ราชวงศ์ทอเลมี (กรีกโบราณ: Πτολεμαῖοι หรือ Λαγίδαι, อังกฤษ: Ptolemaic dynasty หรือ Lagids) หรือบางครั้งก็เรียกว่า ราชวงศ์ลากิดส์ ซึ่งมาจาก ลากัส ชื่อของพระราชบิดาของทอเลมีที่ 1 ราชวงศ์ทอเลมีเป็นราชวงศ์กรีก[1][2][3][4] ผู้ปกครองจักรวรรดิทอเลมีในอียิปต์ระหว่างสมัยกรีก ราชวงศ์ทอเลมีรุ่งเรืองอยู่เกือบ 300 ปี จากตั้งแต่ 305 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนถึง 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ราชวงศ์ทอเลมี
<
p
t
wAl
M
iis
>
พระราชอิสริยยศฟาโรห์
บาซิเลียสแห่งอียิปต์
กษัตริย์แห่งมาซิโดเนีย
กษัตริย์แห่งมอร์เรเตเนีย
กษัตริย์แห่งซีเรีย
กษัตริย์แห่งไซรีน
ปกครองอียิปต์โบราณ, มาซิโดเนียโบราณ
ประมุขพระองค์แรกทอเลมีที่ 1
ประมุขพระองค์สุดท้ายคลีโอพัตราที่ 8 และทอเลมีที่ 15
(อียิปต์)
ทอเลมีที่ 16
(ซีเรีย)
ปโตเลมีแห่งมอร์เรเตเนีย
(มอร์เรเตเนีย)
สถาปนา305 ปีก่อนคริสตกาล
สิ้นสุดค.ศ. 79
ล่มสลาย30 ปีก่อนคริสตกาล (อียิปต์)
ค.ศ. 40 (มอร์เรเตเนีย)

ทอเลมี หนึ่งในองครักษ์เจ็ดคนผู้รับราชการเป็นนายพลและผู้ช่วยภายใต้อเล็กซานเดอร์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงของอียิปต์ หลังจากที่อเล็กซานเดอร์เสด็จสวรรคตในปี 323 ก่อนคริสต์ศักราช ในปี 305 ก่อนคริสต์ศักราช ทอเลมีก็ประกาศตนเป็นพระเจ้าทอเลมี และต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “โซเตอร์” ที่แปลว่าผู้มาช่วย ต่อมาชาวอียิปต์ก็ยอมรับราชวงศ์ทอเลมีว่าเป็นราชวงศ์ที่สืบการเป็นฟาโรห์ของอียิปต์ ราชวงศ์ทอเลมีปกครองอียิปต์จนมาถูกพิชิตโดยโรมัน ในปี 30 ก่อนคริสต์ศักราช

ประมุขผู้เป็นชายทุกองค์ใช้ชื่อทอเลมี ที่เป็นสตรีบางคนก็เป็นพระขนิษฐาของพระราชสวามีมักจะใช้ชื่อ “คลีโอพัตรา” หรือ “อาร์ซิโนเอ” หรือ “เบเรนิเซ” สมาชิกคนสำคัญที่สุดของราชวงศ์คือ พระราชินีองค์สุดท้ายคลีโอพัตราที่ 7 ที่เป็นที่รู้จักกันจากการมีบทบาทในความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์ และ ปอมเปย์ และต่อมาระหว่าง อ็อคเตเวียน และ มาร์ก แอนโทนี การฆ่าตัวตายคลีโอพัตราเป็นการสิ้นสุดการครองอียิปต์ของราชวงศ์ทอเลมี

ผังราชวงศ์ทอเลมี

แก้
ราชวงศ์ทอเลมี
ทอเลมีที่ 1 (303-282 ปีก่อนคริสตกาล)เบเรนิซที่ 1ฟิลิป (สามีของพระนางเบเรนิซที่ 1)
Arsinoe IIทอเลมีที่ 2 (285-246 ปีก่อนคริสตกาล)อาร์ซิโนเอที่ 1มากัสแห่งซิเรเนอาพามาที่ 2
ทอเลมีที่ 3 (246-221 ปีก่อนคริสตกาล)เบเรนิซที่ 2
ทอเลมีที่ 4 (221-203 ปีก่อนคริสตกาล)อาร์ซิโนเอที่ 3
ทอเลมีที่ 5 (203-181 ปีก่อนคริสตกาล)คลีโอพัตราที่ 1
ทอเลมีที่ 6 (181-164 ปีก่อนคริสตกาล, 163-145 ปีก่อนคริสตกาล)คลีโอพัตราที่ 2 (131-127 ปีก่อนคริสตกาล)ทอเลมีที่ 8 (170-163 ปีก่อนคริสตกาล, 145-116 ปีก่อนคริสตกาล)เอเรเน
ทอเลมีที่ 7คลีโอพัตราที่ 3 (116-101 ปีก่อนคริสตกาล)ทอเลมี
เมมฟิเทส
ทอเลมี เอเปียน
คลีโอพัตราที่ 4ทอเลมีที่ 9 (116-107 ปีก่อนคริสตกาล, 88-81 ปีก่อนคริสตกาล)คลีโอพัตราแห่งซีเรียทอเลมีที่ 10 (107-88 ปีก่อนคริสตกาล)
ทอเลมีที่ 12 (80-58 ปีก่อนคริสตกาล, 55-51 ปีก่อนคริสตกาล)เบเรนิซที่ 3 (81-80 ปีก่อนคริสตกาล)ทอเลมีที่ 11 (80 ปีก่อนคริสตกาล, ประมาณ 19 วัน)
คลีโอพัตราที่ 5 (58-55 ปีก่อนคริสตกาล)
คลีโอพัตราที่ 6 (58 ปีก่อนคริสตกาล)เบเรนิซที่ 4 (58-55 ปีก่อนคริสตกาล)ทอเลมีที่ 13 (51-47 ปีก่อนคริสตกาล)คลีโอพัตราที่ 7 (51-30 ปีก่อนคริสตกาล)ทอเลมีที่ 14 (47-44 ปีก่อนคริสตกาล)อาร์ซิโนเอที่ 4 (48-47 ปีก่อนคริสตกาล)
จูเลียส ซีซาร์มาร์ก แอนโทนี
ทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียน (44-30 ปีก่อนคริสตกาล)อเล็กซานเดอร์ เฮลิออสทอเลมี ฟิลาเดลฟัสคลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2

รายนามกษัตริย์ราชวงศ์ทอเลมี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Cleopatra: A Sourcebook (Oklahoma Series in Classical Culture) by Prudence J. Jones (Author) page14“They were members of the Ptolemaic dynasty of Macedonian Greeks, who ruled Egypt after the death of its conqueror, Alexander the Great.”
  2. Women in Hellenistic Egypt By Sarah B. Pomeroy page 16 “while Ptolemaic Egypt was a monarchy with a Greek ruling class."
  3. the Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. “,Cleopatra VII was born to Ptolemy XII Auletes (80–57 BCE, ruled 55–51 BCE) and Cleopatra, both parents being Macedonian Greeks.
  4. Encyclopedia of the Archaeology of Ancient Egypt by Kathryn Bard page 488 “ Ptolemaic kings were still crowned at Memphis and the city was popularly regarded as the Egyptian rival to Alexandria, founded by the Macedonian Greeks.” Page 687” During the Ptolemaic period, when Egypt was governed by rulers of Greek descent…”

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ราชวงศ์ทอเลมี