ราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ เป็นราชวงศ์ที่ไม่ค่อยทราบข้อมูลจากหลักฐานและเป็นช่วงเวลาที่มีการขึ้นครองราชย์อย่างรวดเร็ว เนื่องจากรัชสมัยฟาโรห์แต่ละพระองค์นั้นค่อยข้างสั้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 22 ก่อนคริสตกาล ซึ่งอาจมีที่ศูนย์กลางอำนาจอยู่ในบริเวณเมมฟิส ราชวงศ์ที่แปดมีอิทธิพลขึ้นในช่วงเวลาที่เรียกว่าจุดสิ้นสุดของสมัยราชอาณาจักรเก่าหรือจุดเริ่มต้นของสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง โดยพระราชอำนาจของฟาโรห์กำลังเสื่อมลง ในขณะที่ผู้ว่าการท้องถิ่นหรือผู้ปกครองท้องถิ่นกลับมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้รัฐอียิปต์ก็กลายเป็นรัฐระบบศักดินาอย่างสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างฟาโรห์แห่งเมมฟิสและผู้ปกครองท้องถิ่นที่มีอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคอปโตส แต่ในที่สุดแล้วราชวงศ์ที่แปดถูกโค่นล้มอำนาจ โดยผู้ปกครองท้องถิ่นเฮราคลีโอโพลิสและผู้สถาปนาราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์ขึ้น ราชวงศ์ที่แปดในบางครั้งถูกรวมกับราชวงศ์ที่เจ็ดที่ขึ้นปกครองก่อนหน้านี้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับราชวงศ์ที่เจ็ดแห่งอียิปต์ ซึ่งอาจจะเป็นราชวงศ์ที่ถูกสมมติขึ้นมา

ราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์

ราว 2181 ปีก่อนคริสตกาล–2160 ปีก่อนคริสตกาล
เมืองหลวงเมมฟิส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคทองแดง
• ก่อตั้ง
ราว 2181 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
2160 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่เจ็ดแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์

นักไอยคุปต์วิทยาพิจารณาว่า ราชวงศ์ที่แปดขึ้นมาปกครองอียิปต์เป็นระยะเวลาประมาณ 20–45 ปี และมีการเสนอช่วงเวลาหลายช่วงต่างกัน เช่น ระหว่าง 2190–2165 ปีก่อนคริสตกาล[1], ระหว่าง 2181–2160 ปีก่อนคริสตกาล[2][3], ระหว่าง 2191–2145 ปีก่อนคริสตกาล[4], และระหว่าง 2150– 2118 ปีก่อนคริสตกาล[5]

หลักฐาน

แก้
 
พระนามฟาโรห์จากราชวงศ์ที่แปดบนบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส โดยเริ่มจากฟาโรห์เนทเจอร์คาเร ซิพทาห์ ถึงฟาโรห์เนเฟอร์คามิน
 
พระนามฟาโรห์จากราชวงศ์ที่แปดบนบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส จากฟาโรห์ไนคาเร จนถึงฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเร

ทางประวัติศาตร์

แก้

หลักฐานจากสมัยราชอาณาจักรใหม่

แก้

หลักฐานทางประวัติศาสตร์สองชิ้นที่สามารถสืบอายุไปได้ถึงสมัยราชอาณาจักรใหม่ที่ปรากฏพระนามชองฟาโรห์จากราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดในสองชิ้นและหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักในราชวงศ์ที่แปด คือ บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส ซึ่งบันทึกขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์เซติที่ 1 โดยปรากฏพระนามในรายการที่ 40 ถึง 56 ของบันทึกพระนามฯ ซึ่งบันทึกไว้ระหว่างช่วงเวลาระหว่างจุดสิ้นสุดราชวงศ์ที่หกของสมัยราชอาณาจักรเก่าและจุดเริ่มต้นราชวงศ์ที่สิบเอ็ดของสมัยราชอาณาจักรกลาง นอกจากนี้ พระนามฟาโรห์เหล่านี้แตกต่างจากที่ทราบกันในราชวงศ์ที่เก้าและราชวงศ์ที่สิบ ซึ่งไม่มีพระนามใดปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามแห่งอไบดอส ด้วยเหตุนี้ พระนามในรายการที่ 40 ถึง 56 ของรบันทึกจึงถูกกำหนดให้อยู่ในราชวงศ์ที่เจ็ดและแปด

หลักฐานจากสมัยราชอาณาจักรใหม่ชิ้นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ที่แปด คือ บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ซึ่งบันทึกขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ได้คัดลอกมาจากหลักฐานก่อนหน้านี้ ซึ่งตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม รีฮอล์ตได้แสดงให้เห็น บันทึกดังกล่าวมีร่องรอยความเสียหายที่มากและอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ นอกจากนี้ บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินยังได้รับความเสียหายอย่างหนัก จนไม่สามารถอ่านได้โดยง่าย ปรากฏพระนามทั้งหมดสามพระนามอยู่บนเศษบันทึกปาปิรุส ซึ่งอาจจะระบุถึงฟาโรห์จากราชวงศ์ที่แปด พระนามเหล่านั้นเป็นของฟาโรห์เนทเจอร์คาเร ซิพทาห์ อีกพระนามหนึ่งที่ไม่สามารถอ่านได้ และพระนามสุดท้ายเป็นของฟาโรห์กาคาเร ไอบิ พระนามฟาโรห์ในรายการที่ห้าสิบสามบนบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส ดูเหมือนว่าจะมีช่องว่างสำหรับพระนามอีกสอง[6] หรือสาม[7][8] พระนามก่อนถึงจุดสิ้นสุดของราชวงศ์ตามที่บันทึกไว้ในบันทึกพระนามฯ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าส่วนที่เสียหายไปของบันทึกพระนามแห่งตูรินอาจจะบันทึกพระนามฟาโรห์ ซึ่งปรากฏในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอสในรายการที่ห้าสิบเอ็ดถึงห้าสิบห้า เนื่องจากบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินได้เว้นพระนามของฟาโรห์เก้าพระองค์แรก โดย ดับเบิลยู. ซี. เฮย์ส คิดเห็นว่า มันสมเหตุสมผลที่ชาวอียิปต์อาจแบ่งราชวงศ์ที่เจ็ดและแปดออกจากกัน ณ จุดนี้[6]

หลักฐานจากสมัยราชวงศ์ทอเลมี

แก้

นักบวชชาวอียิปต์นามว่า มาเนโท ได้บันทึกประวัติศาสตร์ของอียิปต์ในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลที่เรียกว่า แอจิปเทียกา (Aegyptiaca) แต่งานเขียนของเขากลับสูญหายไป และมีเพียงงานเขียนที่เขียนขึ้นในภายหลังของนักเขียนสามคนเท่านั้นที่ได้อ้างอิงมาจากงานเขียนของมาเนโท และน่าเสียดายที่หลักฐานทั้งสามชิ้นนี้กลับนำมาศึกษานั้นได้ยากมาก ตัวอย่างเช่น มักจะเขียนขัดแย้งกันเอง เช่นเดียวกับกรณีของนักประวัติศาสตร์โบราณสองคนนามว่า เซกตัส จูเลียส แอฟริกานัส และยูเซเบียสแห่งซีซาเรีย ซึ่งเป็นที่อ้างอิงงานเขียนแอจิปเทียกาที่บันทึกเกี่ยวกับราชวงศ์ที่เจ็ดและแปด โดยแอฟริกานัสได้บันทึกว่าราชวงศ์ที่เจ็ดประกอบด้วยฟาโรห์ 70 พระองค์ที่ขึ้นมาปกครองในช่วงระยะเวลา 70 วัน ณ เมมฟิส และราชวงศ์ที่แปดประกอบด้วยฟาโรห์จำนวน 27 พระองค์ที่รวมเวลาการครองราชย์เป็นเวลา 146 ปี อย่างไรก็ตามยูเซเบียสได้บันทึกว่าในช่วงราชวงศ์ที่เจ็ดมีฟาโรห์ห้าพระองค์ที่ขึ้นมาปกครองในช่วงระยะเวลามากกว่า 75 วัน และราชวงศ์ที่แปดประกอบด้วยฟาโรห์ห้าพระองค์ที่รวมเวลาปกครองเป็นเวลา 100 ปี ส่วนที่ว่าฟาโรห์ 70 พระองค์ที่ปกครองในช่วงระยะเวลาเจ็ดสิบวัน ถูกพิจารณาว่าเป็นฉบับที่ถูกต้องที่เกี่ยวกับราชวงศ์ที่เจ็ดของมาเนโท แต่ไม่น่าจะใช่บันทึกที่เป็นข้อเท็จจริงของประวัติศาสตร์ แต่ส่วนนี้ถูกตีความว่า ฟาโรห์ในสมัยนี้ปกครองในระยะเวลาที่สั้นอย่างยิ่ง และการใช้จำนวนฟาโรห์ 70 พระองค์นั้นอาจจะเป็นการเล่นสำนวนในข้อเท็จจริงที่ว่านี่คือราชวงศ์ที่เจ็ดของมาเนโท[9] เนื่องจากมาเนโทไม่ได้ให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แท้จริงในช่วงเวลานี้ และไม่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องราชวงศ์ที่เจ็ด นักไอยคุปต์วิทยาหลายคนจึงโต้เถียงว่าราชวงศ์ที่เจ็ดเป็นราชวงศ์ที่สมมติขึ้นมา[10] ซึ่งเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ที่แปด และในปัจจุบันเห็นพ้องต้องกันอย่างกว้างขวางว่า การคาดการณ์ของมาเนโทที่เกี่ยวข้องระยะเวลานั้นเป็นการคาดการณ์ที่เกินความเป็นจริงที่ไปสูงอย่างมาก[8]

หลักฐานชั้นต้นร่วมสมัย

แก้

หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่แปด คือ บันทึกพระราชโองการที่ค้นพบในคอปโตส ซึ่งระบุพระนามของฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ หลักฐานเบื้องต้นเพิ่มเติมของฟาโรห์ในช่วงต้นราชวงศ์มาจากสุสานในซัคคารา โดยเฉพาะพีระมิดแห่งกาคาเร ไอบิในซัคคารา นอกจากนั้น ยังมีจารึกของราชวงศ์ที่พบในวาดิ ฮัมมามัตและอียิปต์บน รวมถึงจารึกที่ไม่ใช่ของราชวงศ์จากอียิปต์บนด้วยเช่นกัน[8][11][12]

การสิ้นสุดสมัยราชอาณาจักรเก่าและการตกสู่ความโกลาหล

แก้
 
สองชิ้นส่วนของบันทึกพระราชโองการแห่งคอปโตส ซึ่งได้ระบุเวลาสิ้นสุดราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เนเฟอร์เคาฮอร์

ตามแบบแผน ราชวงศ์ที่แปดได้ถูกจัดให้เป็นราชวงศ์แรกของสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง เนื่องจากลักษณะรัชสมัยที่ค่อนข้างสั้นของฟาโรห์ตลอดจนหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยที่กระจัดกระจาย ซึ่งบ่งบอกถึงความเสื่อมโทรมของราชอาณาจักรจนไปนำสู่ความโกลาหล การพิจารณาหลักฐานทางโบราณคดีใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้แสดงให้เห็น ความต่อเนื่องอย่างมากระหว่างราชวงศ์ที่หกและราชวงศ์ที่แปด ดังนั้น ฮราช์ต ปาปาเซียน นักไอยคุปต์วิทยาได้เสนอความเห็นว่า ควรมองว่าราชวงศ์ที่แปดเป็นช่วงสุดท้ายของสมัยราชอาณาจักรเก่าแทนที่จะเป็นราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์[8]

เนื่องจากมีฟาโรห์ในราชวงศ์ที่แปดทั้งห้าพระองค์ใช้พระนามครองราชย์บัลลังก์ “เนเฟอร์คาเร” ของฟาโรห์เปปิที่ 2 เนเฟอร์คาเร ชี้ให้เห็นว่าฟาโรห์เหล่านั้นอาจจะเป็นสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์ ซึ่งกำลังพยายามยึดอำนาจบางอย่าง[13] พระราชโองการบางส่วนของฟาโรห์สี่พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่แปดได้ถูกบันทึกไว้ในบันทึกพระราชโองการที่ส่งไปยังเชไมย์ ซึ่งเป็นราชมนตรีในช่วงเวลาดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะมีเพียงฟาโรห์กาคาเร ไอบีเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ได้ แต่ใด ๆ ก็ตาม พีระมิดของพระองค์ถูกพบที่ซักคาราใกล้กับพีระมิดแห่งเปปิที่ 2 และมีบันทึกพีระมิดจารึกอยู่บนผนังเช่นเดียวกันกับพีระมิดในสมัยก่อนหน้า[13]

ไม่ว่าจะปรากฏฟาโรห์กี่พระองค์จริง ๆ ก็ตาม จะเห็นแน่ชัดได้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าว อำนาจส่วนกลางของราชอาณาจักรกำลังล่มสลาย ฟาโรห์หลายพระองค์ในราชวงศ์ตั้งอยู่ในเมมฟิสดูเหมือนจะพึ่งพิงอำนาจของบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่นในคอปโตส ซึ่งพระองค์ได้พระทานตำแหน่งและเกียรติยศให้ แต่ในที่สุดแล้ว ราชวงศ์ที่แปดก็ถูกโค่นล้มอำนาจ โดยผู้ปกครองที่มีอำนาจที่อยู่ในเฮราคลีโอโพลิส แมกนา

รายพระนามผู้ปกครอง

แก้

เนื่องจากยังขาดหลักฐานที่เกี่ยวข้องราชวงศ์ที่เจ็ดแห่งอียิปต์ ฟาโรห์ทั้งหมดที่บันทึกในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส ซึ่งบันทึกต่อจากพระนามฟาโรห์เมอร์เอนเร เนมติเอมซาฟที่ 2 และบันทึกก่อนหน้าพระนามฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2[4] ซึ่งเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ ลำดับฟาโรห์ตามเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท:

ราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ ตามฟอน เบ็คเคอราท[14]
พระนาม คำอธิบาย
เนทเจอร์คาเร ซิพทาห์ บางครั้งจัดเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายจากราชวงศ์ที่หก และอาจเป็นพระองค์เดียวกันกับพระราชินีนิโตคริส
เมนคาเร อาจจะปรากฏบนจารึกจากหลุมฝังพระศพของพระราชินีนิท
เนเฟอร์คาเรที่ 2
เนเฟอร์คาเร เนบิ วางแผนหรือโปรดให้เริ่มพีระมิดแห่งเนเฟอร์คาเร เนบิ ซึ่งอาจอยู่ที่ซัคคารา
ดเจดคาเร เซไม
เนเฟอร์คาเร เคนดู
เมอร์เอนฮอร์
เนเฟอร์คามิน
ไนคาเร อาจจะปรากฏบนตราประทับทรงกระบอก[14]
เนเฟอร์คาเร เทเรรู
เนเฟอร์คาฮอร์ ปรากฏบนตราประทับทรงกระบอก
เนเฟอร์คาเร เปปิเซเนบ บันทึกพระนามแห่งตูรินระบุว่าครองราชย์เป็นระยะเวลาอย่างน้อยที่สุดเพียงหนึ่งปี[15]
เนเฟอร์คามิน อานู
กาคาเร ไอบิ บันทึกพระนามแห่งตูรินระบุว่าครองราชย์เป็นระยะเวลา 2 ปี 1 เดือน กับอีก 1 วัน[16] และพบพีระมิดของพระองค์ที่ซัคคารา
เนเฟอร์เคาเร บันทึกพระนามแห่งตูรินระบุว่าครองราชย์เป็นระยะเวลา 4 ปี กับอีก 2 เดือน[16] และปรากฏในบันทึกพระราชโองการเกี่ยวกับวิหารแห่งเทพมิน[17]
ควิวิเฮปุ เนเฟอร์เคาฮอร์ บันทึกพระนามแห่งตูรินระบุว่าครองราชย์เป็นระยะเวลา 2 ปี 1 เดือน กับอีก 1 วัน[16] ปรากฏในบันทึกพระราชโองการเกี่ยวกับวิหารแห่งเทพมินจำนวนแปดฉบับ[18][19][20] และจารึกในหลุมฝังศพของราชมนตรีเซไมย์[21]
เนเฟอร์อิร์คาเร บันทึกพระนามแห่งตูรินระบุว่าครองราชย์เป็นระยะเวลาหนึ่งปีครึ่ง[16] อาจจะเป็นพระองค์กับกับฟาโรห์ที่ใช้พระนามฮอรัสว่า เดเมดจ์อิบทาวี และ วัดจ์คาเร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง ถ้าเป็นเช่นนั้น พระองค์ก็จะปรากฏอยู่ในบันทึกพระราชโองการเกี่ยวกับวิหารแห่งเทพมินด้วยเช่นกัน

ฮราช์ต ปาปาเซียน นักไอยคุปต์วิทยา เชื่อว่าการตีความใหม่ดังกล่าวนั้นให้น้ำหนักกับงานเขียนของมาเนโทมากเกินไป ตามคำกล่าวที่ว่าราชวงศ์ที่เจ็ดนั้นเป็นเรื่องสมมติขึ้นโดยพื้นฐานแล้วและเป็นอุปมาของความโกลาหล ปาปาเซียนได้เสนอความคิดว่า ฟาโรห์พระองค์แรกสุดของราชวงศ์น่าจะเป็นผู้ขึ้นมาปกครองโดยทันทีจากฟาโรห์เปปิที่ 2 และควรจะมาจากราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์ ในขณะที่ผู้ที่ขึ้นมาปกครองต่อจากนั้นจะเป็นราชวงศ์ที่เจ็ดที่มีรัชสมัยที่สั้น จากนั้นราชวงศ์ที่แปดจะเริ่มต้นด้วยฟาโรห์กาคาเร ไอบิที่มีหลักฐานรับรองอย่างดี:

ราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ ตามปาปาเซียน[8]
พระนาม
กาคาเร ไอบิ
เนเฟอร์เคาเร
ควิวิเฮปุ เนเฟอร์เคาฮอร์
พระนามสูญหาย
เนเฟอร์อิร์คาเร

นอกจากนี้ การระบุตัวตน ตำแหน่งตามลำดับเวลา และระยะเวลาแห่งการครองราชย์ของผู้ปกครองต่อไปนี้มีความคลุมเครืออย่างมากคือ วัดจ์คาเร, คูอิเกอร์, คูอิ และไอย์ทเจนู

อ้างอิง

แก้
  1. Redford, Donald B., บ.ก. (2001). "Egyptian King List". The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 2. Oxford University Press. pp. 626–628. ISBN 978-0-19-510234-5.
  2. Shaw, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. p. 480. ISBN 0-19-815034-2.
  3. Peter Clayton: Chronicle of the Pharaohs, Thames & Hudson Ltd, second printing edition 1994, ISBN 978-0500050743, available online, see p. 70
  4. 4.0 4.1 Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : Philip von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, see pp.66–71, and p. 284 for the datation of the 8th Dynasty.
  5. Thomas Schneider in Erik Hornung, Rolf Krauss and David A. Warburton (editors) : Ancient Egyptian Chronology, Handbook of Oriental Studies, Brill 2012, ISBN 978-90-04-11385-5, available online copyright-free, see p. 491
  6. 6.0 6.1 Smith, W. Stevenson. The Old Kingdom in Egypt and the Beginning of the First Intermediate Period, in The Cambridge Ancient History, vol. I, part 2, ed. Edwards, I.E.S, et al. p.197. Cambridge University Press, New York, 1971
  7. Ryholt, Kim (2000). "The Late Old Kingdom in the Turin King-list and the Identity of Nitocris". Zeitschrift für Ägyptische Sprache und Altertumskunde. see p. 88, fig. 1 and p. 91. 127 (1): 87–119. doi:10.1524/zaes.2000.127.1.87. ISSN 2196-713X. S2CID 159962784.{{cite journal}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Hratch Papazian (2015). "The State of Egypt in the Eighth Dynasty". In Peter Der Manuelian; Thomas Schneider (eds.). Towards a New History for the Egyptian Old Kingdom: Perspectives on the Pyramid Age. Harvard Egyptological Studies. BRILL.
  9. Grimal, Nicolas. A History of Ancient Egypt. p.138. Librairie Arthéme Fayard, 1988.
  10. Jürgen von Beckerath, Handbuch der ägyptischen Königsnamen. Münchner ägyptologische Studien (in German). 49. Mainz: Philip von Zabern. ISBN 978-3-8053-2591-2.
  11. Couyat, J.; Montet, Pierre. Les inscriptions hiéroglyphiques et hiératiques du Ouâdi Hammâmât. Mémoires publiés par les membres de l'Institut français d'archéologie orientale du Caire. Vol. 34. Cairo: Institut français d'archéologie orientale du Caire. pp. 168–169, 188, 206–209 (see inscriptions). OCLC 920523964.
  12. Kamal, Ahmed Bey (1912). "Fouilles à Dara et à Qoçéîr el-Amarna". Annales du Service des Antiquités de l'Égypte. p. 132.{{cite journal}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  13. 13.0 13.1 Grimal, Nicolas. A History of Ancient Egypt. p.140. Librairie Arthéme Fayard, 1988.
  14. 14.0 14.1 Peter Kaplony: Die Rollsiegel des Alten Reichs, vol. 2: Katalog der Rollsiegel, (= Monumenta Aegyptiaca. Vol. 3), La Fondation Égyptologique Reine Élisabeth, Brüssel 1981, issue 144.
  15. Kim Ryholt: "The Late Old Kingdom in the Turin King-list and the Identity of Nitocris", Zeitschrift für ägyptische, 127 (2000), p. 91
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 Jürgen von Beckerath: "The Date of the End of the Old Kingdom of Egypt", Journal of Near Eastern Studies 21 (1962), p. 143
  17. The decree on the catalog of the MET
  18. Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 271-272
  19. William C. Hayes: The Scepter of Egypt: A Background for the Study of the Egyptian Antiquities in The Metropolitan Museum of Art. Vol. 1, From the Earliest Times to the End of the Middle Kingdom , MetPublications, 1978, pp.136-138, available online
  20. The fragments of the decrees on the catalog of the MET: fragment 1, 2 and 3.
  21. Nigel C. Strudwick, Ronald J. Leprohon ed.: Texts from the Pyramid Age, see pp.345-347, available online
ก่อนหน้า ราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ ถัดไป
ราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์ (ราชวงศ์ที่เจ็ด)   ราชวงศ์แห่งอียิปต์
(ประมาณ 2181 – 2160 ปีก่อนคริสตกาล)
  ราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์