เนเฟอร์ติติ (1370 - 1330 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นราชินีของฟาโรห์อาเมนโฮเทป ที่ 4 แห่งอียิปต์ (ภายหลังได้เปลี่ยนพระนามมาเป็นแอเคนาเทน) และพระสัสสุของฟาโรห์ตุตันคามุน กล่าวกันว่าเนเฟอร์ติติอาจเคยขึ้นเสวยราชสมบัติครองบัลลังก์อียิปต์เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ หลังจากพระราชสวามีสวรรคต และก่อนที่ฟาโรห์ตุตันคามุนจะเถลิงราชสมบัติ แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ ชื่อของพระนางอาจแปลได้โดยสังเขปว่า โฉมงามผู้มาสู่ และยังพ้องกับคำเรียกเครื่องประดับชนิดหนึ่งที่เป็นลูกปัดทองคำรูปยาวรี ดังที่เราเห็นรูปปั้นของเธอสวมใส่อยู่เสมอ ลูกปัดชนิดนี้เรียกว่า ลูกปัด "เนเฟอร์"

เนเฟอร์ติติ
พระรูปครึ่งองค์เนเฟอร์ติติ ขณะจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์อิยิปต์กรุงเบอร์ลิน ปัจจุบันรูปปั้นนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์นัวเอส
อัครมเหสีแห่งไอยคุปต์
ระหว่าง1353–1336 BC[1] หรือ
1351–1334 BC[2]
ฟาโรห์เเห่งอียิปต์
ครองราชย์1334–1332 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้าสเมงห์คาเร
ถัดไปตุตันคาเมน
พระราชสมภพ1370 ปีก่อนค.ศ. (สันนิษฐาน)
สวรรคต1330 ปีก่อนค.ศ. (สันนิษฐาน)
คู่อภิเษกฟาโรห์แอเคนาเทน
พระราชบุตรเมอริตาเทน
เมเคตาเทน
อังค์เอสเอ็นอามุน
เนเฟอร์เนเฟอรอเทน ตาเชริต
เนเฟอร์เนเฟอรูเร
เซตีเปนเร
พระนามเต็ม
เนเฟอร์เนเฟอรอเตน เนเฟอร์ติติ
ราชวงศ์ราชวงศ์อียิปต์ที่ 18
ศาสนาศาสนาอียิปต์โบราณ
พระรูปแกะสลักในพระอิริยาบถยืนของเนเฟอร์ติติจากเมืองอามาร์นา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ แห่งกรุงเบอร์ลิน
พระรูปแกะสลักของเนเฟอร์ติติกับ อาเคนาเตน และธิดาสามองค์ จากเมืองอามาร์นา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ แห่งกรุงเบอร์ลิน

เนเฟอร์ติติโด่งดังจากพระรูปปั้นท่อนบน ที่ตอนนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์นอยเอส ในนครเบอร์ลิน พระรูปปั้นดังกล่าวเป็นพระรูปที่ถูกทำเลียนแบบซ้ำมากที่สุดในบรรดาศิลปวัตถุของไอยคุปต์ สร้างขึ้นโดยประติมากร Djhutmose และถูกค้นพบในห้องทำงานศิลปะของเขา พระรูปปั้นท่อนบนนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเนื่องจากเป็นตัวอย่างของความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของชาวอียิปต์โบราณเกี่ยวสัดส่วนขององค์ประกอบบนใบหน้า

พระนางถูกเรียกขานมากมายหลายชื่อ ที่วิหารคาร์นัก มีศิลาจารึกที่ขานพระนางว่าเป็น 'ผู้สืบทอด' 'ที่สุดของผู้เป็นที่โปรดปราน' 'ผู้มีสเน่ห์' 'ผู้แผ่ความสุข' 'ชายาผู้อ่อนหวาน' 'ผู้เป็นที่รัก' 'ผู้ปลอบประโลมหัวใจขององค์ราชาในวัง' 'ผู้มีถ้อยคำอ่อนโยน' 'ชายาแห่งอียิปต์ตอนบนและอียิปต์ตอนล่าง' 'ชายาของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่' 'ผู้ที่กษัตริย์ทรงรัก' 'สตรีแห่งดินแดนทั้งสอง' 'เนเฟอร์ติติ'

ต้นตระกูลของเนเฟอร์ติติ

แก้

ไม่มีใครทราบว่าบิดามารดาของเนเฟอร์ติติเป็นใคร แต่มีผู้เห็นพ้องต้องกันว่าเธออาจเป็นธิดาของเอย์ ผู้ที่ได้เป็นฟาโรห์ในเวลาต่อมา กับมเหสีที่มีชื่อว่าเทย์ อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าเนเฟอร์ติติแท้จริงคือเจ้าหญิงทาดูเคปา ธิดาของกษัตริย์ทัชรัตตาแห่งมีทานนี ในม้วนคัมภีร์โบราณมีการกล่าวถึงชื่อนีเมรีธิน เป็นอีกชื่อหนึ่งของพระนาง แต่ก็ยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ ยังมีผู้เสนอแนวคิดว่าพระนางเป็นธิดา หรือพระญาติกับฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่สาม หรือไม่ก็เป็นชนชั้นสูงของชาวเธบ อีกทฤษฎีหนึ่งยกให้เนเฟอร์ติติเป็นธิดาของซีตามุน พี่น้องสาวต่างมารดาของอาเมนโฮเทปที่สาม โดยมีพระราชินีเอียเรเป็นพระมารดาของนาง เอียเรเคยมีตำแหน่งเป็นองค์รัชทายาท แต่ตำแหน่งดังกล่าวต้องสิ้นสุดลงเมื่ออาเมนโฮเทปที่สามขึ้นครองบัลลังก์ ซีตามุนถูกเลี้ยงดูให้เป็นมเหสีของทีเย แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าพระนางมีโอรสธิดากับผู้ใดหรือไม่ มีหลักฐานอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าทั้งซีตามุนและเนเฟอร์ติติต่างก็มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกัน นั่นคือชื่อของทั้งคู่ต่างก็หมายความว่า "ผู้เลอโฉม" เนเฟอร์ติตินับถือเทพเพียงองค์เดียว นั่นก็คืออาตอน ทั้งนี้ อาเคนาเตน สวามีของพระนางอาจเป็นพระบิดา หรือไม่ก็พี่ชายต่างมารดาของฟาโรห์ตุตันคามุน ขึ้นอยู่กับว่าจะนับญาติแบบไหน

วันที่เนเฟอร์ติติอภิเษกสมรสกับอาเมนโฮเทปที่สี่ และต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระชายาของพระองค์นั้นไม่อาจระบุได้แน่นอน อย่างไรก็ดี ทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกันหกคน ตามรายชื่อและปีเกิดต่อไปนี้:

ในปีที่สี่ของการครองราชย์ (1346 ปีก่อนคริสตกาล) อาเมนโฮเทปที่สี่ได้เริ่มสร้างศาสนสถานเพื่อบูชาเทพอาเตน และยังเชื่ออีกว่าปีเดียวกันนี้พระองค์ได้เริ่มก่อสร้างอาเคตาเตน เมืองหลวงแห่งใหม่ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อเมืองอามาร์นา ในปีที่ห้าของการครองราชย์ (1345 ปีก่อนคริสตกาล) อาเมนโฮเทปที่สี่ ได้เปลี่ยนพระนามของพระองค์อย่างเป็นทางการเป็นอาเคนาเตน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของศาสนสถานแห่งใหม่ คาดกันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ 2 มกราคมของปีนั้น ในปีที่เจ็ดของการครองราชย์ (1343 ปีก่อนคริสตกาล) ได้มีการย้ายเมืองหลวงจากกรุงธีบ ไปยังอามาร์นา แม้ว่าจะยังมีการก่อสร้างต่อไปอีกถึงสองปี จนกระทั่ง 1341 ปีก่อนคริสตกาล เมืองใหม่ถูกอุทิศให้กับศาสนาใหม่ของทั้งคู่ เชื่อกันว่ารูปปั้นครึ่งตัวอันโด่งดังของเนเฟอร์ติติถูกสร้างขึ้นในปีนี้เอง

อักษรจารึกชิ้นหนึ่งระบุว่าราววันที่ 21 พฤศจิกายน ในปีที่ 12 ของการครองราชย์ (1338 ปีก่อนคริสตกาล) ได้มีการกล่าวถึงเมเคตาเตน พระธิดาเป็นครั้งสุดท้าย จึงเชื่อกันว่านางอาจจะสิ้นพระชนม์ไม่นานหลังจากนั้น รูปสลักนูนต่ำในสุสานของอาเคนาเตนในสุสานกษัตริย์แห่งอามาร์นามีรูปงานศพของนาง

การหายสาบสูญไปอย่างลึกลับ

แก้

การค้นพบมัมมี่ที่หายสาบสูญ?

แก้

ชื่อที่เป็นอมตะ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Akhenaton". Encyclopaedia Britannica.
  2. Jürgen von Beckerath, Chronologie des Pharaonischen Ägypten. Philipp von Zabern, Mainz, (1997), p.190
  • Cyril Aldred, Akhenaten: King of Egypt (Thames and Hudson, 1988) contains much material on her
  • Rita E. Freed, Yvonne J. Markowitz, Sue H. D'Auria, Pharaohs of the Sun: Akhenaten - Nefertiti - Tutankhamen (Museum of Fine Arts, 1999)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้