วาดีอัลฮัมมามาต
วาดีอัลฮัมมามาต (อาหรับ: وادي الحمامات; คอปติก: ⲣⲱϩⲉⲛⲧⲟⲩ ทางไปอินเดีย; ประตูสู่อินเดีย[1]) เป็นแม่น้ำที่เหือดแห้งไปแล้วในทะเลทรายตะวันออกของอียิปต์ ตั้งอยู่ระหว่างเมืองอัลกุศ็อยร์กับเมืองกินา และเป็นพื้นที่ทำเหมืองที่สำคัญและเส้นทางการค้าทางตะวันออกจากแม่น้ำไนล์ในสมัยโบราณ พบงานแกะสลักหินและภาพวาดที่มีอายุสามพันปี ทำให้ที่นี่กลายเป็นสถานที่ทางวิทยาศาสตร์และการท่องเที่ยวที่สำคัญในปัจจุบัน
เส้นการค้าขาย
แก้วาดีอัลฮัมมามาตกลายเป็นเส้นทางหลักจากธีบส์ไปยังทะเลแดง และจากนั้นไปยังเส้นทางสายไหมที่นำไปสู่เอเชีย หรือไปยังอาระเบียและจะงอยแอฟริกา การเดินทางประมาณ 200 กม. นี้เป็นเส้นทางที่ตรงที่สุดจากแม่น้ำไนล์ไปยังทะเลแดง เนื่องจากแม่น้ำไนล์โค้งไปทางชายฝั่งที่ปลายด้านตะวันตกของวาดี
เส้นทางไปวาดีอัลฮัมมามาตที่วิ่งจากกิฟฏ์ (หรือคอปโตส) ซึ่งอยู่ทางเหนือของลักซอร์ ไปยังอัลกุศ็อยร์บนชายฝั่งทะเลแดง โดยกิฟฏ์เป็นศูนย์กลางที่สำคัญสำหรับการบริหาร ศาสนา และการค้า เมืองต่าง ๆ ที่ปลายทั้งสองข้างของเส้นทางที่ได้ก่อตั้งในช่วงราชวงศ์ที่หนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีการพบหลักฐานของการยึดครองของพวกกบฎตามเส้นทางก็ตาม[2]
เหมืองหิน
แก้ในสมัยอียิปต์โบราณ วาดีอัลฮัมมามาตเป็นพื้นที่เหมืองหินที่สำคัญในแถบแม่น้ำไนล์ การสำรวจเหมืองหินไปยังทะเลทรายตะวันออกมีการบันทึกตั้งแต่สองพันปีก่อนคริสตกาล โดยที่วาดีแห่งนี้มีหินจากสมัยพรีแคมเบรียนของแผ่นอาหรับ-นิวเบียน นอกจานี้ยังรวมถึง หินบะซอลต์, หินชีสต์, หินเบเคน (เป็นหินทรายชนิดหนึ่งที่มีสีเขียว ซึ่งใช้สำหรับทำชาม จานสี รูปสลัก และโลงศพ)[3] และควอตซ์ที่มีทองคำ[4] โดยมีจานแห่งนาร์เมอร์ ซึ่งมอายุย้อนไปถึง 3100 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ในยุคแรกๆ และยุคก่อนราชวงศ์ ซึ่งแกะสลักจากหินที่โดดเด่นของวาดีอัลฮัมมามาต
ในรัชสมัยของฟาโรห์เซติที่ 1 ได้มีการบันทึกว่า มีบ่อน้ำแห่งแรกที่ขุดเพื่อจัดหาน้ำในวาดี และฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ได้ส่งการสำรวจการขุดที่นั่น
เหมืองแห่งนี้ได้ถูกอธิบายไว้ในแผนที่ทางธรณีวิทยาโบราณที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักคือ แผนที่ปาปิรุสแห่งตูริน[5]
งานแกะสลัก
แก้ในปัจจุบัน เมืองฮัมมามัตมีชื่อเสียงโด่งดังจากภาพวาดจากสมัยอียิปต์โบราณเป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับในสมัยโบราณ เหมืองหินแห่งนี้เป็นเหมืองหินที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมสู่เอเชีย และเป็นจุดหมายปลายทางทั่วไปสำหรับนักท่องเที่ยวสมัยปัจจุบัน ที่วาดีแห่งนี้ มีงานแกะสลักและจารึกมากมายตั้งแต่สมัยก่อนราชวงศ์แห่งอียิปต์จนถึงยุคปัจจุบัน รวมถึงภาพวาดสกัดหินเพียงชิ้นเดียวที่รู้จักจากทะเลทรายตะวันออกและภาพวาดเรือกกอียิปต์ที่มีอายุถึง 4000 ปีก่อนคริสตกาล[6]
สมัยคริสตกาล
แก้กลุ่มที่ครอบครองบริเวณแห่งนี้ตั้งแต่สมัยโรมัน-ไบแซนไทน์จนถึงยุคปโตเลมีตอนปลายได้ดำเนินการเหมืองทองคำใกล้กับบ่อน้ำบิร์ อัมม์ เอล-ฟาวาคิร์ แต่ทว่าเหมืองทองคำในสมัยราชอาณาจักรใหม่ที่วาดี เอล-ซิด มีขนาดใหญ่กว่า[5]: 129, 136–141
ในปัจจุบัน ถนนที่มีความยาว 194 กม. โดยตัดผ่านวาดีอัลฮัมมามาต ได้กลายมาเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ และทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางระหว่างสถานที่ใกล้เคียงของลักซอร์และธีบส์ได้อย่างง่ายดาย[7]
การกล่าวถึงในช่วงยุโรปสมัยใหม่
แก้การกล่าวถึงแรก ๆ ของยุโรปที่เกี่ยวข้องกับวาดีอัลฮัมมามาตมาจาก เจมส์ บรูซ นักเดินทางชาวสกอตในปี ค.ศ. 1769 และ วลาดิเมียร์ โกเลนิชเชฟ นักไอยคุปต์วิทยาชาวรัสเซียเป็นผู้นำการศึกษาจารึกสมัยใหม่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1884–1885
วัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้ในปี ค.ศ. 1993 วงดนตรี The Pogues ได้แต่งเพลงเกี่ยวกับวาดีอัลฮัมมามาต โดยมีชื่อเพลงว่า Girl From The Wadi Hammamat ในอัลบั้ม Waiting for Herb
อ้างอิง
แก้- ↑ Meeks, Cf. D. Coptos et le chemin de Pount. p. 303.
- ↑ The Archaeology of the Eastern Desert, Appendix F: Desert Rock Areas and Sites เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Andie Byrnes, University College London, June 2007. Retrieved September 2007.
- ↑ Survey of ancient Egyptian stone quarries (rock varieties and images, locations, and ages). James A. Harrell, Professor of Geology, Department of Environmental Sciences, University of Toledo. Retrieved September 2007.
- ↑ Dollinger, André, Mining, An introduction to the history and culture of Pharaonic Egypt. 2000. Retrieved September 2007.
- ↑ 5.0 5.1 Klemm, Rosemarie; Klemm, Dietrich (2013). Gold and Gold Mining in Ancient Egypt and Nubia. Heidelberg: Springer. pp. 132–136. ISBN 9783642225079.
- ↑ Desert Boats Home Page Wadi Hammamat: Gallery and description of several dynastic and predynastic sites in the Wadi, by Francis Lankester. Retrieved June 2013.
- ↑ planetware, detailed modern travel description.