อิมโฮเทป
อิมโฮเทป (อักษรโรมัน: Imhotep, /ɪmˈhoʊtɛp/;[1] อียิปต์โบราณ: ỉỉ-m-ḥtp "(ผู้ที่) มาอย่างสันติ";[2] รุ่งเรือง ปลายศตวรรษที่ 27 ก่อน ค.ศ.) เป็นอัครเสนาบดีอียิปต์ของฟาโรห์โจเซอร์ น่าจะเป็นสถาปนิกของ พีระมิดขั้นบันไดของโจเซอร์ และนักบวชชั้นสูงแห่งเทพสุริยะ รา ที่แฮลิอูโปลิส แทบไม่ค่อยมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของอิมโฮเทป แต่หลังจากที่เขาเสียชีวิตไป 3,000 ปี เขาได้รับการยกย่องและถูกยกสถานะเป็นเทพ
อิมโฮเทป | |
---|---|
อียิปต์โบราณ: Jj m ḥtp | |
ที่ฝังศพ | ซักกอเราะฮ์ (เป็นไปได้) |
ชื่ออื่น | Asclepius (ชื่อในภาษากรีก) Imouthes (ชื่อในภาษากรีก) |
อาชีพ | อัครเสนาบดีของฟาโรห์โจเซอร์ และนักบวชชั้นสูงแห่งรา |
ปีปฏิบัติงาน | ป. ศตวรรษที่ 27 ก่อน ค.ศ. |
มีชื่อเสียงจาก | เป็นสถาปนิกในพีระมิดขั้นบันไดของโจเซอร์ |
อิมโฮเทป ในไฮเออโรกลีฟ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
Imhotep Jj m ḥtp เขาผู้มาอย่างสันติ | ||||||
Jj m ḥtp | ||||||
Jj m ḥtp | ||||||
กรีก แบบแมนิโธ: | Africanus: Imouthes Eusebius: หายไป Eusebius, AV: หายไป |
ธรรมเนียมที่มีมาช้านานหลังจากการเสียชีวิตของอิมโฮเทปถือว่าเขาเป็นนักเขียนตำราภูมิปัญญาผู้ยิ่งใหญ่[3] และโดยเฉพาะในฐานะแพทย์[4][5][6][7][8] ไม่มีข้อมูลใดในชีวิตของเขากล่าวถึงความสามารถเหล่านี้ และไม่มีข้อความใดกล่าวถึงชื่อของเขาในช่วง 1,200 ปีแรกหลังเสียชีวิต[9][10] อ้างอิงแรกสุดที่กล่าวถึงความสามารถในการรักษาของอิมโฮเทปมาจากสมัยราชวงศ์ที่ 13 (ป. 380–343 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นต้นมา ซึ่งเท่ากับประมาณ 2,200 ปีหลังเสียชีวิต[10]: 127 [3]: 44
อิมโฮเทปเป็นชาวอียิปต์ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ไม่กี่คนที่ถูกยกสถานะเป็นเทพหลังเสียชีวิต และจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์เกือบสิบคนที่ได้สถานะนี้[11][12] ศูนย์กลางลัทธิของเขาอยู่ที่เมมฟิส ไม่มีใครทราบที่ตั้งสุสานของเขา แม้จะมีความพยายามในการค้นหาก็ตาม[13] โดยมีฉันทามติว่าสุสานของเขาน่าจะซ่อนอยู่ที่ไหนสักแห่งในซักกอเราะฮ์
ประวัติ
แก้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของอิมโฮเทปได้รับการยืนยันจากจารึกร่วมสมัยสองแผ่นที่สร้างขึ้นในช่วงชีวิตของเขาบนฐานหรือฐานของหนึ่งในรูปปั้นของฟาโรห์โจเซอร์ (Cairo JE 49889) และปรากฏในgraffito บนกำแพงล้อมรอบพีระมิดขั้นบันไดของฟาโรห์เซเคมเค็ตที่สร้างยังไม่เสร็จ[14][15] จารึกอันหลังกล่าวแนะว่าอิมโฮเทปมีชีวิตหลังโจเซอร์สวรรคตไม่กี่ปี และรับช่วงต่อในการสร้างพีระมิดของฟาโรห์เซเคมเค็ตซึ่งถูกทิ้งร้างเนื่องจากรัชสมัยที่สั้น[14]
สถาปัตยกรรมและวิศวกรรม
แก้อิมโฮเทปเป็นหนึ่งในอัครมหาเสนาบดีของฟาโรห์โจเซอร์ นักไอยคุปต์วิทยาเชื่อว่าเขาเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างพีระมิดโจเซอร์ พีระมิดขั้นบันไดที่ซักกอเราะฮ์ สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ที่ 3[16] เขาอาจต้องรับผิดชอบต่อการใช้งานเสาหินในการรองรับอาคารครั้งแรกเท่าที่รู้จัก[17] แม้จะมีการรับรองในภายหลัง ฟาโรห์อียิปต์ไม่ยกให้อิมโฮเทปเป็นผู้ออกแบบพีระมิดขั้นบันไดหรือเป้นผู้คิดค้นสถาปัตยกรรมหิน[18]
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
แก้อิมโฮเทปเป็นชื่อตัวละครฝ่ายร้ายในภาพยนตร์เดอะมัมมี่ใน ค.ศ. 1932[19] ภาพยนตร์รีเมคใน ค.ศ. 1999 และภาคต่อใน ค.ศ. 2001 ทั้งหมดเป็นของยูนิเวอร์แซล[20]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Imhotep". Collins Dictionary. สืบค้นเมื่อ September 25, 2014.
- ↑ Ranke, Hermann (1935). Die Ägyptischen Personennamen [Egyptian Personal Names] (PDF) (ภาษาเยอรมัน). Vol. Bd. 1: Verzeichnis der Namen. Glückstadt: J.J. Augustin. p. 9. สืบค้นเมื่อ 24 July 2020.
- ↑ 3.0 3.1 Wildung, D. (1977). Egyptian Saints: Deification in pharaonic Egypt. New York University Press. p. 34. ISBN 978-0-8147-9169-1.
- ↑ Osler, William (2004). The Evolution of Modern Medicine. Kessinger Publishing. p. 12.
- ↑ Musso, C.G. (2005). Imhotep: The dean among the ancient Egyptian physicians.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
- ↑ Willerson, J.T.; Teaff, R. (1995). "Egyptian Contributions to Cardiovascular Medicine". Tex Heart I J: 194.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
- ↑ Highfield, Roger (10 May 2007). "How Imhotep gave us medicine". The Telegraph. London, UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022.
- ↑ Herbowski, L. (2013). "The maze of the cerebrospinal fluid discovery". Anat Res Int. 2013: 5. doi:10.1155/2013/596027. PMC 3874314. PMID 24396600.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
- ↑ Teeter, E. (2011). Religion and Ritual in Ancient Egypt. p. 96.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
- ↑ 10.0 10.1 Baud, M. (2002). Djéser et la IIIe dynastie [Djoser and the Third Dynasty] (ภาษาฝรั่งเศส). p. 125.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
- ↑ Troche, Julia (2021). Death, Power and Apotheosis in Ancient Egypt: The Old and Middle Kingdoms. Ithaca: Cornell University Press.
- ↑ cf. Albrecht, Felix; Feldmeier, Reinhard, บ.ก. (2014). The Divine Father: Religious and philosophical concepts of divine parenthood in antiquity (e-book ed.). Leiden, NL ; Boston, MA: Brill. p. 29. ISBN 978-90-04-26477-9.
- ↑ "Lay of the Harper". Reshafim.org.il. สืบค้นเมื่อ 2015-06-23.
- ↑ 14.0 14.1 Malek, Jaromir (2002). "The Old Kingdom". ใน Shaw, Ian (บ.ก.). The Oxford History of Ancient Egypt (paperback ed.). Oxford University Press. pp. 92–93.
- ↑ Kahl, J. (2000). "Old Kingdom: Third Dynasty". ใน Redford, Donald (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 2 (1st ed.). p. 592. ISBN 0195138228.
- ↑ Kemp, B.J. (2005). Ancient Egypt. Routledge. p. 159.
- ↑ Baker, Rosalie; Baker, Charles (2001). Ancient Egyptians: People of the pyramids. Oxford University Press. p. 23. ISBN 978-0195122213.
- ↑ Romer, John (2013). A History of Ancient Egypt from the First Farmers to the Great Pyramid. Penguin Books. pp. 294–295. ISBN 9780141399713.
- ↑ Reid, Danny (24 April 2014). "The Mummy (1932)". Pre-Code.com. Review, with Boris Karloff and David Manners. สืบค้นเมื่อ 6 June 2016.
- ↑ Holden, Stephen. "Sarcophagus, be gone: Night of the living undead". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 June 2016 – โดยทาง NYTimes.com.
ดูเพิ่ม
แก้- Albrecht, Felix; Feldmeier, Reinhard, บ.ก. (6 February 2014). The Divine Father: Religious and philosophical concepts of divine parenthood in antiquity (e-book ed.). Leiden, NL ; Boston, MA: Brill. ISBN 978-90-04-26477-9. ISSN 1388-3909. สืบค้นเมื่อ May 30, 2020 – โดยทาง Google Books.
- Asante, Molefi Kete (2000). The Egyptian Philosophers: Ancient African voices from Imhotep to Akhenaten. Chicago, IL: African American Images. ISBN 978-0-913543-66-5.
- Cormack, Maribelle (1965). Imhotep: Builder in stone. New York, NY: Franklin Watts.
- Dawson, Warren R. (1929). Magician and Leech: A study in the beginnings of medicine with special reference to ancient Egypt. London, UK: Methuen.
- Garry, T. Gerald (1931). Egypt: The home of the occult sciences, with special reference to Imhotep, the mysterious wise man and Egyptian god of medicine. London, UK: John Bale, Sons and Danielsson.
- Hurry, Jamieson B. (1978) [1926]. Imhotep: The Egyptian god of medicine (2nd ed.). New York, NY: AMS Press. ISBN 978-0-404-13285-9.
- Hurry, Jamieson B. (2014) [1926]. Imhotep: The Egyptian god of medicine (reprint ed.). Oxford, UK: Traffic Output. ISBN 978-0-404-13285-9.
- Risse, Guenther B. (1986). "Imhotep and medicine — a re-evaluation". Western Journal of Medicine. 144 (5): 622–624. PMC 1306737. PMID 3521098.
- Wildung, Dietrich (1977). Egyptian Saints: Deification in pharaonic Egypt. New York University Press. ISBN 978-0-8147-9169-1.
- Wildung, Dietrich (1977). Imhotep und Amenhotep: Gottwerdung im alten Ägypten [Imhotep and Amenhotep: Deification in ancient Egypt] (ภาษาเยอรมัน). Deustcher Kunstverlag. ISBN 978-3-422-00829-8.