ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2
นับเคาเร อเมเนมเฮตที่ 2 หรือที่เรียกว่า อเมเนมฮัตที่ 2 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่สามจากราชวงศ์ที่สิบสอง ถึงแม้ว่าพระองค์จะครองราชย์มาอย่างน้อย 35 ปี แต่การครองราชย์ของพระองค์ค่อนข้างคลุมเครือ เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ในพระราชวงศ์ของพระองค์
ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อัมเมเนเมส | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปสลักพระอิริยาบถประทับของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ต่อมาถูกแย่งชิงโดยฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์ เบอร์ลิน, พิพิธภัณฑ์เพอร์กามอน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | ประมาณ 35 ปี, 1914–1879/6 ปีก่อนคริสตกาล;[1] 1878–1843 ปีก่อนคริสตกาล;[2] 1877/6–1843/2 ปีก่อนคริสตกาล[3] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เซนุสเรตที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | เซนุสเรตที่ 2 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | ดูที่ พระราชวงศ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบิดา | เซนุสเรตที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชมารดา | เนเฟรูที่ 3 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุสาน | พีระมิดขาวที่ดาร์ชูร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ |
พระราชวงศ์
แก้การค้นพบทางโบราณคดีได้ระบุพระนามของพระราชมารดาของพระองค์ ซึ่งเป็น "พระราชมารดามารดาของกษัตริย์" พระนามว่า เนเฟรูที่ 3 แต่ไม่ได้ระบุพระนามของพระราชบิดา อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วถือว่า พระองค์เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ผู้เป็นผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ การยืนยันครั้งแรกของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 อาจมาจากหลุมฝังศพของผู้ปกครองท้องถิ่นนามว่า อเมเนมเฮต ซึ่งถูกฝังอยู่ที่เบนิ ฮาซาน ผู้ปกครองท้องถิ่นผู้นี้มีชีวิตในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ได้อารักขา "พระราชโอรสแห่งกษัตริย์ อเมนิ" ในการออกเดินทางไปยังนิวเบีย และเชื่อกันว่าเจ้าชายอเมนิพระองค์นี้ไม่ใช่บุคคลใดอื่นนอกจากฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ในวัยทรงพระเยาว์ของพระองค์[4]
ไม่ทราบตัวตนของพระราชินีและพระมเหสีของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 มีเจ้านายสตรีในราชวงศ์หลายพระองค์ถูกฝังอยู่ภายในพีระมิดของพระองค์ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายเหล่านั้นกับฟาโรห์นั้นไม่คลุมเครือ คือ พระราชินีเคมินุบ จะต้องระบุช่วงราชวงศ์ที่สิบสามในเวลาต่อมา และ "พระราชธิดาแห่งกษัตริย์" อีกสามพระองค์พระนามว่า อิตา, อิตาเวเรต และเคนเมต ซึ่งอาจเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 แต่ยังขาดการยืนยันที่ชัดเจน[4] แต่ผู้สืบทอดสันตติวงศ์ต่อจากพระองค์ก็น่าจะเป็นพระราชโอรสของพระองค์ก็คือฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 แม้ว่าจะไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนก็ตาม[5] พระราชบุตรพระองค์อื่น ๆ ได้แก่ เจ้าชายอเมเนมเฮตอังค์ และเจ้าหญิงโนเฟรตที่ 2 และเจ้าหญิงเคเนเมตเนเฟอร์เฮดเจต ซึ่งน่าจะเป็นพระองค์เดียวกันกับพระนางเคเนเมตเนเฟอร์เฮดเจตที่ 1 และในเวลาต่อมา เจ้านายสตรีทั้งสองพระองค์นี้ได้ถูกสถาปนาขึ้นเป็นพระมเหสีในฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ผู้เป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชา[6] พระราชินีและพระราชมารดาแห่งกษัตริย์ที่มีพระนามว่า เซเนต เป็นที่ทราบจากรูปสลักจำนวนสามรูป และไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นพระสวามีและพระโอรสของพระองค์ ซึ่งเป็นไปได้ว่าฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 จะเป็นพระสวามีของพระองค์
รัชสมัย
แก้การเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ
แก้ครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่าฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ได้เป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ก็คือ ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ซึ่งเป็นข้อสมมติฐานจากหลักจารึกของข้าราชการนามว่า เวปวาเวโต (ไลเดิน, วี 4) ที่ระบุช่วงปีที่ 44 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 และปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ของพระองค์[8] การมีอยู่ของสำเร็จราชการร่วมดังกล่าวในปัจจุบันถือว่าไม่น่าเป็นไปได้ และช่วงเวลาบนจารึกได้ถูกตีความว่าเป็นช่วงเวลาที่เวปวาเวโตได้อยู่ในตำแหน่ง ตั้งแต่รัชสมัยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ปีที่ 44 ถึง ปีที่ 2 ของรัชสมัยฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2[9][10]
จดหมายเหตุประจำรัชสมัย
แก้บันทึกที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ในช่วงต้นรัชสมัยคือชิ้นส่วนของบันทึกที่เรียกว่า พระราชพงศาวดารแห่งอเมเนมเฮตที่ 2 ที่ค้นพบที่เมมฟิส (ภายหลังนำมาใช้ใหม่ในช่วงราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์) ซึ่งเป็นจัดบันทึกสำหรับเวลาการถวายเครื่องบูชาให้กับวิหารและเหตุการณ์ทางการเมืองในบางครั้ง มีการกล่าวถึงการเดินทางของกองทัพทหารไปยังเอเชีย การบุกโจมตีเมืองยูเอียและเมืองเอียซิ ซึ่งไม่ระบุที่ตั้งของเมืองทั้งสอง และการมาของผู้ถือเครื่องบรรณาการจากเอเชียและดินแดนคุช[11] ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการสำรวจการขุดหลายครั้ง: อย่างน้อย 3 แห่งในคาบสมุทรไซนาย วาดิ-กาซุส (ปีที่ 28) และอีกหนึ่งแห่งเพื่อค้นหาแร่อเมทิสต์ในวาดิ เอล-ฮูดิ และเป็นที่ทราบกันดีว่า พระองค์ได้ทรงโปรดให้สร้างสิ่งปลูกสร้างที่เฮลิโอโพลิส, เฮราคลีโอโพลิส และเมมฟิสในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก และบูรณะปฏิสังขรวิหารที่พังทลายขึ้นที่เฮอร์โมโพลิส มีการกล่าวถึงการสร้าง "วัดแรก" บางส่วน แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าควรเป็นอย่างไร[12] การค้นพบที่รู้จักกันดีที่เกี่ยวข้องกับฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 คือ มหาสฟิงซ์แห่งทานิส (พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ เอ 23) ซึ่งต่อมาถูกฟาโรห์พระองค์อื่นแย่งชิง พระองค์ยังได้รับการจารึกพระนามบนกล่องสมบัติของวัตถุเงินที่อยู่ใต้วิหารแห่งเทพมอนทูที่เอล-โตด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งของเหล่านี้ไม่ใช่งานฝีมือของช่างชาวอียิปต์ แต่เป็นฝีมือช่างจากบริเวณทะเลอีเจียน ซึ่งเป็นหลักฐานการติดต่อระหว่างอียิปต์กับอารยธรรมต่างดินแดนในสมัยราชอาณาจักรกลาง และจารึกจำนวนมากที่มีคาร์ทูชของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 แต่สามารถช่วยเพียงเล็กน้อยในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับเหตุการณ์ในรัชสมัยของพระองค์[13]
ข้าราชบริพารในราชสำนัก
แก้ข้าราชบริพารบางคนในราชสำนักของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 เป็นที่ทราบ คือ เซนุสเรต ซึ่งเป็นราชมนตรีในช่วงต้นรัชสมัยและหนึ่งในผู้สืบทอดตำแหน่งของเขาคือ อเมนิ และต่อมาตามมาด้วยซิเอเซ ที่ทำหน้าที่ที่โดดเด่นและเป็นผู้ดูแลพระคลังมหาสมบัติและเจ้าพนักงานชั้นสูงก่อนหน้าจะดำรงตำแหน่งเป็นราชมนตรี นอกจากซิเอซิ ก็ยังมีผู้ดูแลพระคลังมหาสมบัติอื่น ๆ ที่ทราบ ได้แก่ เรฮูเออร์ดเจอร์เซน และ เมริเคา "ผู้ดูแลพระทวารประตู" นามว่า เคนติเคติเวอร์ ซึ่งถูกฝังใกล้กับพีระมิดของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ส่วนข้าราชการคนอื่น ๆ ที่เป็นทราบ ได้แก่ "ผู้ดูแลห้องหับ" นามว่า สโนฟรู และเซนิเตฟ ซามอนต์ ซึ่งมีตำแหน่งราชอาลักษณ์และ ไอริ-พัต (iry-pat)[12] และ อเมนิ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ดูแลกองทหารที่ยิ่งใหญ่ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะดำรงตำแหน่งในช่วงรัชสมัยฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2
การสืบสันตติวงศ์
แก้ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 และฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ได้เป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกันเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งเป็นเพียงประเด็นเดียวที่เกิดขึ้นเป็นปกติในทั้งช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง จารึกแห่งฮาปุจากโคนอสโซ ซึ่งไม่เหมือนกับจารึกแห่งเวปวาเวโต โดยจารึกแห่งฮาปุจากโคนอสโซได้ระบุอย่างชัดเจนว่าฟาโรห์ทั้งพระสองนี้ได้ปกครองร่วมกันมาระยะหนึ่ง[11] ซึ่งปีที่ 3 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 เท่ากับปีที่ 35 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 และปีที่ 35 บนจารึกแห่งฮาปุยังเป็นระยะเวลาที่สูงสุดที่เกี่ยวข้องกับรัชสมัยของพระองค์[14]
พีระมิด
แก้ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ทรงเลือกบริเวณดาห์ชูร์สำหรับการสร้างพีระมิดของพระองค์ ต่างจากผู้ปกครองก่อนหน้าทั้งสองพระองค์ที่สร้างพีระมิดที่ลิชต์ ซึ่งดาห์ชูร์เป็นไม่ได้พื้นที่หมู่สุสานของราชวงศ์อีกตั้งแต่สมัยฟาโรห์สเนฟรูจากราชวงศ์ที่สี่ที่พระองค์ได้โปรดให้สร้างพีระมิดแดงขึ้น ในปัจจุบัน พีระมิดของ ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ซึ่งเดิมเรียกว่า อเมนู-เซเคม แต่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในปัจจุบันในชื่อว่า พีระมิดขาว ซึ่งหลงเหลืออยู่ในสภาพที่ไม่ดีและโดนโจรปล้นสุสาน วิหารฝังพระศพที่อยู่ติดกับพีระมิดที่เรียกว่า ดเจฟา-อเมเนมฮัต[15] เจ้านายหลายพระองค์ถูกฝังอยู่ภายในพีระมิดแห่งนี้ ซึ่งหลุมฝังพระศพถูกค้นพบโดยแฌ็ค เดอ มอร์แกง ในปี ค.ศ.1894/5 คือ เจ้าหญิงทั้งสามพระองค์นามว่า อิตา, อิตาเวเรต และเคนเมต ถูกค้นพบโดยสภาพที่ไม่มีใครเข้ามาบุกรุก โดยยังคงเหลืออัญมณีที่สวยงามของพระองค์ และยังมีหลุมฝังศพของสตรีชั้นสูงนามว่า ซัตฮาธอร์เมริต, ผู้ดูแลพระคลังฯ อเมนโฮเทป และพระราชินีเคมินุบ ซึ่งหลุมฝังศพทั้งสองกลับถูกปล้นในสมัยโบราณและระบุเวลาต่อมาในช่วงราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ Amenemhat II on Digitalegypt
- ↑ Hornung 2006, p. 491.
- ↑ Grajetzki 2006, p. 45.
- ↑ 4.0 4.1 Grajetzki 2006, p. 45
- ↑ Grajetzki 2006, p. 48.
- ↑ Dodson & Hilton 2004, pp. 96–97.
- ↑ "Guardian Figure". www.metmuseum.org. Metropolitan Museum of Art. สืบค้นเมื่อ 9 February 2022.
- ↑ Murnane 1977, pp. 5–6.
- ↑ Delia 1979, pp. 16, 21–22.
- ↑ Willems 2010, pp. 92–93.
- ↑ 11.0 11.1 Grajetzki 2006, pp. 45–46.
- ↑ 12.0 12.1 Grajetzki 2006, pp. 47–48.
- ↑ Grajetzki 2006, p. 47.
- ↑ Murnane 1977, p. 7.
- ↑ Grajetzki 2006, pp. 46–47.
- ↑ Untitled information on White Pyramid burials
บรรณานุกรม
แก้- Delia, Robert D. (1979). "A new look at some old dates: a reexamination of Twelfth Dynasty double dated inscriptions". Bulletin of the Egyptological Seminar of New York. 1: 15–28.
- Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3.
- Grajetzki, Wolfram (2006). The Middle Kingdom of Ancient Egypt: History, Archaeology and Society. London: Duckworth. ISBN 0-7156-3435-6.
- Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David, บ.ก. (2006). Ancient Egyptian Chronology. Handbook of Oriental Studies. Leiden, Boston: Brill. ISBN 978-90-04-11385-5. ISSN 0169-9423.
- Murnane, William J. (1977). Ancient Egyptian coregencies (=Studies in Ancient Oriental Civilization, no. 40). Chicago: The Oriental Institute of the University of Chicago. ISBN 0-918986-03-6.
- Willems, Harco (2010). "The First Intermediate Period and the Middle Kingdom". ใน Lloyd, Alan B. (บ.ก.). A companion to Ancient Egypt, volume 1. Wiley-Blackwell.