ราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่แห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่แห่งอียิปต์ เป็นราชวงศ์อันดับที่สี่ในบรรดาราชวงศ์ที่ขึ้นปกครองในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สาม

ราชวงศ์ที่ยี่สิบสีแห่งอียิปต์

732 ปีก่อนคริสตกาล–720 ปีก่อนคริสตกาล
จารึกแห่งเทฟนัคต์
จารึกแห่งเทฟนัคต์
เมืองหลวงซาอิส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ฟาโรหฺ 
• 732-725 ปีก่อนคริสตกาล
เทฟนัคต์
• 725-720 ปีก่อนคริสตกาล
บาเคนราเนฟ
ยุคประวัติศาสตร์สมัยคลาสสิก
• การพิชิตแห่งเทฟนัคต์
732 ปีก่อนคริสตกาล
• การปลดลงจากพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์บาเคนราเนฟ
720 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่ยี่สิบสองแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์

ประวัติราชวงศ์ แก้

ราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่แห่งอียิปต์เป็นราชวงศ์ที่ประกอบไปด้วยฟาโรห์ที่ครองราชย์เป็นระยะเวลาอันสั้น และมีศูนย์กลางทางอำนาจอยู่ที่เมืองซาอิส ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์

ฟาโรห์เทฟนัคห์ที่ 1 แก้

พระองค์ทรงสถาปนากลุ่มบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่นในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์ที่ซึ่งสนับสนุนให้พระองค์ทรงพยายามพิชิตดินแดนอียิปต์บน ซึ่งการดำเนินการทางทหารดังกล่าวเป็นที่สนใจของผู้ปกครองนิวเบียพระนามว่า ปิเย ซึ่งทรงโปรดให้บันทึกการพิชิตและการปกครองของเทฟนัคห์แห่งซาอิสพร้อมด้วยพันธมิตร ฟาโรห์เทฟนัคห์ที่ 1ทรงได้รับการขนานนามว่า "มหาประมุขแห่งตะวันตก" ไว้ในจารึกชัยแห่งปิเย และจารึกจำนวนสองชิ้นไว้ระบุเวลาไปถึงปีที่ 36 และ 38 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์โชเชงค์ที่ 5 ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าพระองค์ทรงใช้พระอิสริยยศอย่างเป็นทางการหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ออลีวีเย แปดู[1] ได้โต้แย้งว่า เชปเซสเร เทฟนัคเตแห่งซาอิส ไม่ได้เป็นศัตรูที่มีชื่อของฟาโรห์ปิเย โดยที่แปดูได้ตีพิมพ์เผยแพร่จารึกกัลปนาที่เพิ่งค้นพบซึ่งได้รับมาจากชุดสะสมส่วนบุคคล จารึกดังกล่าวลงช่วงเวลาในปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เนโคที่ 1 แห่งซาอิส และมีลักษณะ การเขียน และข้อความที่คล้ายกันกับจารึกกัลปนาของพระองค์ อย่างไรก็ตาม ข้อโต้แย้งของแปดูกลับไม่ได้รับการยอมรับจากนักไอยคุปต์วิทยาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งเชื่อว่าปีที่ 8 แห่งการครองราชย์จากจารึกฟาโรห์เชปเซสเร เทฟนัคต์ (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติกรีซน่าจะเป็นฟาโรห์เทฟนัคห์ที่ 1 มากที่สุด ในส่วนเทฟนัคห์ที่ 2 ถ้าพระองค์ทรงมีตัวตนอยู่จริงก็น่าจะเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าใกล้กับรัชสมัยของฟาโรห์เนโคที่ 1 ซึ่งผู้ปกครองทั้งสองอยู่ว่าเป็นผู้ปกครองท้องถิ่นในบริเวณเมืองซาอิสในช่วงรัชสมัยฟาโรห์ทาฮาร์กาแห่งราชวงศ์นิวเบีย

ฟาโรห์บาเคนราเนฟ แก้

พระองค์ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์แห่งซาอิสต่อจากฟาโรห์เทฟนัคห์ที่ 1 และทรงพระนามครองราชย์ว่า วาห์คาเร พระราชอำนาจของพระองค์ได้รับการยอมรับในดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำส่วนใหญ่รวมถึงเมมฟิส ซึ่งมีการค้นพบศิลาจารึกเซราเปอุมในปีที่ 5 และปีที่ 6 หลายชิ้นจากรัชสมัยของพระองค์ ราชวงศ์นี้สิ้นสุดลงอย่างกะทันหันเมื่อฟาโรห์เชบิตโก ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สองของราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์ทรงยกทัพเข้าโจมตีเมืองซาอิส ทรงจับกุมฟาโรห์บาเคนเรเนฟ และทรงสำเร็จโทษโดยการเผาพระองค์ทั้งเป็น

รายพระนามฟาโรห์ แก้

พระนาม รูปภาพ รัชกาล พระนามครองราชย์ คำอธิบาย
เทฟนัคห์ที่ 1   732-725 ปีก่อนคริสตกาล เชปเซสเร
บาเคนราเนฟ   725-720 ปีก่อนคริสตกาล วาห์คาเร

เส้นเวลาของราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่แห่งอียิปต์ แก้

BakenranefTefnakht I

พระราชพงศาวลีราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่แห่งอียิปต์ แก้

บาซา[2]
เกมเนฟซุตคาปุ[2]
 เทฟนัคห์
 บาเคนราเนฟพระราชโอรสไม่ปรากฏพระนาม[3]พระราชโอรสไม่ปรากฏพระนาม[3]

อ้างอิง แก้

  1. Olivier Perdu, "La Chefferie de Sébennytos de Piankhy à Psammétique Ier", Revue d'Égyptology 55 (2004), pp. 95-111.
  2. 2.0 2.1 P.R. Del Francia, "Di una statuetta dedicata ad Amon-Ra dal grande capo dei Ma Tefnakht nel Museo Egizio di Firenze", S. Russo (ed.) Atti del V Convegno Nazionale di Egittologia e Papirologia, Firenze, 10-12 dicembre 1999, Firenze, 2000, pp. 63-112; 76-82
  3. Aidan Dodson & Dyan Hilton, The Complete Royal Families of Ancient Egypt, Thames & Hudson, 2004, p. 233