ฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี คาบาว

(เปลี่ยนทางจาก ฟาโรห์คาบาว)

เซเคมเรคูทาวี คาบาว เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบสามในสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง โดยคิม รีฮอล์ต ซึ่งเป็นนักไอยคุปต์วิทยาชาวเดนมาร์กได้ระบุว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบหกของราชวงศ์ที่ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 3 ปี ระหว่าง 1775 จนถึง 1772 ปีก่อนคริสตกาล

หลักฐานรับรอง แก้

ฟาโรห์คาบาวทรงได้รับการยันยันการมีอยู่อย่างดีจากการค้นพบทางโบราณคดี โดยพบชิ้นส่วนของซุ้มประตูหินแกรนิตสีแดงขนาด 2 ฟุต 6 นิ้ว (0.76 ม.) x 5 ฟุต 11 นิ้ว (1.80 ม.) ที่ปรากฏพระนามฮอรัสและพระนามครองราชย์ของพระองค์ที่ถูกค้นพบระหว่างการขุดค้นที่เมืองบูบาสติสในปี ค.ศ. 1891 ซึ่งดำเนินการโดยเอดูอาร์ด นาวิลล์ จากสมาคมสำรวจอียิปต์ (หรือ อีอีเอส)[3] ในขณะนี้ซุ้มประตูดังกล่างอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติชภายใต้แคตตาล็อกหมายเลข บีเอ็ม อีเอ 1100 และซุ้มประตูอีกอันที่ค้นพบในเมืองทานิสปรากฏพระนามของฟาโรห์คาบาวร่วมกับพระนามของฟาโรห์ฮอร์จากราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ โดยดาร์เรล เบเกอร์ และรีฮอล์ตเสนอความเห็นว่า ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดดังกล่าว อาจหมายความว่า ฟาโรห์คาบาว เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ฮอร์ และอาจจะทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมด้วยเช่นกัน[4]

รีฮอล์ตและเบเกอร์เชื่อว่า ซุ้มประตูทั้งสองนั้นไม่ได้มาจากภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์แต่มาจากเมืองเมมฟิส ซึ่งซุ้มประตูทั้งสองชิ้นอาจจะมาอยู่จุดที่พวกเขาค้นพบหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ที่สิบสาม เมื่อชาวฮิกซอสได้ย้ายอนุสาวรีย์จำนวนมากจากเมืองเมมฟิสไปยังเมืองอวาริสและเมืองอื่น ๆ บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ เช่น บูบาสติส และทานิส หรืออีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง ซุ้มประตูทั้งสองอาจจะอยู่ในเมืองอวาริสอยู่แล้วจนถึงรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 เมื่อพระองค์นี้ได้ทรงโปรดให้สร้างราชธานีใหม่ที่ไพ-รามเสส โดยใช้วัสดุจากเมืองอวาริส โดยเมืองไพ-รามเสสได้ถูกรื้อถอนในเวลาต่อมาในสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ และทำให้อนุสาวรีย์ต่าง ๆ หลายชิ้นก็กระจัดกระจายอยู่ในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ[2][5]

 
ตราประทับทรงกระบอกของฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี คาบาว, พิพิธภัณฑ์เพทรี ยูซี 11527[6][7]

ตราประทับทรงกระบอกของฟาโรห์คาบาวอยู่ในพิพิธภัณฑ์เพทรี (ยูซี 11527)[7]

ในดินแดนนิวเบีย มีการค้นพบรอยตราประทับ 4 รอยจากป้อมปราการยูโรนาร์ติและอีกหนึ่งรอยตราประทับจากป้อมปราการมิร์กิสซา[2]

บันทึกพระนาม แก้

พระนามของฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี คาบาวไม่ถูกบันทึกไว้ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน นอกจากนี้ พระนามของพระองค์ก็ไม่ได้ถูกบันทึกในบันทึกพระนามกษัตริย์โบราณอื่นเลยเช่นกัน[8]

ตามที่รีฮอล์ตกล่าว พระนามของฟาโรห์คาบาวได้สูญหายไปในส่วนที่เสียหายของบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน โดยที่พระนามของพระองค์จะบันทึกในคอลัมน์ที่ 7 บรรทัดที่ 17 ของบันทึกพระนาม และผู้คัดลอกบันทึกพระนามดังกล่าว ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงต้นสมัยรามเสสโดยจะบันทึก wsf (แปลตรงตัวว่า "สูญหาย") ไว้ เมื่อคัดลอกพระนามที่อยู่ในบริเวณที่เสียหาย[2]

การระบุตัวตน แก้

ไม่ทราบพระนามประสูติของฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี คาบาว และตัวตนของพระองค์จึงไม่เป็นที่ทราบอย่างสมบูรณ์ โดยรีฮอล์ตได้เสนอพระนามประสูติของฟาโรห์คาบาวว่า "โซเบค" เนื่องจากพระนามดังกล่าวมาจากวัตถุโบราณ ซึ่งจะต้องเป็นของฟาโรห์ที่ปกครองในช่วงครึ่งแรกของสมัยราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งมีเพียงฟาโรห์จำนวนสองพระองค์ในช่วงเวลานี้เท่านั้นที่ไม่ทราบพระนามประสูติคือ ฟาโรห์คาบาว และฟาโรห์เนริคาเร และพระนาม "โซเบค" อาจจะเป็นพระนามประสูติของฟาโรห์คาบาว[2]

ในทางกลับกัน เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราทได้ระบุพระนามประสูติของฟาโรห์คาบาวไว้ว่าว่า "พันทเจนิ" ดังนั้นจึงเปรียบเทียบได้ว่าฟาโรห์คาบาวและฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี พันทเจนิ เป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกัน ซึ่งฟาโรห์พันทเจนิได้รับการยืนยันการมีตัวตนจากจารึกเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น[9] อย่างไรก็ตาม ข้อสมมติฐานดังกล่าวถูกไม่ยอมรับไปในการศึกษาจารึกครั้งล่าสุดของมาร์เซล มารี โดยมารีได้ชี้ให้เห็นว่า จารึกสร้างมาจากสถานที่เดียวกัน (หรืออาจจะเป็นคนสร้างคนเดียวกัน) ให้กับฟาโรห์เวปวาเวตเอมซาฟและฟาโรห์ราโฮเทป ซึ่งได้ระบุช่วงเวลาย้อนไปถึงช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ราว 1580 ปีก่อนคริสตกาล และด้วยเหตุนี้ฟาโรห์พันทเจนิจะต้องทรงครองราชย์ในช่วง 1600 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งอาจจะเป็นปลายราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์[10] หรือในอีกข้อสันนิษฐาน ฟาโรห์พันทเจนิ ทรงอาจจะเป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์อไบดอส ซึ่งปกครองเหนือบริเวณอียิปต์ตอนกลางตั้งแต่ราว 1650 จนถึง 1600 ปีก่อนคริสตกาล[2]

วูล์ฟกัง เฮล์ก และสตีเฟน เควิร์ก ได้เปรียบเทียบฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี คาบาว ให้เป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี โซเบคโฮเทป หรืออาจจะเรียกว่า โซเบคโฮเทปที่ 1 หรือ โซเบคโฮเทปที่ 2 โดยขึ้นอยู่กับนักวิชาการแต่ละคน ซึ่งข้อสมมติฐานดังกล่าวถือว่าไม่เป็นที่ยอมรับโดยนักไอยคุปต์วิทยาส่วนใหญ่ รวมทั้งฟอน เบ็คเคอราท, เดตเลฟ ฟรานเคอ, รีฮอล์ต และแอนโธนี สปาลิงเกอร์[11] โดยฟอน เบ็คเคอราท และฟรานเคอชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าฟาโรห์ทั้งสองพระองค์จะทรงมีพระนามครองราชย์ที่เหมือนกัน แต่พระนามอื่น ๆ ของพระองค์ก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และสปาลิงเกอร์โต้แย้งว่าบันทึกระดับแม่น้ำไนล์ในดินแดนนิวเบียที่เกี่ยวข้องกับฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี โซเบคโฮเทปไม่สามารถนำมาประกอบเข้ากับฟาโรห์คาบาวได้[11] ในการโต้แย้งกลับต่อข้อโต้แย้งเหล่านี้ สตีเฟน เควิร์กชี้ให้เห็นว่า พระนามฮอรัสและพระนามฮอรัสทองคำของฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี โซเคโฮเทป ซึ่งเป็นที่ทราบจากบล็อกหินเพียงบล็อกเดียวจากเมดามุด ซึ่งไม่ได้ระบุที่มาที่แน่นอนทั้งหมด[12]

ข้อสันนิษฐาน แก้

นักไอยคุปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต ได้ระบุให้ฟาโรห์คาบาวเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบหกของราชวงศ์ และทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาสามปีระหว่าง 1775 ถึง 1772 ปีก่อนคริสตกาล[2] ส่วนธอมัส ชไนเดอร์ ระบุว่าพระองค์ทรงครองราชย์ตั้งแต่ 1752 ถึง 1746 ปีก่อนคริสตกาล[13] หรืออีกทางหนึ่ง เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราทได้มองว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สามของราชวงศ์[14][15][9] ในฐานะผู้ปกครองของราชวงศ์ในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบสาม ฟาโรห์คาบาวจะปกครองตั้งแต่จากเมืองเมมฟิสไปยังเมืองอัสวาน และอาจจะอยู่ปกครองอยู่เหนือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันตก[4]

อ้างอิง แก้

  1. Wallis Budge: Hieroglyphic Texts, V (1914) see p. 7 and pl. 18, available copyright-free online.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800 – 1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  3. E. Naville: Bubastis, 1891, 15, pl. XXXIII, available copyright-free online
  4. 4.0 4.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 289-290
  5. ดูสถานการณ์ที่คล้ายกันของรูปสลักขนาดใหญ่ของฟาโรห์อิมิเอมเมชาว
  6. Flinders Petrie: Scarabs and cylinders with names (1917), available copyright-free here, pl. XVIII
  7. 7.0 7.1 Seal of Khabaw[ลิงก์เสีย], catalog of the Petrie Museum.
  8. Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 166-167
  9. 9.0 9.1 Jürgen von Beckerath: Handbuch der Ägyptischen Königsnamen, MÄS 49, Philip Von Zabern. (1999)
  10. Marcel Marée: A sculpture workshop at Abydos from the late Sixteenth or early Seventeenth Dynasty, in: Marcel Marée (editor): The Second Intermediate period (Thirteenth-Seventeenth Dynasties), Current Research, Future Prospects, Leuven, Paris, Walpole, MA. 2010 ISBN 978-90-429-2228-0. p. 247, 268
  11. 11.0 11.1 A. Spalinger: Sobekhotep II, in: Wolfgang Helck editor: Lexikon der Ägyptologie, vol. 5. Harrasowitz, Wiesbaden 1984, ISBN 3-447-02489-5
  12. Stephen Quirke: In the Name of the King: on Late Middle Kingdom Cylinders, in: E. Czerny, I. Hein, H. Hunger, D. Melman, A. Schwab (editors): Timelines, Studies in Honour of Manfred Bietak, Volume I, Leuven, Paris/ Dufdley, MA ISBN 9789042917309, p. 263-274.
  13. Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen, Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, p. 255 and 259
  14. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
  15. Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46. Mainz am Rhein, 1997