ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์

(เปลี่ยนทางจาก ราชวงศ์ที่สิบสาม)

ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์โบราณ (อังกฤษ: Thirteenth Dynasty of Egypt ,Dynasty XIII) เป็นราชวงศ์ที่มักจะรวมกับราชวงศ์ที่สิบเอ็ด ,ราชวงศ์สิบสอง และราชวงศ์ที่สิบสี่ ภายใต้ใน สมัยราชอาณาจักรกลาง แต่นักเขียนบางคนมักแยกราชวงศ์ที่สิบสามออกจากราชวงศ์เหล่านี้ และเข้าร่วมกับราชวงศ์ที่สิบสี่จนถึงราชวงศ์ที่สิบเจ็ด และเป็นส่วนหนึ่งในสมัยช่วงต่อที่สองแห่งอียิปต์ ราชวงศ์ที่สิบสามได้ปกครองตั้งแต่ประมาณ 1802 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงประมาณ 1649 ปีก่อนคริสตกาล รวมทั้งหมด 153 ปี [1]

ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์

1803 ปีก่อนคริสตกาล–1649 ปีก่อนคริสตกาล
รูปสลักหินแกรนิตของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ในกรุงไคโร
รูปสลักหินแกรนิตของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ในกรุงไคโร
เมืองหลวงอิทจ์-ทาวี (ราว 1803 ปีก่อนคริสตกาล – ราว 1677 ปีก่อนคริสตกาล)
ธีบส์ (ราว 1677 ปีก่อนคริสตกาล – ราว 1648 ปีก่อนคริสตกาล)
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์
• ก่อตั้ง
1803 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
1649 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์
ราชวงศ์อไบดอส

ราชวงศ์ที่สิบสามเป็นราชวงศ์ที่ต่อเนื่องโดยตรงจากราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ โดยมีปฐมกษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสาม เชื่อกันว่าเป็นพระราชโอรสในฟาโรห์อเมเนมฮัตที่ 4[1] คิม รีฮอล์ตได้เสนอว่าแบ่งช่วงเวลาระหว่างสองราชวงศ์ ทำให้ได้มีการเพิ่มราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ที่เป็นอิสระในทางตะวันออกของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ เหตุการณ์ที่คิม รีฮอล์ตเสนอเกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์โซเบคเนเฟรู[1] ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ มีพระราชอำนาจตั้งแต่เมืองเมมฟิสทางเหนือ ตอนกลางจนถึงอียิปต์บน ตลอดจนถึงแก่งน้ำตกแห่งที่สองของแม่น้ำไนล์ พระราชอำนาจของกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่สิบสาม ค่อยๆเสื่อมลงในช่วงปีที่ 150 ของราชวงศ์ และในที่สุดก็สิ้นสุดลงด้วยการพิชิตเมืองเมมฟิสโดยกษัตริย์แห่งชาวฮิกซอสแห่งราชวงศ์ที่สิบห้าของอียิปต์ก่อน 1650 ปีก่อนคริสต์ศักราช [1]

พระมหากษัตริย์ แก้

ในตำราสมัยนี้ ราชวงศ์ที่สิบสามมักจะถูกอธิบายว่าเป็นยุคแห่งความวุ่นวาย อย่างไรก็ตามราชวงศ์นี้อาจจะสงบสุข มากกว่าสมัยราชอาณาจักรกลางในเมืองหลวงเก่าอย่างเมืองอิทจ์-ทาวี ใกล้กับไฟยุม ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ที่มีฟาโรห์จำนวนมากหลายพระองค์แต่มีช่วงเวลาแห่งการครองราชที่สั้น และมีเพียงไม่กี่พระองค์ที่ได้รับการรับรองว่ามีอยู่จริง

ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสาม
พระรูป พระนาม สุสาน พระมเหสี ความคิดเห็น
  เซกเอมเร คูทาวี โซเบคโฮเทปที่ 1 สันนิฐานว่าพระองค์เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่สิบสาม[2][3] แต่ในการศึกษาเก่าผู้ก่อตั้งราชวงศ์คือ ฟาโรห์เวกาฟ
  โซนเบฟ ทรงอาจจะเป็นพระราชโอรสในฟาโรห์อเมเนมฮัตที่ 4 และพระเชษฐา(พี่ชาย)

หรือพระอนุชา(น้องชาย)ของ โซเบคโฮเทปที่ 1[2]

  เนริคาเร
  เซเคมคาเร อเมเนมฮัตที่ 5
  อเมนี เคมาอู พีระมิดฟาโรห์อเมนี เคมาอู
  โฮเทปอิบเร เคมาอู ซิฮาร์เนดจ์เฮริเทฟ[4] ทรงอาจจะเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกับ เซโฮเทปอิบเร

ซึ่งปรากฏในบันทึกพระนามแห่งตูริน

อิอูฟนิ ปรากฏหลักฐานเฉพาะบันทึกพระนามแห่งตูริน
  เซอังค์คิบเร อเมนี-อินเทฟ-อเมเนมฮัตที่ 6
  เซเมนคาเร เนบนูนิ
  เซเฮเทปอิบเร เซเวเซคทาวี
เซวัดจ์คาเรที่ 1 ปรากฏหลักฐานเฉพาะบันทึกพระนามแห่งตูริน
เนดเจมอิบเร ปรากฏหลักฐานเฉพาะบันทึกพระนามแห่งตูริน
  คาอังค์เร โซเบคโฮเทปที่ 2
เรนเซเนบ อเมเนมฮัต
  ฮอร์ อวิบเร สุสานที่เมืองดาห์ชูร์ ใกล้กับ

พีระมิดฟาโรห์อเมนเนมฮัตที่ 3

ราชินีนับเฮเทปติ-เคเรด(?)
  เซเคมเรคูทาวี คาบาว อาจเป็นพระราชโอรสในฟาโรห์ฮอร์
  ดเจตจ์เคเปอร์เรว อาจเป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาของฟาโรห์คาบาว
  เซ'ดเจฟาคาเร คาย-อเมเนมฮัตที่ 7
  คูทาวีเร เวกาฟ
  ยูเซอร์คาเร เคนดเจอร์ พีระมิดฟาโรห์เคนดเจอร์,

เมืองซัคคาราใต้

ราชินีเซเนบ[เซนัส?] อาจมีพระนามว่า นิมาอัตเร
  สเมงห์คาเร อิมมีเรเมสฮาว ราชินีอายา(อี้)?
  เซเฮเทปคาเร อินเทฟที่ 4 ราชินีอายา(อี้)?
  เซธ เมริอิบเร
  เซเคมเรเซวัดจ์ทาวี โซเบคโฮเทปที่ 3 ราชินี

เซเนบเฮนัส[5]

ราชินีเนนิ[5]

  คาเซเคมเร เนเฟอร์โฮเทปที่ 1 สุสานอาจอยู่ที่เมืองอไบดอส ราชินีเซเนบเซน[5]
  เมนวัดจ์เร ซิฮาเธอร์ ทรงอาจเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราวของพระเชษฐาหรือ

พระอนุชาของฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 1

  คาเนเฟอร์เร โซเบคโฮเทปที่ 4 สุสานอาจอยู่ที่เมืองอไบดอส

รหัสสุสาน:เอส10(อไบดอส)

ราชินีทจาน[5] อาจเป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาของฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 1 และฟาโรห์ซิฮาเธอร์
  เมอร์โฮเทปเร โซเบคโฮเทปที่ 5 ราชินีนับคาเอส?[5]
  คาโฮเทปเร โซเบคโฮเทปที่ 6
  วาฮ์อิบเร อิบเอียอู
  เมอร์เนเฟอร์เร ไอย์ พีระมิดไม่ทราบตำแหน่ง

อาจจะอยู่ใกล้เมืองเมมฟิส[6]

ราชินีไอเนนิ? ทรงครองราชได้ 23 ปีซึ่งเป็นรัชกาลที่ยาวนานที่สุดของราชวงศ์

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายที่เป็นผู้ปกครองอียิปต์ตอนล่าง

และอียิปต์ตอนบน

ตามรายพระนามฟาโรห์ในข้างต้น ผู้ปกครองที่เหลืออยู่ของราชวงศ์ที่สิบสาม ได้รับการยืนยันโดยการค้นพบในบริเวณอียิปต์บนเท่านั้น สิ่งนี้อาจบ่งชี้ถึงการละทิ้งเมืองหลวงเก่าที่อิทจ์-ทาวี ไปยังเมืองธีบส์[7] แดฟนา เบ็น ทอร์ได้เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการรุกรานจากบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำตะวันออกและบริเวณเมมฟิสโดยผู้ปกครองชาวคานาอัน สำหรับนักวิชาการบางคนเชื่อว่าในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นจุดสิ้นสุดของสมัยราชอาณาจักรกลางและเป็ฯจุดเริ่มต้นของสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง[7] อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ดังกล่าวถูกปฏิเสธโดยรีฮอล์ตและเบเกอร์ ซึ่งทราบว่าจารึกแห่งเซเฮเกนเร สอังค์พทาห์อิ ซึ่งทรงครองราชย์ในช่วปลายราชวงศ์ ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพระองค์ทรงปกครองเหนือเมมฟิส และจารึกดังกล่าวนั้นไม่ทราบแหล่งที่มา[8][9]

ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสาม (ต่อ)
ฟาโรห์ คำอธิบาย
เมอร์โฮเทปเร อินิ หรือที่เรียกว่า อินิที่ 1
สอังค์เอนเร เซวัดจ์ตู
เมอร์เซคเอมเร อิเนด อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกับเนเฟอร์โฮเทปที่ 2
เซวัดจ์คาเร ฮอร์อิ หรือที่เรียกว่า ฮอร์อิที่ 2
เมอร์คาวเร โซเบคโฮเทปที่ 7
ฟาโรห์จำนวนแปดพระองค์, พระนามสูญหาย
เมอร์เคเปอร์เร
เมอร์คาเร ทราบเฉพาะพระนามมาจากบันทึกพระนามแห่งตูริน
พระนามสูญ
เซวัดจ์คาเร เมนทูโฮเทปที่ 5
[...]มอสเร
อิบิ [...]มาอัตเร
ฮอร์ [...] [...]เวบเอนเร
เซ[...]คาเร
เซเฮเกนเร สอังค์พทาห์อิ ปรากฏภาพสลักพระองค์กำลังถวายการบูชาแด่เทพพทาห์
[...]เร
เซ[...]เอนเร

ตำแหน่งตามลำดับเวลาของผู้ปกครองที่ได้รับการยืนยันแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ไม่สามารถสรุปได้เนื่องจากขาดหลักฐาน

ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสาม (ตำแหน่งที่ไม่แน่นอน)
ฟาโรห์ คำอธิบาย
เมอร์เชปเซสเร อินิที่ 2 ตามคำกล่าวของฟอน เบ็คเคอราธ พระองค์คือผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์เซวัดจ์คาเร เมนทูโฮเทปที่ 5 และทรงเป็ฯผู้ปกครองก่อนหน้าของฟาโรห์เมอร์เคเปอร์เร
เมอร์เซคเอมเร เนเฟอร์โฮเทปที่ 2 อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกับเมอร์เซคเอมเร อิเนด
เซวาห์เอนเร เซนเอบมิอู ตามคำกล่าวของฟอน เบ็คเคอราธ พระองค์คือผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์เซ[...]คาเร
เซคอันเอนเร ...เร

ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1 และ 2 แก้

รีฮอล์ตได้ให้ผู้ปกครองที่ทรงมีพระนามว่า "โซเบคโฮเทปที่ 1 เซคเอมเร คูทาวี" เป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสาม ในขณะนี้เป็นสมมติฐานหลักในไอยคุปต์วิทยา[8] และฟาโรห์โซเบคโฮเทป เซคเอมเร คูทาวี ก็สื่อถึงฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1 ในบทความนี้ ดังนั้น รีฮอล์ตจึงระบุว่าฟาโรห์เซคเอมเร คูทาวี โซเบคโฮเทปที่ 1 ทรงครองราชย์ได้เป็นระยะเวลา 3 ถึง 4 ปี ในราว 1800 ปีก่อนคริสตกาลและเสนอให้ฟาโรห์คาอังค์เร โซเบคโฮเทปที่ 2 นั้นทรงขึ้นครองราชย์ในราว 20 ปีต่อมาในช่วง 1780 ปีก่อนคริสตกาล[9] ด็อดสันและฮิลตันได้คิดเห็นในทำนองเดียวกันว่าฟาโรห์เซคเอมเร คูทาวี โซเบคโฮเทปทรงครองราชย์มาก่อนหน้าฟาโรห์คาอังค์เร โซเบคโฮเทป[10]

ฟาโรห์พระองค์อื่น ๆ แก้

 
รูปสลักของผู้ถือพระราชลัญจกรและเสนาบดีนามว่า เกบู ในช่วงราชวงศ์ที่ 13 ราว 1700 ปีก่อนคริสตกาล จากวิหารแห่งอามุนในคาร์นัก

หลังจากปล่อยให้ความเข้มงวดที่กลุ่มป้อมปราการทางตอนใต้ให้เสื่อมโทรมลง ในที่สุดอียิปต์ก็ถอนกองทหารรักษาการณ์ออกไป และหลังจากนั้นไม่นาน ป้อมปราการก็ถูกยึดครองโดยนิวเบียแห่งคุช ซึ่งได้ผงาดขึ้นมาอีกครั้ง ในทางตอนเหนือ อียิปต์ล่างก็ถูกชาวฮิกซอสซึ่งเป็นชาวเซมิติกจากอีกซีกหนึ่งของคาบสมุทรไซนายเข้ามายึดครอง กษัตริย์อิสระกลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้งราชวงศ์ที่สิบสี่ ซึ่งสถาปนาขึ้นในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันตกในช่วงราชวงศ์ที่สิบสาม และต่อมา ตามคำกล่าวของมาเนโธ ผู้รุกรานจากตะวันออกที่เรียกว่าชาวฮิกซอสได้เข้ายึดอียิปต์ "โดยไม่ได้เข้าโจมตีแต่อย่างใดเลย" และหลังจากเอาชนะผู้ปกครองของแผ่นดินได้ พวกเขาจึงเผาเมืองของเราอย่างไร้ความปรานี ทำลายเทวสถานของเทพเจ้าเป็นผุยผง .." การปกครองของพวกเขาที่เรียกว่าราชวงศ์ที่สิบห้าได้ถูกเข้ามาแทนที่ราชวงศ์ที่สิบสามและราชวงศ์ที่สี่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของอียิปต์

อย่างไรก็ตาม การค้นพบทางโบราณคดีล่าสุดที่เอ็ดฟู อาจจะบ่งชี้ได้ว่าราชวงศ์ที่สิบห้าของชาวฮิกซฮส อาจจะมีอยู่แล้วอย่างน้อยในช่วงกลางราชวงศ์ที่สิบสามในรัชสมัยของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 ในเอกสารที่ตีพิมพ์เมื่อเร็วๆ นี้ชื่อว่า อียิปต์และเลวานไทน์[11] นาดีน โมลเลอร์, เกรกอรี มาโรวาร์ดและ เอ็น. อาเยิร์ส ได้ถกเถียงเกี่ยวกับการค้นพบซากอาคารการปกครองที่สำคัญของสมัยราชอาณาจักรกลางในช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสองในพื้นที่เทลล์ เอ็ดฟู ทางตะวันออกของอียิปต์บน ซึ่งมีสภาพที่ถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง เข้าสู่สมัยช่วงระหว่างกลางที่สองตอนต้นจนถึงช่วงราชวงศ์ที่สิบเจ็ด ซึ่งซากปรักหักพังนั้นได้ถูกรายล้อมล้อมโดยยุ้งฉางขนาดใหญ่ ในการทำงานภาคสนามโดยนักไอยคุปต์ในปี ค.ศ. 2010 และ ค.ศ. 2011 ซึ่งภายในซากอาคารจากช่วงราชวงศ์ที่สิบสอง และในอดีตก็ถูกใช้ในราชวงศ์ที่สิบสามเช่นกัน ได้นำไปสู่การค้นพบห้องโถงขนาดใหญ่ที่อยู่ติดกัน ซึ่งค้นพบแล้วว่ามีการตราประทับ 41 ชิ้นซึ่งแสดงภาพแกะสลักของผู้ปกครองชาวฮิกซอสพระนามว่า คยาน และอีก 9 ตราประทับพระนามฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสามพระนามว่า โซเบคโฮเทปที่ 4[12] การหลงเหลือของตราประทับดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รัชสมัยฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 และฟาโรห์คยานน่าจะอยู่คาบเกี่ยวช่วงเวลาเดียวกัน และอาจจะหมายความว่าราชวงศ์ที่สิบสามไม่ได้ควบคุมอียิปต์ทั้งหมดถึงรัชสมัยของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 ที่ทรงขึ้นครองอำนาจแล้ว และมีความทับซ้อนกันอย่างมากระหว่างราชวงศ์ที่สิบสามและสิบห้า เนื่องจากฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 ทรงเป็นเพียงผู้ปกครองในช่วงกลางราชวงศ์ที่สิบสาม ถึงแม้ว่าจะทรงเป็นฟาโรห์ที่ทรงมีพระราชอำนาจมากที่สุดพระองค์หนึ่งก็ตาม ดังนั้นคำกล่าวของมาเนโธที่ว่าราชวงศ์ที่สิบห้าของชาวฮิกซฮสได้แทนที่ราชวงศ์ที่สิบสามอย่างรุนแรงนั้นอาจจะเป็นเรื่องชวนเชื่อของชาวอียิปต์ในภายหลัง แต่อำนาจของราชวงศ์ที่สิบสามน่าจะล่มสลายลงทั่วอียิปต์ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของราชวงศ์ และชาวฮิกซอสในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำก็ได้เข้ายึดครองเมืองเมมฟิสและสิ้นสุดราชอาณาจักรของราชวงศ์ที่สิบสาม อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ดังกล่าวและข้อสรุปที่ได้จากการวิเคราะห์ได้ถูกปฏิเสธโดยโรเบิร์ต พอร์ตเตอร์ นักไอยคุปต์วิทยา ผู้ซึ่งโต้แย้งว่า ฟาโรห์คยานทรงขึ้นมาปกครองช้ากว่ารัชสมัยของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 มาก (เกิดเป็นช่องว่างประมาณ 100 ปีระหว่างทั้งลำดับของฟาโรห์ทั้งสองพระองค์) และตราประทับของฟาโรห์ได้ถูกนำมาใช้อีกนานหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตเสียชีวิต ดังนั้น ตราประทับของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 อาจจะไม่ได้ยืนยันว่า พระองค์เป็นทรงมีพระชนม์ชีพร่วมสมัยกับฟาโรห์คยาน[13]

ฟาโรห์เมอร์เนเฟอร์เร ไอย์ทรงเป็นผู้ปกครองอียิปต์พระองค์สุดท้ายจากราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งได้รับการยืนยันจากวัตถุโบราณทั้งในอียิปต์ล่างและอียิปต์บน[14] และหลังจากรัชสมัยของพระองค์ มีผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์นามว่า ฟาโรห์เมอร์โฮเทปเร อินิ ที่จะปรากฏหลักยืนยันเพียงแค่ในเฉพาะบริเวณอียิปต์บนเท่านั้น[15]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Kim S. B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800-1550 B.C., Museum Tusculanum Press 1997, p.197
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ KR
  3. Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008
  4. K. S. B. Ryholt, Hotepibre, a Supposed Asiatic King in Egypt with Relations to Ebla, Bulletin of the American Schools of Oriental Research, No. 311 (Aug., 1998), pp. 1-6
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WG
  6. Labib Habachi: Khata'na-Qantir: Importance, ASAE 52 (1954) pp.471-479, pl.16-17
  7. 7.0 7.1 Daphna Ben Tor: Sequences and chronology of Second Intermediate Period royal-name scarabs, based on excavated series from Egypt and the Levant, in: The Second Intermediate Period (Thirteenth-Seventeenth Dynasties), Current Research, Future Prospects edited by Marcel Maree, Orientalia Lovaniensia Analecta, 192, 2010, p. 91
  8. 8.0 8.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008
  9. 9.0 9.1 K.S.B. Ryholt. The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period c. 1800–1550 B.C. Carsten Niebuhr Institute Publications 20. Copenhagen
  10. Dodson, Hilton, The Complete Royal Families of Ancient Egypt, 2004
  11. Nadine Moeller, Gregory Marouard & N. Ayers, Discussion of Late Middle Kingdom and Early Second Intermediate Period History and Chronology in Relation to the Khayan Sealings from Tell Edfu, in: Egypt and the Levant 21 (2011), pp. 87–121 online PDF
  12. Moeller, Marouard & Ayers, Egypt and the Levant 21, (2011), pp. 87–108
  13. Robert M. Porter: The Second Intermediate Period according to Edfu, Goettinger Mizsellen 239 (2013), p. 75–80
  14. Thomas Schneider, "The Chronology of the Middle Kingdom and the Hyksos Period", in: E. Hornung/R. Krauss/D. Warburton (eds.), Ancient Egyptian Chronology (Handbook of Oriental Studies 1, 83), Leiden/ Boston 2006, p.180
  15. Schneider, p.180

บรรณานุกรม แก้

  • Clayton, Peter A. Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson Ltd., 2006. ISBN 0500286280.
ก่อนหน้า ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ ถัดไป
ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์   ราชวงศ์แห่งอียิปต์
(ประมาณ 1803–1649 ปีก่อนคริสตกาล)
  ราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์