เนโคที่ 2[1] (บางครั้งอาจจะขานพระนามได้ว่า เนคาอู, [2] เนคู, [3] เนโคห์, [4] หรือ นิคูอู[5] ในภาษากรีกโบราณ: Νεκώς Β'[6][7][8] ภาษาฮีบรู: נְוֹ‎, ฮีบรูสมัยใหม่: Nəkō, ฮีบรูไทเบเรียน: Nekō) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่ยี่สิบหก ทรงปกครองอยู่ระหว่าง 610–595 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งมีศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองซาอิส[9] พระองค์ทรงโปรดให้ดำเนินแผนการก่อสร้างหลายแผนทั่วราชอาณาจักรของพระองค์[10] ในรัชสมัยของพระองค์ ตามคำบอกเล่าของนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เฮโรโดตัส ฟาโรห์เนโคที่ 2 ทรงได้ส่งคณะสำรวจชาวฟินีเซียนออกไป ซึ่งภายในสามปีได้แล่นเรือจากทะเลแดงไปทั่วแอฟริกาไปยังช่องแคบยิบรอลตาร์และกลับไปยังอียิปต์[11] ภายหลังจากการขึ้นครองพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์ซามาเจิกที่ 2 ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ อาจจะทรงโปรดให้ลบพระนามของพระองค์ออกจากอนุสาวรีย์จำนวนหนึ่ง[12]

ฟาโรห์เนโคทรงมีบทบาทเกี่ยวข้องสำคัญในประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิแอสซีเรียใหม่ จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ และอาณาจักรยูดาห์ โดยพระองค์น่าจะเป็นฟาโรห์ที่กล่าวถึงในหนังสือพระคัมภีร์หลายเล่ม[13][14][15] ซึ่งจุดมุ่งหมายของดำเนินการทางทหารครั้งที่สองของฟาโรห์คือการพิชิตดินแดนเอเชีย[16][17] เพื่อยับยั้งการรุกไปทางทิศตะวันตกของจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่และตัดเส้นทางการค้าบริเวณแม่น้ำยูเฟรติส อย่างไรก็ตาม กองทัพอียิปต์กลับพ่ายแพ้ต่อการโจมตีของชาวบาบิโลนอย่างไม่คาดฝัน และในที่สุดก็ถูกขับไล่ออกจากดินแดนซีเรีย

โดนัลด์ บี. เรดฟอร์ด ซึ่งเป็นนักไอยคุปต์วิทยาได้ตั้งข้อสังเกตว่า ฟาโรห์เนโคที่ 2 ทรงเป็น "ผู้ที่กระทำการตั้งแต่เริ่มต้น และเต็มไปด้วยจินตนาการที่บางทีอาจเหนือกว่าคนในสมัยของพระองค์ [ผู้] ที่มีเคราะห์ร้ายที่ส่งเสริมความรู้สึกว่าเป็นความล้มเหลว"[18]

ฟาโรห์เนโคที่ 2 เสด็จสวรรคตในช่วง 595 ปีก่อนคริสตกาล และพระราชโอรสของพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ในพระนามฟาโรห์ซามาเจิกที่ 2 อย่างไรก็ตาม ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 2 ทรงได้ลบพระนามออกจากอนุสรณ์สถานเกือบทั้งหมดของพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ทราบสาเหตุ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางคน เช่น โรแบร์โต กอซโซลี แสดงความเห็นที่ว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นจริงหรือ โดยโต้แย้งว่าหลักฐานของเรื่องนี้คลุมเครือและค่อนข้างขัดแย้งกัน[19]

อ้างอิง แก้

  1. Thomas Dobson. Encyclopædia: Or, A Dictionary of Arts, Sciences, and Miscellaneous Literature. Stone house, no. 41, South Second street, 1798. Page 785
  2. A History of Egypt, from the XIXth to the XXXth Dynasties. By Sir William Matthew Flinders Petrie. p336.
  3. The Historians' History of the World: Prolegomena; Egypt, Mesopotamia. Edited by Henry Smith Williams. p183.
  4. United States Exploring Expedition: Volume 15. By Charles Wilkes, United States. Congress. p53
  5. The Bibliotheca Sacra, Volume 45. Dallas Theological Seminary., 1888.
  6. Essay on the Hieroglyphic System of M. Champollion, Jun., and on the Advantages which it Offers to Sacred Criticism. By J. G. Honoré Greppo. p128
  7. Herodotus 2,152. 2
  8. W. Pape, "Wörterbuch der griechischen Eigennamen", 1911
  9. Cory, Isaac Preston, บ.ก. (1828), The Ancient Fragments, London: William Pickering, OCLC 1000992106, citing Manetho, the high priest and scribe of Egypt, being by birth a Sebennyte, who wrote his history for Ptolemy Philadelphus (266 BCE – 228 BCE).
  10. The history of Egypt By Samuel Sharpe. E. Moxon, 1852. Part 640. p138.
  11. Herodotus (4.42) [1]
  12. The Popular Handbook of Archaeology and the Bible. Edited by Norman L. Geisler, Joseph M. Holden. p287.
  13. Encyclopædia britannica. Edited by Colin MacFarquhar, George Gleig. p785
  14. The Holy Bible, According to the Authorized Version (A.D. 1611). Edited by Frederic Charles Cook. p131
  15. see Hebrew Bible / Old Testament
  16. The temple of Mut in Asher. By Margaret Benson, Janet A. Gourlay, Percy Edward Newberry. p276. (cf. Nekau's chief ambition lay in Asiatic conquest)
  17. Egypt Under the Pharaohs: A History Derived Entireley from the Monuments. By Heinrich Brugsch, Brodrick. p444 (cf. Neku then attempted to assert the Egyptian supremacy in Asia.)
  18. Donald B. Redford, Egypt, Canaan, and Israel in Ancient Times, (Princeton: Princeton University Press, 1992), p. 447-48.
  19. Gozzoli, R. B. (2000), The Statue BM EA 37891 and the Erasure of Necho II's Names Journal of Egyptian Archaeology 86: 67–80