ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ หรือที่เรียกว่า มณฑลอียิปต์ที่ 1 (เปอร์เซียโบราณ: Mudrāya[8]) เป็นมณฑล (Satrapy) ของจักรวรรดิเปอร์เซียแห่งราชวงศ์อะคีเมนิด ระหว่าง 525 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง 404 ปีก่อนคริสตกาล สถาปนาขึ้นขึ้นโดยกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย หลังจากการทำยุทธการที่เปลูเซียม (525 ปีก่อนคริสตกาล) การพิชิตอียิปต์ของราชวงศ์อะคีเมนิด และการขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ในเวลาต่อมา ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดสิ้นสุดเนื่องจากการก่อกบฏและการขึ้นครองราชย์ของฟาโรห์อไมร์เตอุส ส่วนช่วงที่สองของการปกครองของราชวงศ์อะคีเมนิดในอียิปต์นั้นอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์ (ระหว่าง 343–332 ปีก่อนคริสตกาล)

ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์
𐎸𐎭𐎼𐎠𐎹
Mudrāya
มณฑลของจักรวรรดิอะคีเมนิด
525 ปีก่อนคริสตกาล – 404 ปีก่อนคริสตกาล
Flag of ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

ส่วนด้านตะวันตกของจักรวรรดิอะคีเมนิด และดินแดนอียิปต์[1][2][3][4]
การปกครอง
ฟาโรห์ 
• 525–522 ปี่ก่อนคริสตกาล
แคมไบซีสที่ 2 (พระองค์แรก)
• 423–404 ปีก่อนคริสตกาล
ดาริอุสที่ 2 (พระองค์สุดท้าย)
ยุคทางประวัติศาสตร์สมัยอะคีเมนิด
525 ปีก่อนคริสตกาล
• การก่อกบฏของอไมร์เตอุส
404 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปดแห่งอียิปต์
ตราประทับทรงกระบอกสเวนิโกรอดสกีเป็นภาพกษัตริย์เปอร์เซียแทงหอกใส่ฟาโรห์อียิปต์ ขณะที่จับเชลยสี่คนด้วยเชือก[5][6][7]

ประวัติราชวงศ์ แก้

ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์ ทรงพ่ายแพ้ต่อกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 ในสมรภูมิเปลูเซียมที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ตะวันออกในเดือนพฤษภาคม เมื่อ 525 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์แคมไบซีสทรงขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ในฤดูร้อนของปีนั้นอย่างช้าที่สุด ซึ่งเป็นการเริ่มต้นช่วงแรกของการปกครองของเปอร์เซียเหนืออียิปต์ (หรือที่เรียกว่า ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์) จากนั้นอียิปต์ก็เข้าร่วมกับไซปรัสและฟีนิเซียเพื่อก่อตั้งเป็นมณฑลที่หกของจักรวรรดิอะคีเมนิด โดยมีอารยันดิสเป็นผู้ว่าการประจำมณฑล

ในฐานะฟาโรห์แห่งอียิปต์ เห็นว่าในรัชสมัยของกษัตริย์แคมไบซีส ทรัพยากรทางการคลังของวิหารอียิปต์ดั้งเดิมลดน้อยลงอย่างมาก ซึ่งปรากฏพระราชกฤษฎีกาฉบับหนึ่งซึ่งเขียนบนกระดาษปาปิรุสด้วยอักษรเดโมติกได้สั่งจำกัดทรัพยากรสำหรับวิหารอียิปต์ทุกแห่ง ยกเว้นเมมฟิส เฮลิโอโปลิส และเวนเคม (ใกล้กับอาบูซีร์) กษัตริย์แคมไบซีสทรงเดินออกจากอียิปต์ในช่วงต้น 522 ปีก่อนคริสตกาล และสวรรคตระหว่างทางไปเปอร์เซีย และกษัตริย์บาร์ดิยา ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ทรงขึ้นปกครองเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แม้ว่านักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยจะเสนอความเห็นว่า กษัตริย์บาร์ดิยาที่แท้จริงแล้วคือเกามาตา และบาร์ดิยาตัวจริงถูกสังหารเมื่อหลายปีก่อนโดยกษัตริย์แคมไบซีส กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 ทรงสงสัยว่ามีการแอบอ้างนี้ จึงทรงก่อรัฐประหารต่อต้าน "บาร์ดิยา" ในเดือนกันยายนของปีนั้น ทรงโค่นล้มฟาโรห์บาร์ดิยาและได้รับการสวมมงกุฎขึ้นเป็นกษัตริย์และฟาโรห์ในเช้าวันรุ่งขึ้น

ในฐานะกษัตริย์เปอร์เซียพระองค์ใหม่ กษัตริย์ดาริอุสทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการปราบกบฏทั่วทั้งอาณาจักรของพระองค์ ช่วงปลายของ 522 ปีก่อนคริสตกาล หรือช่วงต้น 521 ปีก่อนคริสตกาล ผู้ปกครองอียิปต์ในท้องถิ่นก่อการจลาจลและประกาศตนเป็นฟาโรห์เปตูบัสติสที่ 3 ซึ่งไม่ทราบสาเหตุหลักของการกบฏนี้ไม่แน่นอน แต่นักประวัติศาสตร์การทหารชาวกรีกโบราณนามว่า พอลิเอนุส ระบุว่าเกิดจากการเก็บภาษีที่กดขี่ ซึ่งกำหนดโดยอารยันดิส และพอลิเอนุสได้เขียนเพิ่มเติมอีกว่า กษัตริย์ดาริอุสทรงเดินทัพไปยังอียิปต์โดยมาถึงในช่วงที่มีการไว้ทุกข์สำหรับการสิ้นพระชนม์ของพระโคเฮรัลด์แห่งเทพพทาห์อันศักดิ์สิทธิ์ กษัตริน์ดาริอุสทรงประกาศว่าพระองค์จะมอบรางวัลหนึ่งร้อยตะลันต์ให้กับชายผู้ซึ่งสามารถสถาปนาพระโคเฮรัลด์พระองค์ต่อไปได้ จึงสร้างความประทับใจให้กับชาวอียิปต์ด้วยความนับถือของพระองค์จนคนจำนวนมากแห่กันไปข้างพระองค์ ทำให้การกบฏยุติลง[9]

 
รูปสลักอียิปต์ของกษัตริย์ดาริอุสที่ 1 ค้นพบในพระราชวังในซูซา[10]
 
ตราประทับทรงกระบอกจากราชวงศ์อะคีเมนิดจากอิหร่าน แสดงภาพกษัตริย์จับสิงโตกริฟฟินสองตัวที่อ่าว และอักษรอียิปต์โบราณที่อ่านว่า "เทพือธ พระผู้คุ้มครองข้า" ประมาณศตวรรษที่ 6-5 ก่อนคริสตกาล[11][12]

กษัตริย​์ดาริอุสทรงสนพระทัยกิจการภายในของอียิปต์มากกว่าแคมไบซีส มีรายงานว่าพระองค์ทรงตราประมวลกฎหมายของอียิปต์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดระบบคลองที่สุเอซจนเสร็จสิ้น ทำให้สามารถเดินทางจากทะเลสาบบิตเตอร์ผ่านไปยังทะเลแดงได้ ซึ่งดีกว่าเส้นทางบนบกที่ทุรกันดารในทะเลทรายมาก ความสำเร็จนี้ทำให้กษัตริย์ดาริอุสทรงสามารถนำเข้าแรงงานและช่างฝีมือชาวอียิปต์ที่มีทักษะมาสร้างพระราชวังของพระองค์ในเปอร์เซีย ผลที่ตามมาคือเกิดภาวะสมองไหลเล็กน้อยในอียิปต์ เนื่องจากการสูญเสียบุคคลที่มีทักษะเหล่านี้ ทำให้คุณภาพสถาปัตยกรรมและศิลปะของอียิปต์ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตามกษัตริย์ดาริอุสก็ทรงอุทิศพระองค์ให้กับการสนับสนุนวิหารอียิปต์มากกว่ากษัตริย์แคมไบซีส ทำให้พระองค์ได้รับชื่อเสียงในด้านการยอมรับความต่างทางศาสนาในภูมิภาคดังกล่าว ใน 497 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างที่กษัตริย์ดาริอุสทรงไปเยือนอียิปต์ อารยันดิสได้ถูกประหารชีวิตในข้อหากบฏ ซึ่งเป็นไปได้มากว่าอารยันดิสพยายามออกเหรียญของตนเอง จึงเห็นถึงเป็นความพยายามในการแยกอียิปต์ออกจากส่วนที่เหลือของจักรวรรดิเปอร์เซีย[13][14] กษัตริย​์ดาริอุสเสด็จสวรรคตใน 486 ปีก่อนคริสตกาล และสืบพระราชบัลลังก์ต่อโดยกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1

 
ทหารอียิปต์ในกองทัพอะคีเมนิด ราวประมาณ 470 ก่อนคริสตกาลทบนจารึกสุสานหลวงกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1

หลังจากการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์เซอร์ซีส อียิปต์ได้มีการก่อกบฏอีกครั้ง คราวนี้อาจจะเป็นไปได้ภายใต้ฟาโรห์พซัมติกที่ 4 ถึงแม้ว่าแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จะโต้แย้งในรายละเอียดนั้นก็ตาม กษ้ตริย์เซอร์ซีสทรงปราบการกบฏอย่างรวดเร็วโดยแต่งตั้งให้อะเคเมเนส ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ขึ้นเป็นผู้ว่าการมณฑล กษัตริย์เซอร์ซีสทรงยุติสถานะพิเศษของอียิปต์ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ดาริอุส และเพิ่มความต้องการด้านอุปทานจากประเทศนี้ ซึ่งน่าจะเป็นเงินทุนในการรุกรานกรีซของพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงส่งเสริมเทพเจ้าอาฮูรา มาซดา ของศาสนาโซโรอัสเตอร์แทนที่เทพเจ้าอียิปต์ดั้งเดิม และทรงหยุดการให้เงินสนับสนุนการสร้างอนุสาวรีย์ในอียิปต์อย่างถาวร กษัตริย์เซอร์ซีสทรงถูกสังหารใน 465 ปีก่อนคริสตกาลโดยอาร์ตาบานุส โดยเริ่มต้นการต่อแย่งชิงอำนาจภายในราชวงศ์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการที่กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1 ทรงขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์องค์ต่อไปและครองราชย์เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์

ใน 460 ปีก่อนคริสตกาล การก่อจลาจลครั้งใหญ่ของอียิปต์เกิดขึ้นอีกครั้ง นำโดยผู้ปกครองชาวลิเบียนามว่า อินารอสที่ 2 ซึ่งได้รับความช่วยเหลืออย่างมากจากชาวเอเธนส์แห่งกรีซ[15] โดยที่อินารอสได้เอาชนะกองทัพที่นำโดยอะเคเมเนส ซึ่งถูกสังหารในสมรภูมิดังกล่าว และเข้ายึดเมืองเมมฟิส ในที่สุดก็ได้แผ่อำนาาจควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอียิปต์ ในที่สุด อินารอสและพันธมิตรชาวเอเธนส์ของเขาก็พ่ายแพ้ต่อกองทัพเปอร์เซียที่นำโดยนายพลเมกะไบซุสในปี 454 ก่อนคริสตกาล และส่งผลให้ต้องล่าถอย โดยเมกะไบซุสได้ให้สัญญาว่าจะไม่ทำอันตรายใดๆ แก่อินารอสหรือผู้ติดตามของเขา หากเขายอมจำนนและยอมจำนนต่อผู้ทรงอำนาจแห่งเปอร์เซีย ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่อินารอสยอมตกลง อย่างไรก็ตาม ในที่สุดกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสก็ทรงสั่งประหารอินารอส ถึงแม้ว่าจะเป็นประเด็นถกเถียงกันว่าเกิดขึ้นอย่างไรและเมื่อไหร่ก็ตาม[16] กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสเสด็จสวรรคตเมื่อ 424 ปีก่อนคริสตกาล

ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสพระนามว่า เซอร์ซีสที่ 2 ซึ่งขึ้นปกครองเพียงสี่สิบห้าวัน โดยที่กษัตริย์ซอกเดียนุส ผู้เป็นพระอนุชา ได้ทรงลอบปลงพระชนม์พระองค์ และกษัตริย์ซอกเดียนุสได้ทรงถูกพระอนุชาพระนามว่า โอคัส สังหารพระองค์ และขึ้นครองพระราชบัลลังก์ในพระนามว่า กษัตริย์ดาริอุสที่ 2[17] โดยกษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ทรงปกครองตั้งแต่ 423 ถึง 404 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อใกล้สิ้นสุดรัชสมัยของพระองค์ การก่อจลาจลที่นำโดยอไมร์เตอุสก็เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเริ่มการก่อกบฎอย่างเร็วที่สุดเมื่อ 411 ปีก่อนคริสตกาล ใน 405 ปีก่อนคริสตกาล อไมร์เตอุส พร้อมด้วยความช่วยเหลือของทหารรับจ้างชาวครีตได้ขับไล่ชาวเปอร์เซียออกจากเมืองเมมฟิส และประกาศตนเป็นฟาโรห์ในปีต่อมา และการปกครองของราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์สิ้นสุด เมื่อกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 ผู้ซึ่งทรงครองพระราชบัลลังก์ต่อจากกษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ได้ทรงพยายามเริ่มดำเนินการเพื่อยึดอียิปต์คืน แต่เนื่องจากปัญหาทางการเมืองกับพระอนุชาของพระองค์พระนามว่า ไซรัส ผู้เยาว์ พระองค์จึงทรงละทิ้งความพยายามในการดำเนินการดังกล่าว แต่กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสยังคงทรงได้รับการยอมรับว่าเป็นฟาโรห์โดยชอบธรรมในบางส่วนของอียิปต์จนถึง 401 ปีก่อนคริสตกาล ถึงแม้ว่าการตอบโต้อย่างเชื่องช้าของพระองค์ต่อสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้อียิปต์สามารถประกาศเอกราชได้

ในช่วงระยะเวลาของการปกครองอิสระ ราชวงศ์พื้นเมือง 3 ราชวงศ์ได้ผลัดขึ้นมามีอำนาจ คือ ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปด, ราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้า และราชวงศ์ที่สามสิบ โดยกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 (358 ปีก่อนคริสตกาล) ได้ทรงพิชิตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำไนล์อีกครั้งในช่วงมณฑลอียิปต์ที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ (343 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเรียกว่าราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์

ราชวงศ์อะคีเมนิดได้เข้ามาปกครองอียิปต์นั้นมักถูกมองว่าอ่อนแอหรือกดขี่ การวิเคราะห์ของ เอช. พี. คอลเบิร์น (2019) ชี้ให้เห็นว่ามรดกของราชวงศ์อะคีเมนิดมีความสำคัญ และชาวอียิปต์มีประสบการณ์ที่หลากหลายในช่วงเวลานี้[18][19]

รายพระนามฟาโรห์ แก้

 
แจกันเศวตศิลาอียิปต์ของกษัตริย์ดาริอุสที่ 1 พร้อมจารึกอักษรอียิปต์โบราณสี่ภาษาและอักษรคูนิฟอร์ม อักษรอียิปต์โบราณอ่านว่า: "กษัตริย์แห่งอียิปต์บนและล่าง เจ้าแห่งสองแผ่นดิน ดาริอุส ทรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอดไป ปีที่ 36 แห่งการครองราชย์"[20][21]

ฟาโรห์จากราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ทรงปกครองเป็นระยะเวลาประมาณ 121 ปี นับตั้งแต่ 525 ถึง 404 ปีก่อนคริสตกาล โดยผู้ปกครองที่มีพื้นหลังสีม่วงเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ชาวพื้นเมืองที่กบฏต่อการปกครองของราชวงศ์อะคีเมนิด

พระนาม รูปภาพ รัชสมัย พระนามครองราชย์ คำอธิบาย
แคมไบซีสที่ 2   525–522 ปีก่อนคริสตกาล เมซูติเร ทรงรบชนะฟาโรห์พซัมติกที่ 3 ในยุทธการที่เปลูเซียมใน 525 ปีก่อนคริสตกาล
บาร์ดิยา/เกามาตา   522 ปีก่อนคริสตกาล อาจจะเป็นผู้แอบอ้าง
เปทูบาสติสที่ 3   522/521–520 ปีก่อนคริสตกาล เซเฮรูอิบเร ทรงก่อกบฏต่อฟาโรห์แห่งราชวงศ์อะคีเมนิด
ดาริอุสที่ 1 หลมหาราช   522–486 ปีก่อนคริสตกาล เซเตตูเร
พซัมติกที่ 4 ทศวรรษที่ 480 ก่อนคริสตกาล ทรงตั้งใจก่อกบฏต่อฟาโรห์แห่งราชวงศ์อะคีเมนิด
เซอร์ซีสที่ 1 มหาราช   486–465 ปีก่อนคริสตกาล
อาร์ตาบานุส 465–464 ปีก่อนคริสตกาล ทรงลอบสังหารกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1 และภายหลังทรงถูกสังหารโดยกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1
อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1   465–424 ปีก่อนคริสตกาล
เซอร์ซีสที่ 2 425–424 ปีก่อนคริสตกาล ทรงอ้างสิทธิ์ในพระราชบัลลังก์
ซอกเดียนุส 424–423 ปีก่อนคริสตกาล ทรงอ้างสิทธิ์ในพระราชบัลลังก์
ดาริอุสที่ 2   423–404 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

เส้นเวลาของราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ด แก้

Darius IISogdianusXerxes IIArtaxerxes IXerxes IDarius IBardiyaCambyses II

ผู้ว่าการมณฑลอียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ด แก้

รายนาม ช่วงเวลาปกครอง รัชสมัย คำอธิบาย
อารยันดิส 525–522 ปีก่อนคริสตกาล;

518–ราว 496 ปีก่อนคริสตกาล

แคมไบซีสที่ 2, ดาริอุสที่ 1 ถูกปลดจากตำแหน่งจากการปฏิวัติใน 522 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาได้รับการแต่งตั้งในปี 518 ก่อนคริสตกาล จากนั้นถูกปลดจากตำแหน่งอีกครั้งโดยกษัตริย์ดาริอุสที่ 1
เฟเรนดาเตส ราว 496–ราว 486 ปีก่อนคริสตกาล ดาริอุสที่ 1 อาจถูกสังหารระหว่างการก่อจลาจล
อะเคเมเนส ราว 486–459 ปีก่อนคริสตกาล เซอร์ซีสที่ 1, อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1 ทรงเป็นพระอนุชาของกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1, ภายหลังทรงถูกสังหารโดยกบฎอินารอส
อาร์ซาเมส ราว 454–ราว 406 ปีก่อนคริสตกาล อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1, เซอร์ซีสที่ 2, อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 เป็นผู้ว่าการมณฑลอียิปต์ที่ปกครองยาวนานที่สุด

อ้างอิง แก้

  1. O'Brien, Patrick Karl (2002). Atlas of World History (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. pp. 42–43. ISBN 9780195219210.
  2. Philip's Atlas of World History. 1999.
  3. Davidson, Peter (2018). Atlas of Empires: The World's Great Powers from Ancient Times to Today (ภาษาอังกฤษ). i5 Publishing LLC. ISBN 9781620082881.
  4. Barraclough, Geoffrey (1989). The Times Atlas of World History (ภาษาอังกฤษ). Times Books. p. 79. ISBN 0723003041.
  5. "a Persian hero slaughtering an Egyptian pharaoh while leading four other Egyptian captives" Hartley, Charles W.; Yazicioğlu, G. Bike; Smith, Adam T. (2012). The Archaeology of Power and Politics in Eurasia: Regimes and Revolutions (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. ix, photograph 4.6. ISBN 9781139789387.
  6. "Victor, apparently wearing the tall Persian headdress rather than a crown, leads four bareheaded Egyptian captives by a rope tied to his belt. Victor spears a figure wearing Egyptian type crown." in Root, Margaret Cool (1979). The king and kingship in Achaemenid art: essays on the creation of an iconography of empire (ภาษาอังกฤษ). Diffusion, E.J. Brill. p. 182. ISBN 9789004039025.
  7. "Another seal, also from Egypt, shows a Persian king, his left hand grasping an Egyptian with an Egyptian hairdo (pschent), whom he thrusts through with his lance while holding four prisoners with a rope around their necks." Briant, Pierre (2002). From Cyrus to Alexander: A History of the Persian Empire (ภาษาอังกฤษ). Eisenbrauns. p. 215. ISBN 9781575061207.
  8. electricpulp.com. "ACHAEMENID SATRAPIES – Encyclopaedia Iranica". www.iranicaonline.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-09-30.
  9. Smith, Andrew. "Polyaenus: Stratagems - Book 7". www.attalus.org. สืบค้นเมื่อ 2017-02-25.
  10. Razmjou, Shahrokh (1954). Ars orientalis; the arts of Islam and the East. Freer Gallery of Art. pp. 81–101.
  11. "Museum item, accession number: 36.106.2". www.metmuseum.org. Metropolitan Museum of Art.
  12. Giovino, Mariana (2006). "Egyptian Hieroglyphs on Achaemenid Period Cylinder Seals". Iran. Iran, vol. 44. 44: 105–114. doi:10.1080/05786967.2006.11834682. JSTOR 4300705. S2CID 193426061.
  13. electricpulp.com. "DARIUS iii. Darius I the Great – Encyclopaedia Iranica". www.iranicaonline.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-02-25.
  14. Klotz, David (19 September 2015). "UCLA Encyclopedia of Egyptology - Persian Period". UCLA Encyclopedia of Egyptology. สืบค้นเมื่อ 25 February 2017.
  15. Thucydides. History of the Peloponnesian War.
  16. Photius. "Photius' excerpt of Ctesias' Persica (2)". www.livius.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-02-25.
  17. S. Zawadzki, "The Circumstances of Darius II's Accession" in Jaarbericht Ex Oriente Lux 34 (1995-1996) 45-49
  18. Colburn, Henry P. (2020). Archaeology of Empire in Achaemenid Egypt. Edinburgh University Press. ISBN 9781474452366. JSTOR 10.3366/j.ctvss3wvv.
  19. Colburn, Henry Preater (2014). The Archaeology of Achaemenid Rule in Egypt (วิทยานิพนธ์ PhD). hdl:2027.42/107318.
  20. Goodnick Westenholz, Joan (2002). "A Stone Jar with Inscriptions of Darius I in Four Languages" (PDF). ARTA: 2.
  21. Qahéri, Sépideh. "Alabastres royaux d'époque achéménide". L’Antiquité à la BnF (ภาษาฝรั่งเศส).