พีระมิดขาว (อาหรับ: الهرم الأبيض, อักษรโรมัน: al-Haram al'Abyad) แห่งอเมนเอมฮัตที่ 2 ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่กลุ่มพีระมิดที่เมืองดาห์ชูร์ ประเทศอียิปต์ และในปัจจุบัน ไม่มีอะไรมากไปกว่ากองเศษหินที่ถูกสกัดออกมาจากเหมืองหินเป็นจำนวนมาก โดยเศษหินปูนที่หลงเหลืออยู่ที่ทำให้สถานที่แห่งนี้จึงถูกเรียกว่า พีระมิดขาว (The White Pyramid)

พีระมิดขาว
แผนผังระบบห้องใต้ดินพีระมิด
อเมนเอมฮัตที่ 2
พิกัดทางภูมิศาสตร์29°48′20″N 31°13′22″E / 29.80556°N 31.22278°E / 29.80556; 31.22278
นามร่วมสมัย
<
M17Y5
N35
G17F4
X1
>S42O24
[1]
Sḫm Ỉ-mn-m-ḥʒt
เซเคม อเมนเอมฮัต
อเมนเอมฮัต ทรงมีพละกำลัง[2]
ประเภทพีระมิด (เสียหาย)

พีระมิดแห่งนี้ล้อมรอบด้วยกำแพงล้อมรอบสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในกำแพงล้อมรอบนี้ พบสุสานที่อยู่ในสภาพที่ดีจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นของเชื้อพระวงศ์ของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 2 รวมถึงหลุมฝังพระศพของเจ้าชายอเมนเอมฮัตอังค์ และเจ้าหญิงอิตา, คนูเมต, อิตาเวเรต และซิตฮาธอร์เมเรต สิ่งของเครื่องใช้ในพิธีพระศพมากมายถูกค้นพบจากสุสานเหล่านี้ รวมทั้งโลงพระศพไม้ โถน้ำหอมอลาบาสเตอร์ และหีบไม้คาโนปิก นอกจากนี้ยังมีเครื่องเพชรพลอยที่สวยงามจำนวนมากในหลุมฝังศพของเจ้าหญิงอิตาและเจ้าหญิงคนูเมต

ในปี ค.ศ. 1894 และ ค.ศ. 1895 ฌาค เดอ มอร์แกน ได้ขุดค้นพีระมิดแห่งนี้โดยมุ่งความสนใจไปที่หลุมฝังพระศพของเชื้อพระวงศ์โดยรอบในพื้นที่อื่น ๆ ไม่ได้ถูกขุดค้นสำรวจ ยังไม่ได้มีการตรวจสอบสถานที่ฝังพระบรมแห่งนี้อย่างสมบูรณ์

อ้างอิง แก้

  1. Lehner 2008, pp. 16 & 179.
  2. Budge 1920, p. 691a.

แหล่งข้อมูล แก้

  • Budge, Ernest Alfred Wallis (1920). An Egyptian Hieroglyphic Dictionary: With an index of English words, King List and Geographical List with Indexes, List of Hieroglyphic Characters, Coptic and Semitic Alphabets, etc. Vol. 2. London: J. Murray. OCLC 697736910.
  • Lehner, Mark (2008). The Complete Pyramids. New York: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-28547-3.
  • Verner, Miroslav (2001d). The Pyramids: The Mystery, Culture and Science of Egypt's Great Monuments. New York: Grove Press. ISBN 978-0-8021-1703-8.