ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 6

เมอร์อังค์เร เมนทูโฮเทป (อังกฤษ: Merankhre Mentuhotep) หรือ เมนทูโฮเทปที่ 6 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์สิบหก โดยมีศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์ในอียิปต์บนในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่ 2 พระองค์อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบสี่ของราชวงศ์[3]

หลักฐานยืนยัน แก้

พระองค์ทรงได้รับการยืนยันตัวตนจากรูปสลักขนาดเล็กจำนวนสองชิ้นเท่านั้นคือ JE 37418/CG 42021 และ BM EA 65429 ซึ่งชิ้นแรกค้นพบที่มุมที่ซ่อนอยู่ในคาร์นัก โดยฌอร์ฌ เลอแยง[4] ส่วนศีรษะและเท้าของรูปสลักได้สูญหาย แต่ปรากฏพระนามส่วนพระองค์และพระนามครองพระราชบบัลลังก์และรูปสลักดังกล่าวอุทิศแด่เทพโซเบค เจ้าแห่งสเมนู ส่วนรูปสลักชิ้นที่สองนั้นไม่ทราบที่มา ซึ่งปรากฏพระนามของฟาโรห์เช่นกัน แต่ไม่มีการอุทิศ

หลักฐานยืนยันที่เป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งของพระองค์คือชิ้นส่วนของโลงศพไม้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติช แค็ตตาล็อกหมายเลข BM EA 29997 โดยปรากฏข้อความต่อไปนี้:

ขุนนางผู้สูงศักดิ์ ตัวแทนแห่งพระราชวงศ์ พระราชเชษฐโอรสแห่งกษัตริย์ ผู้บัญชาการอาวุโส เฮรูเนเฟอร์ ผู้มีสุรเสียงอันแท้จริง ผู้ถือกำเนิดโดยกษัตริย์ เมนทูโฮเทป ผู้มีสุรเสียงอันแท้จริง และประสูติจากพระนางซิตมุท ผู้อาวุโส

ไม่ปรากฏพระนามครองพระราชบัลลังก์และยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการระบุตัวตนพระองค์ อย่างไรก็ตาม คิม รีฮอล์ตได้ตั้งข้อสังเกตว่าโลงศพดังกล่าวยังบันทึกด้วยข้อความในคัมภีร์มรณะรูปแบบแรกๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในสองบันทึกคัมภีร์มรณะก่อนสมัยราชอาณาจักรใหม่ รีฮอล์ตจึงเสนอความเห็นว่า ฟาโรห์เมนทูโฮเทป พระองค์นี้จะทรงต้องขึ้นครองราชย์ในช่วงปลายของสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่ 2 จึงทำให้มีฟาโรห์จำนวนสามพระองค์ที่ถูกสันนิษฐานว่าเป็นฟาโรห์ที่ปรากฏใรข้อความดังกล่าว คือ ฟาโรห์เซอังค์เอนเร เมนทูโฮเทปอิ, ฟาโรห์เซวัดจ์เอนเร เมนทูโฮเทปที่ 5 และฟาโรห์เมอร์อังค์เร เมนทูโฮเทปที่ 6 ถึงแม้ว่าพระนาม เมนทูโฮเทปอิ อาจจะฟังดูคล้ายกับพระนาม เมนทูโฮเทป แต่รีฮอล์ตได้แสดงความเห็นว่า เมนทูโฮเทปอิ เป็นพระนามที่แตกต่างจากพระนาม เมนทูโฮเทป ดังนั้น ทำให้ฟาโรห์เซอังค์เอนเร เมนทูโฮเทปอิ จึงไม่ได้เป็นบุคคลคนเดียวกัยหับฟาโรห์เมนทูโฮเทปพระองค์ดังกล่าว ในการพิจารณาระหว่างฟาโรห์ที่เหลืออีกสองพระองค์ รีฮอล์ตได้ตั้งข้อสังเกตอีกว่า ตัวอย่างอีกอย่างหนึ่งของคัมภีร์มรณะนั้นพบอยู่บนโลงพระศพของพระนางเมนทูโฮเทป ซึ่งเป็นพระมเหสีในฟาโรห์ดเจฮูติ ผู้เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์ที่สิบหก ซึ่งครองราชย์ในช่วงประมาณ 1645 ปีก่อนคริสตกาล ในกรณีนี้ ข้อความทั้งหมดเกือบจะเหมือนกันกับข้อความที่ปรากฏบนโลงพระศพของเฮรูเนเฟอร์ ซึ่งเห็นว่าทั้งสองพระองค์อยู่ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน ในขณะที่ฟาโรห์เซวัดจ์เอนเร เมนทูโฮเทป ทรงขึ้นครองราชย์ราวประมาณ 10 ปีก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์ดเจฮูติ จึงเชื่อว่าฟาโรห์เมอร์อังค์เร เมนทูโฮเทป ทรงขึ้นครองราชย์ราวประมาณ 60 ปีหลังจากพระองค์ ดังนั้น รีฮอล์ตจึงสรุปว่าฟาโรห์เซวัดจ์เอนเร เมนทูโฮเทป คือ ฟาโรห์ที่ปรากฏในข้อความโลงพระศพ แต่ยังไม่มีการระบุอย่างแน่นอนเกี่ยวพระมเหสีพระนามว่า ซิตมุต และพระราชโอรสพระนามว่า เฮรูเนเฟอร์ อย่างไรก็ตาม ไอแดน ด็อดสัน และไดแอน ฮิลตัน ได้ระบุซึ่งย้อนไปถึงช่วงปลายของราชวงศ์ที่สิบหกแทน ด้วยเหตุนี้จึงให้ เฮรูเนเฟอร์ จึงเป็นพระราชโอรสและพระนางซิตมุต จึงเป็นพระมเหสีในฟาโรห์เมอร์อังค์เร เมนทูโฮเทปที่ 6[5]

ตำแหน่งตามลำดับเวลา แก้

พระองค์ทรงไม่ปรากฏอยู่ในชิ้นส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่ของบันทึกพระนามแห่งตูริน รัชสมัยของพระองค์และของฟาโรห์อีกสี่พระองค์ในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบหกได้สูญหายไปในส่วนที่เสียหายของบันทึกพระนามดังกล่าว[2] ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนตามลำดับเวลาตลอดจนระยะเวลาในรัชสมัยของพระองค์ได้ รีฮอล์ตจึงเสนอความเห็นว่า พระองค์เป็นฟาโรห์ในช่วงปลายของราชวงศ์ที่สิบหก โดยอาศัยหลักฐานสองข้อ คือ ประการแรก พระนาม เมอร์อังค์เร ของพระองค์ มีรูปแบบพระนามคือ X-ankh-re ซึ่งคล้ายกับพระนาม ดเจดอังค์เร ของฟาโรห์มอนต์เอมซาฟ และฟาโรห์ทั้งสองพระองค์ทรงใช้พระนาม Montu-X ซึ่งบ่งบอกว่าฟาโรห์ทั้งสองพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงเวลาใกล้ชิดกัน ประการที่สอง รูปสลักชิ้นแรกของพระองค์ที่ถูกสร้างเพื่ออุทิศให้แด่เทพโซเบคแห่งสเมนูหรือซูเมนู ดังนั้นสถานที่ดังกล่าวอาจจะตั้งอยู่ที่อัล-มาฮามิด กิบลิ ซึ่งอยู่กับใกล้เกเบลีน สถานที่ดังกล่าวได้ค้นพบหลักฐานยืนยันของทั้งฟาโรห์เดดูโมสที่ 2 และฟาโรห์ดเจดอังค์เร มอนต์เอมซาฟ ก่อนที่ถูกย้ายไปยังมุมที่ซ่อนอยู่ในคาร์นักในภายหลัง ในช่วงเวลานั้น บางทีอาจจะเป็นช่วงล่มสลายของราชวงศ์ก็ได้

ในการศึกษาที่เก่ากว่าที่ศึกษาขึ้นในปี ค.ศ. 1964 โดยเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ พระองค์ทรงถูกจัดให้เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์แทน[6]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 New arrangement on Digital Egypt for Universities
  2. 2.0 2.1 Kim Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period c.1800-1550 B.C, Museum Tusculanum Press, (1997)
  3. Darell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300 - 1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 232
  4. IFAO, The Karnak cachette: complete list of objects
  5. Aidan Dodson, Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt, Thames and Hudson, 2004.
  6. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt 1964, S. 63, 255–256 (XIII G.)