ฟาโรห์อิยูฟนิ
ฟาโรห์อิยูฟนิ (หรือ เจเวฟนิ) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณของราชวงศ์ที่สิบสามในสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง[2] ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต และดาร์เรล เบเกอร์ ได้เสนอความเห็นว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่เจ็ดของราชวงศ์นี้[2][3] ในขณะที่เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท และเดทเลฟ ฟรานเคอ ได้แสดงความเห็นว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองลำดับที่หก[4][5][6] โดยฟาโรห์อิยูฟนิทรงครองราชย์ที่พระนครเมมฟิสเป็นเวลาสั้นอันสั้นในช่วง 1788 หรือ 1741 ปีก่อนคริสตกาล[3][4]
ฟาโรห์อิยูฟนิ | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เจเวฟนิ, เอฟนิ, อัฟนาย | ||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||
รัชกาล | ระยะเวลาสั้นมากในช่วง 1788 ปีก่อนคริสตกาล (รีฮอล์ต)[1] หรือ 1741 ปีก่อนคริสตกาล (ฟรานเคอ) | |||||||||||||||||
ก่อนหน้า | โฮเทปอิบเร เกเมา ซิฮาร์เนดจ์เฮริเตฟ | |||||||||||||||||
ถัดไป | อเมนเอมฮัตที่ 6 | |||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ |
หลักฐานรับรอง
แก้ฟาโรห์อิยูฟนิเป็นที่ทราบโดยเฉพาะเพียงจากบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามกษัตริย์ที่รวบรวมไว้ราวประมาณ 500 ปี หลังจากการขึ้นครองพระราชบัลลังก์ของพระองค์ในช่วงต้นยุครามเสส[2][7] ตามการตีความบันทึกพระนามแห่งตูรินครั้งล่าสุดของรีฮอล์ต พระนามของพระองค์ปรากฏอยู่ในคอลัมน์ที่ 7 แถวที่ 9 ของบันทึก (ซึ่งสอดคล้องกับคอลัมน์ที่ 6 แถวที่ 9 ในการวิธีอ่านบันทึกพระนามแบบอลัน เฮช. การ์ดิเนอร์ และฟอน เบ็คเคอราท)[3]
พระราชวงศ์
แก้รีฮอล์ตได้ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ปกครองก่อนหน้าทั้งสองพระองค์คือ ฟาโรห์อเมนิ เกมาอู และฟาโรห์โฮเทปอิบเร เกมาอู ซิฮาร์เนดจ์เฮริเตฟ รวมถึงผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์พระนามว่า ฟาโรห์เซอังค์อิบเร อเมนิ อันเตฟ อเมนเอมฮัตที่ 6 ล้วนแต่ได้รับการเสนอชื่อ นั่นคือพระนามที่มีการเชื่อมโยงเหล่าฟาโรห์ดังกล่าวกับพระราชบิดาของพระองค์ เนื่องจากการเสนอชื่อดังกล่าวถูกใช้โดยฟาโรห์ก็ต่อเมื่อบรรพบุรุษของพระองค์เป็นฟาโรห์ด้วย และเนื่องจากฟาโรห์อิยูฟนิทรงขึ้นครองราชย์ท่ามกลางรัชสมัยเหล่าฟาโรห์ดังกล่าว รีฮอล์ตจึงได้ให้เหตุผลว่าฟาโรห์อิยูฟนิจะทรงต้องเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวงศ์ ซึ่งรวมถึงฟาโรห์เซเคมคาเร อเมนเอมฮัตที่ 5, ฟาโรห์อเมนิ เกมาอู, ฟาโรห์ซิฮาร์เนดจ์เฮริเตฟ และฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 6[3] และเมื่อพิจารณาถึงรัชสมัยของพระองค์ที่มีระยะเวลาอันสั้น รีฮอล์ตจึงได้เสนอความเห็นที่ว่า พระองค์อาจจะเป็นพระอนุชาของฟาโรห์ซิฮาร์เนดจ์เฮริเตฟ หรืออาจจะเป็นเพียงแค่พระราชนัดดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ Kim Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 101
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Kim Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, Copenhagen 1927, ISBN 87-7289-421-0, S. 338
- ↑ 4.0 4.1 Detlef Franke: Zur Chronologie des Mittleren Reiches. Teil II: Die sogenannte Zweite Zwischenzeit Altägyptens, in Orientalia 57 (1988)
- ↑ Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, available online เก็บถาวร 2015-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน see pp. 90-91
- ↑ Thomas Schneider: The Relative Chronology of the Middle Kingdom and the Hyksos Period (Dyns. 12–17), in: Erik Hornung, Rolf Krauss, David A. Warburton (ed.): Ancient Egyptian Chronology, Handbook of Oriental studies. Section One. The Near and Middle East. Vol 83, Brill, Leiden/Boston 2006, ISBN 978-90-04-11385-5, p. 168–196, available online.
- ↑ Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt 1964, pp. 40, 230 (XIII 5)