ฟาโรห์เนเฟอร์เคาเร

เนเฟอร์เคาเร เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง ตามบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอสและการตีความบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินครั้งล่าสุดโดยคิม รีฮอล์ต พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบห้าแห่งราชวงศ์ที่แปด[1] ความคิดเห็นนี้ร่วมกันโดยนักไอยคุปต์วิทยา เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท, ธอมัส ชไนเดอร์ และดาร์เรล เบเกอร์[2][3][4] ในฐานะฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่แปด ศูนย์กลางอำนาจของฟาโรห์เนเฟอร์เคาเรอยู่ที่เมมฟิส[5] และพระองค์อาจจะไม่ได้มีอำนาจครอบคลุมเหนืออียิปต์ทั้งหมด

หลักฐานรับรอง แก้

พระนามของฟาโรห์เนเฟอร์เคาเรปรากฏในรายการที่ 54 ของบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส ซึ่งเป็นบันทึกพระนามที่บันทึกขึ้นเมื่อประมาณ 900 ปีหลังจากสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่งในรัชสมัยของฟาโรห์เซติที่ 1 แต่พระนามของพระองค์ได้สูญหายไปจากบันทึกพระนามกษัตริย์ตูริน เนื่องจากมีส่วนที่เสียหายบริเวณคอลัมน์ที่ 5 บรรทัดที่ 11 ของบันทึกพระนามฯ ระยะเวลาแห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เนเฟอร์เคาเรยังคงหลงเหลืออยู่ซึ่งบันทึกไว้เป็นระยะเวลา "4 ปี 2 เดือน 0 วัน"[1][4][6]

ฟาโรห์เนเฟอร์เคาเรยังเป็นที่ทราบจากจารึกร่วมสมัย บันทึกพระราชโองการที่ชำรุดโดยแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งจารึกไว้บนแผ่นหินปูนที่เรียกว่าบันทึกพระราชโองการแห่งคอปโตส เฮช (Coptos Decree h) ซึ่งบันทึกพระราชโองการเกี่ยวกับเครื่องเซ่นไหว้สำหรับวิหารแห่งเทพมินที่คอปโตส[4] หนึ่งในสองฉบับที่มีอยู่ของบันทึกคำสั่งดังกล่าวนี้ถูกมอบให้กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทนโดยเอ็ดเวิร์ด ฮาร์คเนส ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในแกลเลอรี 103[7] บันทึกพระราชโองการได้บันทึกขึ้นในปีที่สี่แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เนเฟอร์เคาเร ซึ่งเป็นระยะเวลาการมีอยู่ที่นานที่สุดในบรรดาฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่แปด[8] เครื่องหมายแรกของพระนามฮอรัสฟาโรห์ปรากฏอย่างชัดเจน ในขณะที่มีการถกเถียงกันถึงสัญลักษณ์ที่สอง ฟอน เบ็คเคอราท ได้เสนอเพียงสัญลักษณ์แรกเท่านั้นและอ่านว่า คา[...] ขณะที่เบเกอร์และวิลเลียม ซี. ฮาเยสเสนอให้อ่านว่า คาบาว[2][4][8] บันทึกพระราชโองการนี้ส่งถึงเซไมย์ ผู้ว่าการอียิปต์ตอนบนในขณะนั้น และกำหนดให้มีการถวายเครื่องเซ่นไหว้ตามจำนวนที่กำหนดเป็นระยะ ๆ แก่เทพมิน และจากนั้นก็อาจจะมอบให้กับรูปสลักของฟาโรห์[8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Kim Ryholt: The Late Old Kingdom in the Turin King-list and the Identity of Nitocris, Zeitschrift für ägyptische, 127, 2000, p. 99
  2. 2.0 2.1 Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen. Deutscher Kunstverlag, München/ Berlin 1984, ISBN 3-422-00832-2, p. 59, 187.
  3. Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen. Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, p. 174.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 272-273
  5. Ian Shaw: The Oxford History of Ancient Egypt, ISBN 978-0192804587
  6. Jürgen von Beckerath: The Date of the End of the Old Kingdom of Egypt, JNES 21 (1962), p.143
  7. The decree on the catalog of the MET
  8. 8.0 8.1 8.2 William C. Hayes: The Scepter of Egypt: A Background for the Study of the Egyptian Antiquities in The Metropolitan Museum of Art. Vol. 1, From the Earliest Times to the End of the Middle Kingdom , MetPublications, 1978, pp.136-138, available online