ฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเร

(เปลี่ยนทางจาก ฟาโรห์เนเฟอร์ไอร์คาเร)

เนเฟอร์อิร์คาเร (บางครั้งเรียกว่า เนเฟอร์อิร์คาเรที่ 2 เนื่องจากมีผู้ปกครองก่อนหน้าที่มีพระนามนี้เช่นกันคือ ฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเร คาคาอิ) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่แปดในสมัยต้นช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง (ระหว่าง 2181–2055 ปีก่อนคริสตกาล) ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต, เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท และดาร์เรล เบเกอร์ พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบเจ็ดและพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ที่แปด[1][2][3] นักวิชาการหลายคนถือว่า ฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเรเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายในสมัยราชอาณาจักรเก่า ซึ่งสิ้นสุดลงในราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์[4]

หลักฐานรับรอง แก้

พระนามของฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเรที่ 2 ปรากฏอย่างชัดเจนในรายการที่ 56 ของบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส ซึ่งเป็นบันทึกพระนามที่บันทึกขึ้นเมื่อประมาณ 900 ปีหลังจากสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่งในรัชสมัยของฟาโรห์เซติที่ 1[2] การตีความใหม่บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินโครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นบันทึกรายพระนามอีกบันทึกหนึ่งที่บันทึกขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 พระนามของพระองค์ได้บันทึกไว้ในคอลัมน์ที่ 5 บรรทัดที่ 13[1][2]

การระบุตัวตน แก้

ฟารุก โกมาอา, วิลเลียม ซี. ฮาเยส และเบเกอร์ ได้ระบุตัวตนฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเรที่ 2 ด้วยพระนามฮอรัสว่า เดเมดจ์อิบทาวี (Dmḏ-ib-t3wy, "ผู้ทรงรวมหัวใจของทั้งสองดินแดน") ซึ่งปรากฏอยู่ในบันทึกพระราชโองการแห่งคอปโตส อาร์ ซึ่งขณะนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ (เจอี 41894) บันทึกพระราชโองการได้บันทึกเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมแก่วิหารแห่งเทพมินที่คอปโตส[5][6][7][8][9] ซึ่งการระบุนี้ถูกปฏิเสธโดยเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท[10]

การระบุตัวตนที่เสนออีกประการหนึ่งเกี่ยวข้องกับพระนามนำหน้านามว่า วัดจ์คาเร (W3ḏ-k3-Rˁ, "ความรุ่งเรืองคือดวงวิญญาณแห่งรา") ซึ่งปรากฏอยู่ในบันทึกพระราชโองการแห่งคอปโตส อาร์[11] เคิร์ต ไฮน์ริช เซเธอ, โกมาอา, ฮาเยสและเบเกอร์ มองว่าพระนาม วัดจ์คาเร กับ เดเมดจ์อิบทาวี นั้นไม่ใช่พระองค์เดียวกัน[3] แต่ฟอน เบ็คเคอราทเชื่อว่าพระนาม วัดจ์คาเร อาจจะสื่อถึงฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเรที่ 2 และเป็นพระองค์เดียวกันกับที่ใช้พระนาม เดเมดจ์อิบทาวี ในทางตรงกันข้าม โกมาอา และฮาเยสได้ถือเอาพระนาม วัดจ์คาเร สื่อถึงฟาโรห์ที่ค่อนข้างคลุมเครือพระนามว่า ฮอร์-คาบาว[5] อีกทางหนึ่ง ฮานส์ได้เสนอว่า วัดจ์คาเร เป็นผู้ปกครองก่อนหน้ารัชสมัยของเดเมดจ์อิบทาวี และจัดลำดับผู้ปกครองทั้งสองตามลำดับในราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์[12] โธมัส ชไนเดอร์ปล่อยให้ปัญหาเปิดกว้างยิ่งขึ้นและเชื่อมโยง วัดจ์คาเร เป็นพระองค์เดียวกับฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 2 หรือฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเรที่ 2 โดยไม่ต้องอ้างอิงถึง เดเมดจ์อิบทาวี เพิ่มเติม[13]

ในท้ายที่สุด ทั้ง เดเมดจ์อิบทาวี และ วัดจ์คาเร ไม่ได้ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยยอื่นใดนอกจากบันทึกพระราชโองการ และเว้นแต่จะมีการระบุเป็นฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 2 หรือฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเรที่ 2 โดยพระนามทั้งสองพระนามก็ไม่ปรากฏในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอสและตูรินเลย

ในปี ค.ศ. 2014 มาฮา ฟาริด มอสตาฟา ได้ตีพิมพ์คำจารึกที่พบในหลุมฝังศพของราชมนตรีเชไมย์ และคำจารึกนี้น่าจะเป็นของไอดิ ลูกชายของเชไมย์ แม้ว่านามของไอดิจะสูญหายไปแล้ว แต่ในข้อความได้ลงวันเวลาภายใต้รัชสมัยของฟาโรห์ที่มีพระนามว่า เปปิ และมีพระนามครองราชบัลลังก์ว่า "เนเฟอร์-คา[ถูกทำลาย]-รา" มาฮา ฟาริด มอสตาฟาได้ตีความพระนามครองราชบัลลังก์ว่าเป็นของฟาโรห์พระเนเฟอร์อิร์คาเร จารึกได้ระบุวันเวลาแน่นอนถึงช่วงราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ หากการตีความใหม่นี้ถูกต้อง จะส่งผลให้ฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเรเป็นพระองค์เดียวกับเดเมดจ์อิบทาวี และไอดิยังถูกกล่าวถึงในบันทึกพระราชโองการแห่งคอปโตสฉบับหนึ่งร่วมกับเดเมดจ์อิบทาวี[14]

รัชสมัย แก้

บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินได้บันทึกระยะเวลาการครองราชย์ของฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเรที่ 2 ไว้เป็นเวลาหนึ่งปีครึ่ง[1][10] ทั้งบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินและอไบดอสได้บันทึกว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่เจ็ดและแปดรวมกัน[10] และพระองค์อาจถูกยึดราชบัลลังก์ โดยฟาโรห์แห่งเฮราคลีโอโพลิสพระองค์แรกจากราชวงศ์ที่เก้า พระนามว่าฟาโรห์เมริอิบเร เคติ หรืออีกข้อสันนิษฐานหนึ่งที่ว่าอาจจะเกิดจากระดับน้ำท่วมแม่น้ำไนล์ที่ลดลง จนเกิดความอดอยากและความโกลาหลจำนวนมากไปทั่วอียิปต์ในช่วงเริ่มต้นของสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Kim Ryholt: "The Late Old Kingdom in the Turin King-list and the Identity of Nitocris", Zeitschrift für ägyptische, 127, 2000, p. 99
  2. 2.0 2.1 2.2 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 260
  3. 3.0 3.1 Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, available online เก็บถาวร 2015-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน see p. 68
  4. Renate Mueller-Wollermann: End of the Old Kingdom, UCLA Encyclopedia of Egyptology (2014), available online.
  5. 5.0 5.1 Farouk Gomaà: Ägypten während der Ersten Zwischenzeit, Beihefte zum Tübinger Atlas des Vorderen Orients. Reihe B: Geisteswissenschaften., vol. 27. Reichert, Wiesbaden 1980, ISBN 3-88226-041-6, p. 59.
  6. William C. Hayes: Royal Decrees from the Temple of Min at Coptus, JEA, vol. 32, 1946.
  7. Coptos decree R, translation available online เก็บถาวร 2018-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, after M. A. Moret: "Chartes d'immunité dans l'Ancien Empire égyptien", in Journal Asiatique, 1917 (Sér. 11/T.10), Paris
  8. Nigel Strudwick: Texts from the Pyramid Age, Brill 2005, ISBN 9004130489
  9. William C. Hayes: The Scepter of Egypt: A Background for the Study of the Egyptian Antiquities in The Metropolitan Museum of Art. Vol. 1, From the Earliest Times to the End of the Middle Kingdom, p. 134, available online
  10. 10.0 10.1 10.2 Jürgen von Beckerath: The Date of the End of the Old Kingdom of Egypt, JNES 21 (1962), p. 143
  11. Margaret Bunson: Encyclopedia of Ancient Egypt. Infobase Publishing, 2009, ISBN 1438109970, p. 429, available online
  12. Hans Goedicke: Königliche Dokumente aus dem Alten Reich (= Ägyptologische Abhandlungen, Bd. 14). Harrassowitz, Wiesbaden 1967, p. 215.
  13. Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen, Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3.
  14. Maha Farid Mostafa: The Mastaba of SmAj at Naga' Kom el-Koffar, Qift, Vol. I, Cairo 2014, ISBN 978-977642004-5, p. 157-161