ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4
อเมเนมเฮตที่ 4 (หรือเรียกได้อีกอย่างว่า อเมเนมฮัตที่ 4) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่เจ็ดและพระองค์สุดท้าย[6]จากราชวงศ์ที่สิบสอง (ระหว่าง 1990–1800 ปีก่อนคริสตกาล) ในช่วงปลายสมัยราชอาณาจักรกลาง (ระหว่าง 2050–1710 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งพระองค์ครองราชย์เป็นระยะเวลา 9 ปี ในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 หรือช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 18 ก่อนคริสตกาล[2][4]
ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อัมเมเนเมส | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สฟิงซ์ขนาดเล็กที่ทำจากหินไนส์ จารึกพระนามของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ซึ่งนำกลับมาทำใหม่ในช่วงราชวงศ์ทอเลมี ปัจจุบันตั้งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช.[1] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 9 ปี 3 เดือน กับ 27 วัน (บันทึกพระนามแห่งตูริน) แต่อาจจะมากกว่านั้น,[2] 1822–1812 ปีก่อนคริสตกาล,[3] 1815–1806 BC,[4] 1808–1799 ปีก่อนคริสตกาล,[5] 1807–1798 BC,[6] 1786–1777 ปีก่อนคริสตกาล,[7] 1772–1764 ปีก่อนคริสตกาล[8] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ครองราชสมบัติร่วม | อย่างมากที่สุด 2 ปีร่วมกับอเมเนมเฮตที่ 3 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | อเมเนมเฮตที่ 3 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | โซเบคเนเฟรู | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | ยังคลุมเครือ, อาจจะเซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป และ โซนเบฟ[4] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบิดา | ยังคลุมเครือ, อาจจะอเมเนมเฮตที่ 3 (อาจจะเป็นพระราชบิดาบุญธรรม) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชมารดา | เฮเทปิ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุสาน | ยังคลุมเครือ พีระมิดแห่งมาซกูนาใต้ ? | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ |
พระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรส พระราชนัดดา หรือพระราชโอรสบุญธรรมของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ และรัชสมัยของพระองค์เริ่มต้นการสำเร็จราชการร่วมกันเป็นระยะเวลา 2 ปีที่เหมือนว่าจะเป็นเวลาอันสงบสุขกับกับฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 พระองค์ทรงส่งคณะเดินทางไปยังคาบสมุทรไซนายสำหรับขุดแร่เทอร์ควอยซ์ หาแร่อเมทิสต์ในอียิปต์บน และไปยังดินแดนพุนต์ พระองค์ยังทรงรักษาความสัมพันธ์ทางการค้ากับไบบลอสรวมถึงแผ่อำนาจของพระราชอาณาจักรในนิวเบียต่อไป
ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ทรงโปรดให้ต่อเติมบางส่วนของวิหารแห่งเทพีฮาธอร์ที่เซราบิต เอล-คาดิม ในไซนาย และสร้างวิหารแห่งเทพีเรเนนูเทตที่ยังหลงเหลือในสภาพที่ดีในเมดิเนต มาดิ ยังไม่ทราบว่าที่ใดเป็นสุสานฝังพระศพของพระองค์ ถึงแม้ว่าพีระมิดแห่งมาสกูนาใต้จะมีความเป็นไปได้ก็ตาม
ฟาโรห์โซเบคเนเฟรูได้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ ซึ่งอาจจะเป็นพระขนิษฐาหรือพระขนิษฐาบุญธรรมของพระองค์ ซึ่งพระองค์เป็นพระราชธิดาในฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 และรัชสมัยของฟาโรห์โซเบคเนเฟรูถือเป็นจุดสิ้นสุดของราชวงศ์ที่สิบสองและเป็นจุดเริ่มต้นการเสื่อมอำนาจลงของพระราชอาณาจักรกลางและนำไปสู่สมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง
พระราชวงศ์
แก้พระราชมารดาของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 เป็นสตรีนามว่า เฮเทปิ ซึ่งมีหลักฐานเพียงชิ้นเดียวที่เกี่ยวข้องคือ จารึกบนผนังของวิหารแห่งเทพีเรเนนูเทตที่เมดิเนต มาดิ ซึ่งพระองค์ได้รับสมัญญาว่า "พระราชมารดาแห่งกษัตริย์" แต่ไม่ปรากฏสมัญญาอื่นอย่างเช่น "พระมเหสีแห่งกษัตริย์", "พระราชธิดาแห่งกษัตริย์" หรือ "พระภคินีพระขนิษฐาแห่งกษัตริย์"[2] อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าพระองค์จะไม่ใช่พระมเหสีในฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 เพราะพระองค์คงมีตำแหน่งอื่น ๆ ที่หลงเหลือทั้งหมด เมื่อพระโอรสของพระองค์ขึ้นครองพระราชบัลลังก์
ความสัมพันธ์ระหว่างฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 กับฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ โดยฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 หากเชื่อตามคำกล่าวของมาเนโน จะทำให้พระชนมพรรษาของทั้งสองพระองค์ห่างกันถึง 84 ปี นักประวัติศาสตร์บางคนจึงเชื่อว่า พระองค์เป็นพระราชนัดดา[2][11] อย่างไรก็ตาม เจ้าหญิงเนเฟรูพทาห์ ซึ่งเป็นพระภคินีหรือพระขนิษฐาเพียงพระองค์เดียวที่ทีพระชนมายุที่มากว่าฟาโรห์โซเบคเนเฟรู ได้สิ้นพระชนม์ก่อนหน้าการเสด็จพระพระราชสมภพของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 เนื่องจากฟาโรห์โซเบคเนเฟรูที่ทรงถูกกล่าวถึงว่า เป็นองค์รัชทายาท โดยสันนิษฐานเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระราชบิดาของพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงไม่สามารถเป็นพระราชมารดาของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ได้ และไม่มีบันทึกอื่นอีเลยที่เกี่ยวกับพระราชโอรสพระองค์อื่นของอเมเนมเฮตที่ 3 คือ ถ้าหากเจ้าชายเหล่านั้นยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ เจ้าชายเหล่านั้นจะกลายเป็นองค์รัชทายาทหลังจากการสวรรคตของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ไม่ใช่ฟาโรห์โซเบคเนเฟรู
มาเนโนได้ระบุว่า ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ทรงได้อภิเษกสมรสกับพระนางโซเบคเนเฟรู ผู้เป็นพระภคินีหรือพระขนิษฐาพระองค์ ซึ่งถูกระบุว่าเป็นพระราขธิดาของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 และในที่สุดก็ได้ขึ้นครองราชย์ด้วยสิทธิโดยชอบธรรมของพระองค์เองภายหลังจากการสวรรคตของพระสวามี อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างของมาเนโน เกี่ยวกับการอภิเษกสมรสนั้นยังไม่ได้รับยืนยันว่าถูกต้องประการใด และไม่ทราบว่าฟาโรห์โซเบคเนเฟรูได้รับพระสมัญญาว่า "พระมเหสีแห่งกษัตริย์" ท่ามกลางพระสมัญญาอื่นๆ ของพระองค์ คิม รีฮอล์ต นักไอยคุปต์วิทยา ได้เสนอความเห็นอีกทางหนึ่งว่า ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 เป็นบุตรชายของสามีคนก่อนหน้าของพระนางเฮเทปิ และฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ทรงชุบเลี้ยงพระองค์ให้เป็นพระราชโอรสบุญธรรม ดังนั้นพระองค์จึงกลายเป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาบุญธรรมของฟาโรห์โซเบคเนเฟรู ซึ่งสามารถอธิบายได้ตามคำกล่าวของมาเนโทได้[12]
และเป็นไปได้มากว่า ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 อาจจะเสด็จสวรรตโดยไม่มีองค์รัชทายาทชายเลย ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า เหตุใดฟาโรห์โซเบคเนเฟรูจึงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์[13] นักไอยคุปต์วิทยาบางคน เช่น ไอเดน ดอดสัน และคิม รีฮอล์ต ได้เสนอความเห็นว่า ผู้ปกครองสองพระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสามคือ ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1 และฟาโรห์อาเมนเอมฮัต โซนเบฟ อาจจะเป็นพระราชโอรสนอกราชวงศ์ของพระองค์[14]
รัชสมัย
แก้ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ขึ้นสู่อำนาจครั้งแรกในฐานะผู้สำเร็จราชการร่วม[16]ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ โดยปกครองอียิปต์อยู่ในช่วงเจริญจนถึงขีดสุดของสมัยราชอาณาจักรกลาง พบอนุเสาวรีย์และสิ่งประดิษฐ์คิดค้นจำนวนมากได้รับการยืนยันอย่างแน่ชัดซึ่งปรากฏพระนามของฟาโรห์ทั้งสองพระองค์อยู่ร่วมกัน[16] ยังไม่ทราบระยะเวลาที่แน่นอนในการสำเร็จราชการร่วมในครั้งนี้ ซึ่งสามารถมีระยะเวลาอยู่ได้ตั้งแต่ 1 ถึง 7 ปี[16] ถึงแม้ว่านักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า อาจจะเป็นระยะเวลาเพียงสองปีเท่านั้น[2][16] แต่ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ซึ่งบันทึกพระนามกษัตริย์ที่บันทึกในช่วงต้นสมัยรามเสส ได้บันทึกพระนามของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ไว้ในคอลัมน์ 6 บรรทัดที่ 1 และบัยทึกระยะเวลาแห่งการครองราชย์ที่ 9 ปี 3 เดือน 27 วัน[4] นอกจากนี้ ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ยังถูกบันทึกไว้ในรายการที่ 65 ของบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส และรายการที่ 38 ของบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งซัคคารา ซึ่งบันทึกพระนามทั้งสองมีอายุย้อนไปถึงสมัยราชอาณาจักรใหม่
ถึงแม้ว่าจะสามารถยืนยันจากบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินได้ แต่ระยะเวลาแห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 นั้นยังคงไม่แน่นอน และในงานเขียนของมาเนโทที่มีนามว่า แอจิปเทียกา ได้กล่าวว่า ฟาโรห์อัมเมเนเมสทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 8 ปี อย่างไรก็ตาม ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ทรงปกครองอียิปต์ในช่วงเวลาที่สงบและไม่มีเหตุการณ์พิเศษใดที่เกิดขึ่นภายในรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งสามารถยืนยันอย่างแน่ชัดได้จากหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัย รวมทั้งตราประทับสคารับและตราประทับทรงกระบอกอีกจำนวนหนึ่ง[17]
คณะเดินทางและความสัมพันธ์ระหว่างดินแดน
แก้มีการเดินทาง 4 ครั้งไปยังเหมืองแร่เทอร์ควอยซ์ที่เซราบิต เอล-คาดิม ในคาบสมุทรไซนายได้ลงปีในรัชสมัยของพระองค์ โดยจารึกที่อยู่ที่นั้น และในการเดินทางครั้งสุดท้ายในรัชสมัยที่ได้เดินทางไปยังเหมืองดังกล่าวเกิดขึ้นในปีที่ 9 แห่งการครองราชย์ของพระองค์และอาจจะเป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายของสมัยอาณาจักรกลาง และได้ว่างเว้นยาวนานจนถึงในรัชสมัยของฟาโรห์อาโมสที่ 1 ก็ได้เดินทางมาที่เหมืองแห่งนี้อีกในอีกประมาณ 200 ปีต่อมา[2] ในปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ได้ทรงส่งคณะเดินทางไปยังเหมืองแร่อเมทิสต์อีกครั้งในวาดิ เอล-ฮูดิ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของดินแดนอียิปต์ โดยหัวหน้าคณะเดินทาง คือ ผู้ช่วยผู้ดูแลพระคลังฯ นามว่า ซาฮาธอร์[18] ไกลออกไปทางใต้ พบบันทึกระดับแม่น้ำไนล์จากคุมนาในนิวเบีย ซึ่งระบุเวลาอย่างชัดเจนย้อนไปถึงปีที่ 5, 6 และ 7 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าดินแดนอียิปต์ยังคงอยู่ในภูมิภาคนี้ตลอดช่วงพระชนม์ชีพของพระองค์[2]
ในรัชสมัยของพระองค์ พระองค์ยังคงรักษาความสัมพันธ์ทางการค้าที่สำคัญกับเมืองไบลอสที่บนชายฝั่งของเลบานอนสมัยใหม่ ซึ่งพบหีบหินออบซิเดียนและทองคำ รวมทั้งฝาโถที่มีพระนามของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4[2] และพบแผ่นทองคำที่แสดงให้เห็นภาพฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 กำลังการถวายเครื่องบูชาแด่เทพเจ้า ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นที่นั่นเช่นกัน[19]
ในปี ค.ศ. 2010 มีรายงานการขุดอย่างต่อเนื่องที่วาดิ กาวาซิสบนชายฝั่งทะเลแดง ระบุว่า พบหีบไม้สองกล่องและชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่จารึกด้วยข้อความอักษรเฮียราติกที่กล่าวถึง การเดินทางไปยังดินแดนพุนต์ในตำนานในปีที่ 8 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ซึ่งบันทึกขึ้นโดยราชอาลักษณ์หลวงนามว่า ดเจดิ พบชิ้นส่วนของจารึกสองชิ้นที่แสดงภาพสลักของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 และมีอายุย้อนไปถึงปีที่ 7 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ที่เมืองเบเรนิซบนชายฝั่งทะเลแดง[20][21]
แผนการก่อสร้าง
แก้ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ได้ทรงโปรดให้สร้างวิหารแห่งเทพีเรเนนูเทตและเทพโซเบคให้ขึ้นที่เมดิเนต มาดิให้แล้วเสร็จ ได้เริ่มสร้างขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3[22] ซึ่งเป็น "วิหารที่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เพียงแห่งเดียวที่ยังหลงเหลือจากยุตสมัยราชอาณาจักรกลาง" ตามที่ ซาฮี ฮาวาส อดีตเลขาธิการใหญ่แห่งสภาโบราณวัตถุสูงสุดของอียิปต์ (SCA) กล่าว[23] โครงสร้างพื้นฐานของวิหาร ตัวอาคารหลัก ยุ้งฉาง และที่อยู่อาศัยถูกค้นพบโดยการสำรวจทางโบราณคดีของอียิปต์ในต้นปี ค.ศ. 2006 และเป็นไปได้ว่าพระองค์ยังทรงโปรดให้สร้างวิหารในทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไฟยุมที่กาสร์ เอล-ซากา[24]
ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ยังทรงรับผิดชอบในการสร้างศาลเทพเจ้าที่วิหารแห่งเทพีฮาธอร์ในคาบสมุทรไซนาย[25]ให้แล้วเสร็จ และอาจจะดำเนินการก่อสร้างในคาร์นัก ซึ่งได้ค้นพบแท่นสำหรับเรือศักดิ์สิทธิ์ที่จารึกพระนามฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 และฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ในปี ค.ศ. 1924[2][26][27][28][29]
ช่วงเวลาภายหลังรัชสมัย
แก้ราชวงศ์ที่สิบสองสิ้นสุดลงในเพียงระยะเวลาไม่ถึงสิบปีหลังจากการเสด็จสวรรคตของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 และราชวงศ์ที่สิบสามที่อ่อนแอกว่ามากก็ขึ้นมามีอำนาจแทน[4] ถึงแม้ว่าผู้ปกครองสองพระองค์แรกของราชวงศ์ใหม่นี้อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ก็ตาม แต่ความไม่มั่นคงทางการเมืองก็ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและฟาโรห์หลายพระองค์ก็ปกครองอียิปต์ในระยะเวลาไม่เกินสองปี[4] การไหลบ่าเข้ามาของผู้อพยพชาวเอเซียในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ที่เริ่มเข้ามาตั้งแต่รัชสมัยของผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์ และก็ได้เพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกภายใต้รัชสมัยของพระองค์เอง[30] ภายใต้การปกครองราชวงศ์ที่สิบสาม ประชากรชาวเอเซียในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ได้สถาปนาราชอาณาจักรอิสระขึ้นที่ปกครองโดยกษัตริย์แห่งคานาอันที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ที่สิบสี่ ซึ่งศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองอาวาริส ในระยะเวลาประมาณ 80 ปีหลังจากรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 และมีการกล่าวว่า "การบริหาร [ของพระราชอาณาจักรอียิปต์] ดูเหมือนจะพังทลายลงอย่างสมบูรณ์"[4] ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง
สุสานฝังพระศพ
แก้ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถระบุที่ตั้งสุสานฝังพระศพของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ได้ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่พระองค์อาจจะเกี่ยวข้องกับพีระมิดแห่งมาซกูนาใต้ที่เสียหายไปแล้ว ไม่พบจารึกภายในพีระมิดแห่งนี้เพื่อระบุตัวตนของเจ้าของ แต่ความคล้ายคลึงทางด้านสถาปัตยกรรม[31] กับพีระมิดแห่งที่สองของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ในฮาวาราได้ให้นักไอยคุปต์วิทยาระบุช่วงเวลาการสร้างพีระมิดอยู่ที่ช่วงปลายของราชวงศ์ที่สิบสองถึงช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบสาม[32] และมีความเป็นไปได้ที่น้อยมากที่ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 อาจจะถูกฝังอยู่ในพีระมิดแห่งแรกของฟาโระห์อเมเนมเฮตที่ 3 ในเดาห์ชูร์ เนื่องจากพระนามของพระองค์ถูกพบอยู่บนจารึกในวิหารฝังพระศพ[2]
ถัดจากพีระมิดของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ที่ดาห์ชูร์ ได้ค้นพบซากของพีระมิดอีกแห่งหนึ่งที่มีอายุย้อนไปจนถึงสมัยราชอาณาจักรกลางที่ถูกทิ้งระหว่างการก่อสร้าง พีระมิดแห่งนี้ยังไม่ได้รับการขุดค้น แต่มีการค้นพบชิ้นส่วนที่สลักคาร์ทูชว่า "อเมเนมเฮต" ซึ่งเป็นไปได้ว่าพีระมิดแห่งนี้จะเป็นของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ถึงแม้ว่าจะมีฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งมีพระนามว่า อเมเนมเฮต เช่นกัน และผู้ที่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถสร้างพีระมิด อีกทางหนึ่ง ชิ้นส่วนจารึกดังกล่าวอาจจะมาจากพีระมิดที่อยู่ใกล้ ๆ กับพีระมิดของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ก็เป็นได้[33]
อ้างอิง
แก้- ↑ The sphinx BM EA58892 on the catalog of the British Museum
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I – Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 30–32
- ↑ Wolfram Grajetzki: Late Middle Kingdom, UCLA Encyclopedia of Egyptology (2013), available online
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
- ↑ Michael Rice: Who is who in Ancient Egypt, Routledge London & New York 1999, ISBN 0-203-44328-4, see p. 11
- ↑ 6.0 6.1 Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : Philip von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, see pp. 86–87, king No 7. and p. 283 for the dates of Amenemhat IV's reign.
- ↑ Gae Callender, Ian Shaw (editor): The Oxford History of Ancient Egypt, OUP Oxford, New Edition (2004), ISBN 978-0-19-280458-7, excerpts available online
- ↑ Erik Hornung (editor), Rolf Krauss (editor), David A. Warburton (editor): Ancient Egyptian Chronology, Handbook of Oriental Studies, Brill 2012, ISBN 978-90-04-11385-5, available online copyright-free
- ↑ Digital Egypt for Universities: Amenemhat IV Maakherure (1807/06-1798/97 BCE)
- ↑ Alan H. Gardiner: The Royal Canon of Turin, Griffith Institute, Oxford 1997, ISBN 0-900416-48-3, pl. 3.
- ↑ Gae Callender, Ian Shaw (editor): The Oxford History of Ancient Egypt, OUP Oxford, New Edition (2004), ISBN 978-0-19-280458-7, excerpts available online
- ↑ K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
- ↑ Wolfram Grajetzki: Late Middle Kingdom, UCLA Encyclopedia of Egyptology (2013), available online
- ↑ Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson., p. 102
- ↑ Flinders Petrie: A history of Egypt from the earliest times to the 16th dynasty, London Methuen 1897, available online copyright-free
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 William J. Murnane: Ancient Egyptian Coregencies, Studies in Ancient Oriental Civilization (SAOC) 40, Chicago: The Oriental Institute, 1977, available online, direct access to pdf
- ↑ See for example seals 22 and 38 pp. 113 and 121 and pl. VI and IX in: Percy Newberry: Scarabs: An introduction to the study of Egyptian seals and signet rings, with forty-four plates and one hundred and sixteen illustrations in the text, 1906, available online copyright-free
- ↑ Ashraf I. Sadek: The Amethyst Mining Inscriptions of Wadi el-Hudi, Part I: Text, Warminster 1980, ISBN 0-85668-162-8, 44-45, no. 21
- ↑ Gold openwork plaque showing Amenemhat IV, on the British Museum website
- ↑ Astonishing archaeological discoveries help rewriting the history of the Ancient Egyptian harbour
- ↑ Hense, M.; Kaper, O.E. (2015). "A stela of Amenemhet IV from the main temple at Berenike". Bibliotheca Orientalis. Nederlands Instituut voor het Nabije Oosten. 72 (5–6): 585–601.
- ↑ The temple of Renenutet at Medinet Madi or Narmuthis เก็บถาวร 2012-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Middle East Times: Egypt finds clue to ancient temple's secret April 7, 2006
- ↑ Ian Shaw: Ancient Egypt: A Very Short Introduction, Oxford University Press (2004), ISBN 978-0-19-285419-3, excerpt available online, see p.
- ↑ Flinders Petrie: Researches in Sinai, Dutton, New York (1906), see p. 63, 92, 93 & 98, available online copyright-free
- ↑ Maurice Pillet: Rapport sur les travaux de Karnak (1923–1924), ASAE 24, 1924, p. 53–88, available online เก็บถาวร 2014-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ H. Gauthier: À propos de certains monuments décrits dans le dernier rapport de M. Pillet, ASAE 24, 1924, p. 196–197, available online เก็บถาวร 2014-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Photos of the pedestal
- ↑ Labib Habachi: New Light on Objects of Unknown Provenance (I): A Strange Monument of Amenemhet IV and a Similar Uninscribed One, Göttinger Miszellen (GM) Vol. 26, Göttingen (1977), pp. 27–36.
- ↑ Toby Wilkinson: The Rise and Fall of Ancient Egypt, Bloomsbury Paperbacks (2011), ISBN 978-1-4088-1002-6, see in particular p. 183
- ↑ Flinders Petrie, G. A. Wainwright, E. Mackay: The Labyrinth, Gerzeh and Mazghuneh, London 1912, available online.
- ↑ William C. Hayes: The Scepter of Egypt: A Background for the Study of the Egyptian Antiquities in The Metropolitan Museum of Art. Vol. 1, From the Earliest Times to the End of the Middle Kingdom, MetPublications, 1978, pp. 136–138, available online
- ↑ Mark Lehner, The Complete Pyramids, Thames and Hudson, London 1997, p. 184. ISBN 0-500-05084-8.
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
แก้- Ingo Matzker: Die letzten Könige der 12. Dynastie, Europäische Hochschulschriften 1986. Reihe III, Geschichte und ihre Hilfswissenschaften. Frankfurt, Bern, New York: Lang.
- Wolfram Grajetzki: The Middle Kingdom of Ancient Egypt: History, Archaeology and Society, Bloomsbury 3PL (2010), ISBN 978-0-7156-3435-6
- Ian Shaw, Paul Nicholson: The Dictionary of Ancient Egypt, Harry N. Abrams, Inc., Publishers. 1995.
- Stefania Pignattari: Amenemhat IV and the end of the Twelfth Dynasty, BAR Publishing (2018), ISBN 978-1-4073-1635-2