เซเกอเซนิ เป็นชาวอียิปต์หรือชาวนิวเบียโบราณที่มีแนวโน้มว่าจะขึ้นครองราชย์ในช่วงเวลาช่วงปลายราชวงศ์ที่ 11 ถึงช่วงต้นราชวงศ์ที่ 12 ในระยะเวลาของยุคราชอาณาจักรกลาง

หลักฐานการมีตัวตน แก้

หลักฐานของเซเกอเซนิมีเพียงหินสลักหนึ่งหรือสองชิ้น[3]ที่ค้นพบในอัมบาราคาบ (คอร์-เดฮ์มิต) ในดินแดนนิวเบียล่าง พระนามของเซเกอเซนิที่สลักอยู่ที่หินสลักก็ยังมีข้อสงสัย[4] เนื่องจากพระนามของพระองค์ถูกสลักอย่างไม่เรียบร้อยหรืออาจจะเสื่อมโทรมตามกาลเวลา ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลที่มีพระนมว่า เมงค์คาเร หรือ วัดจ์คาเร ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ หนึ่งในหินสลักของพระองค์อาจจะมีการบันทึกสงครามที่ไม่ปรากฏในพื้นที่ชื่อว่า เพอร์เซนเบต

พระนามของเซเกอเซนิไม่ได้ถูกสลักอยู่ที่บันทึกรายนามฟาโรห์แห่งอียิปต์ใดๆ

ชีวประวัติ แก้

แม้ว่าเซเกอเซนิจะถูกนับรวมเป็นฟาโรห์อีกพระองค์หนึ่ง แต่พระองค์ไม่มีหลักในภายนอกดินแดนนิวเบีย พระองค์จึงมีโอกาสมากที่สุดแค่เป็นผู็อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อียิปต์หรือนิวเบีย โดยมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่นิวเบียล่างในช่วงระยะเวลาที่มีปัญหาทางการเมืองช่วงช่วงต่อที่หนึ่งถึงช่วงช่วงต่อที่สอง[5] หรือช่วงรัชสมัยของเมนทูโฮเทปที่ 4 ของราชวงศ์ที่ 11 และช่วงรัชสมัยของอเมเนมเฮตที่ 1 ของราชวงศ์ที่ 12[6] ซึ่งเป็นไปได้ที่สุดแล้วโดยนักไอย์คุปต์วิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองทั้งสองดูเหมือนจะมีปัญหาในการได้รับการยอมรับการเป็นฟาโรห์ที่ชอบธรรม

อ้างอิง แก้

  1. Jürgen von Beckerath, Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Deutscher Kunstverlag, München/ Berlin 1984, ISBN 3-422-00832-2, pp. 64, 196.
  2. Arthur Weigall, A Report on the Antiquities of Lower Nubia. Cairo 1907, pl. 19.
  3. T. Save-Soderbergh: Agypten und Nubien, Lund: Hakan Ohlsson 1941, 43 f
  4. Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 357
  5. Török, László (2008). Between Two Worlds: The Frontier Region Between Ancient Nubia and Egypt 3700 BC - 500 AD. Brill. p. 101. ISBN 978-90-04-17197-8.
  6. Wolfram Grajetzki, The Middle Kingdom of ancient Egypt: history, archaeology and society. London, Duckworth Egyptology, 2006, pp. 27-28.