ฟาโรห์วัดจ์คาเร

วัดจ์คาเร เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ ซึ่งครองราชย์ราว 2150 ปีก่อนคริสตกาลในสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง พระองค์ถูกมองว่าเป็นบุคคลที่คลุมเครืออย่างมากในประวัติศาสตร์อียิปต์[1]

การระบุตัวตน แก้

ฟาโรห์วัดจ์คาเรมีกล่าวถึงเพียงครั้งเดียวในจารึกหินปูนหรือที่รู้จักกันในชื่อว่า บันทึกพระราชโองการแห่งคอปโตส อาร์ (อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ไคโร; obj. JE 41894) ซึ่งว่ากันว่าสร้างขึ้นโดยพระองค์เอง ซึ่งบันทึกรายการบทลงโทษสำหรับทุกคนที่กล้าทำลายหรือปล้นวิหารที่อุทิศให้กับเทพมินแห่งคอปโตส[2] อย่างไรก็ตามจากมุมมองทางโบราณคดี ไม่ทราบอะไรเกี่ยวกับฟาโรห์พระองค์นี้อีกเลย และการมีอยู่ของพระองค์ยังถูกตั้งคำถามโดยนักวิชาการบางคน เพราะพระองค์ไม่ได้รับการกล่าวถึงในบัทึกพระนามกษัตริย์ที่บันทึกขึ้นในช่วงรามเสสใด ๆ[3]

จารึกในนิวเบียได้กล่าวถึงฟาโรห์ในยุคอดีดพระนามว่า วัดจ์คาเร[4][5] และในปัจจุบันเชื่อกันว่าพระนามบนจารึกดังกล่าวคือ เมนค์คาเร ซึ่งเป็นพระนามครองราชบัลลังก์ของผู้ปกครองท้องถิ่นนามว่า เซเกอเซนิ จากราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์[6]

นักวิชาการ อย่างเช่น ฟารุก โกมาอา และวิลเลียม ซี. เฮย์ส ได้ระบุโดยเชื่อมโยงพระนามฮอรัส "ดเจเมด-อิบ-เทาอิ (Djemed-ib-taui)" กับฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเร และพระนามฮอรัส "วัดจ์คาเร" กับฟาโรห์ที่คลุมเครือพระนามว่า ฮอร์-คาบาว[7] และฮานส์มองว่า "วัดจ์คาเร" เป็นผู้ปกครองก่อนหน้าของ "ดเจเมด-อิบ-เทาอิ" และจัดให้ฟาโรห์ทั้งสองพระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์[8]

อ้างอิง แก้

  1. Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen. Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, p. 170 - 171.
  2. Nigel C. Strudwick: Texts from the Pyramid Age. BRILL, Leiden 2005, ISBN 9004130489, p. 123-124.
  3. Margaret Bunson: Encyclopedia of Ancient Egypt. Infobase Publishing, 2009, ISBN 1438109970, p. 429.
  4. Henri Gauthier, "Nouvelles remarques sur la XIe dynastie". BIFAO 9 (1911), p. 136.
  5. Alan Gardiner, Egypt of the Pharaohs: an introduction, Oxford University Press, 1964, p. 121.
  6. Jürgen von Beckerath, Handbuch der Ägyptischen Königsnamen (MÄS 49), Philip Von Zabern, 1999, pp. 80-81.
  7. Farouk Gomaà: Ägypten während der Ersten Zwischenzeit (= Beihefte zum Tübinger Atlas des Vorderen Orients. Reihe B: Geisteswissenschaften, vol. 27). Reichert, Wiesbaden 1980, ISBN 3-88226-041-6. p. 57, 59, 127.
  8. Hans Goedicke: Königliche Dokumente aus dem Alten Reich (= Ägyptologische Abhandlungen, Bd. 14). Harrassowitz, Wiesbaden 1967, p. 215.