฟ นั้นมีแนวโน้มที่น่าจะผลิตจารึกศิลาของฟาโรห์ราโฮเทปจากราชวงศ์ที่สิบเจ็ดด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากราชวงศ์อไบดอสมีอยู่จริง สถานที่ผลิตจารึกศิลาแห่งนี้น่าจะสร้างจารึกศิลาให้กับสองราชวงศ์ที่เป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาตัดสินว่าไม่น่าจะเป็นไปได้[5] อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความแน่ชัดว่าทั้งสองราชวงศ์นี้อยู่ร่วมกันในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาใหม่ในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สองของคิม รีฮอล์ตนั้น ช่วงที่ราชวงศ์อไบดอสล่มสลายและช่วงที่ราชวงศ์ที่สิบเจ็ดถูกสถาปนาขึ้นอยู่ห่างจากกันราวประมาณ 20 ปี[3]

ในส่วนของหลักฐานสนับสนันการมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอสจากการค้นพบสุสานของฟาโรห์เซเนบคายในอไบดอส อเล็กซานเดอร์ อิลิน-โทมิช ก็ได้โต้แย้งว่า ฟาโรห์จากช่วงสมัยราชอาณาจักรกลางบางพระองค์ เช่น ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 และฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 ก็ทรงมีสุสานที่เมืองอไบดอสเช่นกัน แต่ไม่มีใครจัดฟาโรห์ดังกล่าวให้เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ท้องถิ่นอไบดอส ในทางตรงกันข้าม เขาสงสัยว่า ฟาโรห์เซเนบคาย อาจจะเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์สิบหกแห่งอียิปต์ ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์ หรือไม่[6]

พระราชอาณาเขต แก้

 
In red, the possible extent of power of the Abydos Dynasty

ถ้าหากราชวงศ์อบีดอสมีอยู่จริงนั้น ศูนย์กลางอำนาจการปกครองของราชวงศ์นี้น่าจะเป็นเมืองอไบดอสหรือเมืองไทนิส จารึกที่เป็นไปได้ของฟาโรห์เวปวาเวตเอมซาฟที่ถูกค้นพบโดยคาร์ล ริชาร์ด เล็พซิอุสในหลุมฝังศพ บีเฮช 2 ของผู้ปกครองท้องถิ่นเขตที่สิบหกนามว่า อเมนเอมฮัต ในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบสองที่บะนีฮะซัน ซึ่งอยู่ไปประมาณ 250 กิโลเมตร ทางเหนือของเมืองอไบดอสในอียิปต์กลาง หากการระบุแหล่งที่มาของจารึกนี้ถูกต้องและหากฟาโรห์เวปวาเวตเอมซาฟมาจากราชวงศ์ท้องถิ่นอไบดอสจริง อาณาเขตของราชวงศ์อไบดอสอาจจะขยายออกไปทางเหนือไกลถึงที่นั้น[3] เนื่องจากราชวงศ์นี้อยู่ร่วมสมัยกับราชวงศ์ที่สิบหก ดินแดนภายใต้การควบคุมของราชวงศ์อไบดอสจึงไม่สามารถขยายไปไกลกว่าเมืองฮู ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองอไบดอสไปทางใต้ 50 กิโลเมตร[3]

ผู้ปกครอง แก้

รายพระนามจำนวนสิบหกพระนามต่อไปนี้มาจากบันทึกพระนามแห่งตูรินที่อาจจะเกี่ยวข้องกับราชวงส์ที่สิบหกแห่งอียิปต์โดยคิม รีฮอล์ต:[3]

ฟาโรห์แห่งราชวงศ์อไบดอส
พระนามครองพระราชบัลลังก์ ลำดับรายพระนามในบันทึกพระนามแห่งตูริน การถอดเสียงตามพยัญชนะ
วอเซอร์[...]เร คอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 16 Wsr-[...]-Rˁ
วอเซอร์[...]เร คอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 17 Wsr-[...]-Rˁ
พระนามสูญหายจำนวน 8 พระนาม คอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 18-25
[...]เฮบเร คอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 26 [...]-hb-[Rˁ]
พระนามสูญหายจำนวน 3 พระนาม คอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 27-29
[...]เฮบเร (ไม่แน่ชัด) คอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 30 [...]-ḥb-[Rˁ]
[...]เวบเอนเร คอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 31 [...]-wbn-[Rˁ]

ผู้ปกครองบางพระองค์ข้างต้นอาจจะระบุตัวตนกับฟาโรห์ทั้งสี่พระองค์ที่ได้รับการยืนยันแล้ว ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์อไบดอสโดยไม่ได้คำนึงถึงลำดับเวลาที่ไม่ทราบ:

ฟาโรห์แห่งราชวงศ์อไบดอส
พระนาม รูปภาพ คำอธิบาย
เซคเอมราเนเฟอร์คาอู เวปวาเวตเอมซาฟ
 
อาจจะเป็นฟาโรห์ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ที่สิบหก[7]
เซคเอมเรคูทาวี พันทเจนิ
 
อาจจะเป็นฟาโรห์ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ที่สิบหก[7]
เมนคาอูเร สนาอิบ
 
อาจจะเป็นฟาโรห์ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ที่สิบสาม[8][9][10]
วอเซอร์อิบเร เซเนบคาย
 
อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ที่ทรงใช้พระนาม วอเซอร์[...]เร ตามที่ปรากฏในบันทึกพระนามแห่งตูริน
คูอิเกอร์
 
ช่วงเวลาและรัชสมัยแห่งการครองราชย์ยังไม่แน่นอน โดยเด็ตเลฟ แฟรงค์ สันนิษฐานว่า พระองค์มาจากราชวงศ์อไบดอส[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Giant Sarcophagus Leads Penn Museum Team in Egypt To the Tomb of a Previously Unknown Pharaoh". Penn Museum. January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-24. สืบค้นเมื่อ 16 Jan 2014.
  2. Detlef Franke: Zur Chronologie des Mittleren Reiches. Teil II: Die sogenannte Zweite Zwischenzeit Altägyptens, In Orientalia 57 (1988), p. 259
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Ryholt, K.S.B. (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. Museum Tusculanum Press. p. 164. ISBN 8772894210.
  4. Josef W., Wegner (2015). "A royal necropolis at south Abydos: New Light on Egypt's Second Intermediate Period". Near Eastern Archaeology. 78 (2): 68–78. doi:10.5615/neareastarch.78.2.0068. S2CID 163519900.
  5. Marcel Marée: A sculpture workshop at Abydos from the late Sixteenth or early Seventeenth Dynasty, in: Marcel Marée (editor): The Second Intermediate period (Thirteenth-Seventeenth Dynasties), Current Research, Future Prospects, Leuven, Paris, Walpole, MA. 2010 ISBN 978-90-429-2228-0. p. 247, 268
  6. Alexander Ilin-Tomich: The Theban Kingdom of Dynasty 16: Its Rise, Administration and Politics, in: Journal of Egyptian History 7 (2014), 146; Ilin-Tomich, Alexander, 2016, Second Intermediate Period. In Wolfram Grajetzki and Willeke Wendrich (eds.), UCLA Encyclopedia of Egyptology, Los Angeles. http://digital2.library.ucla.edu/viewItem.do?ark=21198/zz002k7jm9 p. 9-10
  7. 7.0 7.1 Marcel Marée: A sculpture workshop at Abydos from the late Sixteenth or early Seventeenth Dynasty, in: Marcel Marée (editor): The Second Intermediate period (Thirteenth-Seventeenth Dynasties), Current Research, Future Prospects, Leuven, Paris, Walpole, MA. 2010 ISBN 978-90-429-2228-0. p. 247, 268
  8. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
  9. Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46. Mainz am Rhein, 1997
  10. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien 49, Mainz 1999.
  11. Schneider, T. (2009). "Das Ende der kurzen Chronologie: Eine kritische Bilanz der Debatte zur absoluten Datierung des Mittleren Reiches und der Zweiten Zwischenzeit". Ägypten und Levante. 18: 275–314. doi:10.1553/aeundl18s275. ISSN 1015-5104.