ผู้ครองราชสมบัติร่วม

ผู้ครองราชสมบัติร่วม เป็นสถานการณ์ที่ตำแหน่งผู้ปกครอง (เช่น เจ้าชาย เจ้าหญิง กษัตริย์ พระราชินี จักรพรรดิ หรือจักรพรรดินี) ซึ่งโดยปกติจะมีเพียงบุคคลเดียว แต่กลับมีผู้ปกครองขึ้นมาบริหารสองคนหรือมากกว่านั้น ซึ่งจะแตกต่างจากระบบการปกครองทวิราชาธิปไตย (Diarchies หรือ Duumvirates) อย่างเช่น การปกครองของนครรัฐสปาร์ตาโบราณและจักรวรรดิโรมัน พร้อมกับผู้สำเร็จราชการที่ซึ่งในกรณีส่วนใหญ่ผู้ปกครองที่ยังเยาว์วัยกว่าที่จะปกครองด้วยตนเองได้หรือไร้ความสามารถ โดยเฉพาะจะมีผู้อาวุโสเหนือผู้ปกครองและไม่ใช้อำนาจใด ๆ นอกเหนือจากการดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐตามกฎหมาย

ตัวอย่างทางประวัติศาสตร์

แก้

การครองราชสมบัติร่วมนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยเฮลเลนิสติก ตามที่นักวิชาการท่านหนึ่งได้กล่าวว่า "โดยปกติแล้วสามารถอธิบายได้ว่าการครองราชสมบัติร่วมเป็นวิธีการหลีกเลี่ยงวิกฤตการสืบราชสันตติวงศ์หรือความขัดแย้งภายใน และเป็นการเสริมสร้างเอกลักษณ์และอุดมการณ์ของราชวงศ์"[1] ตัวอย่างอื่นๆ ได้แก่ การครองราชสมบัติร่วมของพระเจ้าเฟรดเดอริกที่ 1 แห่งออสเตรียและจักรพรรดิลูทวิชที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในราชอาณาจักรเยอรมนี นอกจากนี้ยังสามารถพบผู้ปกครองตามสิทธิ์ของพระมเหสี (Jure uxoris) ในราชอาณาจักรต่างๆ เช่น สเปนและโปรตุเกส (พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 และสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา, พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 และสมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยา, พระเจ้าเปดรูที่ 3 และสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส เป็นต้น) และในราชอาณาจักรนาวาร์ พระสวามีของสมเเด็จราชินีนาถผู้ทรงครองราชย์ทรงได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้ปกครองร่วม[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

แก้
  1. Skuse, Matthew L. (2017). "Coregency in the Reign of Ptolemy II: Findings from the Mendes Stela". The Journal of Egyptian Archaeology. 103 (1): 89–101. doi:10.1177/0307513317722457. ISSN 0307-5133. JSTOR 26948553. S2CID 191525385.