ดเจดฮอร์ หรือที่รู้จักกันดีในพระนามว่า เทออส (กรีกโบราณ: Τέως) หรือทาโชส (กรีกโบราณ: Τάχως) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สามสิบ

พระราชประวัติ แก้

พระองค์เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 และทรงได้สำเร็จราชการร่วมกับพระราชบิดาของพระองค์เป็นระยะเวลา 3 ปี[5] ก่อนที่จะทรงขึ้นครองราชย์ในระหว่าง 361 ถึง 360 ปีก่อนคริสตกาล

การสำรวจทางการทหาร แก้

ความสำเร็จของฟาโรห์เนคทาเนโบที่หนึ่งในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ในการต่อต้านกองทัพเปอร์เซียที่บุกรุกในช่วงระหว่าง 374 ถึง 373 ปีก่อนคริสตกาล ได้สนับสนุนให้ฟาโรห์เทออสได้ทรงริเริ่มวางแผนสำรวจทางการทหารเข้าสู่ดินแดนปาเลสไตน์และฟีนิเซีย ซึ่งเป็นดินแดนในการควบคุมโดยเปอร์เซีย พระองค์ได้ทรงใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของจักรวรรดิอะเคเมนิด เนื่องจากการก่อจลาจลในบางเขตปกครองในเอเชียไมเนอร์ พระองค์ยังทรงขอความช่วยเหลือจากทั้งกษัตริย์อาเกซิลาอุสแห่งสปาร์ตา และนายพลชาบรีอุสแห่งเอเธนส์ รวมถึงทหารรับจ้างจำนวน 200 คนจากดินแดนกรีก[6] อย่างไรก็ตาม ฟาโรห์เทออสทรงต้องกำหนดภาษีใหม่และเวนคืนสิ่งของของวิหารมาเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการสำรวจดังกล่าว ส่งผลให้ทำลายสมดุลอันละเอียดอ่อนที่พระราชบิดาของพระองค์ทรงสร้างขึ้น การกระทำนี้ทำให้ฟาโรห์เทออสทรงไม่เป็นที่ชอบใจอย่างมาก[7][8][9]

 
นายพลแห่งเอเธนส์ (ด้านซ้าย) กับกษัตริย์สปาร์ตาอาเกซิเลอุส (ตรงกลาง) ในราชสำนักของฟาโรห์แห่งอียิปต์เนคทาเนโบที่ 1 และผู้สำเร็จราชการร่วม เทออส ที่ อียิปต์ เมื่อ 361 ปีก่อนคริสตกาล

การปฏิบัติการต่อต้านชาวเปอร์เซียเริ่มต้นด้วย การที่ชาบรีอุสได้เป็นผู้บัญชาการกองเรือ กษัตริย์อาเกซิลาอุสทรงเป็นผู้บัญชาการทหารรับจ้างชาวกรีก และเจ้าชายนัคต์ฮอร์เฮบ พระราชนัดดาของพระองค์ทรงเป็นผู้นำของกองทหารชั้นต่ำ (ดิโอโดรัส ซิคูลัสได้กล่าวเกินจริงอย่างแน่นอน โดยอ้างว่า กองทัพทหารชั้นต่ำดังกล่าวมีจำนวน 80,000 คน[10]) และพระองค์ทรงวางตนเองเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของการเดินทาง (ซึ่งกษัตริย์อาเกซิลาอุสที่อ้างสิทธิ์ในตำแหน่งดังกล่าว) และทรงโปรดให้ เจ้าชายทจาฮาปิมู ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์และเป็นพระบิดาของเจ้าชายนัคต์ฮอร์เฮบขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ การเดินทางในครั้งได้เดินทางไปยังเมืองฟีนิเซียโดยไม่มีปัญหาใดเป็นพิเศษ[11][9]

การทรยศและการสิ้นสุดรัชสมัย แก้

 
เศษคาร์ทูชปรากฏพระนามฟาโรห์เทออส

เป็นเศร้าสลดอย่างยิ่งต่อฟาโรห์เทออส ที่เจ้าชายทจาฮาปิมู ผู้เป็นพระอนุชากำลังวางแผนต่อต้านพระองค์ โดยใช้ประโยชน์จากความไม่เป็นที่ชอบใจของฟาโรห์เทออส และด้วยการสนับสนุนของชนชั้นนักบวช เจ้าทจาฮาปิมูได้ทรงโน้มน้าวให้เจ้าชายนัคต์ฮอร์เฮบ ซึ่งเป็นพระโอรสให้ก่อกบฏต่อฟาโรห์เทออส และปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นฟาโรห์ โดยเจ้าชายนัคต์ฮอร์เฮบได้ทรงเกลี้ยกล่อมกษัตริย์อาเกซิลาอุสให้เข้าร่วมการก่อกบฏโดยใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างกษัตริย์สปาร์ตาและองค์ฟาโรห์ ต่อมาเจ้าชายนัคต์ฮอร์เฮบได้รับการยอมรับให้ขึ้นเป็นฟาโรห์ ซึ่งรู้จักกันดีในพระนาม เนคทาเนโบที่ 2 และส่วนฟาโรห์เทออสที่ทรงถูกทรยศนั้นไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องหนีลี้ภัยไปนครซูซา ซึ่งเป็นตั้งของราชสำนักของฝ่ายศัตรู[11][9]

พระชะตากรรมสุดท้ายของฟาโรห์เทออสนั้นทราบมาจากคำจารึกของขุนนางนามว่า เวนเนเฟอร์ ผู้ซึ่งได้เข้าร่วมการเดินทางอันโชคร้ายของพระองค์ในฐานะแพทย์ เวนเนเฟอร์ถูกส่งตัวโดยฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 เพื่อค้นหาตัวฟาโรห์เทออสและให้กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 แห่งเปอร์เซียซึ่งควบคุมตัวพระองค์ไว้ที่นครซูซา เวนเนเฟอร์จึงนำตัวพระองค์กลับมาพร้อมกับล่ามโซ่ฟาโรห์แห่งอียิปต์[8]

อ้างอิง แก้

  1. Lloyd 1994, p. 358.
  2. Depuydt 2006, p. 270.
  3. Late Period Dynasty 30: Teos accessed January 22, 2007
  4. Dodson & Hilton 2004.
  5. Lloyd 1994, p. 341.
  6. Lloyd 1994, pp. 348–349.
  7. Lloyd 1994, p. 343.
  8. 8.0 8.1 Wilkinson 2010, pp. 457–59.
  9. 9.0 9.1 9.2 Grimal 1992, pp. 377–378.
  10. Lloyd 1994, p. 342.
  11. 11.0 11.1 Lloyd 1994, p. 341; 349.

บรรณานุกรม แก้

  • Depuydt, Leo (2006). "Saite and Persian Egypt, 664 BC - 332 BC". ใน Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David A. (บ.ก.). Ancient Egyptian Chronology. Brill, Leiden/Boston. pp. 265–283. ISBN 978 90 04 11385 5.
  • Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson Ltd. ISBN 0-500-05128-3.
  • Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Oxford: Blackwell Books. ISBN 9780631174721.
  • Lloyd, Alan B. (1994). "Egypt, 404–322 B.C.". ใน Lewis, D.M.; Boardman, John; Hornblower, Simon; และคณะ (บ.ก.). The Cambridge Ancient History (2nd ed.), vol. VI – The Fourth Century B.C. Cambridge University Press. pp. 337–360. ISBN 0 521 23348 8.
  • Wilkinson, Toby (2010). The Rise and Fall of Ancient Egypt. London: Bloomsbury. ISBN 978 1 4088 10026.