ราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ (อังกฤษ: Sixteenth Dynasty of Egypt หรือ Dynasty XVI)[1] เป็นราชวงศ์ของเหล่าฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณที่ทรงปกครองในพื้นที่บริเวณธีบส์ในอียิปต์บน[2] เป็นระยะเวลา 70 ปี[3]

ราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์

1649 ปีก่อนคริสตกาล–1582 ปีก่อนคริสตกาล
สถานการณ์ทางการเมืองในอียิปต์ในช่วงการมีอยู่ของราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ ระหว่างราว 1650 จนถึงราว 1590 ปีก่อนคริสตกาล
สถานการณ์ทางการเมืองในอียิปต์ในช่วงการมีอยู่ของราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ ระหว่างราว 1650 จนถึงราว 1590 ปีก่อนคริสตกาล
เมืองหลวงธีบส์
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคทองแดง
• ก่อตั้ง
1649 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
1582 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

ราชวงศ์นี้พร้อมกับราชวงศ์ที่สิบห้า และราชวงศ์ที่สิบเจ็ด ถูกจัดรวมกันในช่วงเวลาที่เรียกกันว่า สมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สอง (ระหว่าง 1650 – 1550 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เห็นการแบ่งบริเวณอียิปต์บนและอียิปต์ล่างระหว่างฟาโรห์ที่ปกครองธีบส์และกษัตริย์ชาวฮิกซอส ซึ่งเป็นกษัตริย์จากราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองอวาริส

การมีอยู่ของราชวงศ์

แก้

ในบรรดามุมมองหลักสองมุมมองจากแอจิปเทียกาของมาเนโธนั้น ราชวงศ์ที่สิบหกได้รับการอธิบายโดย[4] แอฟริกานัส (สนับสนุนโดยซิลเซลลัส)[5] ได้อธิบายในส่วนของ "เหล่ากษัตริย์ฮิกซอสผู้เลี้ยงแกะ" ส่วนฟาโรห์แห่งธีบส์ได้รับการอธิบายจากยูเซเบียส[4]

คิม รีฮอล์ต (1997) ตามด้วยจานีน บูร์เรียว (2003) ในการตีความบันทึกพระนามแห่งตูรินใหม่นั้น ได้ตีความรายพระนามฟาโรห์ที่มีศูนย์การปกครองอยู่ในเมืองธีบส์ เพื่อประกอบเป็นราชวงศ์ที่สิบหกตามมาเนโธ ถึงแม้ว่านี่จะเป็นหนึ่งในข้อสรุปที่ "เป็นที่ถกเถียงและกว้างขว้างที่สุด" ของรีฮอล์ต[4] ด้วยเหตุนี้นักวิชาการคนอื่นๆ จึงไม่ติดตามรีฮอล์ต และเห็นว่ามีเพียงหลักฐานไม่เพียงพอสำหรับการตีความให้ราชวงศ์ที่สิบหกเป็นราชวงศ์ที่มีศูนย์กลางที่เมืองธีบส์ได้[6]

ประวัติราชวงศ์

แก้

การทำสงครามอย่างต่อเนื่องกับราชวงศ์ที่สิบห้านั้นได้กินเวลาตลอดช่วงการปกครองอันสั้นของราชวงศ์ที่สิบหก กองทัพของราชวงศ์ที่สิบห้าได้รบชนะเมืองแล้วเมืองเล่าจากศัตรูทางใต้ของพวกเขา ซึ่งได้รุกล้ำอาณาเขตการปกครองของราชวงศ์ที่สิบหกอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดกองทัพก็ได้รุกรนยและพิชิตเมืองธีบส์ได้ จากการศึกษาในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สอง คิม รีฮอล์ต นักไอยคุปต์วิทยา ได้เสนอความเห็นว่า ฟาโรห์เดดูโมสที่ 1 ทรงโปรดให้ขอพักรบในช่วงปลายราชวงศ์[3] แต่ฟาโรห์เนบอิร์ริราวที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ปกครองก่อนหน้า อาจจะทรงประสบความสำเร็จมากกว่าและดูเหมือนว่าจะปรากฏความสุขสงบขึ้นในรัชสมัยของพระองค์[3]

ทุพภิกขภัยซึ่งระบาดในบริเวณอียิปต์บนในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบสาม และตลอดช่วงราชวงศ์ที่สิบสี่ ส่งผลให้ราชวงศ์ที่สิบหกก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จะเห็นได้ชัดที่สุดในช่วงระหว่างและภายหลังจากรัชสมัยของฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3[3]

เหล่าผู้ปกครอง

แก้

นักวิชาการได้เสนอลำดับเหตุการณ์และรายพระนามของผู้ปกครองต่างๆ ที่เกี่ยวกับราชวงศ์นี้ รายพระนามเหล่านี้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนของรายพระนามที่สันนิษฐานว่าเป็นราชวงศ์ที่สิบหกที่ประกอบไปด้วยข้าหลวงชาวฮิกซอส ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ และวูล์ฟกัง เฮลก์ และส่วนของรายพระนามที่มีการสันนิษฐานว่าราชวงศ์ที่สิบหกเป็นราชอาณาจักรอิสระที่มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์ตามที่คิม รีฮอล์ตได้เสนอเมื่อเร็ว ๆ นี้

ข้าหลวงแห่งฮิกซอส

แก้

รายพระนามผู้ปกครองแบบดั้งเดิมของราชวงศ์ที่สิบหกได้จัดกลุ่มกษัตริย์ที่เชื่อว่าเป็นข้าหลวงแห่งฮิกซอส ซึ่งบางพระองค์ก็ทรงมีพระนามเป็นภาษาเซมิติก เช่น เซมเกน และอนัต-เฮอร์ รายพระนามของผู้ปกครองจะแตกต่างกันไปตามแต่นักวิชาการ ซึ่งระบุไว้ในคู่มือพระนามแห่งอียิปต์ (Handbuch der ägyptischen Königsnamen) ในช่วงราชวงศ์ที่สิบห้า/สิบหกของเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ[7] วูล์ฟกัง เฮลก์ได้เชื่อว่าราชวงศ์ที่สิบหกเป็นรัฐบริวารของชาวฮิกซอส ซึ่งเสนอรายพระนามกษัตริย์ที่แตกต่างกันเล็กน้อย[8] ผู้ปกครองหลายพระองค์ที่ระบุไว้ในราชวงศ์ที่สิบหกภายใต้การสมมติฐานที่ว่า เหล่าผู้ปกครองดังกล่าวเป็นข้าหลวงแห่งฮิกซอส ซึ่งจะถูกจัดให้อยู่ในราชวงศ์ที่สิบสี่ ในส่วนของข้อสมมติฐานที่ว่าราชวงศ์ที่สิบหกเป็นราชอาณาจักรอิสระที่มีศูนย์กลางการเมืองการปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์ จะปรากฏลำดับเหตุการณ์ไม่แน่นอนเป็นส่วนใหญ่

ราชวงศ์ที่สิบห้า/สิบหกแห่งอียิปต์ในฐานะของข้าหลวงแห่งฮิกซอส[7]
พระนาม รัชสมัย คำอธิบาย
อาจเป็นเจ้าชายจากราชวงศ์ที่สิบห้า หรือหัวหน้าเผ่าชาวคานาอัน ซึ่งอยู่ร่วมสมัยกับราชวงศ์ที่สิบสอง
อาจจะอยู่ในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบห้า
อาจจะอยู่ในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบห้า
อาจจะอยู่ในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบห้า
อเปปิ
อาจจะผู้ปกครองชาวฮิกซอสพระองค์เดียวกันกับอเปปิ
อาจจะอยู่ในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบสี่
อาจจะอยู่ในช่วงปลายของราชวงศ์ที่สิบสี่
อาจจะอยู่ในราชวงศ์ที่สิบเจ็ด
อาจจะผู้ปกครองชาวฮิกซอสพระองค์เดียวกันกับ'อัมมู
ยังเป็นที่ถกเถียงเกี่ยวข้องกับความเป็นกษัตริย์
ยังเป็นที่ถกเถียงเกี่ยวข้องกับความเป็นกษัตริย์
[...]คาเร
[...]คาเร
[...]คาเร
อาจจะอยู่ในราชวงศ์ที่สิบห้า ยืนยันจากเพียงแหล่งข้อมูลในภายหลังเท่านั้น
อาจจะอยู่ในราชวงศ์ที่สิบสี่
อาจจะเป็นฟาโรห์กาเรห์ อาจจะอยู่ในราชวงศ์ที่สิบสี่
มีความเป็นไปได้ว่าเป็นพระนาม เชเนห์ มากกว่า เชเนส และอาจจะอยู่ในราชวงศ์ที่สิบสี่
'อ[...]
ฮิเบ
อเปด
ไม่แน่ชัด
ฮาปิ
เมนิ[...]

ราชอาณาจักรอิสระแห่งธีบส์

แก้

จากการศึกษาในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1997 ของคิม รีฮอล์ต นักอียิปต์วิทยาชาวเดนมาร์กนั้น ได้เสนอความเห็นที่ว่า ราชวงศ์ที่สิบหกเป็นอาณาจักรที่เป็นอิสระ จากการตีความบันทึกพระนามแห่งตูรินใหม่ของรีฮอล์ต ซึ่งปรากฏฟาโรห์จำนวน 15 พระองค์ที่สามารถเชื่อมโยงกับราชวงศ์นี้ได้ โดยหลายพระองค์ได้รับการยืนยันจากแหล่งข้อมูลร่วมสมัย[2] ถึงแม้ว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองธีบส์ แต่บางคนอาจเป็นผู้ปกครองท้องถิ่นจากเมืองสำคัญอื่นๆ ของอียิปต์บน รวมทั้งอไบดอส อัล-คับ และเอ็ดฟู[2] ในรัชสมัยของฟาโรห์เนบอิร์ริอาอูที่ 1 อาณาจักรที่ปกครองโดยราชวงศ์ที่สิบหกได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างน้อยที่สุดทางเหนือถึงเมืองฮูและทางใต้ถึงเมืองเอ็ดฟู[3][9] และไม่ปรากฏพระนามของฟาโรห์เวปวาเวตเอมซาฟในบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งค้นพบจารึกศิลาที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ที่อไบดอส และสันนิษฐานว่าพระองค์เป็นผู้ปกครองท้องถิ่นจากราชวงศ์อไบดอส[2]

รีฮอล์ตได้เสนอรายพระนามฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบหก ดังที่แสดงในตารางด้านล่าง[10] ส่วนคนอื่น ๆ เช่น เฮลก์, แวนเดอร์สลีเยน, เบ็นเน็ตต์ ได้รวมผู้ปกครองเหล่านี้เข้ากับราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์[11] รายพระนามผู้ปกครองได้ระบุไว้ที่นี่ตามรีฮอล์ตและเรียงตามลำดับเวลา:

ราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ในฐานะราชอาณาจักรอิสระแห่งธีบส์[12]
พระนาม รัชสมัย คำอธิาย
ไม่ทราบ
1649–1648 ปีก่อนคริสตกาล
พระนามสูญหายไปจากส่วนทที่เสียหายของบันทึกพระนามแห่งตูริน
1648–1645 ปีก่อนคริสตกาล
1645–1629 ปีก่อนคริสตกาล
1629–1628 ปีก่อนคริสตกาล
1628–1627 ปีก่อนคริสตกาล
1627–1601 ปีก่อนคริสตกาล
1601 ปีก่อนคริสตกาล
1601–1600 ปีก่อนคริสตกาล
1600–1588 ปีก่อนคริสตกาล
1588 ปีก่อนคริสตกาล
ไม่ทราบ
1588–1582 ปีก่อนคริสตกาล
พระนามฟาโรห์จำนวนห้าพระองค์สูญหายไปจากส่วนทที่เสียหายของบันทึกพระนามแห่งตูริน

ส่วนฟาโรห์พระองค์อื่นๆ ที่ถูกจัดว่าเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์นี้ตามข้อสันนิษฐานของรีฮอล์ต แต่ลำดับตำแหน่งไม่แน่นอน โดยฟาโรห์เหล่านี้อาจจะสอดคล้องกับฟาโรห์จำนวน 5 พระองค์ที่สูญหายไปในบันทึกพระนามแห่งตูริน:[13]

ราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ในฐานะราชอาณาจักรอิสระแห่งธีบส์ (ลำดับตำแหน่งไม่แน่นอน)
พระนาม รัชสมัย คำอธิบาย
อาจจะทรงพยายามยุติการสู้รบกับชาวฮิกซอส เพื่อความสันติภาพ
ค้นพบรูปสลักขนาดมหึมาของพระองค์ที่คาร์นัก[14]

อ้างอิง

แก้
  1. Kuhrt 1995: 118
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Bourriau 2003: 191
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Ryholt 1997: 305
  4. 4.0 4.1 4.2 Bourriau 2003: 179
  5. Cory 1876
  6. see for example, Quirke, in Maree: The Second Intermediate Period (Thirteenth - Seventeenth Dynasties, Current Research, Future Prospects, Leuven 2011, Paris — Walpole, MA. ISBN 978-9042922280, p. 56, n. 6
  7. 7.0 7.1 Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6
  8. Wolfgang Helck, Eberhard Otto, Wolfhart Westendorf, Stele - Zypresse: Volume 6 of Lexikon der Ägyptologie, Otto Harrassowitz Verlag, 1986, Page 1383
  9. Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, pp. 256-257
  10. Kings of the Second Intermediate Period 16th dynasty (after Ryholt 1997)
  11. Chris Bennet, A Genealogical Chronology of the Seventeenth Dynasty, Journal of the American Research Center in Egypt, Vol. 39 (2002), pp. 123-155
  12. Kim Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800 - 1550 BC, Copenhagen: Museum Tusculanum Press, ISBN 8772894210, 1997.
  13. Kim Ryholt's 16th dynasty on Digital Egypt for Universities
  14. Georges Legrain: Statues et statuettes de rois et de particuliers, in Catalogue général des antiquités égyptiennes du Musée du Caire, Le Caire, 1906. I, 171 pp., 79 pls, available copyright-free online เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, published in 1906, see p. 18 and p. 109

บรรณานุกรม

แก้