ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1
เนคทาเนโบที่ 1 (อียิปต์โบราณ: Nḫt-nb.f; กรีก: Νεκτάνεβις เนคทาเนบิส; สวรรคตเมื่อ 361 หรือ 360 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณและทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สามสิบแห่งอียิปต์ ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอียิปต์
ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รูปสลักฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 ทรงสวมมงกุฎเคเปรช | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 379/8–361/0 ปีก่อนคริสตกาล[1][2] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เนเฟริเตสที่ 2 (ราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้า) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ทีออส | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | ทีออส, ทจาฮาปิมู | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบิดา | ดเจดฮอร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชมารดา | ไม่ทราบ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สามสิบ |
พระนาม
แก้พระนามในภาษาอียิปต์โบราณของฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 คือ Nḫt-nb.f ซึ่งแปลว่า "ผู้แข็งแกร่งของเจ้านายของพระองค์" และพระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Νεκτάνεβις (เนคทาเนบิส) งานเขียนของมาเนโท ซึ่งได้รับการเก็บรักษาไว้โดยจอร์จ ซินเซลลัส ได้สะกดพระนามเป็น Νεκτανέβης (เนคทาเนเบส) แต่นี่อาจเป็นเพียงการประมาณการออกเสียงเนื่องจาก แนวโน้มของสระและคำควบกล้ำ โดยเฉพาะในภาษากรีกสมัยใหม่ เพื่อให้ได้มาซึ่งการออกเสียงสระน้อยเท่านั้น[4] ถึงแม้ว่าแบบแผนในภาษาอังกฤษจะกำหนดพระนามของพระองค์เหมือนกันกับพระนามของพระราชนัดดาของพระองค์คือ ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 แต่ที่จริงแล้วทั้งสองพระองค์มีพระนามที่ต่างกัน[5]
รัชสมัย
แก้การขึ้นมาสู่พระราชอำนาจและพระราชวงศ์
แก้ฟาโรห์เนคทาเนโบเดิมทีแล้วเป็นแม่ทัพจากเมืองเซเบนนิโตส เป็นบุตรชายของนายทหารคนสำคัญนามว่า ดเจดฮอร์ กับสตรีที่ปรากฏนามเพียงบางส่วนเท่านั้นนามว่า [...]มู[6] จารึกที่พบในเมืองเฮอร์โมโพลิส[7] ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงบางอย่างว่า พระองค์ทรงเข้ามามีพระราชอำนาจโดยการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ และอาจจะสำเร็จโทษฟาโรห์พระองค์สุดท้ายจากราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้าแห่งอียิปต์พระนามว่า ฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 2[8] มีข้อเสนอความเห็นที่ว่า ฟาโรห์เนคทาเนโบทรงได้รับความช่วยเหลือในการทำการยึดพระราชอำนาจโดยนายพลชาบริอัสแห่งเอเธนส์ โดยพระองค์ขึ้นปราบดาภิเษกในช่วงราว 379 หรือ 378 ปีก่อนคริสตกาลทั้งที่ในเมืองซาอิสและเมืองเมมฟิส[9] และทรงโปรดให้ย้ายราชธานีจากเมืองเมนเดสมาอยู่ที่เมืองเซเบนนิโตสแทน[10]
ความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับฟาโรห์ในราชวงศ์ก่อนหน้านั้นยังไม่ชัดเจนนัก พระองค์ได้ทรงแสดงความเคารพเพียงเล็กน้อยต่อทั้งฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 2 และฟาโรห์อาโชริส ซึ่งเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 2 โดยเรียกอดีตฟาโรห์พระองค์แรกว่า กษัตริย์ผู้ไร้ความสามารถ และพระองค์หลังว่า กษัตริย์ผู้แย่งชิง[11][12] ดูเหมือนว่าพระองค์จะให้ความสำคัญกับฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 1 ซึ่งแต่ก่อนเชื่อว่าอาจจะเป็นพระราชบิดาหรือพระราชอัยกาของฟาโรห์เนคทาเนโบ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเชื่อกันว่า ข้อเสนอนี้เกิดจากการตีความผิดพลาดของประชุมพงศาวดารเดมอติก[8] แต่อย่างไรก็ตาม มีการเสนอว่าทั้งฟาโรห์อาโชริส และฟาโรห์เนคทาเนโบ อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องทางสายพระโลหิตกับฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 1 ไม่ว่าในทางใดทางหนึ่ง[12]
และทราบเพียงว่า ฟาโรห์เนคทาเนโนที่ 1 มีพระราชโอรสพระนามว่า ฟาโรห์ทีออส ซึ่งเป็นผู้สิบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากรพระองค์ และเจ้าทจาฮาปิมู[8]
กิจกรรมภายในพระราชอาณาจักร
แก้ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 ทรงเป็นผู้สร้างและผู้ซ่อมแซมที่ยิ่งใหญ่เท่าที่อียิปต์ไม่เคยเห็นมาก่อน[11] พระองค์ทรงโปรดให้สร้างวิหารหลายแห่งทั่วพระราชอาณาจักร[13]
บนเกาะอันศักดิ์สิทธิ์แห่งฟิเล ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองอัสวาน พระองค์ทรงโปรดให้เริ่มสร้างวิหารแห่งไอซิส ซึ่งจะกลายเป็นหนึ่งในสถานที่ทางศาสนาที่สำคัญที่สุดในอียิปต์โบราณโดยการสร้างส่วนหน้าขึ้น[13][14] พระองค์ยังทรงโปรดให้สร้างเสาแรกในบริเวณขัณฑสีมาแห่งอามุน-เร ที่คาร์นัก และเชื่อกันว่ามัมมิซิ (วิหารขนาดเล็กในสมัยอียิปต์โบราณที่สร้างติดกับวิหารขนาดใหญ่) ที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งพบที่เมืองเดนเดรานั้นถูกโปรดให้สร้างขึ้นโดยพระองค์[14][15] ลัทธิบูชาสัตว์อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเริ่มเด่นชัดระหว่างสองช่วงการยึดครองของชาวเปอร์เซีย (ช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดและราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด) ได้รับการสนับสนุนจากพระองค์เช่นกัน ตามหลักฐานจากการค้นพบทางโบราณคดีที่เมืองเฮอร์โมโพลิส, เฮอร์โมโพลิส ปาร์วา, ซาบต์ เอล-ฮินนา และเมนเดส ได้ค้นพบการก่อสร้างเพิ่มเติมที่สั่งโดยพระองค์ในอาคารทางศาสนาที่เมืองเมมฟิส ทานิส และเอล-คับ[15][16]
ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 ยังมีพระราชหฤทัยต่อเหล่าพระนักบวชอีกด้วย โดยในบันทึกพระราชโองการที่ระบุถึงในปีแรกแห่งรัชสมัยและจารึกที่ค้นพบที่เมืองนอคราทิส ซึ่งกำหนดให้ใช้ภาษีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ที่เก็บจากการนำเข้าและจากการผลิตในท้องถิ่นในเมืองนี้สำหรับวิหารแห่งเทพีนิธที่เมืองซาอิส[17] เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการค้นพบจารึกแฝด 2 ชิ้นในเมืองเฮราคลีออนที่จมอยู่ใต้น้ำ[18] ศิลาดังกล่าวมาจากเมืองเฮอร์โมโพลิส ซึ่งวางไว้หน้าเสาของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ได้ระบุถึงรายการการบริจาคของฟาโรห์เนคทาเนโบแก่เทพเจ้าในท้องถิ่น และการบริจาคอื่น ๆ ยังได้มอบให้กับนักบวชของฮอรัสที่เอ็ดฟูอีกด้วย[17] ความฟุ่มเฟือยของฟาโรห์เนคทาเนโบได้แสดงความศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อเหล่าเทพเจ้า ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ถือความมั่งคั่งที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและสำหรับการใช้จ่ายในการป้องกันประเทศ[11]
การเอาชนะการรุกรานของชาวเปอร์เซีย
แก้ในช่วงประมาณ 374 หรือ 373 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์เนคทาเนโบทรงต้องเผชิญหน้ากับความพยายามของชาวเปอร์เซียที่จะยึดพระราชอาณาจักรอียิปต์ ซึ่งยังถูกเพ่งเล็งโดยกษัตริย์แห่งจักรวรดิอะเคเมนิดพระนามว่า อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 ไม่มีอะไรมากไปกว่าการก่อกบฎของเหล่าผู้ปกครองท้องถิ่น หลังจากหกปีในการเตรียมตัวและใช้แรงกดดันต่อเอเธนส์เพื่อระลึกถึงชาบริอุสนายพลชาวกรีก[19] กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 ก็ทรงได้ส่งกองทัพอันยิ่งใหญ่ที่นำโดยนายพลอิฟิเครติสแห่งเอเธนส์และฟาร์นาบาซูสแห่งเปอร์เซีย มีบันทึกว่ากองทัพประกอบด้วยทหารกว่า 200,000 นาย รวมทั้งทหารเปอร์เซียและทหารรับจ้างชาวกรีก และเรือประมาณ 500 ลำ ป้อมปราการบนสาขาเปลูเซียของแม่น้ำไนล์ ซึ่งได้รับคำสั่งจากฟาโรห์เนคทาเนโบทรงบังคับให้กองเรือข้าศึกต้องหาวิธีอื่นในการแล่นเรือไปตามแม่น้ำไนล์ ในที่สุดกองเรือก็สามารถหาทางขึ้นไปยังสาขาเมนเดสที่ได้รับการป้องกันน้อยกว่าได้[19]
เมื่อถึงจุดนี้ ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันที่เกิดขึ้นระหว่างแม่ทัพอิฟิเครตีสกับฟาร์นาบาซูส ทำให้ศัตรูไม่สามารถไปถึงเมืองเมมฟิสได้ จากนั้นน้ำท่วมแม่น้ำไนล์ประจำปีและความตั้งใจของกองหลังชาวอียิปต์ที่จะปกป้องดินแดนของพวกเขาได้เปลี่ยนสิ่งที่ปรากฏให้เห็นในตอนแรกว่าฟาโรห์เนคทาเนโบจะพ่ายแพ้ต่อสงครามในครั้งนี้ แต่กองทหารของพระองค์กลับกลายว่าเป็นชัยชนะอย่างสมบูรณ์[20]
จากนั้นในช่วง 368 ปีก่อนคริสตกาล เหล่าผู้ปกครองท้องถิ่นบริเวณตะวันตกของจักรวรรดิอาคีเมนิดจำนวนมากได้เริ่มก่อกบฏต่อกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 ดังนั้น ฟาโรห์เนคทาเนโบจึงให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มกบฏและสถาปนาความสัมพันธ์กับทั้งสปาร์ตาและเอเธนส์ขึ้นใหม่[15]
การสืบพระราชสันตติวงศ์
แก้ฟาโรห์เนคทาเนโบเสด็จสวรรคตในช่วงปีที่ 19 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ ซึ่งไม่เคยค้นพบหลุมฝังพระบรมศพ โลงพระบรมศพ และมัมมี่ของพระองค์เลย ในช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์ (ในปีที่ 16 – ราว 364 หรือ 363 ก่อนคริสตศักราช) พระองค์อาจจะทรงแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพระราชวงศ์ที่มีปัญหากับผู้ปกครองก่อนพระองค์ ดังนั้น ฟาโรห์เนคทาเนโบทรงได้ฟื้นฟูการปฏิบัติที่หายไปนานของการสำเร็จราชการร่วม โดยเชื่อมโยงเจ้าชายทีออส ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์เข้ากับพระราชบัลลังก์ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากการขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมของฟาโรห์ทีออส พระอนุชาของฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 พระนามว่า เจ้าชายทจาฮาปิมู ได้ทรงทำการทรยศต่อพระองค์และพยายามโน้มน้าวให้เจ้านัคต์ฮอร์เฮบ ซึ่งเป็นพระโอรสของพระองค์เอง (ต่อมาคือ ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2) ขึ้นครองพระราชบัลลังก์แห่งอียิปต์[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ Lloyd (1994), p. 358
- ↑ Depuydt (2006), p. 279
- ↑ von Beckerath 1999, pp. 226–227.
- ↑ Popko & Rücker, pp. 52–53 (note 84).
- ↑ Depuydt 2010, pp. 193–194.
- ↑ Dodson & Hilton 2004, p. 256.
- ↑ Erman & Wilcken (1900)
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Lloyd 1994, pp. 340–341.
- ↑ Grimal 1992, p. 372.
- ↑ Wilkinson 2010, p. 458.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Wilkinson 2010, pp. 456–457.
- ↑ 12.0 12.1 Grimal 1992, p. 373.
- ↑ 13.0 13.1 Clayton 1994, p. 203.
- ↑ 14.0 14.1 Lloyd 1994, p. 353.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 Grimal 1992, p. 377.
- ↑ Lloyd 1994, p. 354.
- ↑ 17.0 17.1 Lloyd 1994, p. 343.
- ↑ Yoyotte (2006)
- ↑ 19.0 19.1 Grimal 1992, pp. 375–376.
- ↑ Lloyd (1994), p. 348
บรรณานุกรม
แก้- von Beckerath, Jürgen (1999). Handbuch der ägyptischen Königsnamen. Münchner ägyptologische Studien. Vol. 46. Mainz am Rhein: Philipp von Zabern. ISBN 3-8053-2310-7.
- Clayton, Peter A. (1994). Chronicle of the Pharaohs. Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-05074-3.
- Depuydt, Leo (2006). "Saite and Persian Egypt, 664 BC – 332 BC". ใน Erik Hornung; Rolf Krauss; David A. Warburton (บ.ก.). Ancient Egyptian Chronology. Leiden/Boston: Brill. ISBN 978-90-04-11385-5.
- Depuydt, Leo (2010). "New Date for the Second Persian Conquest, End of Pharaonic and Manethonian Egypt: 340/39 B.C.E.". Journal of Egyptian History. 3 (2): 191–230. doi:10.1163/187416610X541709.
- Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson Ltd. ISBN 0-500-05128-3.
- Erman, Adolf; Wilcken, Ulrich (1900). "Die Naukratisstele". Zeitschrift für Ägyptische Sprache und Altertumskunde. 38: 127–135. doi:10.1524/zaes.1900.38.jg.127. S2CID 202508833.
- Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Oxford: Blackwell Books. ISBN 978-0-631-19396-8.
- Lloyd, Alan B. (1994). "Egypt, 404–332 B.C.". The Fourth Century B.C. The Cambridge Ancient History. Vol. VI. ISBN 0-521-23348-8.
- Popko, Lutz & Michaela Rücker (2011). "P.Lips. Inv. 1228 und 590: Eine neue ägyptische Königsliste in griechischer Sprache". Zeitschrift für Ägyptische Sprache und Altertumskunde. 138 (1): 43–62. doi:10.1524/zaes.2011.0005. ISSN 2196-713X.
- Wilkinson, Toby (2010). The Rise and Fall of Ancient Egypt. London: Bloomsbury. ISBN 9781408810026.
- Yoyotte, Jean (2006). "An extraordinary pair of twins: the steles of the Pharaoh Nektanebo I". ใน F. Goddio; M. Clauss (บ.ก.). Egypt's Sunken Treasures. Munich. pp. 316–323.
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
แก้- de Meulenaere, Herman (1963). "La famille royale des Nectanébo". Zeitschrift für Ägyptische Sprache und Altertumskunde. 90: 90–93. doi:10.1524/zaes.1963.90.1.90.