ฟาโรห์อเมนิ เกมาอู

อเมนิ เกมาอู เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบสามในสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม ริฮอล์ต และดาร์เรล เบเกอร์ได้ระบุว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่ห้าแห่งราชวงศ์ และทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 2 ปี เหนือดินแดนส่วนใหญ่ของอียิปต์ ยกเว้นบางส่วนของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก ตั้ง 1793 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง 1791 ปีก่อนคริสตกาล [4][5]

พระราชวงศ์

แก้

คิม รีฮอล์ต นักไอยคุปต์วิทยา ได้ตั้งข้อสังเกตว่า พระนามของฟาโรห์อเมนิ เกมาอู เป็นพระนามร่วม ก็คือพระนามที่ระบุความเกี่ยวข้องผู้ถือครองพระนาม อันที่จริงแล้ว พระนาม อเมนิ เกมาอู สามารถอ่านได้ว่า "พระราชโอรสแห่งอเมนิ เกมาอู" โดยรีฮอล์ตได้สรุปว่า อเมนิในที่นี้คือผู้ปกครองก่อนหน้าคือฟาโรห์เซเคมคาเร อเมนเอมฮัตที่ 5 และพระองค์ก็เป็นพระราชโอรสของพระองค์[5] ความคิดสนับสนุนโดยนักไอยคุปต์วิทยาอย่างดาร์เรล เบเฟอร์ แต่ไม่ใช่โดยเยอร์เกน ฟอน แบ็คเคอราท ผู้ซึ่งจัดลำดับพระองค์ภายในราชวงศ์ที่สิบสามอย่างไม่แน่นอนในคู่มือของฟาโรห์อียิปต์[4][6] ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์คือ เกมาอู ซิฮาร์เนดจ์เฮอร์อิเตฟ ซึ่งอาจจะเป็นพระราชโอรสของพระองค์ โดยพระนาม "เกมาอู ซิฮาร์เนดจ์เฮอร์อิเตฟ" สามารถอ่านได้ว่า "พระราชโอรสแห่งเกมาอู, ฮอรัสทรงปกป้องพระราชบิดาของพระองค์"

หลักฐานรับรอง

แก้

นอกเหนือจากพีระมิดของพระองค์ในดาห์ชูร์แล้ว ฟาโรห์อเมนิ เกมาอูยังเป็นฟาโรห์ที่ไม่ค่อยมีหลักฐานที่มายินยันรับรองการมีอยู่ของพระองค์ โดยไม่ปรากฏพระนามของพระองค์บนบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน และหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยเพียงชิ้นเดียวของพระองค์คือ เศษของขวดทรงพุ่มสี่ใบที่พบในพีระมิด แผ่นสลักมที่ไม่ทราบที่มาปรากฏพระนามของพระองค์[7] แต่อาจจะเป็นของปลอมที่สร้างมาในสมัยหลัง[4] ส่งผลให้การระบุตัวตนของพระองค์จึงไม่มีแน่นอนและมีความพยายามในการระบุตัวพระองค์ด้วยฟาโรห์ที่ได้รับการรับรองในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับฟาโรห์เซเฮเทปอิบเร ผู้ซึ่งปรากฏพระนามอยู่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินหลังจากพระนามฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5[8] อย่างไรก็ตาม รีฮอล์ตเชื่อว่าพระนามของพระองค์น่าจะหายไปส่วนที่เสียหายในบันทึกพระนาม[5]

พีระมิด

แก้

ฟาโรห์อเมนิ เกมาอู ทรงมีพีระมิดที่สร้างขึ้นสำหรับพระองค์เองในทางตอนใต้ของดาห์ชูร์ โดยพีระมิดถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1957 โดยชาร์ลส์ มูเซส และได้รับการสำรวจในปี ค.ศ. 1968 เท่านั้น โดยเดิมวัดได้ 50 ตารางเมตรที่ฐานและสูง 35 เมตร แต่ตอนนี้พีระมิดกลับอยู่ในสภาพที่พังยับเยินเนื่องจากการขโมยหิน และโครงสร้างพื้นฐานยังได้รับความเสียหายอย่างกว้างขวาง พบห้องฝังพระบรมศพที่สร้างด้วยหินควอทไซต์ขนาดใหญ่ก้อนเดียว คล้ายกับที่พบในพีระมิดแห่งอเมนเอมฮัตที่ 3 ที่ฮาวาราและเหล่าพีระมิดในมัซกูนา[4][9][10] บล็อกหินถูกตัดมาเพื่อรับโลงพระบรมศพและโถไม้ทรงพุ่มของฟาโรห์ แต่มีเพียงเศษของกระดูกและกระดูกที่ไม่ปรากฏชื่อที่พบในสถานที่ดังกล่าว[11]

นอกจากนี้ เชื่อกันว่าพระนามของฟาโรห์อเมนิ เกมาอูได้ปรากฏบนบล็อกหินที่ถูกจารึกไว้ ซึ่งพบในพีระมิดที่เพิ่งค้นพบที่ดาห์ชูร์ ซึ่งมีการประกาศในเดือนเมษายน ค.ศ. 2017[12] นักไอยคุปต์วิทยาหลายคน เช่น เจมส์ พี. อัลเลน, ไอเดน ด็อดสัน และธอมัส ชไนเดอร์ ได้เห็นด้วยว่า คาร์ทูธบนบล็อกหินนั้นคือพระนามของฟาโรห์อเมนิ เกมาอู โดยด็อดสันยังคาดเดาอีกว่า เนื่องจากจารึกที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำและความแปลกประหลาดของฟาโรห์ที่เป็นเจ้าของพีระมิดมากถึงสองแห่ง ซึ่งที่เพิ่งค้นพบใหม่อาจจะเป็นของหนึ่งในผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์ และอาจจะมีแย่งชิงสถานที่ฝังพระบรมศพ โดยการสลักคาร์ทูธของพระองค์เองทับไว้บนบล็อกหิน[12] ในบรรดาวัตถุโบราณที่ค้นพบในห้องฝังพระบรมศพ ได้แก่ โลงพระบรมศพ โถไม้กระถาง และกล่องใส่ของ คำจารึกบนกล่องระบุถึงพระราชธิดาพระองค์หนึ่งของฟาโรห์อเมนิ เกมาอู พระนามว่า ฮัตเชปซุต โดยสามารถบ่งบอกว่าพีระมิดเดิมแล้วของพระราชธิดาของพระองค์ก่อนที่จะช่วงมาและอาจอธิบายได้ว่าทำไมพระองค์ถึงทรงมีพีระมิดสองแห่ง[13]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 304
  2. El-Aref, Nevine (11 May 2017). "Egypt 'uncovers burial chamber of pharaoh's daughter'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 12 May 2017.
  3. Goedicke, Hans (1959). "A Puzzling Inscription". Journal of Egyptian Archaeology. 45: 98–99. doi:10.2307/3855469. JSTOR 3855469.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN, 2008, p. 304
  5. 5.0 5.1 5.2 Jürgen von Beckerath: Hanbuch der agyptische Konigsnamen, Muncher. Agyptologische Studien 49, Mainz, (1999), p. 102-103
  6. Jürgen von Beckerath: Hanbuch der agyptische Konigsnamen, Muncher. Agyptologische Studien 49, Mainz, (1999), p. 102-103
  7. Goedicke, Hans (1959). "A Puzzling Inscription". Journal of Egyptian Archaeology. 45: 98–99. doi:10.2307/3855469. JSTOR 3855469.
  8. K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800-1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997
  9. Miroslav Verner: The Pyramids – Their Archaeology and History, Atlantic Books, 2001, ISBN 1-84354-171-8
  10. Mark Lehner: The Complete Pyramids, London: Thames and Hudson (1997) p.185 ISBN 0-500-05084-8.
  11. Nabil M. Swelim, Aidan Dodson: On the Pyramid of Ameny-Qemau and its Canopic Equipment, In: Mitteilungen des Deutschen Archäologischen Instituts, Abteilung Kairo 54 (1998), p. 319 - 334
  12. 12.0 12.1 Jarus, Owen (4 April 2017). "2nd Pyramid Bearing Pharaoh Ameny Qemau's Name Is Found". Live Science. Retrieved 8 April 2017.
  13. Martinez, Alanna (12 May 2017). "3,700-Year-Old Egyptian Pyramid Was Probably Built for a Princess". The New York Observer. New York Observer, LP.