ฟาโรห์เซเคมคาเร

เซกเคมคาเร อเมเนมเฮตที่ 5 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณของราชวงศ์ที่สิบสาม ในยุคช่วงต่อที่สอง ตามที่นักไอย์คุปตวิทยา คิม ริโฮลต์ และ ดาร์เรล เบกเกอร์ พระองค์เป็นฟาโรห์ลำดับที่ 4 ของราชวงศ์ที่สิบสาม ครองราชย์ระหว่าง 1795 ถึง 1793 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1][2] การมีอยู่พระองค์นั้นถูกถกเถึยงจากนักไอยคุปตวิทยากลุ่มเล็ก ๆ ว่า พระองค์อาจจะเป็นคนเดียวกันกับฟาโรห์เซกเคมเร อเมเนมเฮต โซนเบฟ ฟาโรห์ลำดับที่ 2 ของราชวงศ์ที่สิบสาม

หลักฐานยืนยัน

แก้

ปรากฏพระนามของพระองค์ในคอลัมน์ที่ 7 แถวที่ 7 ในบันทึกพระนามแห่งตูรินที่บันทึกว่าพระองค์ครองราชย์เป็นเวลา 3 ถึง 4 ปี ซึ่งได้รับการยืนยันจากบันทึกพาไพรัสจากลาฮุน ที่กล่าวถึงในปีที่สามของการครองราชย์ของฟาโรห์ เซกเคมเร ซึ่งอาจจะเป็นพระองค์เอง หรือ ฟาโรห์โซนเบฟ[2]

นอกจากนี้พระองค์ยังมีบันทึกสลักหินที่อยู่ในช่วงเดียวกันกับพระชนม์ชีพของพระองค์ รูปสลักหินของพระองค์จากเมืองเอเลพเฟนไทน์ ซึ่งอยู่ที่วิหารแห่งเทพซาเทธ ซึ่งจารึกไว้ว่า

ส่วนศีรษะและแขนของรูปสลักหินของพระองค์ค้นพบในศตวรรษที่ 19 ในวิหารร้างที่สร้างบูชาผู้ปกครองนามว่า เฮกาอิบ ซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะกรุงเวียนนา ชิ้นบริเวณส่วนตัวของรูปสลักหินที่มีจารึกไว้ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1932 และในปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อัสวาน[1][2]

การระบุตัวตน

แก้

มีการถกเถียงกันระหว่างนักไอยคุปต์วิทยาว่า ฟาโรห์เซเคมคาเร อเมนเอมฮัตที่ 5 เป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เซเคมคาเร โซนเบฟ หรือไม่ ซึ่ง คิม รีฮอล์ต, เยอร์เกน ฟอน แบ็คเคอราท และดาร์เรล เบเกอร์ ได้มองว่าเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ที่สิบสาม โดยแท้จริงแล้วฟาโรห์โซนเบฟได้ทรงเรียกพระองค์เองว่า "อเมนเอมฮัต โซนเบฟ" ซึ่งรีฮอล์ตโต้แย้งว่าที่ถูกต้องจะต้องเป็น "อเมนเอมฮัต [ซา] โซนเบฟ" ซึ่งแปลว่า โซนเบฟ พระราชโอรสแห่งอเมนเอมฮัต กล่าวคือ ฟาโรห์โซนเบฟน่าจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขามองว่าฟาโรห์โซนเบฟและฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5 เป็นผู้ปกครองที่ไม่ใช่บุคคลพระองค์เดียวกัน[1][2][3][4] รีฮอล์ต และเบเกอร์ได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า รัชสมัยของฟาโรห์โซนเบฟและฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5 ได้ถูกคั่นด้วยรัชสมัยของฟาโรห์เนริคาเร ในขณะที่ ฟอน แบ็คเคอราท เชื่อว่า รัชสมัยที่คั่นระหว่างทั้งสองรัชสมัยของฟาโรห์ทั้งพระองค์คือรัชสมัยของฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี พันทเจนิ[3][4] ในทางตรงกันข้าม เดตเลฟ ฟรานเคอ และสเตเฟน เควิร์ก ได้เชื่อว่า "อเมนเอมฮัต" ในพระนามของฟาโรห์โซนเบฟนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพระนามของพระองค์และระบุว่าพระองค์เป็นฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5 ดังนั้นจึงเห็นว่าฟาโรห์ทั้งสองพระองค์เป็นบุคคลพระองค์เดียวกัน[5][6] กล่าวอีกนัยหนึ่ง ฟรานเคอและคนอื่น ๆ ถือว่า "อเมนเอมฮัต โซนเบฟ" เป็นพระนามคู่ ซึ่งการตั้งชื่อซ้ำเป็นเรื่องธรรมดาในอียิปต์โบราณและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบสองและสิบสาม[7]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800-1550 BC, (Carsten Niebuhr Institute Publications,, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997), 336-337, file 13/2 and 13/4.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008
  3. 3.0 3.1 Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
  4. 4.0 4.1 Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46. Mainz am Rhein, 1997
  5. Detlef Franke: Zur Chronologie des Mittleren Reiches (12.-18. Dynastie) Teil 1 : Die 12. Dynastie, in Orientalia 57 (1988)
  6. New arrangement of the 13th Dynasty, on digital Egypt.
  7. Stephen Quirke: In the Name of the King: on Late Middle Kingdom Cylinders, in: Timelines, Studies in Honour of Manfred Bietak, Leuven, Paris, Dudley, MA. ISBN 90-429-1730-X, 263-64