ฟาโรห์อิมย์เรเมสชาว

สเมนค์คาเร อิมิเรเมชอาว เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบสามในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง

ฟาโรห์อิมิเรเมชอาวทรงขึ้นครองราชย์จากเมืองเมมฟิสในช่วง 1759 ปีก่อนคริสตกาล[1] หรือ 1711 ปีก่อนคริสตกาล[2] ระยะเวลาในรัชสมัยของพระองค์ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด พระองค์อาจจะทรงครองราชย์เป็นเวลาห้าปีและน้อยกว่าสิบปีอย่างแน่นอน[1] ปรากฏหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับพระองค์ คือ รูปสลักขนาดมหึมาสองรูปที่ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ กรุงไคโร

หลักฐานยืนยัน แก้

พระนามของพระองค์ปรากฏในบันทึกพระนามแห่งตูรินในคอลัมน์ที่ 7 บรรทัดที่ 21 (ตามรายการของอลัน การ์ดิเนอร์ คือ คอลัมน์ที่ 6 บรรทัดที่ 21) พระนามว่า [สเมนค์]คาเร อิมิเรเมชอาว หลักฐานยืนยันร่วมสมัยที่สำคัญของพระองค์คือรูปสลักหินขนาดมหึมาที่อุทิศแด่เทพพทาห์ "ผู้ซึ่งทรงอยู่ทางใต้ของกำแพงของพระองค์ เจ้าแห่งอังค์ทาวี" (rsy-ínb=f nb ˁnḫt3wy) ซึ่งเป็นฉายาของเมืองเมมฟิสที่ระบุว่ารูปสลักแต่เดิมตั้งอยู่ในวิหารแห่งพทาห์ในเมมฟิส[1] ซึ่งภายหลังรูปสลักขนาดใหญ่ถูกแย่งชิงโดยฟาโรห์อาเกนเอนเร อะเปปิ ซึ่งเป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งฮิกซอส ซึ่งปรากฏพระนามของพระองค์ที่จารึกไว้ที่ไหล่ขวาของรูปสลัก โดยแต่ละรูปสลักได้อุทิศให้แด่ "เซธ เจ้าแห่งอวาริส" และวางรูปสลักดังกล่าวไว้ในเมืองอวาริสของพระองค์ ต่อมา รูปสลักได้ถูกย้ายไปที่เมืองไพ-ราเมสเซส โดยฟาโรห์รามเสสที่ 2 ซึ่งปรากฏพระนามของพระองค์ที่จารึกไว้บนนั้นด้วย พร้อมกับการอุทิศเพิ่มเติมแด่เทพเซธ ซึ่งในที่สุดแล้ว รูปสลักได้ถูกย้ายไปที่เมืองทานิสในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ด ซึ่งรูปสลักขนาดใหญ่ดังกล่าวยังคงอยู่ที่นั้นจนถึงการขุดค้นในปี ค.ศ. 1897 ภายใต้การดูแลของฟลินเดอร์ส เพตรี[1][3][4] ปัจจุบันรูปสลักทั้งสองรูปอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ (เจอี 37466 และ เจอี 37467)

หลักฐานยืนยันร่วมสมัยเพียงอย่างเดียวอีกชิ้นของฟาโรห์อิมิเรเมชอาว คือ ลูกปัดหินสบู่สีขาวที่ปรากฏคำจารึกว่า "เทพผู้ทรงประเสริฐ, สเมนค์คาเร, ผู้ทรงเป็นที่รักแห่งเทพโซเบค เจ้าแห่งเชดิต" ซึ่งขณะนี้ลูกปัดอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติช หมายเลข บีเอ็ม อีเอ 74185[3][5] ถึงแม้จะไม่ทราบแหล่งที่มาของลูกปัด แต่ดาร์เรล เบเกอร์และคิม ไรฮอล์ท นักไอยคุปต์วิทยาได้เสนอว่า การกล่าวถึงเมืองเชดิต ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองเมมฟิสบนลูกปัด อาจจะบ่งบอกว่าลูกปัดมีที่มาจากสถานที่ดังกล่าว ในที่สุด ดับเบิลยู. เดวีส์ ได้เสนอว่าช่วงตัวของรูปสลักที่ค้นพบในซากปรักหักพังของพีระมิดจากราชวงศ์ที่สิบสามในทางตอนใต้ของซักกอเราะฮ์ และมีช่วงเวลา "ใกล้กับผู้ทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์เคนดเจอร์" ซึ่งอาจจะเป็นของฟาโรห์อิมิเรเมชอาว อย่างไรก็ตาม ชิ้นส่วนดังกล่าวไม่ได้ถูกจารึกไว้ และการระบุตัวตนของเจ้าของรูปสลักของเดวีส์ว่า เป็นของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวนั้นมีพื้นฐานมาจาก "ที่มาของแหล่งที่มา" เท่านั้น[3][6] ปัจจุบันรูปสลักนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ เจอี 54493

พระนาม แก้

พระนามประสูติของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวเป็นพระนามที่ยืนยันอย่างดี ซึ่งใช้ในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง และหมายถึง "ผู้ควบคุมกองทหาร" หรือ "นายพล" ด้วยเหตุนี้ จึงมีข้อสันนิษฐานโดยไม่มีหลักฐานเพิ่มเติมว่าฟาโรห์อิมิเรเมชอาวทรงเป็นนายพลก่อนที่จะทรงขึ้นเป็นฟาโรห์ ตามสมมติฐานดังกล่าว นักไอยคุปต์วิทยา อลัน การ์ดิเนอร์ และวิลเลียม เฮย์ส ได้แปลรายการของบันทึกพระนาามแห่งตูรินที่กล่าวถึงฟาโรห์อิมิเรเมชอาวว่า "สเมนค์คาเร ผู้ทรงเป็นนายพล" กล่าวคือ เข้าใจว่า อิมิเรเมชอาว ควรเป็นชื่อตำแหน่งมากกว่าพระนาม[3] ส่วนเยือร์เกิน ฟ็อน เบ็คเคอราธ ได้เสนอว่า ฟาโรห์อิมิเรเมชอาวทรงมาจากต่างถิ่นและมีพระนามภาษาต่างถิ่นที่ชาวอียิปต์ไม่สามารถเข้าใจได้ และด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวอียิปต์ด้วยตำแหน่งทางทหารของพระองค์[1][7] นอกจากนี้ฟาโรห์อิมิเรเมชอาวทรงไม่ได้ใช้พระนามแฝงใดๆ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าพระองค์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับฟาโรห์เคนดเจอร์ ผู้ทรงเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์และไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์อย่างแน่นอน[1] ดังนั้น นักวิชาการจึงเสนอว่าพระองค์อาจจะทรงขึ้นสู่พระราชอำนาจโดยเตรียมการรัฐประหารโดยกองทัพกับฟาโรห์เคนดเจอร์ ผู้ทรงเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์[3]

เบเกอร์และไรฮอล์ทได้โต้แย้งข้อสมมติฐานดังกล่าว โดยชี้ให้เห็นถึงการขาดหลักฐานของการทำรัฐประหารโดยทหาร เนื่องจากไม่สามารถแยกแยะการแย่งชิงด้วยวิธีทางการเมืองได้ นอกจากนี้ ได้ทราบว่า อิมิเรเมชอาว เป็นชื่อสามัญทั่วไปในขณะนั้น ชื่อสามัญที่คล้ายกัน ได้แก่ อิมิริเคว (แปลตามตัวอักษร คือ "ผู้ดูแลปศุสัตว์"), อิมิเรเปอร์ ("พ่อบ้าน") และอิมิเรเคนเรต ("ผู้ดูแลพื้นที่")[1] ด้วยเหตุผลเหล่านี้ สตีเฟน เควิร์ก จึงเสนอว่าพระนามของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวอาจจะเป็นเพียงการสะท้อนถึงประเพณีของครอบครัว และไรฮอล์ทก็เสริมอีกว่าอาจจะบ่งบอกถึงครอบครัวที่มีภูมิหลังทางทหารได้[1][8]

ตำแหน่งตามลำดับเวลาและระยะเวลาการครองราชย์ แก้

 
รูปสลักหินไซยีไนต์ของฟาโรห์อิมิเรเมชอาว ถ่ายภาพโดยฟลินเดอร์ส เพตรีระหว่างการขุดค้นที่ทานิส

ตำแหน่งตามลำดับเวลาที่แน่นอนของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวในราชวงศ์ที่สิบสามยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากความคลุมเครือที่ส่งผลกระทบต่อฟาโรห​์พระองค์ก่อนๆ ของราชวงศ์ ตามบันทึกพระนามแห่งตูริน ฟาโรห์อิมิเรเมชอาวทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์โดยตรงของฟาโรห์เคนดเจอร์ โดยเบเกอร์จัดให้พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ 22 ของราชวงศ์ ส่วนไรฮอล์ทมองพระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ 23 และเยือร์เกิน ฟ็อน เบ็คเคอราธได้ตั้งให้พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ 18 ของราชวงศ์

ระยะเวลาที่แน่นอนของการครองราชย์ของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวได้สูญหายไปในส่วนที่เสียหายของบันทึกพระนามแห่งตูรินและไม่สามารถกู้คืนได้ ยกเว้นช่วงท้ายที่ว่า "[กับอีก] 4 วัน" โดยไรฮอล์ทเสนอว่า การครองราชย์ร่วมกันของฟาโรห์อิมิเรเมชอาว และผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์สองพระองค์ของพระองค์ คือ เซเฮเทปคาเร อินเตฟ และเซธ เมอร์อิบเรนั้นอยู่ที่ประมาณ 10 ปี หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับรัชสมัยของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวจากในช่วงราชวงศ์ที่สิบสามชื่อว่า บันทึกปาปิรุสโบลัก หมายเลข 18 ซึ่งได้บันทึก เหนือสิ่งอื่นใด สมาชิกราชวงศ์ประกอบด้วยพระภคินีของกษัตริย์จำนวนสิบพระองค์ พระภราดรของกษัตริย์ไม่ระบุจำนวน พระราชธิดาสามพระองค์ของกษัตริย์ มีพระราชโอรสพระนามว่า เรดิเอนเอฟ และพระราชินีพระนามว่า อายา ถึงแม้ว่าพระนามของฟาโรห์จะสูญหายไปในส่วนที่เสียหาย แต่การวิเคราะห์ของไรฮอล์ทที่เกี่ยวกับบันทึกปาปิรุสดังกล่าวทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเกี่ยวข้องกับฟาโรห์อิมิเรเมชอาวและฟาโรห์ เซเฮเทปคาเร อินเตฟทเท่านั้น[1] สซึ่งิ่งนี้มีความสำคัญ เนื่องจากตบันทึกปาปิรุสได้บันทึกในช่วงปีที่ 3 และปีที่ 5 ของฟาโรห์พระองค์นี้ นอกจากนี้ ในช่วง "ปีที่ 5 แห่งการครองราชย์ เดือนที่ 3 แห่งเชมู วันที่ 18" เป็นที่ทราบจากกลุ่มพีระมิดที่สร้างไม่เสร็จซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับพีระมิดของฟาโรห์เคนดเจอร์ ซึ่งรู้จักกันในนามพีระมิดแห่งทางใต้ซักกอเราะฮ์ใต้ ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นโดยฟาโรห์พระองค์เดียวกัน ซึ่งอาจจะเป็นฟาโรห์อิมิเรเมชอาว[1] ยังไม่ทราบช่วงเวลาที่แน่นอนของการสิ้นสุดรัชสมัยของฟาโรห์อิมิเรเมชอาว แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า ฟาโรห์เซเฮเทปคาเร อินเตฟ ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์ ทรงไม่ได้ใช้พระนามที่เกี่ยวข้องผู้ปกครองพระองค์ก่อนที่ชี้ให้เห็นความเห็นเชื้อพระวงศ์ ดังนั้นไรฮอล์ทจึงเสนอว่าฟาโรห์อินเตฟอาจจะทรงแย่งชิงพระราชบัลลังก์ก็เป็นได้[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  2. 2.0 2.1 Thomas Schneider following Detlef Franke: Lexikon der Pharaonen, Albatros, 2002
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 134
  4. Flinders Petrie: A history of Egypt from the earliest times to the 16th dynasty, pp. 209-210, 1897, available online
  5. British Museum database
  6. W. Davies: A royal statue reattributed, British Museum occasional paper 28, London, 1981
  7. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964, p. 52
  8. Stephen Quirke in Middle Kingdom Studies, S. Quirke editor, SIA publishing, 1991, p. 131