ราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ จัดเป็นราชวงศ์แรกในช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่ของอียิปต์ ซึ่งเป็นยุคที่อียิปต์โบราณเรืองอำนาจสูงสุด ราชวงศ์ที่สิบแปดครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 1550/1549 ถึง 1292 ปีก่อนคริสตกาล ราชวงศ์นี้เรียกอีกอย่างว่า ราชวงศ์ทุตโมส เนื่องจากฟาโรห์จากราชวงศ์นี้จำนวน 4 พระองค์ทรงใช้พระนามว่า ทุตโมส
ราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ราว 1550 ปีก่อนคริสตกาล–1292 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||
จักรวรรดิของราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ในอาณาเขตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรัชสมัยฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 | |||||||||||
เมืองหลวง | ธีบส์, อาเคตอาเตน | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอียิปต์สมัยกลาง (ถึงราว 1350 ปีก่อนคริสตกาล) ภาษาอียิปต์สมัยปลาย (ตั้งแต่ราง 1350 ปีก่อนคริสตกาล) ภาษาคานาอัน ภาษานิวเบีย [[ภาษาแอกแคด ]] (ภาษาทางการทูตและการค้า) | ||||||||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ ลิทธิอาเตน | ||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคสัมฤทธิ์ | ||||||||||
• ความพ่อยแพ้ของราชวงศ์ที่สิบห้า (การขับไล่ชาวฮิกซอส) | ราว 1550 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
ราว 1457 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||
ราว 1350–1330 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||
• การสวรรคตของฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบ | 1292 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
|
ฟาโรห์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของอียิปต์หลายพระองค์มาจากราชวงศ์ที่สิบแปด รวมถึงฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ซึ่งฮาวเวิร์ด คาร์เตอร์เป็นผู้ค้นพบสุสานของพระองค์ในปี ค.ศ. 1922 ส่วนฟาโรห์ที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ของราชวงศ์ ได้แก่ ฟาโรห์ฮัตเชปซุต (ราว 1479–1458 ปีก่อนคริสตกาล) ฟาโรห์สตรีผู้ครองราชย์ยาวนานที่สุดของราชวงศ์พื้นเมือง และฟาโรห์อะเคนอาเตน (ประมาณ 1353–1336 ปีก่อนคริสตกาล) หรือ "ฟาโรห์นอกรีต" กับพระมเหสีผู้ยิ่งใหญ่ของพระองค์พระนามว่า เนเฟอร์ติติ ราชวงศ์ที่สิบแปดมีลักษณะเฉพาะตัวในบรรดาราชวงศ์อียิปต์ที่มีฟาโรห์สตรีจำนวนพระองค์ที่ทรงครองราชย์ สตรีที่ปกครองในฐานะฟาโรห์แต่เพียงผู้เดียว: พระนางฮัตเชปซุค และพระนางเนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ซึ่งมักสันนิษฐานว่าเป็นพระองค์เดียวกันกับพระนางเนเฟอร์ติติ[1]
ประวัติราชวงศ์
แก้ช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์
แก้ราชวงศ์ที่สิบแปดสถาปนาขึ้นโดยฟาโรห์อาห์โมสที่ 1 ซึ่งเป็นพระอนุชาหรือพระราชโอรสของฟาโรห์คาโมส ผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบเจ็ด พระองค์เสร็จสิ้นการดำเนินการทางทหารเพื่อขับไล่ผู้ปกครองชาวฮิกซอส รัชสมัยของพระองค์ถูกมองว่าเป็นจุดสิ้นสุดของสมัยช่วงระหว่างกลางที่สองและการเริ่มต้นของสมัยราชอาณาจักรใหม่ พระมเหสีของฟาโรห์อาห์โมส คือ พระนางอาโมส-เนเฟอร์ทาริ เป็น "สตรีที่ได้รับการเคารพนับถือมากที่สุดในประวัติศาสตร์อียิปต์ และเป็นพระอัยยิกาแห่งราชวงศ์ที่สิบแปด"[2] พระองค์ได้รับการบูชาอย่างเทพเจ้าหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคต ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์อาห์โมส ผู้เป็นพระราชบิดา ซึ่งเหตุการณ์ภายในรัชสมัยของพระองค์ไม่ค่อยเป็นที่ทราบมากนัก[3]
ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 อาจจะทรงไม่มีรัชทายาทที่เป็นบุรุษ และฟาโรห์พระองค์ต่อไป คือ ฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 ซึ่งดูเหมือนว่าจะเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ผ่านการอภิเษกสมรส ในรัชสมัยของพระองค์ พรมแดนของอาณาจักรอียิปต์แผ่ขยายออกไปทางเหนือถึงเมืองคาร์เคมิชบนแม่น้ำยูเฟรติส และทางใต้ถึงเมืองคูร์กัสเลยแก่งน้ำตกแม่น้ำไนล์ที่สี่ลงไป ฟาโรห์ทุตโมสที่ 2 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 และพระมเหสีฮัตเชปซุต ซึ่งเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 หลังจากสวามีของพระองค์เสด็จสวรรคตและช่วงระยะเวลาของการเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระราชโอรสเลี้ยงของพระองค์ (ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นฟาโรห์ในพระนามว่า ทุตโมสที่ 3) พระนางฮัตเชปซุตทรงกลายเป็นฟาโรห์ตามพระราชสิทธิและทรงปกครองมากว่ายี่สิบปี
ฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 ซึ่งทรงกลายเป็นที่รู้จักในฐานะฟาโรห์ทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ พระองค์ทรงครองราชย์ยาวนานเช่นกัน พระองค์ทรงมีผู้สำเร็จราชการร่วมครั้งที่สองในช่วงปลายพระชนม์ชีพกับพระราชโอรสของพระองค์พระนามว่า ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 2 ฟาโรห์ทุตโมสที่ 4 ทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 2 โดยซึ่งสืบทอดพระราชบัลลังก์ตามด้วยพระราชโอรสพระนามว่า ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ซึ่งรัชสมัยดังกล่าวถูกมองว่าเป็นจุดสูงสุดในราชวงศ์นี้
รัชสมัยของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ความงดงามทางศิลปะ และอำนาจระหว่างประเทศ ดังที่เห็นได้จากรูปสลักกว่า 250 รูป (มากกว่าฟาโรห์พระองค์อื่นๆ) และตราประทับแมลงสคารับขนาดใหญ่ 200 ตัวที่ค้นพบตั้งแต่ซีเรียจนถึงนิวเบีย[4] ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ทรงโปรดให้ดำเนินโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งขอบเขตของโครงการดังกล่าวสามารถเทียบได้กับโครงการในรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ที่ยาวนานกว่ามากในช่วงราชวงศ์ที่สิบเก้าเท่านั้น[5] พระมเหสีของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 คือ พระนางทีเย ซึ่งมีอิสริยยศเป็นพระอัครมเหสี ซึ่งพระองค์ทรงโปรดให้ขุดทะเลสาบเทียมตามที่อธิบายไว้ในตราประทับแมลงสคารับจำนวนสิบเอ็ดตัว[6]
ฟาโรห์อะเคนอาเตนแห่งสมัยอามาร์นา และฟาโรห์ทุตอังค์อามุน
แก้ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 อาจจะทรงครองบัลลังก์ร่วมกันนานถึง 12 ปีกับฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 ผู้เป็นพระราชโอรส ซึ่งมีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานดังกล่าวที่ว่ามีการสำเร็จราชการร่วมหรือไม่ โดยผู้เชี่ยวชาญหลายคนพิจารณาว่ามีการสำเร็จราชการร่วมที่ยาวนาน อันสั้น หรือไม่มีเลย
ในปีที่ 5 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 พระองค์ทรงได้เปลี่ยนพระนามเป็น อะเคนอาเตน (ꜣḫ-n-jtn, "มีประสิทธิภาพแต่เทพอาเตน") และทรงย้ายเมืองหลวงไปที่บริเวณอามาร์นา ซึ่งพระองค์ตั้งชื่อเมืองว่า อะเคตอาเตน ในรัชสมัยของพระองค์ เทพอาเตน (jtn, จานรัศมีสุริยะ) ได้กลายเป็นเทพสำคัญที่โดดเด่นที่สุด และในที่สุดก็ได้รับการพิจารณาให้เป็นเทพเจ้าเพียงพระองค์เดียว[7] ไม่ว่าจะรวมถึงลัทธิเอกเทวนิยมที่แท้จริงหรือไม่ก็ตามยังคงเป็นประเด็นถกเถียงในกลุ่มนักวิชาการ บางคนกล่าวว่า ฟาโรห์อะเคนอาเตนทรงสร้างลัทธิเอกเทวนิยม ในขณะที่คนอื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่าพระองค์เพียงแค่ทรงยกลัทธิสุริยะที่มีอำนาจเหนือกว่าอีกลัทธิหนึ่ง ในขณะที่พระองค์ทรงไม่เคยละทิ้งเทพเจ้าดั้งเดิมหลายพระองค์โดยสิ้นเชิง
ชาวอียิปต์ยุคหลังถือว่า "สมัยอามาร์นา" เป็นความผิดแปลกที่น่าเสียดาย หลังจากการสวรรคตของฟาโรห์อะเคนอาเตน มีการสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อโดยฟาโรห์สเมนค์คาเรและพระนางเนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ซึ่งปรากฏข้อมูลมากนัก ในช่วง 1334 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์ทุตอังค์อาเตน ผู้เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์อะเคนอาเตนทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์ หลังจากนั้นไม่นาน พระองค์ทรงได้ฟื้นฟูลัทธิที่นับถือพระเจ้าหลายพระองค์ในอียิปต์ และต่อมาทรงได้เปลี่ยนพระนามเป็น ทุตอังค์อามุน เพื่อถวายเป็นพระเกียรติแก่เทพเจ้าอามุนแห่งอียิปต์[8] มัมมี่หมายเลข 317a และ 317b ซึ่งเป็นมัมมี่ของพระราชธิดาที่สิ้นพระชนม์เมื่อคราวประสูติกาล ซึ่งเป็นสมาชิกของราชวงศ์รุ่นสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกันทางสายโลหิตของราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์
ฟาโรห์ไอย์และฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบ
แก้สมาชิกสองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบแปด คือ ฟาโรห์ไอย์และฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบ ซึ่งได้กลายเป็นผู้ปกครองจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่ในราชสำนัก ถึงแม้ว่าฟาโรห์ไอย์ อาจะทรงเป็นพระมาตุลาของพระราชมารดาของฟาโรห์อะเคนอาเตน ในฐานะร่วมสายโลหิตเดียวกันของยูยาและทจูยู
ฟาโรห์ไอย์อาจจะทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอังค์เอสเอนอามุน ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีที่ทรงเป็นม่ายและเป็นพระขนิษฐาต่าพระมารดาของฟาโรห์ทุตอังค์อามุน เพื่อที่จะได้อำนาจอันชอบธรรม หลังจากนั้นพระองค์ก็มีพระชนม์ชีพอยู่ได้ไม่นาน จากนั้น ฟาโรห์ไอย์ก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางเทย์ ซึ่งเดิมทีเป็นพระนมของพระนางเนเฟอร์ติติ
ฟาโรห์ไอย์ทรงมีรัชสมัยที่สั้น ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์คือฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบ ซึ่งเป็นนายพลในรัชสมัยของฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ซึ่งฟาโรห์ไอย์อาจจะทรงตั้งใจให้เป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ในกรณีที่พระองค์ไม่มีพระราชโอรสที่ยังมีพระชนม์ชีพ ซึ่งต่อมาก็คือ[9] ฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบอาจจะแย่งชิงพระราชบัลลังก์ไปจากฟาโรห์ไอย์ในการก่อกบฏ ถึงแม้ว่าพระราชโอรสหรือพระราชโอรสบุญธรรมของฟาโรห์ไอย์พระนามว่า นัคต์มิน ซึ่งจะได้รับการเสนอพระองค์ให้เป็นมกุฎราชกุมารของพระราชบิดา/พระราชบิดาบุญธรรม แต่ดูเหมือนว่าเจ้าชายนัคต์มินจะสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของฟาโรห์ไอย์ ทำให้ฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบทรงมีโอกาสครองพระราชบัลลังก์ต่อไป
ฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบก็เสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาทที่ยังมีพระชนม์ชีพ พระองค์จึงแต่งตั้งให้ราชมนตรีปา-รา-เมส-ซู ขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร ราชมนตรีผู้นี้ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์ใน 1292 ปีก่อนคริสตกาลในฐานะฟาโรห์รามเสสที่ 1 และเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์
ตัวอย่างทางด้านขวานี้แสดงให้เห็นบุรุษคนหนึ่งนามว่า ไอย์ซึ่งได้รับตำแหน่งทางศาสนาอันสูงส่งในตำแหน่งอุปมหาปุโรหิตแห่งอามุน และมหาปุโรหิตแห่งมัตที่ธีบส์ และหน้าที่มีความรุ่งเรืองในรัชสมัยของทุตอังค์อามุนเมื่อสร้างรูปสลัก ภาพแกะสลักของกษัตริย์ไอย์ ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์ทุตอังค์อามุนที่ปรากฏบนรูปสลัก จึงเป็นความพยายามของช่างฝีมือที่จะ "พัฒนา" ประติมากรรม[10]
ความสัมพันธ์กับดินแดนนิวเบีย
แก้จักรวรรดิแห่งราชวงศ์ที่สิบแปดได้พิชิตนิวเบียล่างทั้งหมดในรัชสมัยฟาโรห์ทุตโมสที่ 1[11] ในรัชสมัยของฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 ชาวอียิปต์ได้ควบคุมนิวเบียไปโดยตรง ซึ่งไปถึงแก่งน้ำตกแม่น้ำไนล์ที่ 4 โดยอิทธิพลของอียิปต์หรือขยายออกไปนอกเหนือจุดนี้[12][13] ชาวอียิปต์เรียกบริเวณนี้ว่า คุช และปกครองโดยอุปราชแห่งคุช ราชวงศ์ที่สิบแปดได้รับทองคำนิวเบีย หนังสัตว์ งาช้าง ไม้มะเกลือ วัวควาย และม้า ซึ่งมีคุณภาพดีเยี่ยม[11] ชาวอียิปต์สร้างวิหารไปทั่วนิวเบีย วิหารที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งอุทิศให้กับเทพอามุนที่เฌเบล บาร์คัล ในเมืองแนปาตา วิหารแห่งอามุนแห่งนี้ได้รับการขยายให้ใหญ่ขึ้นโดยฟาโรห์แห่งอียิปต์และนิเบียในช่วงเวลาต่อมา เช่น ฟาโรห์ทาฮาร์กา
-
เครื่องบรรณาการนิวเบียถวายแด่ฟาโรห์ จากสุสานแห่งฮุย MET DT221112
-
เฮกาเนเฟอร์แห่งนิวเบียทรงนำเครื่องบรรณาการถวายแด่ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ราชวงศ์ที่สิบแปด จากสุสานแห่งฮุย
-
ชาวนูเบียถวายเครื่องบรรณาการแด่ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน จากสุสานแห่งฮุย
ความสัมพันธ์กับดินแดนตะวันออกใกล้
แก้หลังจากสิ้นสุดยุคการปกครองโดยต่างชาติอย่างฮิกซอส ราชวงศ์ที่สิบแปดได้เข้าสู่ช่วงแห่งการขยายตัวอย่างเข้มข้น พิชิตพื้นที่กว้างใหญ่ของตะวันออกใกล้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 ได้ส่ง "ชาซู" กลุ่มชาวเบดูอินทางตอนเหนือของคานาอัน และดินแดนของเรทเจนูไกลถึงซีเรียและไมตานนี ในการรบทางทหารหลายครั้งประมาณ 1450 ปีก่อนคริสตกาล[14][15]
-
ภาพนูนต่ำอียิปต์แสดงการต่อสู้กับชาวเอเชียติกตะวันตกในรัชสมัยของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 2 แห่งราชวงศ์ที่สิบแปด ราว 1427–1400 ปีก่อนคริสตกาล
-
ผู้ถือเครื่องบรรณาการของชาวเอเชียตะวันตกในสุสานของโซเบคโฮเทป, ราว 1,400 ปีก่อนคริสตกาล จากธีบส์ พิพิธภัณฑ์บริติช[16]
การระบุช่วงเวลาของราชวงศ์
แก้การหาอายุด้วยคาร์บอนกัมมันตภาพรังสีบ่งชี้ว่าช่วงเวลาของราชวงศ์ที่สิบแปดอาจเริ่มต้นเร็วกว่าช่วงเวลาเดิมคือ 1550 ปีก่อนคริสตกาลไม่กี่ปี ช่วงเวลาของเรดิโอคาร์บอนสำหรับการเริ่มของสมัยราชวงศ์ที่สิบแปดคือ 1570–1544 ปีก่อนคริสตกาล ค่าเฉลี่ยคือ 1557 ปีก่อนคริสตกาล[17]
รายพระนามฟาโรห์
แก้ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบแปดทรงปกครองเป็นเวลาประมาณ 250 ปี (ประมาณ 1550–1298 ปีก่อนคริสตกาล) ช่วงเวลาและพระนามในตารางนำมาจากด็อดสันและฮิลตัน[18] ฟาโรห์หลายพระองค์ทรงถูกฝังพระบรมศพอยู่ในหุบเขากษัตริย์ในธีบส์ (KV) สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ Theban Mapping Project[19] ปรากฏการอภิเษกสมรสทางการทูตหลายครั้งเป็นที่ทราบกันดีสำหรับช่วงราชอาณาจักรใหม่ พระราชธิดาของกษัตริย์ต่างชาติเหล่านี้มักถูกกล่าวถึงเฉพาะในบันทึกคูนิฟอร์มและไม่ทราบจากแหล่งอื่น การอภิเษกสมรสน่าจะเป็นวิธีการยืนยันความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐเหล่านี้[20]
ฟาโรห์ | รูปภาพ | พระนามครองราชย์/พระนามประสูติ | รัชสมัย | สถานที่ฝังพระบรมศพ | พระมเหสี/พระสวามี | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|---|---|
อาโมสที่ 1/อาโอซิสที่ 1 | เนบเพติเร | 1549–1524 ปีก่อนคริสตกาล | อาโมส-เนเฟอร์ทาริ | |||
อเมนโฮเทปที่ 1 | ดเจเซอร์คาเร | 1524–1503 ปีก่อนคริสตกาล | เควี 39? หรือ สุสานเอเอ็นบี? | อาโมส-เมริตอามอน | ||
ทุตโมสที่ 1 | อาอาเคเปอร์คาเร | 1503–1493 ปีก่อนคริสตกาล | เควี 20, เควี 38 | อาโมส | ||
ทุตโทสที่ 2 | อาอาเคเปอร์เอนเร | 1493–1479 ปีก่อนคริสตกาล | เควี 42? | ฮัตเชปซุต | ||
ฮัตเชปซุต | มาอัตคาเร | 1479–1458 ปีก่อนคริสตกาล | เควี 20 | ทุตโมสที่ 2 | ||
ทุตโมสที่ 3 | เมนเคเปอร์(เอน)เร | 1479–1425 ปีก่อนคริสตกาล | เควี 34 | ซาทิอาห์ | ||
อเมนโฮเทปที่ 2 | อาอาเคเปอร์รูเร | 1427–1397 ปีก่อนคริสตกาล | เควี 35 | เธียอา | ||
ทุตโมสที่ 4 | เมนเคเปอร์รูเร | 1397–1388 ปีก่อนคริสตกาล | เควี 43 | เนเฟอร์ทาริ
ไออาเรต มัตเอมวียา พระราชธิดาในกษัตริย์อาร์ตาตามาที่ 1 แห่งไมตานนี |
||
อเมนโฮเทปที่ 3 | เนบมาอัตเร | 1388–1351 ปีก่อนคริสตกาล | เควี 22 | ทีเย จิลูคิปาแห่งไมตานนี
ทาดูคิปาแห่งไมตานนี ซิตอามุน ไอเซต พระราชธิดาในกษัตริย์คูริกัลซูที่ 1 แห่งบาบิโลน[21] พระราชธิดาในกษัตริย์คาดัชมัน-เอนลิลแห่งบาบิโลน[21] พระราชธิดาในกษัตริย์ทาร์ฮุนดาราดูแห่งอาร์ซาวา[21] พระราชธิดาในกษัตริย์แห่งอัมเมีย[21] |
||
อเมนโฮเทปที่ 4/อาเคนอาเตน | เนเฟอร์เคเฟอร์รูเร-วาเอนเร | 1351–1334 ปีก่อนคริสตกาล | สุสานหลวงแห่งอาเคนอาเตน, เควี 55 (?) | เนเฟอร์ติติ
คียา ทาดูคิปาแห่งไมตานนี พระราชธิดาในกษัตริย์ซาทิยาแห่งเอนิซาซิ[21] เมริตอาเตน? เมเคตอาเตน? อังค์เอสเอนอามุน พระราชธิดาในกษัตริย์บูรนา-บูริอัชที่ 2, กษัตริย์แห่งบาบิโลน[21] |
||
สเมนค์คาเร | อังค์เคเปอร์รูเร | 1335–1334 ปีก่อนคริสตกาล | เควี 55 (?) | เมริตอาเตน | ||
เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน | อังค์เคเปอร์รูเร-อะเคต-เอน-ฮิเอส | 1334–1332 ปีก่อนคริสตกาล | อาเคนอาเตน? | มักสันนิษฐานว่าเป็นพระนางเนเฟอร์ติติ | ||
ทุตอังค์อามุน | เนบเคเปอร์รูเร | 1332–1323 ปีก่อนคริสตกาล | เควี 62 | อังค์เอสเอนอามุน | ||
ไอย์ | เคเปอร์เคเปอร์รูเร | 1323–1319 ปีก่อนคริสตกาล | เควี 23 | อังค์เอสเอนอามุน? | ||
ฮอร์เอมเฮบ | ดเจเซอร์เคเปอร์รูเร-เซเทปเอนเร | 1319–1292 ปีก่อนคริสตกาล | เควี 57 | มัตเนดจ์เมต |
เส้นเวลาของราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Daniel Molinari (2014-09-16), Egypts Lost Queens, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21, สืบค้นเมื่อ 2017-11-14
- ↑ Graciela Gestoso Singer, "Ahmose-Nefertari, The Woman in Black". Terrae Antiqvae, January 17, 2011
- ↑ Aidan Dodson, Dyan Hilton: pg 122
- ↑ O'Connor & Cline 1998, pp. 11–12.
- ↑ Aidan Dodson, Dyan Hilton: pg 130
- ↑ Kozloff & Bryan 1992, no. 2.
- ↑ Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2010). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. p. 142. ISBN 978-0-500-28857-3.
- ↑ Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2010). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. p. 143. ISBN 978-0-500-28857-3.
- ↑ Gardiner, Alan (1953). "The Coronation of King Haremhab". Journal of Egyptian Archaeology. 39: 13–31.
- ↑ "Block Statue of Ay". brooklynmuseum.org. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
- ↑ 11.0 11.1 O'Connor, David (1993). Ancient Nubia: Egypt's Rival in Africa. University of Pennsylvania, USA: University Museum of Archaeology and Anthropology. pp. 60–69. ISBN 0924171286.
- ↑ Shaw, Ian (2004). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. p. 217.
- ↑ "Early History", Helen Chapin Metz, ed., Sudan A Country Study. Washington: GPO for the Library of Congress, 1991.
- ↑ Gabriel, Richard A. (2009). Thutmose III: The Military Biography of Egypt's Greatest Warrior King (ภาษาอังกฤษ). Potomac Books, Inc. p. 204. ISBN 978-1-59797-373-1.
- ↑ Allen, James P. (2000). Middle Egyptian: An Introduction to the Language and Culture of Hieroglyphs (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 299. ISBN 978-0-521-77483-3.
- ↑ "Tomb-painting British Museum". The British Museum (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Ramsey, C. B.; Dee, M. W.; Rowland, J. M.; Higham, T. F. G.; Harris, S. A.; Brock, F.; Quiles, A.; Wild, E. M.; Marcus, E. S.; Shortland, A. J. (2010). "Radiocarbon-Based Chronology for Dynastic Egypt". Science. 328 (5985): 1554–1557. Bibcode:2010Sci...328.1554R. doi:10.1126/science.1189395. PMID 20558717. S2CID 206526496.
- ↑ Aidan Dodson, Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt. The American University in Cairo Press, London 2004
- ↑ "Sites in the Valley of the Kings". Theban Mapping Project. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2010. สืบค้นเมื่อ 24 November 2018.
- ↑ Grajetzki, Ancient Egyptian Queens: A Hieroglyphic Dictionary, Golden House Publications, London, 2005, ISBN 978-0954721893
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWG
บรรณานุกรรม
แก้- O'Connor, David; Cline, Eric (1998). Amenhotep III: Perspectives on His Reign. University of Michigan Press.
- de la Bédoyère, Guy (2023). Pharaohs of the Sun: The Rise and Fall of Tutankhamun's Dynasty. Pegasus Books. ISBN 9781639363063.
- Kozloff, Arielle; Bryan, Betsy (1992). Royal and Divine Statuary in Egypt's Dazzling Sun: Amenhotep III and his World. Cleveland.
- Kuhrt, Amélie (1995). The Ancient Near East: c. 3000–330 BC. London: Routledge. ISBN 9780415013536.
ดูเพิ่ม
แก้- Hatshepsut: from Queen to Pharaoh, an exhibition catalog from The Metropolitan Museum of Art (fully available online as PDF)