แฮตเชปซุต-เมริทเร

แฮตเชปซุต-เมริทเร (หรือบางครั้งใช้พระนาม แฮตเชปซุต-เมอร์เยต-รา) เป็นพระมเหสีของฟาโรห์ทุตโมสที่สาม และเป็นพระราชมารดาของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่สอง

พระนางแฮตเชปซุต-เมริทเร ในไฮเออโรกลีฟ
<
ramriitF4
t
A51
>

Meritre Hatschepsut
Mr.t Rꜥ ḥꜣ.t šps.(w)t
ที่รักของรา

ครอบครัว แก้

พระนางแฮตเชปซุต-เมริทเร พระองค์อาจจะเป็นบุตรสาวของนักบวชหญิงนามว่า ฮุย ซึ่งมีรูปปั้นในพิพิธภัณฑ์บริติช พระองค์เป็นพระราชมารดาของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่สอง, เจ้าชายเมนเคปเปอร์เร และเจ้าหญิงเนเบตติยูเนท, เจ้าหญิงเมริทอามุน C, เจ้าหญิงเมริทอามุน D และเจ้าหญิงไอเซท[1]

พระประวัติ แก้

พระนางแฮตเชปซุต-เมริทเร กลายเป็นพระราชินีและพระมเหสี ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระราชินีซาทิอาห์ พระองค์ปรากฎอยู่ในภาพสลักวิหารของฟาโรห์ทุตโมสที่สามใน Medinet Habu ซึ่งสลักเป็นภาพพระองค์ยืนอยู่ด้านของฟาโรห์ทุตโมสที่สาม[2]

 
พระนางแฮตเชปซุต-เมริทเรกับฟาโรห์ทุตโมสที่สาม

พระนางแฮตเชปซุต-เมริทเร ปรากฎอยู่ในภาพสลักในหลายสุสานรวมทั้งพระสวามีของพระองค์ ฟาโรห์ทุตโมสที่สาม ใน (เควี 43) หนึ่งในเสาในสุสานระบุว่าพระองค์เป็นพระราชินีหนึ่งในสามพระองค์ของฟาโรห์ทุตโมสที่สาม [3]

การสิ้นพระชนม์และที่ฝังพระศพ แก้

พระศพขพระองค์เดิมฝังอยู่ใน เควี 42 ซึ่งถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2464 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าสุสานมีไว้สำหรับพระองค์อย่างแท้จริง อาจถูกฝังอยู่ใน เควี 35 หลุมฝังศพของพระราชโอรสของพระองค์ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่สอง อย่างไรก็ตาม เควี 42 อาจจะถูกนำมาฝังศพสำหรับผู้ปกครองเมืองธีบส์นามว่า เซนเนเฟอร์ และภรรยาของเขา นามว่า เซเนตนาย[4]

อ้างอิง แก้

  1. Dodson, A. and D. Hilton 2004. The Complete Royal Families of Ancient Egypt London: Thames and Hudson. pp. 132–133, 139
  2. Wolfram Grajetski: Ancient Egyptian Queens: a hieroglyphic dictionary. Golden House Publications, London 2005, ISBN 0954721896, S. 53.
  3. A. Bart Merytre-Hatshepsut website [1] เก็บถาวร 2008-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "KV42 from the Theban Mapping Project". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-01. สืบค้นเมื่อ 2017-10-17.