ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ เป็นราชวงศ์ที่ผู้ปกครองเหล่านี้มีหลักฐานยืนยันเป็นอย่างดี รัชสมัยของผู้ปกครองพระองค์ที่อยู่ก่อนหน้ารัชสมัยฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 จะถูกจัดรวมกลุ่มกับอีก 4 ราชวงศ์ก่อนหน้าให้อยู่ในสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง โดยในขณะที่ผู้ปกครองภายในราชวงศ์ช่วงหลังจะถือว่าอยู่ในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง และศูนย์กลางงการเมืองการปกครองของฟาโรห์จากราชวงศ์นี้อยู่ที่เมืองธีบส์ในดินแดนอียิปต์บน

ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์

ราว 2150–1991 ปีก่อนคริสตกาล
จารึกพิธีพระบรมศพของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 จุดแสดงอยู่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน
จารึกพิธีพระบรมศพของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 จุดแสดงอยู่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน
เมืองหลวงธีบส์
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคทองแดง
• ก่อตั้ง
ราว 2150
• สิ้นสุด
1991 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ แก้

ลำดับเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กันของราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ ได้รับการพิสูจน์ยืนยันอย่างดีจากหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัย เว้นแต่ฟาโรห์อินเตฟและฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 ที่มีหลักฐานยืนยันมาจากบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน[1]

จากข้อมูลของมาเนโท ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดประกอบด้วยฟาโรห์จำนวน 16 พระองค์ ซึ่งทั้งหมดครองราชย์รวมกันเป็นเวลา 43 ปีนั้นขัดแย้งกับคำจารึกร่วมสมัยและหลักฐานจากบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งหลักฐานทั้งสองชิ้นได้ระบุว่า ราชวงศ์นี้ประกอบด้วยฟาโรห์จำนวน 7 พระองค์ที่ปกครองกันเป็นเวลารวม 143 ปี[2] แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากมาเนโทที่ว่าราชวงศ์นี้มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์นั้นได้รับการพิสูจน์ยืนยันโดยหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัย ในช่วงการปกครองของราชวงศ์นี้ดินแดนอียิปต์โบราณทั้งหมดได้ถูกผนวกรวมตัวกันขึ้นเป็นราชอาณาจักรกลาง

ราชวงศ์นี้มีต้นกำเนิดมาจากผู้ปกครองท้องถิ่นนามว่า "อินเตฟ ผู้ยิ่งใหญ่ บุตรชายแห่งอิกู" ซึ่งถูกกล่าวถึงในจารึกชั้นต้นร่วมสมัยจำนวนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อทันทีของเขา ถือว่าเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์นี้

คำจารึกที่แกะสลักขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์วาอังค์ อินเตฟที่ 3 ได้บันทึกไว้ว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์แรกจากราชวงศ์นี้ที่ได้อ้างว่าทรงสามารถครอบครองทั้งดินแดนอียิปต์ ซึ่งเป็นข้ออ้างที่เป็นหลักฐานที่ชี้ว่า ผู้ปกครองท้องถิ่นจากธีบส์ได้มีความขัดแย้งกับผู้ปกครองจากเฮราคลีโอโพลิส มักนาแห่งราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์ โดยฟาโรห์อินเตฟทรงดำเนินการทางการทหารจำนวนครั้งไปทางเหนือ และยึดครองอไบดอส ซึ่งเมืองที่มีสำคัญ

สงครามระหว่างราชวงศ์ท้องถิ่นของธีบส์กับเฮราคลีโอโพลิสได้ดำเนินต่อไปเป็นระยะ ๆ จนถึงปีที่ 14 แห่งรัชสมัยของฟาโรห์เนบเฮเพตเร เมนทูโฮเทปที่ 2 เมื่อฝ่ายราชวงศ์ท้องถิ่นจากเฮราคลีโอโพลิสได้ปราชัยในสงคราม และราชวงศ์สิบเอ็ดก็สามารถรวบรวมอำนาจการปกครองขึ้นมาได้ โดยผู้ปกครองจากราชวงศ์นี้ได้แผ่อำนาจและอิทธิพลของราชอาณาจักรอียิปต์ต่อดินแดนต่าง ๆ ในดินแดนแอฟริกาและตะวันออกใกล้ ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ได้ทรงส่งคณะเดินทางครั้งใหม่ไปยังฟีนิเซียเพื่อค้นหาไม้ซีดาร์ และฟาโรห์สอังค์คารา เมนทูโฮเทปที่ 3 ไดทรงส่งคณะเดินทางจากเมืองคอปโตส ซึ่งอยู่ทางใต้ของอียิปต์ไปยังดินแดนแห่งพุนต์

ยังไม่มีทราบแน่ชัดและความคลุมเครืออย่างมากเกี่ยวกับรัชสมัยของฟาโรห์พระองค์สุดท้ายและการสิ้นสุดของราชวงศ์นี้ ในบันทึกร่วมสมัยได้อ้างถึง "เจ็ดปีที่ว่างเปล่า" ภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3 ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเวลารัชสมัยของฟาโรห์เนบทาวีรา เมนทูโฮเทปที่ 4 โดยนักวิชาการในสมัยใหม่ได้ระบุว่า อเมนเอมฮัต ซึ่งเป็นราชมนตรีในรัชสมัยของพระองค์นั้นเป็นบุคคลคนเดียวกับกับฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์แรกจากราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีที่ว่า ราชมนตรีอเมนเอมฮัตได้ขึ้นมาสู่อำนาจและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นฟาโรห์หลังจากการการทำรัฐประหารภายในพระราชวัง รายละเอียดบางประการของการครองราชย์ของฟาโรห์เมนทูโฮเทปก็คือลางบอกเหตุอันน่าสังเกตทั้งสองอย่างถูกพบเห็นที่เหมืองหินในวาดีฮัมมามาต โดยราชมนตรีอเมนเอมฮัต

รายพระนามฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ แก้

ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบเอ็ด
ฟาโรห์ พระนามฮอรัส รูปภาพ ช่วงเวลารัชสมัย สถานที่ฝังพระรมศพ พระมเหสี คำอธิบาย
อินเตฟ ผู้อาวุโส
 
ราว 2150 ปีก่อนคริสตกาล Iry-pat, "ขุนนาง", คงจะเป็นบุคคลคนเดียวกันกับ "อินเตฟ บุตรชายของอิกู"[1] ซึ่งเป็นผู้ปกครองท้องถิ่นธีส์ที่รับใช้ฟาโรห์ไม่ทราบพระนาม
เมนทูโฮเทปที่ 1 เทปิอา
 
2134 ปีก่อนคริสตกาล –  ? เนเฟรูที่ 1 เทปิ-อา, "บรรพบุรุษ"
อินเตฟที่ 1 เซเฮอร์ทาวี
 
? – 2118 ปีก่อนคริสตกาล อัล ทาริฟ, ธีบส์ พระราชโอรสของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1
อินเตฟที่ 2 วาอังค์
 
2118 – 2069 ปีก่อนคริสตกาล อัล ทาริฟ, ธีบส์ เนเฟรูคาเยต? พระอนุชาของฟาโรห์อินเตฟที่ 1
อินเตฟที่ 3 นัคต์เนบเทปเนเฟอร์
 
2069 –2061 ปีก่อนคริสตกาล อัล ทาริฟ, ธีบส์ ไออาห์ พระราชโอรสของฟาโรห์อินเตฟที่ 2
เนบเฮเพตเรเมนทูโฮเทปที่ 2 เซอังค์อิบทาวี;

เนทเจริเฮดเจต; สมาทาวี

 
2061 – 2010 ปีก่อนคริสตกาล อัดดัยรุลบะห์รี เทม

เนเฟรูที่ 2 อาชาเยต เฮนเฮเนต คาวิต เคมซิตซาเดห์

พระราชโอรสของฟาโรห์อินเตฟที่ 3 กับพระนางไออาห์ ผู้รวบรวมดินแดนอียิปต์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยราชอาณาจักรกลาง
สอังค์คาเร เมนทูโฮเทปที่ 3 สอังค์ทาวีเอฟ
 
2010 – 1998 ปีก่อนคริสตกาล อัดดัยรุลบะห์รี[3] พระราชโอรสของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 กับพระนางเทม
เนบทาวีเร เมนทูโฮเทปที่ 4 เนบทาวี
 
1998 – 1991 ปีก่อนคริสตกาล พระราชโอรสของพระราชินีอิมิ
 
บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส, คาร์ทูธลำดับที่ 57 ถึงลำดับที่ 61
 
หุ่นทหารชาวอียิปต์ในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ จากสุสานของเมเชห์ติ
 
หุ่นทหารธนูชาวนิวเบียในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ จากสุสานในอัสยูฏ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Schneider, Thomas (2006-12-30). Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David A. (บ.ก.). Ancient Egyptian Chronology. pp. 160–161. ISBN 9789047404002. (mirror)
  2. Beckerath, J. V. (1962). "The Date of the End of the Old Kingdom of Egypt". Journal of Near Eastern Studies. 21 (2): 140–147. doi:10.1086/371680.
  3. Wilkinson, Richard H. (2000). The Complete Temples of Ancient Egypt. Thames & Hudson. p. 37, 172, 173, 181. ISBN 9780500051009.