ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่สิบสาม แห่งอียิปต์โบราณ (อังกฤษ: Thirteenth Dynasty of Egypt ,Dynasty XIII)เป็นราชวงศ์ที่มักจะรวมกับราชวงศ์ที่สิบเอ็ด ,สิบสอง และราชวงศ์ที่สิบสี่ ภายใต้ใน สมัยราชอาณาจักรกลาง แต่นักเขียนบางคนมักแยกราชวงศ์ที่สิบสามออกจากราชวงศ์เหล่านี้ และเข้าร่วมกับราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์โบราณจนถึงราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์โบราณ และเป็นส่วนหนึ่งในสมัยช่วงต่อที่สองแห่งอียิปต์ ราชวงศ์ที่สิบสาม ปกครองตั้งแต่ประมาณ 1,802 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงประมาณ 1649 ปีก่อนคริสตกาล รวมทั้งหมด 153 ปี [1]

ราชวงศ์ที่สิบสาม เป็นราชวงศ์ที่ต่อเนื่องโดยตรงจากราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์โบราณ โดยมีปฐมกษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสาม เชื่อกันว่าเป็นพระราชโอรสในฟาโรห์อเมเนมฮัตที่ 4[1] Kim Ryholtเสนอว่าแบ่งเขตแดนระหว่างสองราชวงศ์ ทำให้มีการเพิ่มราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ ที่เป็นอิสระในทางตะนออกของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ เหตุการณ์ที่ Kim Ryholtเสนอเกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์หญิงโซเบคเนเฟรู[1] ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ มีพระราชอำนาจตั้งแต่เมืองเมมฟิสทางเหนือ ตอนกลางจนถึงอียิปต์ตอนบน ตลอดจนถึงน้ำตกแห่งที่สองของแม่น้ำไนล์ พระราชอำนาจของกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่สิบสาม ค่อยๆเสื่อมลงในช่วงปีที่ 150 ของราชวงศ์ และในที่สุดก็สิ้นสุดลงด้วยการพิชิตเมืองเมมฟิสโดยกษัตริย์แห่งชาวฮิกซอสแห่งราชวงศ์ที่สิบห้าของอียิปต์ก่อน 1650 ปีก่อนคริสต์ศักราช [1]

พระมหากษัตริย์แก้ไข

ในตำราสมัยนี้ ราชวงศ์ที่สิบสามมักจะถูกอธิบายว่าเป็นยุคแห่งความวุ่นวาย อย่างไรก็ตามราชวงศ์นี้อาจสงบสุข มากกว่าสมัยราชอาณาจักรกลางในเมืองหลวงเก่าอย่างเมือง ฮิท-ทาวี ใกล้กับ ไฟยุม ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ที่มีพระมหากษัตริย์จำนวนมากแต่มีครองราชที่สั้น และมีเพียงไม่กี่พระองค์ที่ได้รับการรับรองว่ามีอยู่จริง

ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสาม
พระรูป พระนาม สุสาน พระมเหสี ความคิดเห็น
  เซกเอมเร คูทาวี โซเบคโฮเทปที่ 1 สันนิฐานว่าพระองค์เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่สิบสาม[2][3] แต่ในการศึกษาเก่าผู้ก่อตั้งราชวงศ์คือ ฟาโรห์เวกาฟ
  โซนเบฟ ทรงอาจจะเป็นพระราชโอรสในฟาโรห์อเมเนมฮัตที่ 4 และพระเชษฐา(พี่ชาย)

หรือพระอนุชา(น้องชาย)ของ โซเบคโฮเทปที่ 1[2]

  เนริคาเร
  เซเคมคาเร อเมเนมฮัตที่ 5
  อเมนี เคมาอู พีระมิดฟาโรห์อเมนี เคมาอู
  โฮเทปอิบเร เคมาอู ซิฮาร์เนดจ์เฮริเทฟ[4] ทรงอาจจะเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกับ เซโฮเทปอิบเร

ซึ่งปรากฏในบันทึกพระนามแห่งตูริน

อิอูฟนิ ปรากฏหลักฐานเฉพาะบันทึกพระนามแห่งตูริน
  เซอังค์คิบเร อเมนี-อินเทฟ-อเมเนมฮัตที่ 6
  เซเมนคาเร เนบนูนิ
  เซเฮเทปอิบเร เซเวเซคทาวี
เซวัดจ์คาเรที่ 1 ปรากฏหลักฐานเฉพาะบันทึกพระนามแห่งตูริน
เนดเจมอิบเร ปรากฏหลักฐานเฉพาะบันทึกพระนามแห่งตูริน
  คาอังค์เร โซเบคโฮเทปที่ 2
เรนเซเนบ อเมเนมฮัต
  ฮอร์ อวิบเร สุสานที่เมืองดาห์ชูร์ ใกล้กับ

พีระมิดฟาโรห์อเมนเนมฮัตที่ 3

ราชินีนับเฮเทปติ-เคเรด(?)
  เซเคมเรคูทาวี คาบาว อาจเป็นพระราชโอรสในฟาโรห์ฮอร์
  ดเจตจ์เคเปอร์เรว อาจเป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาของฟาโรห์คาบาว
  เซ'ดเจฟาคาเร คาย-อเมเนมฮัตที่ 7
  คูทาวีเร เวกาฟ
  ยูเซอร์คาเร เคนดเจอร์ พีระมิดฟาโรห์เคนดเจอร์,

เมืองซัคคาราใต้

ราชินีเซเนบ[เซนัส?] อาจมีพระนามว่า นิมาอัตเร
  สเมงห์คาเร อิมมีเรเมสฮาว ราชินีอายา(อี้)?
  เซเฮเทปคาเร อินเทฟที่ 4 ราชินีอายา(อี้)?
  เซธ เมริอิบเร
  เซเคมเรเซวัดจ์ทาวี โซเบคโฮเทปที่ 3 ราชินี

เซเนบเฮนัส[5]

ราชินีเนนิ[5]

  คาเซเคมเร เนเฟอร์โฮเทปที่ 1 สุสานอาจอยู่ที่เมืองอไบดอส ราชินีเซเนบเซน[5]
  เมนวัดจ์เร ซิฮาเธอร์ ทรงอาจเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราวของพระเชษฐาหรือ

พระอนุชาของฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 1

  คาเนเฟอร์เร โซเบคโฮเทปที่ 4 สุสานอาจอยู่ที่เมืองอไบดอส

รหัสสุสาน:เอส10(อไบดอส)

ราชินีทจาน[5] อาจเป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาของฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 1 และฟาโรห์ซิฮาเธอร์
  เมอร์โฮเทปเร โซเบคโฮเทปที่ 5 ราชินีนับคาเอส?[5]
  คาโฮเทปเร โซเบคโฮเทปที่ 6
  วาฮ์อิบเร อิบเอียอู
  เมอร์เนเฟอร์เร ไอย์ พีระมิดไม่ทราบตำแหน่ง

อาจจะอยู่ใกล้เมืองเมมฟิส[6]

ราชินีไอเนนิ? ทรงครองราชได้ 23 ปีซึ่งเป็นรัชกาลที่ยาวนานที่สุดของราชวงศ์

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายที่เป็นผู้ปกครองอียิปต์ตอนล่าง

และอียิปต์ตอนบน

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Kim S. B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800-1550 B.C., Museum Tusculanum Press 1997, p.197
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ KR
  3. Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008
  4. K. S. B. Ryholt, Hotepibre, a Supposed Asiatic King in Egypt with Relations to Ebla, Bulletin of the American Schools of Oriental Research, No. 311 (Aug., 1998), pp. 1-6
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WG
  6. Labib Habachi: Khata'na-Qantir: Importance, ASAE 52 (1954) pp.471-479, pl.16-17
  • Clayton, Peter A. Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson Ltd., 2006. ISBN 0500286280.


ก่อนหน้า ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ ถัดไป
ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์   ราชวงศ์แห่งอียิปต์
(ประมาณ 1803–1649 ปีก่อนคริสตกาล)
  ราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์