เมอิบทาวี เซเคมคาเร อเมนเอมฮัต โซนเบฟ (หรือ อเมนเอมฮัต โซนเบฟ) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบสามในสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต, เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท และดาร์เรล เบเกอร์ กล่าวคือ พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์ ซึ่งทรงครองราชย์ตั้งแต่ 1800 ถึง 1796 ปีก่อนคริสตกาล[3][6][7][8]

การระบุตัวตน

แก้

มีการถกเถียงกันระหว่างนักอียิปต์วิทยาว่า ฟาโรห์เซเคมคาเร โซนเบฟ จะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับ ฟาโรห์เซเคมคาเร อเมนเอมฮัตที่ 5 ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์ที่สิบสาม หรือไม่ ตามที่แท้จริงฟาโรห์โซนเฟทรงเรียกพระองค์เองว่า "อเมนเอมฮัต โซนเบฟ" ซึ่งนี่อาจจะเป็นพระนามคู่ก็ได้ แต่มันก็สามารถตีความได้ว่า โซนเบฟ พระราชโอรสแห่งอเมนเอมฮัต ซึ่งทั้งรีฮอล์ตและเบเกอร์มองว่าเป็นหลักฐานว่า ฟาโรห์โซนเบฟเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 และเป็นพระอนุชาของฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป ซึ่งเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบสามขึ้น[3][6] ดังนั้น พวกเขาจึงมองว่า ฟาโรห์โซนเบฟ และฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5 นั้นไม่ได้เป็นผู้ปกครองหรือฟาโรห์พระองค์เดียวกัน ซึ่งเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท ก็มีความเห็นไปในทางเดียวกัน[3][6][7][8] รีฮอล์ตและเบเกอร์ได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า รัชสมัยของฟาโรห์โซนเบฟและฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5 ถูกแยกออกจากกันโดยการครองราชย์เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ของฟาโรห์เนริคาเร ในขณะที่เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท เชื่อว่า รัชสมัยของฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี พันทเจนิ จะอยู่ระหว่างรัชสมัยของทั้งสองพระองค์[7][8] ในมุมตรงกันข้าม เดทเลฟ ฟรานเคอ และสตีเฟน เควิร์ก เชื่อว่า ฟาโรห์โซนเบฟ และฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5 นั้นเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกัน[9][10] และฟรานเคอ และนักวิชาการคนอื่น ๆ จึงถือว่า พระนาม "อเมนเอมฮัต โซนเบฟ" เป็นพระนามคู่ ซึ่งอันที่จริงแล้ว การทรงพระนามซ้ำกันเป็นเรื่องธรรมดาในสมัยอียิปต์โบราณและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายของราชวงศ์ที่สิบสองและตลอดราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[11]

หลักฐานรับรอง

แก้

พระนามของฟาโรห์โซนเบฟปรากฏอยู่ในคอลัมน์ที่ 7 บรรทัดที่ 6 ของบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ซึ่งได้ปรากฏเป็นพระนาม "เซเคมคาเร [อเมนเอมฮัต โซนเบ]ฟ"[3] ถึงแม้ว่าฟาโรห์โซนเบฟจะเป็นฟาโรห์ในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองอิทจ์-ทาวีในภูมิภาคฟัยยูม หลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยเพียงชิ้นเดียวของพระองค์มาจากทางใต้ของธีบส์[6] หลักฐานเหล่านี้รวมถึงตราประทับสคารับที่ไม่ทราบที่มา ตราประทับทรงกระบอกจากการเก็บสะสมของแอมเฮิร์สต์ และขณะนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทนในมหานครนิวยอร์ก[1] และบล็อกจารึกสองชิ้นจากเอล-ท็อด ซึ่งกล่าวถึงพระองค์ด้วยพระนาม เซเคมคาเร บันทึกระดับแม่น้ำไนล์สองบันทึกก็มาจากรัชสมัยของพระองค์เช่นกัน บันทึกหนึ่งมาจากอัสคุตและมีอายุย้อนไปถึงปีที่ 3 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ และอีกบันทึกหนึ่งมาจากเซมนาในนิวเบีย ซึ่งมีอายุย้อนไปจนถึงปีที่ 4[6] บันทึกเพิ่มเติมที่เสียหายอย่างมากจากเซมนาและลงเวลาถึงปีที่ 5 ซึ่งอาจจะเป็นช่วงรัชสมัยของพระองค์เช่นกัน[7] เจ้าของของบันทึกระดับแม่น้ำไนล์เหล่านี้ยังคงเป็นที่สงสัย เนื่องจากปรากฏเพียงพระนาม เซเคมคาเร เท่านั้น ซึ่งอาจจะสื่อถึงฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5 ได้เช่นกัน นักไอยคุปต์วิทยาและนักโบราณคดี สจวร์ต ไทสัน สมิธ ซึ่งเป็นผู้ศึกษาบันทึกดังกล่าวในขั้นต้นระบุว่า เป็นฟาโรห์โซนเบฟ[12] แต่ในภายหลังเปลี่ยนความคิดเห็นของเขาและอ้างว่า เป็นฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5 แทน[13]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Cylinder seal of Amenemhat Senbef at the MET Museum.
  2. Flinders Petrie: Scarabs and cylinders with names (1917), available copyright-free here, pl. XVIII
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800 – 1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997
  4. Alan H. Gardiner: The royal canon of Turin. Griffith Institute, Oxford 1997, ISBN 0900416483, Vol 3.
  5. Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 457-458
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Baker, Darrell D. (2008). The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC. Stacey International. pp. 457–458. ISBN 978-1-905299-37-9.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
  8. 8.0 8.1 8.2 Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46. Mainz am Rhein, 1997
  9. Detlef Franke: Zur Chronologie des Mittleren Reiches (12.-18. Dynastie) Teil 1 : Die 12. Dynastie, in Orientalia 57 (1988)
  10. New arrangement of the 13th dynasty, on digital Egypt.
  11. Stephen Quirke: In the Name of the King: on Late Middle Kingdom Cylinders, in: Timelines, Studies in Honour of Manfred Bietak, Leuven, Paris, Dudley, MA. ISBN 90-429-1730-X, 263-64
  12. S. Smith: Askut and the Role of the Second Cataract Forts, in JARCE, vol XXVII
  13. S. Smith: Askut in Nubia: The Economic and Ideology of Egyptian Imperialism in the Second Millenium B.C., Kegan Paul International, London and New York